คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เงินบำเหน็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 179 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการจ่ายเงินบำเหน็จควบคู่กับค่าชดเชยตามระเบียบและกฎหมายแรงงาน
ระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จของจำเลยมีว่า ถ้าลูกจ้างได้รับเงินชดเชยอยู่แล้วไม่มีสิทธิรับเงินบำเหน็จ ถ้าเงินชดเชยต่ำกว่าเงินบำเหน็จให้จ่ายเงินบำเหน็จเท่ากับส่วนที่ต่ำกว่าระเบียบ ดังนี้มิได้หมายความว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ จำเลยต้องจ่ายเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่เกินกว่าค่าชดเชยเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินบำเหน็จและค่าชดเชย: ระเบียบของนายจ้างที่ไมขัดแย้งกับกฎหมาย
ระเบียบการเบิกจ่ายเงินบำเหน็จและเงินทำขวัญลูกจ้างของจำเลยแปลได้ว่าลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้ทั้งค่าชดเชยและเงินบำเหน็จ ไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จให้ได้รับค่าชดเชยแต่ประเภทเดียว เว้นแต่ลูกจ้างผู้นั้นมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จซึ่งมีจำนวนสูงกว่าค่าชดเชย จึงให้ได้รับเงินบำเหน็จเฉพาะส่วนที่สูงกว่าค่าชดเชย ระเบียบดังกล่าวนี้มิได้ให้ งดการจ่ายค่าชดเชยซึ่งต้องจ่ายตามกฎหมาย แต่ให้งดหรือจ่ายบางส่วนสำหรับเงินบำเหน็จ ซึ่งไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องจ่าย เป็นระเบียบที่ชอบและไม่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อนายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามสิทธิที่ลูกจ้างจะได้รับแล้วแม้จะเรียกว่าเงินบำเหน็จ ก็ยังเป็นค่าชดเชยตามความจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2669/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อตกลงไม่ขัดกฎหมาย แต่มีหลักเกณฑ์ต่างกัน
แม้ตามข้อ 46 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ซึ่งแก้ไขโดยประกาศฯ ฉบับที่ 6 ลงวันที่ 31 กรกฎาคม 2521 จะมิได้ระบุ งานจ้างบางลักษณะที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย อันเป็นข้อยกเว้น ดังที่เคยมีอยู่ก็ตาม ก็มิได้หมายความว่านายจ้างและลูกจ้างจะทำ สัญญาต่อกันเกี่ยวกับเงินค่าชดเชยไม่ได้เสียเลย ประกอบทั้งนายจ้าง ยังให้ประโยชน์แก่ลูกจ้างเพราะจ่ายให้มากกว่าเงินค่าชดเชยตาม กฎหมายเสียอีก ดังนี้ ข้อตกลงและระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จ พนักงานดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261-2264/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จจากการเกษียณอายุ ต้องรวมเงินรางวัลพิเศษคำนวณตามข้อบังคับและกฎหมายแรงงาน
จำเลยเช่าโรงงานสุราบางยี่ขันจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมมาดำเนินการ ตามสัญญาเช่ากำหนดให้จำเลยรับโอนพนักงานและคนงานเข้าทำงานต่อไปและให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงาน โดยที่เงินบำเหน็จตามคำสั่งดังกล่าวได้วางระเบียบให้จ่ายเท่ากับค่าจ้างปกติในเดือนสุดท้ายของปีที่ออกปีละ 1 เดือนโจทก์ออกจากงานเพราะเกษียณอายุจำเลยจ่ายเงินบำเหน็จให้โดยคำนวณเฉพาะเงินเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีทำงานแต่ไม่นำเงินรางวัลพิเศษที่โจทก์ได้รับเป็นรายเดือนมารวมคำนวณด้วยดังนี้ คำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องระเบียบว่าด้วยเวลาทำงาน เป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานซึ่งจำเลยในฐานะผู้เช่าโรงงานสุราจะต้องถือปฏิบัติตามข้อสัญญาที่ทำไว้กับผู้ให้เช่าและจำเลยในฐานะที่เป็นนายจ้างจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวอันเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานที่วางไว้ด้วยเมื่อได้ความว่าเงินรางวัลพิเศษที่จำเลยจ่ายให้แก่พนักงานและคนงานที่มีเงินเดือนหรือค่าจ้างเต็มอัตรา เกินอัตรา หรือไม่มีอัตราโดยจ่ายเป็นรายเดือนและมีขั้นวิ่งเหมือนเงินเดือนถือได้ว่าเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดเวลาทำงาน ฯลฯและเป็นค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ และเงินรางวัลพิเศษนี้เป็นค่าจ้างปกติตามบทนิยามคำว่า 'ค่าจ้างปกติ' ในคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมเรื่อง ระเบียบว่าด้วยเวลาทำงานฯ ฉะนั้น จึงต้องนำเงินรางวัลพิเศษไปรวมกับเงินเดือนหรือค่าจ้างคำนวณเป็นเงินบำเหน็จตามคำสั่งดังกล่าวด้วยแม้จำเลยได้มีหนังสือแจ้งทุกหน่วยงานว่า ไม่ถือว่าเงินรางวัลพิเศษเป็นค่าจ้างที่จะนำมารวมคำนวณเงินบำเหน็จก็ไม่มีผลบังคับเพราะขัดต่อประกาศกระทรวงมหาดไทยและคำสั่งกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าวแล้ว
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แก้ไขเพิ่มเติมโดย ฉบับที่ 5 เป็นเรื่องกำหนดข้อยกเว้นการจ่ายเงินค่าชดเชยในกรณีเลิกจ้างไม่เกี่ยวกับจ่ายเงินบำเหน็จเช่นคดีนี้ทั้งเป็นกฎหมายที่ออกมาภายหลังที่โจทก์เกษียณอายุออกจากงานแล้วไม่อาจนำมาปรับกับคดีนี้ได้
เงินบำเหน็จมิใช่เป็น 'ส่วนหนึ่งของเงินจ้าง' ตามความหมายในมาตรา 165(9) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันจะมีอายุความ 2 ปีแต่เป็นการเรียกร้องเงินบำเหน็จในกรณีที่ลูกจ้างเกษียณอายุออกจากงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติว่ามีอายุความฟ้องร้องเท่าใดจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 164

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ ถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุ เป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 ที่แก้ไขแล้ว
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้าง เพราะมิใช่เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดี ความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า 3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัยเป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เงินจำนวนหนึ่ง แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความ ตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมายเงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายข้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1566/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุถือเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย และเงินบำเหน็จไม่ใช่ค่าชดเชย
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะครบเกษียณอายุเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 ที่แก้ไขแล้ว
การที่จำเลยมีระเบียบว่า ลูกจ้างจะถูกสั่งให้ออกเมื่อปฏิบัติงานมาถึงสิ้นปีงบประมาณซึ่งเป็นปีที่มีอายุครบ 60ปีบริบูรณ์นั้น มิใช่เป็นการกำหนดระยะเวลาการจ้างเพราะมิใช่ เป็นการตกลงกันว่าจะจ้างกันจนกว่าลูกจ้างจะมีอายุครบ 60 ปี บริบูรณ์ แต่เป็นเรื่องกำหนดคุณสมบัติของลูกจ้างเป็นการทั่วไป โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลย เป็นเงินสงเคราะห์ที่จ่ายให้สำหรับความดีความชอบในการที่ลูกจ้างได้ทำงานมาเกินกว่า3 ปี และออกจากงานไปโดยไม่มีความผิดทางวินัย เป็นการจ่ายโดยมีวัตถุประสงค์ยิ่งกว่าให้เป็นเงินจำนวนหนึ่งแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง ทั้งข้อความตามระเบียบของจำเลยก็มิได้แสดงว่าประสงค์ให้เงินบำเหน็จนั้นเป็นค่าชดเชยตามกฎหมาย เงินบำเหน็จตามระเบียบของจำเลยจึงเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างหาใช่ค่าชดเชยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1383/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเงินบำเหน็จ: ข้อบังคับบริษัทขัดกับกฎหมาย อายุความตามกฎหมายมีผลบังคับใช้
อายุความที่กฎหมายกำหนดไว้ผู้ใดหาอาจขยายออกหรือย่นเข้าได้ไม่ ข้อบังคับของบริษัทนายจ้างที่ให้ลูกจ้างยื่นคำร้องขอรับบำเหน็จต่อบริษัทเมื่อพ้นจากการเป็นพนักงานภายใน 3 เดือนจึงไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จ: จำเลยผูกพันตามกฎเกณฑ์เดิมตราบเท่าที่ยังมิได้แก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลง อันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้าง เมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่างๆ ดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไข หรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมด ทั้งนี้สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าว จำเลย ก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์ หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2302/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างและเงินบำเหน็จรางวัล: จำเลยผูกพันตามระเบียบที่วางไว้จนกว่าจะแก้ไข
บริษัทจำเลยวางระเบียบการจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลซึ่งเป็นกฎเกณฑ์ การจ่ายเงินบำเหน็จรางวัลแก่พนักงานบริษัทไว้ เพื่อใช้บังคับในกรณีที่การทำงานของพนักงานบริษัทครบเกษียณอายุหรือต้องสิ้นสุดลงอันถือได้ว่าเป็นเงื่อนไขส่วนหนึ่งแห่งสัญญาจ้างเมื่อพนักงานได้กระทำตามเงื่อนไขต่าง ๆดังกำหนดไว้นั้นแล้ว จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงานผู้นั้นตามกฎเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้แม้จำเลยจะมีสิทธิเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือยกเลิกระเบียบดังกล่าวได้ไม่ว่าจะเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดทั้งนี้ สุดแต่บริษัทจำเลยจะเห็นสมควรก็ตามแต่ตราบใดที่จำเลยยังมิได้แก้ไข เปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ดังกล่าวจำเลยก็ต้องผูกพันตามนั้นอยู่ขณะที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์หากโจทก์มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จจากจำเลยตามกฎเกณฑ์อยู่อย่างไร จำเลยย่อมผูกพันที่จะต้องจ่ายเงินบำเหน็จนั้นแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1737/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จเป็นมรดก, ผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม, การสืบพยานเรื่องพินัยกรรมปลอม
คดีขอตั้งผู้จัดการมรดก ศาลพิพากษาตามคำท้าว่าเงินบำเหน็จของผู้ตายเป็นมรดก แต่ให้สืบพยานในข้อผู้ร้องเป็นทายาทตามพินัยกรรมและไม่ต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดก ดังนี้ ผู้คัดค้านจะสืบพยานว่าพินัยกรรมปลอมดังที่ได้ต่อสู้คดีไว้แต่สละเสียแล้วไม่ได้
of 18