คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โฉนดที่ดิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 206 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนโฉนดที่ดินหลังทำสัญญาซื้อขายแล้ว กรณีจำเลยจดทะเบียนโอนสิทธิให้ผู้อื่นเป็นทางเสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้ว แต่ยังไม่ได้ไปทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะการผัดผ่อนของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 สมคบกันยินยอมใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4,5,6,7 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาทแม้การยอมให้จำเลยที่ 2,4,5,6,7 ลงชื่อในโฉนดที่พิพาทนั้น เพราะจำเลยที่ 1 ได้ยกที่พิพาทให้ก็ดี แต่การที่จำเลยได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทเป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนแล้ว โจทก์อาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1254/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนโฉนดที่ดินจากการจดทะเบียนเสียเปรียบแก่ผู้มีสิทธิทำสัญญาซื้อขายก่อน
จำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาขายที่ดินพิพาทให้โจทก์แล้วแต่ยังไม่ได้ไปทำสัญญาซื้อขายและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพราะการผัดผ่อนของจำเลยที่1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ที่ 2 สมคบกันยินยอมใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4,5,6,7 ซึ่งเป็นบุตรของจำเลยที่ 2 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่พิพาท
แม้การยอมให้จำเลยที่ 2,4,5,6,7 ลงชื่อในโฉนดที่พิพาทนั้นเพราะ จำเลยที่ 1 ได้ยกที่พิพาทให้ก็ดี แต่การที่จำเลยได้จดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ที่พิพาทเป็นทางเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้ก่อนแล้ว โจทก์อาจเรียกให้เพิกถอนการจดทะเบียนนั้นได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 887/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการสำรวจออกโฉนดที่ดินจำกัดเฉพาะการแก้ไขข้อผิดพลาด ไม่สามารถยกเลิกโฉนดที่ออกตามคำพิพากษาศาลได้
คณะกรรมการสำรวจการออกโฉนดที่ดิน ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ยกเลิกโฉนดที่เจ้าพนักงานได้ออกให้เนื่องจากคำพิพากษาของศาล เพราะความใน พ.ร.บ.ไม่กินถึงว่าให้อำนาจ เช่นนั้น.
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2499)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 138/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินโฉนด: สิทธิของเจ้าของโฉนดเมื่อผู้เช่าคืนที่ดิน
เมื่อปรากฏว่าที่นาพิพาทที่จำเลยเช่าทำนั้นอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์และเจ้าของนาได้ยินยอมคืนให้โจทก์แล้วจำเลยผู้เช่าเป็นแต่เพียงผู้ครอบครองแทนเจ้าของเมื่อเจ้าของยอมคืนไปแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิหรือหน้าที่อย่างใดที่จะมาขัดขวาง
การครอบครองที่ดินในโฉนดของผู้อื่นเช่นในกรณีนี้เมื่อผู้ครอบครองคืนที่ให้เจ้าของโฉนด(โจทก์)หรือสละทิ้งที่นั้นแล้วเจ้าของโฉนดในที่ตรงนั้น(โจทก์) ย่อมเข้าครอบครองถืออำนาจเป็นเจ้าของได้ต่อไปโดยไม่ต้องเปลี่ยนแก้ทางทะเบียนประการใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 761/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะไถ่โฉนดคืน: จำเลยมีหน้าที่ตามสัญญา แม้โจทก์ไม่มีอำนาจไล่เบี้ย
จำเลยยืมโฉนดที่ดินของโจทก์ไปวางประกันเงินกู้จากธนาคารโดยให้โจทก์ลงชื่อในใบมอบฉันทะให้ไว้สัญญาจะไถ่คืนให้ใน 1 เดือนโจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยจัดการไถ่โฉนดคืนให้โจทก์ตามสัญญาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 179/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าพนักงานที่ดินต่อความเสียหายจากจำนองที่ดินโดยใช้โฉนดที่ถูกแจ้งหาย
มีผู้ลอบเอาโฉนดที่ดิน ซึ่งเจ้าของแจ้งหายและขอใบแทนไปแล้วมาหลอกจำนองไว้กับโจทก์ ปรากฏว่าในโฉนดฉบับหลวงได้จดแจ้งการออกใบแทนโฉนดพร้อมทั้งวันเดือนปีไว้ด้วยหมึกสีแดงเห็นได้อย่างสะดุดตาแต่เจ้าพนักงานที่ดินกระทำโดยประมาทละเลยต่อการตรวจดูตามสมควรจึงได้มีการจำนองต่อกันเป็นที่เสียหายแก่โจทก์ดังนี้ เจ้าพนักงานที่ดินต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย และกรมที่ดินก็ต้องรับผิดด้วยตามนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิร่วมในสินสมรส แม้ไม่มีชื่อในโฉนด
แม้เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว ก็ดี ฝ่ายที่ไม่มีชื่อในโฉนดที่ดินอันเป็นสินสมรส ก็ย่อมมีสิทธิขอให้ลงชื่อร่วมกันในโฉนดที่ดินได้ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1467

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1805/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1382 และ พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน
พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2486 มาตรา 14 และกฎกระทรวงมหาดไทยซึ่งออกตาม พ.ร.บ.นี้ข้อ 1 ว่าผู้ขอจดทะเบียนการได้มา ซึ่งกรรมสิทธิที่ดินที่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิแล้วตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1382 ต้องยื่นคำขอต่อเจ้าพนักงานที่ดินพร้อมด้วยคำพิพากษาหรือคำสั่งศาลแสดงว่าตนมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น ฉะนั้นการที่ผู้ครอบครองที่ดินจนได้กรรมสิทธิตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1382 แล้ว แม้ที่ดินนั้นจะมีชื่อผู้อื่นในโฉนด ผู้ครอบครองก็ย่อมจะยื่นคำร้องต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาทขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าตนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิในที่ดินแปลงนั้นได้ โดยไม่จำเป็นต้องฟ้องผู้มีชื่อในโฉนดนั้นมาเป็นจำเลยอย่างคดีมีข้อพิพาท แต่ถ้าผู้มีชื่อในโฉนดร้องคัดค้านเข้ามาศาลก็ย่อมสั่งว่าคดีกลายเป็นมีข้อพิพาทให้เสียกค่าธรรมเนียมและดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทตาม ป.ม.วิ.แพ่ง ฯ มาตรา 188 ข้อ 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1735/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของที่ดินฟ้องรังวัดเพื่อออกโฉนดให้ผู้อื่น แม้เป็นการกระทำของเจ้าหน้าที่รัฐ
ผู้มีกรรมสิทธิหรือมีสิทธิครอบครองที่ดิน ย่อมมีสิทธิฟ้องผู้ที่นำเจ้าพนักงานที่ดินมารังวัดที่นั้นเพื่อออกโฉนดให้เป็นของผู้อื่นเป็นจำเลย โดยฟ้องขอให้ศาลแสดงกรรมสิทธิหรือสิทธิครอบครองที่นั้นและห้ามมิให้มารบกวนการครอบครองที่นั้นได้ แม้ว่าจำเลยจะกระทำไปตามหน้าที่ราชการและอาศัยสิทธิของบุคคลที่ 3 ก็ดี ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะเรียกบุคคลที่ 3 ซึ่งจำเลยอาศัยสิทธินั้นเข้ามาในคดี,หาใช่เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องฟ้องบุคคลที่ 3 ซึ่งมิได้เกี่ยวข้องกับโจทก์นั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 96/2488 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขูดลบแก้ไขกรรมสิทธิในโฉนดที่ดินถือเป็นการปลอมแปลงเอกสารตามกฎหมาย
การขูดลบลายมือชื่อผู้ถือกรรมสิทธิที่ดินในหนังสือใบแทนโฉนดที่แท้จริงแล้วเขียนชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิแทนนั้น เป็นการปลอมครบถ้วนตามกฎหมายอาญามาตรา 222 (2) แม้การปลอมนั้นจะเห็นได้ชัดก็ไม่ทำให้ไม่เป็นปลอม.
of 21