พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,887 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3664/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ตามคำพิพากษา ยอมรับการชำระหนี้แทนการส่งมอบทรัพย์สิน ทำให้เกิดหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์
โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษามีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลอันถึงที่สุดซึ่งพิพากษาให้โจทก์ส่งรถยนต์คันพิพาทที่โจทก์เช่าซื้อไปจากจำเลยคืนให้แก่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากคืนไม่ได้ก็ให้ใช้ราคาแทน หนี้ที่จะต้องชำระตามคำพิพากษามีลักษณะบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ตามลำดับก่อนหลัง แต่การบังคับตามคำพิพากษาถือว่าเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่ตามคำพิพากษาที่อาจยอมรับการชำระหนี้อย่างหนึ่งอย่างใดตามคำพิพากษาได้ แม้จะมิได้เป็นไปตามลำดับในคำพิพากษา เมื่อจำเลยยอมรับเงินที่โจทก์นำไปวางชำระต่อกรมบังคับคดีครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว ถือได้โดยปริยายว่าจำเลยตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในรถยนต์คันพิพาทให้เป็นของโจทก์ โดยจำเลยได้รับชดใช้ราคาแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องจดทะเบียนให้โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์พร้อมส่งมอบคู่มือจดทะเบียนรถยนต์คันพิพาทคืนให้แก่โจทก์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นหุ้นส่วนลงทุนเลี้ยงกบที่เคยมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีก่อนจำเลยคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้กับพวกเป็นจำเลยว่าผิดสัญญาหุ้นส่วนและไม่แบ่งปันผลกำไร ขอให้ใช้เงินคืน ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยว่า จำเลยจงใจและใช้กลฉ้อฉลหลอกลวงให้โจทก์ต้องรับภาระในการลงทุนที่หนักกว่าที่โจทก์จะยอมรับโดยปกติ โดยโจทก์ต้องออกเงินลงทุนในการเลี้ยงกบไปถึง 131,377 บาท ขอให้จำเลยใช้เงินคืนโจทก์จำนวนครึ่งหนึ่ง ประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยสืบเนื่องมาจากมูลฐานและข้ออ้างอย่างเดียวกันคือ โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนทำฟาร์มเลี้ยงกบกันหรือไม่ และเงินที่โจทก์ฟ้องเรียกมาก็เป็นเงินลงหุ้นตามสัญญาหุ้นส่วนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า โจทก์และจำเลยได้ร่วมกันลงทุนทำฟาร์มเลี้ยงกบอันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว เมื่อคดีก่อนมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์มารื้อร้องฟ้องจำเลยในคดีนี้อีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3329/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความ, อำนาจฟ้อง, เช็ค, การชำระหนี้, และการบังคับตามคำพิพากษา
ป.พ.พ. มาตรา 193/34 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความสองปี (1) ผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรม... เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบ...เว้นแต่เป็นการที่ได้ทำเพื่อกิจการของฝ่ายลูกหนี้นั้นเอง..." และมาตรา 193/33 บัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องดังต่อไปนี้ ให้มีกำหนดอายุความห้าปี (1)...(5) สิทธิเรียกร้องตามมาตรา 193/34 (1) ที่ไม่อยู่ในบังคับอายุความสองปี" ดังนั้น การที่โจทก์ขายเครื่องจักรอุตสาหกรรมเครื่องมือช่างทองให้แก่จำเลย เมื่อจำเลยไม่ชำระราคา และโจทก์ฟ้องเรียกร้องให้จำเลยชำระราคา จึงเป็นกรณีที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมเรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) แต่นิติสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยซึ่งต่างเป็นผู้ประกอบการค้าหรืออุตสาหกรรมสินค้าเครื่องจักรอุตสาหกรรม เครื่องมือช่างทองด้วยกัน ทำสัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างกันเอง โดยจำเลยซื้อสินค้าดังกล่าวจากโจทก์เพื่อขายต่อไปให้บุคคลอื่นซึ่งเป็นลูกค้าของจำเลย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้ขายสินค้าเพื่อกิจการของจำเลยผู้ซื้อซึ่งเป็นลูกหนี้เองตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (1) ตอนท้าย ฉะนั้น อายุความฟ้องร้องคดีของโจทก์ที่เรียกเอาค่าของที่ได้ส่งมอบแก่จำเลยตามสัญญาซื้อขายจึงมีกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 (5) ประกอบมาตรา 193/12
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสามบัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ส่งมอบแก่โจทก์ แล้วโจทก์ไม่นำไปเรียกเก็บเงิน ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์หรือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในต่างประเทศ จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คในอันที่จะใช้เงินแก่โจทก์ผู้ทรงเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 วรรคหนึ่ง แต่การชำระหนี้ด้วยการออกเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงิน หนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำเช็ค 3 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค หนี้ค่าสินค้าที่มีอยู่เดิมก็ไม่ระงับ แม้โจทก์เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายละเลยไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเองก็ตาม อย่างไรก็ดี สำหรับจำนวนเงินค่าสินค้าครั้งหลังสุดจำนวน 1,219 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อจำเลยได้ชำระแล้วโดยหักจากเงินที่จำเลยสำรองจ่ายให้ ฟ. ตัวแทนของโจทก์บางส่วนและที่ ฟ. ให้จำเลยจ่ายค่าโรงแรมไปเป็นเงินรวม 99,177.05 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนนี้ด้วยการชำระหนี้อย่างอื่นแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ไปแล้ว
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 47 วรรคสามบัญญัติเพียงว่า ใบมอบอำนาจที่ทำในเมืองต่างประเทศที่มีกงสุลสยาม ต้องให้กงสุลนั้นเป็นพยาน ถ้าทำในเมืองต่างประเทศที่ไม่มีกงสุลสยามต้องให้โนตารีปับลิก ฯลฯ เป็นพยาน ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าผู้รับมอบอำนาจจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจ ฉะนั้น แม้ ว. และ ช. ผู้รับมอบอำนาจไม่ได้ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจก็ไม่ทำให้หนังสือมอบอำนาจนั้นเสียไป โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีนี้
จำเลยสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ ส่งมอบแก่โจทก์ แล้วโจทก์ไม่นำไปเรียกเก็บเงิน ซึ่งไม่ว่าจำเลยจะสั่งจ่ายเช็ค 3 ฉบับ เพื่อชำระหนี้แก่โจทก์หรือเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้โดยการโอนเงินเข้าบัญชีของโจทก์ในต่างประเทศ จำเลยย่อมต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็คในอันที่จะใช้เงินแก่โจทก์ผู้ทรงเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 วรรคหนึ่ง, 914, 989 วรรคหนึ่ง แต่การชำระหนี้ด้วยการออกเช็คซึ่งเป็นตั๋วเงิน หนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินนั้นได้ใช้เงินแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคสาม เมื่อโจทก์ไม่ได้นำเช็ค 3 ฉบับ ไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็ค หนี้ค่าสินค้าที่มีอยู่เดิมก็ไม่ระงับ แม้โจทก์เจ้าหนี้จะเป็นฝ่ายละเลยไม่นำเช็คไปเรียกเก็บเงินเองก็ตาม อย่างไรก็ดี สำหรับจำนวนเงินค่าสินค้าครั้งหลังสุดจำนวน 1,219 ดอลลาร์สหรัฐ เมื่อจำเลยได้ชำระแล้วโดยหักจากเงินที่จำเลยสำรองจ่ายให้ ฟ. ตัวแทนของโจทก์บางส่วนและที่ ฟ. ให้จำเลยจ่ายค่าโรงแรมไปเป็นเงินรวม 99,177.05 บาท จึงรับฟังได้ว่าจำเลยชำระหนี้จำนวนนี้ด้วยการชำระหนี้อย่างอื่นแทนให้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 321 วรรคหนึ่ง ไปแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3214/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิบัติตามคำพิพากษาศาล: จำเลยไม่อาจอ้างความเสียหายเพื่อหลีกเลี่ยงการรื้อถอนอาคารที่ต่อเติมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลที่ให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่จำเลยต่อเติมโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจยกเอาความเสียหายที่จะต้องได้รับมาปฏิเสธความรับผิดของจำเลยในอันที่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3171/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้มาตรา 229 ป.วิ.พ. เฉพาะอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งที่กระทบคำพิพากษาเท่านั้น
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้น ตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น คดีนี้ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา วรรคสอง ให้ยกคำร้อง จำเลยทั้งสองอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวนี้ หากศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยทั้งสอง ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยทั้งสองไว้พิจารณาและมีคำสั่งต่อไปตามรูปคดี การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองในชั้นนี้ไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นจำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2916/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง: ข้อจำกัดและข้อยกเว้นเรื่องการฉ้อฉลและการละเมิดกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาเช่นว่านี้ เว้นแต่ในเหตุต่อไปนี้ (1) เมื่อมีข้อกล่าวอ้างว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฉ้อฉล (2) เมื่อคำพิพากษานั้นถูกกล่าวอ้างว่าเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน" จำเลยฎีกาว่า นาง ด. เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลย และโจทก์ซึ่งเป็นผู้นำยึดอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 ร่วมกันแจ้งต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่า อาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 มีนาง ล. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ซึ่งไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ความจริงอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 เป็นกรรมสิทธิ์ของนาง พ. ทำให้การขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีโดยโจทก์เป็นผู้ซื้ออาคารพาณิชย์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน และพฤติการณ์ของโจทก์กับนาง ด. เป็นการฉ้อฉลจำเลย เห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยดังกล่าวเป็นเรื่องที่จำเลยอ้างว่าการขายทอดตลาดอาคารพาณิชย์เลขที่ 233/3 ของพนักงานบังคับคดีไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเกิดจากการคบคิดกันฉ้อฉลในระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในการบังคับคดี หาใช่เรื่องที่โจทก์หลอกลวงให้จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่จะทำให้เห็นว่าสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นเกิดโดยการฉ้อฉลของโจทก์แต่อย่างใดไม่ และข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมนั้นก็มิได้ขัดต่อบทบัญญัติแห่งกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ดังนั้น ข้ออ้างของจำเลยจึงมิได้เข้าข้อยกเว้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคสอง ในอันที่จำเลยจะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2201/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่กระทบคำพิพากษาไม่ต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229
ป.วิ.พ. มาตรา 229 บัญญัติว่า "การอุทธรณ์นั้นให้ทำเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้นซึ่งมีคำพิพากษาหรือคำสั่งภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น และผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาหรือคำสั่งมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์นั้นด้วย..." บทบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับเฉพาะกรณีอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินของศาลชั้นต้นตลอดจนการอุทธรณ์คำสั่งอื่น ๆ ของศาลชั้นต้นที่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตัดสินคดีของศาลชั้นต้นเท่านั้น หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยร่วมได้ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ ศาลชั้นต้นพิจารณาคำร้องแล้วมีคำสั่งว่าคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยร่วมเพียงแต่กล่าวอ้างว่ามีพยานบุคคลและพยานหลักฐานซึ่งหากนำเข้าสู่การพิจารณาจะทำให้พยานหลักฐานของจำเลยร่วมมีน้ำหนักน่าเชื่อว่าพยานหลักฐานของโจทก์และโจทก์ร่วม โดยไม่มีเหตุผลหรือหลักฐานอ้างอิงที่จะแสดงให้เห็นชัดแจ้งว่า หากพิจารณาคดีใหม่แล้ว ศาลอาจพิพากษาให้ผิดแตกต่างจากที่ได้พิพากษาไปแล้ว คำร้องของจำเลยร่วมจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยร่วมอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวโดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 เพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นโดยอนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ อุทธรณ์ของจำเลยร่วมดังกล่าวหากศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามข้ออุทธรณ์ของจำเลยร่วม ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ก็จะพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลยร่วมและไต่สวนพยานของจำเลยร่วมแล้วมีคำสั่งไปตามรูปคดีว่าจะอนุญาตให้จำเลยร่วมพิจารณาคดีใหม่หรือไม่ การอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยร่วมในชั้นนี้จึงไม่มีผลโดยตรงต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้สิ้นผลบังคับแต่อย่างใด เมื่ออุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยร่วมจึงไม่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์และโจทก์ร่วมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1876/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก่อนบุคคลภายนอกผู้ยึดทรัพย์ เมื่อมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
ศาลพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทแก่ผู้ร้อง หากจำเลยที่ 1 ไม่ไปให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนาของจำเลยที่ 1 คดีถึงที่สุดแล้ว แม้กรรมสิทธิ์ในที่ดินยังไม่ได้เปลี่ยนมือและยังไม่ได้จดทะเบียนเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องก็ตาม แต่เมื่อผู้ร้องได้สิทธิที่จะจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงนี้โดยผลแห่งคำพิพากษาคดีที่ผู้ร้องฟ้องจำเลยให้โอนที่ดินให้ซึ่งถึงที่สุดแล้วเช่นนี้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้ก่อนโจทก์ ซึ่งเพียงแต่ยึดที่ดินแปลงนี้ไว้เพื่อบังคับคดีเท่านั้น ผู้ร้องย่อมจะขอให้เพิกถอนการยึดของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 เช่นกัน กรณีต่างกับมาตรา 1299 ซึ่งเป็นเรื่องของการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิซึ่งยังไม่บริบูรณ์จนกว่าจะได้จดทะเบียนทรัพยสิทธินั้น ๆ แล้ว สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวเป็นทรัพยสิทธิที่สามารถใช้ยันโจทก์ได้ และปรากฏว่าหลังจากศาลชั้นต้นแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวมีคำพิพากษาบังคับให้จำเลยที่ 1 ไปโอนที่ดินให้ผู้ร้อง ผู้ร้องได้ให้ทนายความมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามและยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อฟ้องบังคับให้โอนที่ดินตามหนังสือท้ายสัญญาหย่า ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องปล่อยปละละเลยมิได้ดำเนินการเพื่อให้มีการจดทะเบียนการได้มา อีกทั้งกฎหมายก็มิได้บังคับไว้ว่าต้องจดทะเบียนโอนกันภายในระยะเวลาใด โจทก์จะบังคับยึดที่ดินดังกล่าวอันเป็นการกระทบกระทั่งสิทธิของผู้ร้องซึ่งมีอยู่ก่อนแล้วไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287 ผู้ร้องมีสิทธิขอให้เพิกถอนการยึดที่ดินพิพาทดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1332/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้หลังมีคำพิพากษา และผลกระทบต่อการอุทธรณ์ การวางเงินค่าธรรมเนียมก่อนอุทธรณ์
จำเลยชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นพร้อมค่าฤชาธรรมเนียมที่ต้องใช้แทนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว โจทก์ย่อมไม่ได้รับความเสียหายจากการที่จำเลยยื่นอุทธรณ์ จึงไม่มีเหตุที่จะให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องให้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้คดีก่อนจำหน่ายเนื่องจากขาดนัด และจำเลยยังผูกพันตามคำพิพากษาเดิม
โจทก์เคยนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในคดีก่อน แต่โจทก์ขาดนัดพิจารณาและศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีของโจทก์แล้วโดยที่ยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องดังกล่าว ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องจำเลยใหม่เป็นคดีนี้โดยอ้างเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
นอกจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เดิมที่มีต่อจำเลยโดยทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์กับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยชอบแล้ว จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่วินิจฉัยว่า ปรส. มีอำนาจในการขายสินทรัพย์จนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวและเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว แม้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ กรณีก็ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
นอกจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า โจทก์เป็นผู้รับโอนสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้เดิมที่มีต่อจำเลยโดยทำสัญญาซื้อขายสินทรัพย์กับองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ปรส.) โดยชอบแล้ว จำเลยยังคงต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีแพ่งที่วินิจฉัยว่า ปรส. มีอำนาจในการขายสินทรัพย์จนกว่าคำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับหรืองดเสีย จำเลยจึงเป็นหนี้โจทก์ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาดังกล่าวและเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอนแล้ว แม้จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวและคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ กรณีก็ถือไม่ได้ว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย