พบผลลัพธ์ทั้งหมด 229 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626-628/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตเจ้าหนี้ต่างประเทศตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: ม.91 vs. ม.178
เจ้าหนี้ตาม มาตรา91 นั้นหมายถึงเจ้าหนี้ที่เป็นคนไทยหรือต่างประเทศที่อยู่นอกราชอาณาจักรแต่ มาตรา178 นั้น บัญญัติถึงเจ้าหนี้ต่างประเทศซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักรโดยเฉพาะมิได้หมายความถึงคนไทยด้วยและหนี้ที่เกิดนั้นมิได้กำหนดว่าจะต้องเกิดขึ้นที่ไหน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1744/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศที่มีเครื่องหมายคล้ายกัน ไม่ถือเป็นการละเมิด หากไม่ใช่เจ้าของเครื่องหมาย
โจทก์จำเลยสั่งสินค้าชนิดเดียวกันจากบริษัทในต่างประเทศแห่งเดียวกันและบริษัทติดเครื่องหมาย "ฮิท" (Hit) ในสินค้านั้นมา แต่เครื่องหมายไม่เหมือนกับที่จำเลยจดทะเบียนไว้ในประเทศไทยและสินค้าที่จำเลยสั่งมา จำเลยให้บริษัททำเครื่องหมายแตกต่างจากเดิมเล็กน้อย ดังนี้ การที่โจทก์สั่งสินค้าเครื่องหมาย "ฮิท" (Hit) ตามธรรมดา (ซึ่งไม่เหมือนกับที่จำเลยสั่ง) เข้ามาจำหน่ายไม่เป็นการละเมิดต่อกิจการจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ: หลักเกณฑ์การพิจารณาความสมบูรณ์และการใช้ ม.47(3) ป.วิ.พ.
จะนำบทบัญญัติของประมวลวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.47(3) มาใช้ก็แต่ในกรณีที่ศาลมีความสงสัยในความแท้จริงของใบมอบอำนาจ จึงจะต้องจัดให้มีการปฏิบัติตาม ม.47(3) ถ้าใบมอบอำนาจใดศาลเชื่อแล้วก็ไม่ต้องนำ ม.47(3) นี้มาใช้และ ม.47(3) นี้ไม่ใข่บทบัญญัติที่บัญญัติถึงแบบของใบมอบอำนาจอย่างใดด้วย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจต่างประเทศ: การพิจารณาความแท้จริงและการรับรองของกงศุล
จะนำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ม.47(3)มาใช้ก็แต่ในกรณีที่ศาลมีความสงสัยในความแท้จริงของใบมอบอำนาจ จึงจะต้องจัดให้มีการปฏิบัติตาม ม.47(3) ถ้าใบมอบอำนาจใดศาลเชื่อแล้วก็ไม่ต้องนำ ม.47(3)มาใช้และ ม.47(3) นี้ไม่ใช่บทบัญญัติที่บัญญัติถึงแบบของใบมอบอำนาจอย่างใดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2499 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศและอำนาจฟ้องของหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียน
หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนไม่จดทะเบียนแต่ผู้เดียว มีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิการจดทะเบียนเครื่องการค้าของห้างหุ้นส่วนได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2499)
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้นไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2499)
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้นไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1771/2499
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่างประเทศในไทย: หุ้นส่วนผู้จัดการมีอำนาจฟ้อง
หุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียนแต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับสิทธิการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของห้างหุ้นส่วนได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2499)
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้นไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
เครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนไว้ในต่างประเทศนั้นไม่มีผลบังคับในประเทศไทย แต่อาจเป็นข้อเท็จจริงที่จะใช้ฟังถึงสิทธิแห่งการเป็นเจ้าของและการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายต่างประเทศ: ความรับผิดในสัญญา, การแก้ไขคำแปล, และการกำหนดค่าเสียหาย
โจทก์ส่งสำเนาคำแปลเอกสารพร้อมกับสำเนาคำฟ้องโจทก์แถลงรับรองต่อศาลว่าแปลผิดไป แต่คำแปลที่ส่งพร้อมกับต้นฉบับเอกสารนั้นถูกต้องจำเลยมิได้คัดคค้านคำแปลนี้ว่าผิดพลาดประการใด จึงต้องคำแปลที่ส่งพร้อมกับต้นฉบับว่าถูกต้องตามความจริง
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์สั่งผ้าจากต่างประเทศให้จำเลย โจทก์ได้จัดการสั่งให้ครบถ้วน และโจทก์ได้ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศด้วยแล้ว เมื่อจำเลยทำผิดสัญญากับโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมผิดสัญญากับบริษัทในต่างประเทศต้องเสียหาย จำเลยก็ต้องรับผิดในความเสียหายจำเลยนั้น
ถ้าโจทก์นำสืบค่าเนียหายไม่ได้แน่ชัดว่า การเสียหายถึงจำนวนนั้นจริงศาลก็กำหนดให้ตามที่ศาลเห็นสมควร
การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพฯในวันฟ้อง
จำเลยทำสัญญาให้โจทก์สั่งผ้าจากต่างประเทศให้จำเลย โจทก์ได้จัดการสั่งให้ครบถ้วน และโจทก์ได้ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศด้วยแล้ว เมื่อจำเลยทำผิดสัญญากับโจทก์ ย่อมเห็นได้ว่าโจทก์ย่อมผิดสัญญากับบริษัทในต่างประเทศต้องเสียหาย จำเลยก็ต้องรับผิดในความเสียหายจำเลยนั้น
ถ้าโจทก์นำสืบค่าเนียหายไม่ได้แน่ชัดว่า การเสียหายถึงจำนวนนั้นจริงศาลก็กำหนดให้ตามที่ศาลเห็นสมควร
การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราโดยเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ในกรุงเทพฯในวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าโดยความยินยอมของคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสต่างประเทศ และการใช้หนังสือหย่าตามกฎหมายแพ่ง
สามีภริยายื่นคำร้องต่อกรมการอำเภอ มีข้อความกล่าวไว้ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยา กัน ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่าย มีพยานลงลายมือชื่อสองคน ดังนี้ ก็ถือได้ว่า หนังสือคำร้องนั้นเป็นหนังสือหย่าอย่าง บริบูรณ์ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1498.
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณต่างประเทศได้จดทะเบียน ณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนัก วานฑูตหรือกงศุลไทย ตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้น การสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้จดทะเบียนตาม ป.ม. แพ่งฯ ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ป.ม.แพ่งฯ ก็ใช้ได้./
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณต่างประเทศได้จดทะเบียน ณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนัก วานฑูตหรือกงศุลไทย ตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้น การสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้จดทะเบียนตาม ป.ม. แพ่งฯ ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ป.ม.แพ่งฯ ก็ใช้ได้./
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 610/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าโดยความยินยอมและการสิ้นสุดสภาพสมรสที่จดทะเบียนต่างประเทศ
สามีภริยายื่นคำร้องต่อกรมการอำเภอ มีข้อความกล่าวไว้ชัดแจ้งว่าทั้งสองฝ่ายตกลงหย่าขาดจากการเป็นสามีภริยากัน ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายมีพยานลงลายมือชื่อสองคนดังนี้ก็ถือได้ว่า หนังสือคำร้องนั้นเป็นหนังสือหย่าอย่างบริบูรณ์ ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1498
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณ ต่างประเทศได้จดทะเบียนณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทูตหรือกงศุลไทยตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้นการสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้ทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ใช้ได้
ชายไทยทำการสมรสกับหญิงต่างด้าว ณ ต่างประเทศได้จดทะเบียนณ ต่างประเทศ โดยมิได้จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงานทูตหรือกงศุลไทยตามมาตรา 1450 วรรคท้าย นั้นการสมรสดังว่านี้ เป็นการสมรสที่มิได้ทะเบียนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉะนั้นการหย่าจึงไม่ต้องจดทะเบียนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ก็ใช้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1477/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของบุคคลเกิดในไทยแต่ไปอยู่ต่างประเทศ การพิสูจน์สัญชาติไทย และอำนาจฟ้องร้อง
คนที่มีสัญชาติไทย แต่ไปอยู่ต่างประเทศเสียตั้งแต่เล็ก ๆ ครั้นโตขึ้นจึงเดินทางเข้ามาในประเทศไทย พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองไม่ยินยอมให้ผู้นั้นอาศัยอยู่ในประเทศไทย โดยถือว่าเป็นคนต่างด้าว ดังนี้ ผู้นั้นมีสิทธิฟ้องกระทรวงมหาดไทยเป็นจำเลย ขอให้ศาลเพิกถอนคำสั่งเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองดังกล่าวได้