พบผลลัพธ์ทั้งหมด 392 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่โจทก์พิสูจน์ความผิดจำเลย, พยานหลักฐานสนับสนุนฟ้อง, การใช้กฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลง
ในคดีอาญาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ เป็นหน้าที่ของโจทก์โดยตรงที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนฟ้องและพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 จะบัญญัติให้ถ้อยคำของจำเลยหรือผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานของโจทก์อย่างหนึ่งที่จะนำสืบสนับสนุนฟ้องเท่านั้น ทั้งเป็นเพียงพยานบอกเล่าจึงมีน้ำหนักน้อยเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา โจทก์มีหน้าที่จะต้องนำพยานเข้าสืบให้เห็นโดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริงตามฟ้องลำพังแต่เพียงเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบเมทแอมเฟตามีนที่ตัวจำเลย แม้จะมีจำนวนค่อนข้างมากก็ยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาโทษรอการลงโทษและการบวกโทษคดีอาญา: เกณฑ์เวลาที่ถูกต้องและการปรับบทกฎหมาย
การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นรอการลงโทษให้แก่จำเลยจนถึงวันที่จำเลยกระทำความผิดในคดีหลัง เพื่อนำโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนมาบวกเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 หาใช่เป็นการติดต่อราชการตามนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/4 ไม่ การนับระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่ 20 มีนาคม 2542 จะต้องไปครบ 1 ปี ในวันที่ 20 มีนาคม 2543 เวลา 24 นาฬิกาอันเป็นการนับวันเวลาตามปกตินั่นเอง จำเลยกระทำผิดในวันที่ 20มีนาคม 2543 เวลา19.45 นาฬิกา จึงบวกโทษจำคุกในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดสนับสนุนการทำแท้ง แม้ผู้เสียหายยินยอม การกระทำดังกล่าวก็ยังคงเป็นความผิดตามกฎหมายอาญา
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสามร่วมกันใช้หญิงคนหนึ่งไม่ทราบชื่อทำให้นางสาว ป. ผู้เสียหายแท้งลูกโดยผู้เสียหายไม่ยินยอม ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตาม ป.อ. มาตรา 83 , 84 , 303 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้เสียหายไปหาจำเลยที่ 1 ที่บ้านและถูกจำเลยที่ 1 ข่มขืนกระทำชำเรา หลังจากนั้นเมื่อผู้เสียหายไปตรวจร่างกายที่สถานีอนามัยจึงทราบว่าผู้เสียหายตั้งครรภ์ ต่อมาจำเลยทั้งสามมาหาผู้เสียหายที่บ้านโดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับรถ จำเลยที่ 2 เป็นมารดาจำเลยที่ 1 แล้วพาผู้เสียหายไปหาผู้หญิงคนหนึ่งเพื่อทำแท้ง ระหว่างทางจำเลยที่ 3 ลงจากรถไปก่อน จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 พาผู้เสียหายเข้าไปทำแท้งในบ้านหลังหนึ่งโดยผู้เสียหายยินยอมให้ทำแท้งลูก ระหว่างการทำแท้งจำเลยที่ 1 นั่งขวางประตูบ้านอยู่ด้วย พฤติการณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะกระทำความผิดในการที่ผู้อื่นทำแท้งผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด ตามมาตรา 302 วรรคแรก ประกอบมาตรา 86 แม้โจทก์จะมิได้ขอให้ลงโทษตามมาตรานี้ ศาลก็ย่อมลงโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เพราะการทำให้แท้งลูกไม่ว่าหญิงนั้นจะยินยอมหรือไม่ ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติเป็นความผิดทั้งนั้น หากแต่กำหนดโทษหนักเบาต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5554/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: พรากเด็กเรียกค่าไถ่ ต้องลงโทษตามบทที่มีโทษหนักที่สุด
การที่จำเลยทั้งสองร่วมกันพรากเด็กอายุ 6 ปีเศษ ไปจากบิดามารดาผู้ปกครองเพื่อหากำไรและร่วมกันหน่วงเหนี่ยวกักขังเด็กไว้เพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่ โดยจำเลยทั้งสองมุ่งประสงค์เรียกค่าไถ่เป็นสำคัญ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทคือ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 313 วรรคแรก บทหนึ่ง และตามมาตรา 317 วรรคสาม อีกบทหนึ่ง ต้องลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 313 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 หาใช่เป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และมีอำนาจวินิจฉัยตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ฎีกาขึ้นมาด้วย เนื่องจากเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นกรรมเดียวหรือหลายกรรมต่างกันเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยที่ 2 จะไม่ได้ฎีกาในประเด็นดังกล่าวขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วย มาตรา 225 และมีอำนาจวินิจฉัยตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งไม่ได้ฎีกาขึ้นมาด้วย เนื่องจากเป็นเหตุในส่วนลักษณะคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 ประกอบด้วย มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5133/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดกรรมเดียวหลายบท กรณีมีอาวุธปืนผิดกฎหมายและใช้ฆ่าผู้อื่น ศาลต้องลงโทษฐานความผิดที่หนักที่สุด
การที่จำเลยมีอาวุธปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ได้ไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย และจำเลยใช้อาวุธปืนดังกล่าวฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ถือว่าเป็นการกระทำความผิดกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษจำเลยฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดเพียงบทเดียวตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการเพิ่มลดโทษตามกฎหมายอาญา และการแก้ไขโทษของจำเลยร่วม
การเพิ่มโทษอีกหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 นั้น จะต้องกำหนดโทษที่จะลงเสียก่อนแล้วจึงเพิ่มโทษ หลังจากนั้นจึงจะลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 54
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คดีนี้ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาฯ พิพากษาเพียงลงโทษปรับสถานเดียว จึงไม่อาจเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้ และปัญหานี้เป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีจึงมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้อุทธรณ์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9522/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดการยึด/อายัดทรัพย์ในคดีที่ศาลยกฟ้อง แม้เหตุยกฟ้องเป็นเพราะไม่มีเหตุเชื่อว่าจำเลยกระทำผิด
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องผู้คัดค้าน เมื่อพนักงานอัยการโจทก์และผู้คัดค้านไม่อุทธรณ์ คดีจึงถึงที่สุด ดังนั้น การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ได้ยึดหรืออายัดไว้ก็ย่อมสิ้นสุดลง ตามมาตรา 32 แห่ง พ.ร.บ. มาตรในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน และผลต่อการฟ้องคดีอาญา
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดยังไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 แต่ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้มีพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดในคดีนี้ได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น"ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใด" ให้เป็น "ผู้ใด" ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกของจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในนามของ น. นั้น ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดมาตราดังกล่าว ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิดมีผลต่อองค์ประกอบความผิด จำเลยมีสัญชาติไทย ฟ้องไม่ชอบ
ขณะที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิด ยังไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14แต่ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ มีพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และให้ใช้ความใหม่แทน เมื่อปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใด" ให้เป็น "ผู้ใด"ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทยส่วนพวกของจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในนามของผู้อื่นนั้นฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9083/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งที่กระทำทุจริต แม้ลงโทษตามกฎหมายอาญาแล้ว
การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท กล่าวคือนอกจากจำเลยมีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม ป.อ. มาตรา 157 แล้ว ยังมีความผิดต่อ พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ. 2482 มาตรา 59 , 60 , 71 , 72 โดยเหตุที่การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเป็นมาตรการที่มุ่งจะจำกัดสิทธิของเจ้าพนักงานผู้ดำเนินการเลือกตั้งซึ่งกระทำหน้าที่โดยทุจริต มิใช่โทษตามกฎหมาย เมื่อศาลลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 157 อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดแต่เพียงบทเดียวตาม ป.อ. มาตรา 90 แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของจำเลยได้ มิฉะนั้นแล้วการบังคับใช้มาตรการดังกล่าวย่อมไร้ผลอันเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย