คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 946/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นธรรม การเลิกจ้างขัดต่อกฎหมายแรงงานสัมพันธ์
ประกาศของจำเลยเรื่องการลาออกเนื่องจากเกษียณอายุกำหนดให้พนักงานตั้งแต่หัวหน้าแผนกขึ้นไปที่มีอายุครบ 60 ปี เกษียณอายุในวันสิ้นรอบปีบัญชีของจำเลย เป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 10 การที่จำเลยออกระเบียบและข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฉบับต่อมากำหนดให้พนักงานหญิงเกษียณเมื่ออายุครบ 45 ปี เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างหญิง และจำเลยมิได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 13 ถึงมาตรา 19 ระเบียบและข้อบังคับฉบับหลังจึงไม่มีผลบังคับเพราะขัดกับมาตรา 20 จำเลยจะให้โจทก์ซึ่งมีตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกของจำเลยออกจากงานเพราะเหตุเกษียณอายุก่อนโจทก์มีอายุครบ 60 ปีหาได้ไม่ การเลิกจ้างโจทก์จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ศาลแรงงานกลางเห็นว่าเอกสารท้ายฟ้องและที่คู่ความส่งต่อศาลกับคำแถลงของคู่ความเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ จึงสั่งงดสืบพยานคู่ความ แล้ววินิจฉัยว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมพิพากษายกฟ้อง เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จำนวนเงินประเภทต่าง ๆ ที่โจทก์เรียกร้องมาเป็นข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางยังมิได้พิจารณาศาลฎีกาย้อนสำนวนให้ศาลแรงงานกลางพิจารณาพิพากษาใหม่ในส่วนนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3846-3847/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งการทดลองงานต้องเป็นหนังสือชัดเจน การส่งมอบระเบียบข้อบังคับไม่ถือเป็นการแจ้งทดลองงาน
กรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยแจ้งด้วยวาจาพร้อมกับมอบระเบียบข้อบังคับในการทำงานและกฎข้อบังคับของพนักงานบริษัทจำเลย ให้แก่โจทก์ในวันสัมภาษณ์ว่าโจทก์ต้องทดลองงาน 180วัน ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการ 'แจ้งให้ทราบเป็นหนังสือ'ตามความหมายของ ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 แต่เป็นเพียงการส่งมอบเอกสารให้โจทก์ไปศึกษาว่า จำเลยมีข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นประการใดเท่านั้นทั้งในวันสัมภาษณ์นั้นก็ยังมิได้มีการตกลงจ้างกัน ต่อมา จำเลย ตัดสินใจจ้างโจทก์ตามหนังสือแจ้งให้โจทก์มาทำงาน ก็หามีข้อความใด แสดงให้ปรากฏว่าโจทก์จะต้องทดลองปฏิบัติงานหรือไม่ จึงไม่เป็น การแจ้งให้ลูกจ้างทดลองปฏิบัติงาน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิอุทธรณ์คดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 20,000 บาท และการพิสูจน์การกระทำละเมิดในทางการจ้าง
โจทก์ที่2ใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยเพียง17,817.27บาทจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของจำเลยที่2ในส่วนซึ่งอาจเป็นผลถึงโจทก์ที่2ด้วยจึงเป็นการมิชอบ การที่จำเลยที่1ลูกจ้างผู้ทำหน้าที่ธุรการในกองแก๊สของจำเลยที่2ซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจขับรถยนต์ของจำเลยที่2ซึ่งเป็นรถที่มีไว้เพื่อใช้งานรับส่งหนังสือและติดต่อภายนอกอันเป็นงานที่อยู่ในขอบข่ายหน้าที่การงานของพนักงานธุรการไปในเวลาทำงานของจำเลยที่2แล้วไปชนกับรถยนต์ของโจทก์นั้นเป็นพฤติการณ์ที่เชื่อได้ว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างของจำเลยที่2ในขณะเกิดเหตุ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3605/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาออกด้วยความสมัครใจ แม้มิได้ปฏิบัติตามข้อบังคับบริษัทก็มีผลสมบูรณ์
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีว่า เมื่อพนักงานผู้ใด ประสงค์จะลาออกจากงาน ให้ยื่นหนังสือลาออกพร้อมเหตุผล ต่อผู้บังคับบัญชาเหนือตนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า ๓๐ วันนั้น ถือได้ว่ากำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่นายจ้างในการที่จะได้ มีเวลาหาคนทำงานแทนผู้ลาออก ดังนั้น เมื่อนายจ้างและ ลูกจ้างตกลงกันที่จะไม่ปฏิบัติตามระเบียบดังกล่าว ไม่ว่า ฝ่ายใดเป็นผู้เสนอก็ตามก็หามีกฎหมายห้ามมิให้กระทำได้ ไม่ การลาออกของลูกจ้างตามข้อเสนอของนายจ้างแม้มิได้ กระทำเป็นหนังสือตามระเบียบก็มีผลเป็นการลาออกที่สมบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1106/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และการลาออกโดยสมัครใจที่ไม่เข้าข่ายการเลิกจ้าง
สัญญาจ้างเดิมไม่มีข้อตกลงที่นายจ้างจะปรับลูกจ้างผู้ลาออกระหว่างปีการศึกษาและไม่มีข้อกำหนดให้ลูกจ้างต้องมีผู้ค้ำประกัน การที่นายจ้างเพิ่มเงื่อนไขดังกล่าวขึ้นใหม่และเป็นประโยชน์แก่นายจ้าง ฝ่ายเดียว อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงานโดยแท้ จึงเป็น การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างทำบันทึกถึงลูกจ้างสอบถามว่าจะทำงานต่อไปหรือ จะลาออก พร้อมทั้งกำหนดเวลาให้ลูกจ้างตอบ หากไม่ตอบให้ถือว่า ลูกจ้างลาออกเช่นนี้ หากลูกจ้างไม่ตอบบันทึกนายจ้างจะถือเอาเองว่า ลูกจ้างลาออกหาได้ไม่ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไป ย่อมเป็นการเลิกจ้าง ลูกจ้างทำเครื่องหมายลงในหัวข้อขอลาออกและมีหนังสือชี้แจงเหตุผล ว่าไม่สามารถจัดหาผู้ค้ำประกันได้ ถือได้ว่าลูกจ้างลาออกโดยสมัครใจ ไม่มีสิทธิเรียกค่าชดเชยจากนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 225/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความเสียหายจากการขับรถ แม้จะไม่ได้จ้างทำของโดยตรง
จำเลยที่ 1 เช่าซื้อรถยนต์จากจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 นำรถมารับขนน้ำมันในนามจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างแก่คนขับรถคันนี้เกิดเหตุระหว่างกลับจากบรรทุกส่งน้ำมัน จำเลยที่ 3 ได้ประโยชน์ในการส่งน้ำมันอันเป็นกิจการของจำเลยที่ 3 ถือเป็นนายจ้างรับผิดร่วมกับคนขับรถด้วย สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ไม่ใช่จ้างทำของนำ มาตรา 428 มาใช้ไม่ได้
จำเลยที่ 3 ฎีกาผู้เดียว ศาลพิพากษาลดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดร่วมกันต่อโจทก์ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 407-408/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ห้างหุ้นส่วน/บริษัทร่วมรับผิดในละเมิด: ตราประทับ, ฟ้องเคลือบคลุม, การจ้างขับรถ
ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลซึ่งมิได้มีข้อความที่ขอจดทะเบียนระบุไว้ว่าจะต้องมีตราของห้างประทับลงบนลายมือชื่อของหุ้นส่วนผู้จัดการด้วย จึงจะผูกพันห้างนั้นในการดำเนินคดีแทนห้าง เพียงแต่หุ้นส่วนผู้จัดการลงลายมือชื่อในคำฟ้องหรือคำให้การ แม้จะไม่ประทับตราของห้างด้วยก็สมบูรณ์ตามกฎหมาย
จำเลยให้การต่อสู้ว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับการกระทำละเมิด ย่อมไม่มีประเด็นว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมเกี่ยวกับค่าเสียหาย จำเลยจะยกขึ้นเป็นข้อฎีกาหาได้ไม่ เพราะมิใช่ข้อที่ว่ากันมาแล้วในศาลล่าง
กรรมการของบริษัทซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้จัดการใช้ให้ลูกจ้างขับรถยนต์ของบริษัทไปยังสถานที่แห่งหนึ่งโดยกรรมการผู้นั้นนั่งไปด้วย ย่อมถือได้ว่าลูกจ้างได้ขับรถไปในทางการที่บริษัทจ้างซึ่งบริษัทจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 603/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้างนอกเหนือการปฏิบัติงานตามสัญญา
ลูกจ้างซึ่งมีหน้าที่ขับรถยนต์บรรทุกรับจ้างของนายจ้างได้ขับรถยนต์บรรทุกของบุคคลอื่นที่มาฝากนายจ้างไว้เพื่อไปเที่ยวงานวัดในตอนกลางคืน แม้นายจ้างจะรู้เห็นยินยอมด้วยก็หาใช่เป็นเรื่องที่ลูกจ้างขับรถไปในทางการที่จ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 425 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1847/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการละเมิดของลูกจ้างและผลกระทบจากผู้โดยสารไม่มีค่าโดยสาร
คนขับรถใช้ให้จำเลยที่ 1 ขับรถแทน คนขับมีหน้าที่ควบคุมรับผิดชอบไม่ให้เกิดเหตุร้ายขึ้น เมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทจนเป็นเหตุให้รถคว่ำ และบุตรโจทก์ถึงแก่ความตาย คนขับจะต้องรับผิดในการละเมิดที่เกิดขึ้น เหตุที่เกิดการละเมิดนี้อยู่ในกรอบกิจการที่จ้าง นายจ้างจะต้องร่วมรับผิดด้วย แม้คนตายจะโดยสารรถโดยไม่ได้ชำระค่าโดยสาร ก็ไม่เป็นเหตุให้นายจ้างพ้นความรับผิด เมื่อทรัพย์สินของผู้ตายสูญหายไปซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการที่ลูกจ้างทำละเมิด นายจ้างจะต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1716-1717/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง แม้ลูกจ้างนอกเหนือจากหน้าที่โดยตรง
จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างใช้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนรถให้ขับรถรับหัวหน้าคนงานที่ถนนลาดพร้าวมาปฏิบัติงานที่บริษัทโชคชัย ถนนราชวิถีเมื่อจำเลยที่ 1 ขับรถออกไปแล้ว แล้วได้เอารถไปเอากางเกงที่ตัดไว้ที่ตลาดบางแคเสียก่อน ระหว่างทางไปชนคนตาย 1 คน บาดเจ็บ 1 คน ดังนี้ จำเลยที่ 2 ผู้เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 36/2503)
of 3