พบผลลัพธ์ทั้งหมด 180 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 132/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำรับสารภาพไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีอาญา เนื่องจากพยานหลักฐานโจทก์แน่นหนามั่นคงเพียงพอที่จะลงโทษจำเลยได้
เหตุเกิดในเวลากลางวันและมีผู้รู้เห็นเหตุการณ์หลายคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพยานโจทก์ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับ เหตุการณ์ต่างเบิกความยืนยันว่าเห็นและจำได้แม่นยำว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่ใช้อาวุธปืนยิงผู้ตาย หลังจากเกิดเหตุแล้วประมาณ 5 วัน เมื่อเจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนได้เค้ามูลว่าจำเลยเป็นคนร้ายและนำภาพถ่ายของจำเลยไปให้พยานดู พยานดังกล่าวต่างยืนยันว่า จำเลยเป็นคนร้ายที่ยิงผู้ตาย พยานโจทก์มีโอกาสเห็นจำเลยอย่างใกล้ชิดและนานพอที่จะจำจำเลยได้ไม่ผิดตัว พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแน่นหนามั่งคงมีน้ำหนักพอที่จะรับฟังลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องอาศัยคำรับสารภาพของจำเลย คำให้การรับสารภาพของจำเลยไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา กรณีไม่มีเหตุบรรเทาโทษที่ศาลจะลดโทษให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9301/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานละเมิดอำนาจศาลต้องเกิดขึ้นในศาลชั้นต้นเท่านั้น การกระทำหลังมีคำพิพากษาไม่ถือเป็นละเมิดอำนาจศาล
จำเลยมิได้เป็นผู้กระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่เข้ามายอมรับว่าเป็นผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนผู้ตายแทนผู้อื่น เพื่อประโยชน์ที่บิดามารดาของผู้ตายจะได้รับค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยผู้รับประกันภัยรถจักรยานยนต์คันเกิดเหตุ เป็นการประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลชั้นต้น อันถือว่ากระทำผิดฐานละเมิดอำนาจศาลชั้นต้นเท่านั้น แม้ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยจะได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ขอให้ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษ ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติตนไม่เรียบร้อยในบริเวณศาลอุทธรณ์ภาค 9 ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9จะลงโทษจำเลยฐานละเมิดอำนาจศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7991/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งคำคู่ความที่ผิดระเบียบและการเพิกถอนกระบวนพิจารณาหลังมีคำพิพากษา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 บัญญัติขึ้นใช้กับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเท่านั้น มิอาจใช้แก่กรณีที่คู่ความฝ่ายที่เสียหายเพิ่งทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างของการผิดระเบียบนั้นภายหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตและมีคำสั่งว่าที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แต่เมื่อได้ความว่าผู้คัดค้านมีภูมิลำเนาที่แน่นอน การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องงดส่งสำเนาคำร้องขอให้แก่ทายาทของผู้มีชื่อในโฉนดเนื่องจากเชื่อตามคำแถลงของผู้ร้องซึ่งไม่เป็นความจริงโดยมิได้ให้คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งคัดค้านก่อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 21(2) จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความ เมื่อผู้คัดค้านยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว แต่ศาลชั้นต้นมีความเห็นว่าคำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดแล้ว จึงไม่มีเหตุยกคดีขึ้นพิจารณาอีกนั้น ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมด หรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6775/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาเงินค่าทดแทนที่ดินต้องครบถ้วนตามหลักเกณฑ์กฎหมาย และมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยตามอัตราที่กำหนด
การพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินค่าทดแทนที่ดิน ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21วรรคหนึ่ง บัญญัติให้คำนึงถึงราคาของอสังหาริมทรัพย์นั้น 3 อย่าง ได้แก่ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯ สำหรับคดีนี้คือวันที่ 2 พฤศจิกายน 2536 ราคาที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่ ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ประกอบกับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้น พร้อมทั้งเหตุและวัตถุประสงค์ของการเวนคืน รวม 5 ข้อ ที่ต้องพิจารณาประกอบกัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งผู้ถูกเวนคืนและสังคม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ มุ่งเน้นการพิจารณาไปในเรื่องสภาพและที่ตั้ง และประโยชน์ที่ได้รับหลังจากถูกเวนคืน แล้ววางหลักเกณฑ์กำหนดราคาเพิ่มสำหรับที่ดินที่อยู่ติดถนนรามอินทราเท่า ๆ กันหมด ถ้าแปลงใดมีส่วนที่ถูกเวนคืนอยู่ไม่ลึกจากถนนรามอินทรามากนัก ไม่เกิน 80 เมตร ก็กำหนดเพิ่มให้ ถ้าอยู่ลึกเข้าไปมากกว่านั้น ก็กำหนดราคาให้ต่ำลงไปอีก ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์เพิ่มขึ้น จึงยังไม่ครบถ้วนตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง
เมื่อศาลเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ เพิ่มให้ยังต่ำไป และกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ศาลจึงยังไม่เอาเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้ข้างต้นแต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นกับดอกเบี้ยของเงินที่กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำเอามาหักกันในชั้นบังคับคดี
ในเรื่องดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยกำหนดให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันใด ถือได้ว่าวันที่โจทก์รับเงินไปเป็นวันที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ไปรับเงินอันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตามมาตรา 26วรรคสาม วันเริ่มคิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นคือวันที่โจทก์รับเงินไปดังกล่าว
เมื่อศาลเห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ เพิ่มให้ยังต่ำไป และกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่เป็นธรรมแก่โจทก์และสังคมเพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนด เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ไปแล้วหรือไม่ ศาลจึงยังไม่เอาเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นดังกล่าวมาหักออกจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้ข้างต้นแต่หากมีการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ กำหนดเพิ่มขึ้นกับดอกเบี้ยของเงินที่กำหนดเพิ่มให้แก่โจทก์ไปแล้วก็ต้องนำเอามาหักกันในชั้นบังคับคดี
ในเรื่องดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น" โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าว แต่ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ เมื่อไม่ปรากฏว่าฝ่ายจำเลยกำหนดให้โจทก์มารับเงินค่าทดแทนที่ดินในวันใด ถือได้ว่าวันที่โจทก์รับเงินไปเป็นวันที่จำเลยกำหนดให้โจทก์ไปรับเงินอันเป็นวันที่ต้องมีการจ่ายเงินตามมาตรา 26วรรคสาม วันเริ่มคิดดอกเบี้ยของเงินค่าทดแทนที่ดินที่เพิ่มขึ้นคือวันที่โจทก์รับเงินไปดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6336/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีอาญาของเด็กและเยาวชน: การพิจารณาในศาลอาญาปกติเมื่อยังไม่มีศาลเยาวชน
ขณะโจทก์ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2539 ในเขตอำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นท้องที่ที่จำเลยมีถิ่นที่อยู่ปกติยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัว ทั้งแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีซึ่งอยู่ในท้องที่ที่จำเลยกระทำความผิดก็ยังมิได้เปิดทำการ โจทก์จึงฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นคือศาลจังหวัดจันทบุรีได้ และแม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดจันทบุรี จะได้เปิดทำการแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวขึ้นในศาลจังหวัดจันทบุรี แต่ศาลจังหวัดจันทบุรีคงดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ต่อมาอย่างคดีธรรมดา เท่ากับศาลจังหวัดจันทบุรีเห็นสมควรใช้ดุลพินิจไม่โอนคดีนี้ไปยังแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวในศาลจังหวัดจันทบุรีทั้งให้พิจารณาต่อไปอย่างคดีธรรมดาโดยไม่ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ. 2534 มาตรา 59 กระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษา การอุทธรณ์ฎีกาจึงต้องเป็นไปตาม ป.วิ.อ. ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีนี้อย่างคดีธรรมดาได้เช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5626/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องขับไล่และการเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่านาต้องรอการพิจารณาของ คชก. ก่อน จึงจะสามารถฟ้องร้องต่อศาลได้
เดิมโจทก์ที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท ต่อมาโจทก์ที่ 1 ยกที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 เมื่อปี 2534 ระหว่างที่ที่ดินพิพาทยังเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 1 ให้จำเลยเช่าที่ดินพิพาททำนาตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2527 จนกระทั่งวันที่ 27 มีนาคม 2538 โจทก์ทั้งสี่บอกเลิกการเช่าที่ดินพิพาทต่อจำเลยพร้อมกับส่งสำเนาหนังสือบอกกล่าวนั้นต่อประธานคชก. ตำบล จำเลยไม่คัดค้านการบอกกล่าวเลิกการเช่าต่อคชก. ตำบล และคชก. ตำบล มิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกเลิกการเช่าของโจทก์ทั้งสี่ เมื่อ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 13 (3) บัญญัติให้คชก. ตำบลมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ หรือตามที่คชก. จังหวัด มอบหมายด้วย และหาได้มีอำนาจแต่เฉพาะตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 (2) ไม่ และตามมาตรา 37 วรรคสอง กำหนดให้คชก. ตำบล ต้องพิจารณาวินิจฉัยการบอกเลิกการเช่านาตามสำเนาหนังสือบอกเลิกการเช่านาที่ผู้ให้เช่าส่งมาทุกกรณีโดยไม่มีข้อยกเว้นว่าสมควรให้การเช่านาสิ้นสุดลงหรือไม่หรืออยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขใดภายใต้กรอบอำนาจที่กำหนดไว้ในตามมาตรา 37 (1) ถึง (4) หรือไม่ แม้ผู้เช่าจะไม่คัดค้านการบอกเลิกการเช่านาหรือไม่มีคำร้องขอให้คชก. วินิจฉัยก็ตาม เมื่อคชก. ตำบลวินิจฉัยแล้ว ผู้เช่านา ผู้เช่าช่วงนา หรือผู้ให้เช่านาที่เป็นคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาอาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของ คชก. ตำบล ต่อคชก. จังหวัด ได้ตามมาตรา 56 วรรคหนึ่ง และคู่กรณีหรือผู้มีส่วนได้เสียในการเช่านาที่ไม่พอใจ คำวินิจฉัยของคชก. จังหวัด มีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ตามมาตรา 57 วรรคหนึ่ง ในกรณีของโจทก์เมื่อคชก. ตำบล ยังมิได้พิจารณาวินิจฉัยหนังสือบอกกล่าวเลิกการเช่านาตามขั้นตอนที่ พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 37 วรรคสอง ได้บัญญัติไว้ โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์โดยเสนอคดีต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2743/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างและการพิจารณาความร้ายแรงของการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของลูกจ้าง
โจทก์เป็นหัวหน้าพนักงานล้างภาชนะไม่มีหน้าที่ให้บริการลูกค้า โจทก์สมัครใจทะเลาะวิวาทกับ ช. หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัยซึ่งมิใช่ผู้ใต้บังคับบัญชาของโจทก์ ขณะเกิดเหตุร้านอาหารของจำเลยปิดการให้บริการเลิกงานแล้ว ที่เกิดเหตุอยู่นอกบริษัทห่างร้านอาหารของจำเลยประมาณ 200 เมตรมิได้เกิดขึ้นต่อหน้าลูกค้าหรือพนักงานอื่นของจำเลย ไม่มีผลกระทบต่อชื่อเสียงของจำเลย ทั้งไม่มีฝ่ายใดได้รับอันตรายถึงบาดเจ็บ การกระทำของโจทก์จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับการทำงานของจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างในกรณีร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจทนายความในการอุทธรณ์ การแก้ไขข้อบกพร่อง และผลของการรับอุทธรณ์ไว้พิจารณา
โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยมี ส. ทนายความลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์แทน แต่ในใบแต่งทนายความของโจทก์ไม่ได้ระบุให้ ทนายความมีอำนาจอุทธรณ์ จึงเป็นกรณีที่ ส. ลงชื่อในอุทธรณ์โดยไม่มีอำนาจ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วย กฎหมาย ศาลชั้นต้นมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์แก้ไขอำนาจของ ทนายความ หรือจะสั่งไม่รับอุทธรณ์ก็ได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 การที่ศาลชั้นต้น สั่งไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์โดยเหตุที่ผู้ลงชื่อในอุทธรณ์ไม่มี อำนาจเป็นทนายความของโจทก์นั้น จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์ของโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 โจทก์อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 พร้อมกับยื่นใบแต่งทนายความใหม่ที่ให้อำนาจทนายโจทก์ในการ อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่า แม้คำฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์ จะไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่เมื่อโจทก์แก้ไขอำนาจของทนายความโจทก์ ให้มีอำนาจโดยชอบในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แล้วคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ให้รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป จึงเท่ากับว่าเป็นการอนุญาตให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องที่ ไม่ถูกต้องนั้นอุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมายเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้รับอุทธรณ์คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามมาตรา 236 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2425/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืนของกลาง: ปัญหาข้อกฎหมายที่ไม่ได้รับการยกขึ้นสู่การพิจารณา
โจทก์ฟ้อง จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง,72 ทวิ วรรคสอง ป.อ.มาตรา 371, 376 ฐานพาอาวุธปืนฯ เป็นกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 ทวิ วรรคสองซึ่งเป็นบทหนักที่สุด ปรับ 2,000 บาท ฐานยิงปืนโดยใช่เหตุ ปรับ 500 บาทรวมปรับ 2,500 บาท จำเลยให้การรับสารภาพ ลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ในชั้นอุทธรณ์จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะปัญหาข้อเท็จจริงว่าศาลชั้นต้นไม่ควรใช้ดุลพินิจริบอาวุธปืนของกลาง แต่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คดีจึงต้องห้ามคู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ.มาตรา 218 จำเลยฎีกาว่า อาวุธปืนของกลางมิใช่ทรัพย์ที่มีไว้เป็นความผิดหรือใช้ในการกระทำความผิด จึงริบไม่ได้ตาม ป.อ.มาตรา 32 และ 33จึงเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ทั้งคดีนี้เมื่อจำเลยยอมรับว่าเป็นผู้ใช้อาวุธปืนของจำเลยยิงในหมู่บ้านจริง อาวุธปืนของกลางจึงเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิด ข้อฎีกาของจำเลยดังกล่าวจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ.มาตรา 249 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1878/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องและการพิจารณาคดีเสร็จสิ้นโดยไม่ต้องแจ้งวันนัดฟังคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องข้อ 1 โดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาท แล้วต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่าเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้ทำสัญญากู้เงินมอบให้โจทก์ เนื่องจากก่อนทำสัญญากู้เงินฉบับดังกล่าวจำเลยเป็นหนี้ค่าสินค้าโจทก์อยู่จำนวน 33,000 บาทวันที่ 2 มีนาคม 2531 จำเลยได้มาขอกู้เงินโจทก์จำนวน20,000 บาท และได้รับเงินไปครบถ้วนแล้ว รวมกับหนี้ที่จำเลยค้างค่าสินค้าเป็นหนี้ทั้งสิ้น 53,000 บาท เป็นการเพิ่มเติมรายละเอียดว่าหนี้ตามสัญญากู้เงินมีมูลมาจากอะไรบ้างจึงเป็นการแก้ไขคำฟ้องโดยยังคงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้เหมือนเดิม คือจำเลยกู้เงินโจทก์ไป 53,000 บาทไม่ใช่เป็นการถอนฟ้องในข้อ 1 เดิมทั้งหมดออกไปแล้วเอาข้อความใหม่เข้าแทน ศาลจึงอนุญาตให้โจทก์แก้ฟ้องได้ ศาลชั้นต้นนัดสืบพยานจำเลยโดยจำเลยทราบวันนัดโดยชอบแล้วเมื่อจำเลยไม่มาศาลในเวลานัด ศาลชั้นต้นจึงมี คำสั่งว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ ถือว่าจำเลยไม่ติดใจสืบพยาน คดีเป็นอันเสร็จการพิจารณา ดังนี้ถือได้ว่าการพิจารณาคดี เป็นอันสิ้นสุดลง ศาลจึงมีอำนาจพิพากษาคดีไปในวันที่มีคำสั่ง นั้นได้โดยไม่ต้องแจ้งกำหนดวันเวลานัดฟังคำพิพากษาดังกล่าว ให้จำเลยทราบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 133 อีก