พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 210/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คพิพาทและสิทธิของผู้ทรงเช็คเมื่อเช็คไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้
การที่จำเลยออกเช็คพิพาทลงวันที่ล่วงหน้าแลกเงินสดจาก ย.โดยมิได้มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น ย.ย่อมมีสิทธินำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารเมื่อเช็คถึงกำหนด การที่ ย.นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดกับผู้เสียหายอีกทอดหนึ่ง ผู้เสียหายย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับ ย. เมื่อผู้เสียหายนำเช็คพิพาทไปขอรับเงินจากธนาคารและธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเพราะบัญชีของจำเลยปิดก่อนหน้านั้น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3 ส่วนการที่ผู้เสียหายรับแลกเช็คพิพาทเพราะเชื่อถือ ย. มิใช่เชื่อถือจำเลยนั้น ไม่ทำให้ผู้เสียหายเสียสิทธิในฐานะผู้ทรงเช็ค และจะถือว่าผู้เสียหายใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 267/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คไร้เงิน การกระทำความผิดซ้ำและการเกิดความผิดขึ้นใหม่
จำเลยออกเช็คพิพาทชำระหนี้โจทก์ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินมาครั้งหนึ่งแล้ว ต่อมาจำเลยแก้ไขวันเดือนปีในเช็คพิพาทให้โจทก์นำเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินอีก ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเช่นเดียวกันโจทก์จึงนำเช็คพิพาทมาฟ้อง ดังนี้ เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในครั้งแรกความผิดย่อมเกิดขึ้นแล้ว การที่โจทก์นำเช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินครั้งหลังมาฟ้องจึงหาเป็นความผิดขึ้นอีกไม่ เพราะการกระทำอันเดียวกันจะเกิดเป็นความผิดสองครั้งหาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4206/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยผู้อื่น และเจตนาไม่ให้ใช้เงิน ถือเป็นผู้ออกเช็คตามกฎหมาย
จำเลยมอบให้ ป. บุตรชายจำเลยเป็นผู้เขียนชื่อจำเลยในช่องผู้สั่งจ่ายในเช็ค แล้วจำเลยนำเช็คไปมอบและแสดงแก่โจทก์ร่วมว่าเป็นเช็คที่จำเลยออกเพื่อชำระหนี้กู้ยืม โดยจำเลยมีเจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค ต้องถือว่าจำเลยเป็นผู้ออกเช็ค แม้จำเลยมิได้เป็นผู้ลงลายมือชื่อในเช็คด้วยตนเองจำเลยก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดว่าเช็คคือเช็คที่ออกต่างประเทศหรือไม่ พิจารณาจากผู้สั่งจ่าย ไม่ใช่ที่ตั้งธนาคาร
ตามบทบัญญัติมาตรา987และมาตรา988แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บุคคลผู้ออกเช็คหรือทำตราสารดังกล่าวก็คือผู้สั่งจ่ายโดยทั่วๆไปอาจจะเห็นว่าธนาคารเป็นผู้พิมพ์แบบฟอร์มเช็คออกเป็นเล่มๆให้แก่ผู้มีบัญชีฝากเงินกับธนาคารแต่ที่เป็นดังนั้นมิได้หมายความว่าธนาคารเป็นผู้ออกเช็คแต่ธนาคารกระทำขึ้นแทนผู้สั่งจ่ายเพื่อให้ความสะดวกแก่ผู้สั่งจ่ายในการใช้และกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจึงทำเป็นแบบพิมพ์ในรูปเดียวกันแต่โดยเนื้อแท้ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแล้วผู้สั่งจ่ายเป็นผู้ออกเช็คหรือทำตราสารนั้น(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1017/2507)โดยเหตุนี้เช็คพิพาทจะเป็นเช็คออกมาแต่ต่างประเทศหรือไม่จึงอยู่ที่ว่าผู้สั่งจ่ายเช็คได้สั่งจ่ายเช็คภายในประเทศหรือสั่งจ่ายเช็คที่ต่างประเทศเป็นสำคัญหาใช่ดูว่าธนาคารตามเช็คอยู่ณที่ใดเป็นสำคัญไม่ดังนั้นเมื่อจำเลยที่1ซึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทยเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทในประเทศไทยแม้ธนาคารเจ้าของเช็คจะอยู่ต่างประเทศเช็คพิพาทจึงมิใช่เช็คที่ออกมาแต่ต่างประเทศตามมาตรา989วรรคสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1732/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การออกเช็คโดยเจตนาทุจริตและอำนาจร้องทุกข์ของผู้เสียหายจากเช็ค
จำเลยออกเช็คให้กับร้าน ม. เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเจ้าของร้าน ม. ย่อมได้รับความเสียหาย ต. และ ก.สามีภรรยาเป็นเจ้าของร้าน ม. ร่วมกัน ก.จึงเป็นผู้เสียหายด้วยผู้หนึ่งมีอำนาจร้องทุกข์ให้เจ้าพนักงาน ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1997/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตออกเช็ค – ไม่มีผิดตาม พ.ร.บ.เช็ค หากไม่มีหลักฐานการกระทำผิดหลังมีกฎหมาย
จำเลยออกเช็คก่อนมี พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 สั่งจ่ายเงินให้แก่โจทก์ในวันที่ 31 ธันวาคม 2497 แต่เมื่อมีพระราชบัญญัตินี้แล้วก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ออกเช็คผิดเงื่อนไขตามมาตรา 3 แห่ง พระราชบัญญัติดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ถอนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนออกจากบัญชี หรือห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริตภายหลัง เช่นนี้ จำเลยก็ยังไม่มีผิดตามพระราชบัญญัตินี้