คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การเปลี่ยนแปลง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 27 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินต่อเนื่องหลังการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ ไม่ถือเป็นการบุกรุก หากไม่มีการพ้นจากการครอบครอง
ที่ดินที่จำเลยใช้อยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวแม้ต่อมาจะตกเป็นของโจทก์ร่วม และจำเลยยอมรับว่าจะไม่รบกวนการเข้าทำประโยชน์โดยยอมรับเงินจากโจทก์ร่วมเป็นการตอบแทน การที่จำเลยยังคงอยู่อาศัยหรือทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวรวมทั้งขัดขวางมิให้โจทก์ร่วมเข้าทำประโยชน์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้เท่านั้น เมื่อไม่มีข้อเท็จจริงที่แสดงว่าจำเลยพ้นจากการครอบครองที่ดินดังกล่าวไปอย่างเด็ดขาดแล้ว จึงกลับเข้าไปทำประโยชน์อีก การที่จำเลยเข้าไปปลูกต้นไม้จึงเป็นการกระทำต่อเนื่องจากที่เคยทำ ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2552/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดิน การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ และอายุความครอบครอง
ประเด็นที่ว่าจำเลยได้มีการเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือที่พิพาทตาม ป.พ.พ. มาตรา 1381 หรือไม่ ไม่ใช่ประเด็นที่เกี่ยวพันหรือรวมอยู่ในประเด็นข้อพิพาทที่ว่า โจทก์หรือจำเลยที่ 1มีสิทธิครอบครองที่พิพาท เมื่อจำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ ศาลไม่อาจหยิบยกประเด็นเรื่องเปลี่ยนแปลงลักษณะแห่งการยึดถือขึ้นมาวินิจฉัยได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องและการขาดอายุความ: ผลของการเปลี่ยนแปลงเขตอำนาจศาลและการฟ้องคดีใหม่
โจทก์เคยฟ้องจำเลยในมูลหนี้เดียวกันนี้เป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดอายุความ ศาลชั้นต้นสั่งรับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณา ต่อมาศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้องเนื่องจากจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตอำนาจของศาลอื่นคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมีความหมายเป็นอย่างเดียวกันกับคำว่าศาลยกคดีเสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 ดังนั้น เมื่อกำหนดอายุความในคดีของโจทก์สิ้นไปแล้วก่อนที่ศาลจะสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเป็นคำสั่งไม่รับฟ้องเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจศาล ประกอบกับเมื่อโจทก์สืบหาภูมิลำเนาของจำเลยแล้วปรากฏว่าจำเลยคงมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลชั้นต้นนั้นเอง และโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ใหม่ภายในกำหนดหกเดือนนับแต่ศาลมีคำสั่ง ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินแทนผู้อื่นและการแย่งการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ผู้ครอบครองทรัพย์สินแทนผู้อื่นจะแย่งการครอบครองทรัพย์สินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375 ได้ก็ต่อเมื่อได้มีการบอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือตามมาตรา 1381 เสียก่อน
การที่ ห. ผู้ครอบครองที่ดินและบ้านซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของ ร.แทนทายาทของ ร. แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาทแล้วต่อมาได้ขอและทางราชการได้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ ยังถือไม่ได้ว่า ห. ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทโดยบอกกล่าวไปยังทายาทของ ร. ว่าตนไม่มีเจตนาที่จะยึดถือที่ดินและบ้านพิพาทไว้แทนอีกต่อไป แต่การที่ ห. เอาที่ดินและบ้านพิพาททั้งหมดไปจำนองธนาคารในเวลาต่อมา แล้ว ส. ทายาทของ ร.ซึ่งเป็นสามีโจทก์ที่ 1 และบิดาโจทก์ที่ 2 ไปไถ่ถอนจำนองให้แล้วรับจำนองต่อเสียเองนั้น ถือได้ว่า ห. ได้บอกกล่าวโดยการกระทำต่อ ส. ตั้งแต่วันที่จำนองที่ดินและบ้านพิพาทกับ ส.แล้วว่า ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือจากการยึดถือครอบครองแทน ส.เป็นการยึดถือครอบครองเพื่อตนเองซึ่งเข้าลักษณะแย่งการครอบครองเมื่อ ส. และโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทของ ส. มิได้ฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์ประธานภายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 1375 บ้านพิพาทซึ่งเป็นส่วนควบก็ย่อมตกเป็นของ ห. ด้วย โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาคืนที่ดินและบ้านพิพาทได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่ได้จำกัดเฉพาะคำสั่งตรงๆ การปฏิบัติเปลี่ยนไปถือเป็นการเลิกจ้างได้
การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงานหรือไล่ออกจากงาน ซึ่งถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 วรรคสองนั้น ไม่จำเป็นที่นายจ้างจะต้องมีคำสั่งโดยใช้ถ้อยคำเช่นนั้นตรง ๆ การใช้ถ้อยคำอย่างอื่นหรือกระทำการอย่างใดที่มีความหมายว่าให้ออก ปลดออก หรือไล่ออก ก็ถือว่าเป็นการเลิกจ้างได้ โจทก์ขาดงานไปโดยมีเหตุอันควร เมื่อกลับมาทำงานจำเลยได้ปฏิบัติต่อโจทก์เยี่ยงบุคคลภายนอก และได้ให้ผู้อื่นหาคนงานใหม่แทนโจทก์ พฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยให้โจทก์ออกจากงาน จึงเป็นการเลิกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3440/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของฟ้องคดีเช็ค การเปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในการพิจารณา และความครบถ้วนของรายละเอียดฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่าผู้มีชื่อโอนเช็คพิพาทชำระหนี้โจทก์แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบว่าจ.นำเช็คมาแลกเงินสดไปจากโจทก์การที่จ.นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์ถือได้ว่าเช็คที่มอบให้โจทก์นั้นจ.มอบให้เพื่อชำระหนี้เงินที่จ.เอาไปจากโจทก์ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณาจึงมิได้แตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้อง โจทก์กล่าวในฟ้องข้อ1ตอนท้ายว่าจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเงินในเช็คแล้วส่งมอบแก่ผู้มีชื่อต่อมาผู้มีชื่อได้โอนเช็คดังกล่าวเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์เห็นว่าฟ้องโจทก์่าวได้บรรยายถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วส่วนที่ว่าผู้มีชื่อโอนเช็คให้โจทก์เป็นใครชื่ออะไรนั้นเป็นรายละเอียดที่โจทก์จะนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ครบถ้วนตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา158(5)บัญญัติไว้หาใช่เป็นฟ้องเคลือบคลุมไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1546/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์โดยบุคคลล้มละลายในฐานะกรรมการบริษัท: การเปลี่ยนตัวผู้ถือแทนกรรมสิทธิ์ไม่ใช่การโอนกรรมสิทธิ์
ส.มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทไว้แทนบริษัทจำเลยส.เป็นบุคคลล้มละลายในระหว่างเป็นกรรมการผู้จัดการ ย่อมขาดจากการเป็นกรรมการบริษัทจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1154จึง ไม่มีอำนาจถือกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแทนบริษัทจำเลยอีกต่อไปดังนั้นการที่ ส. โอนที่พิพาทให้กรรมการอีกคนหนึ่งของบริษัทจึงเป็นการโอนเปลี่ยนตัวผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนบริษัทจำเลยเท่านั้นหาใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ไม่การโอนจึงไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1533/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นและการสืบตำแหน่งนายจ้างในสัญญาจ้างแรงงาน
การที่จำเลยที่ 2 ซื้อหุ้นบริษัทจำเลยที่ 1 นั้นมีผลเพียงเปลี่ยนตัวผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งบริษัทจำเลยที่ 1เช่ามาจากผู้อื่น. จึงเป็นการดำเนินกิจการโรงแรมในฐานะผู้ซื้อหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1. เท่ากับบริษัทจำเลยที่1 ยังเป็นผู้ดำเนินกิจการโรงแรมอยู่นั่นเอง. บริษัทจำเลยที่ 1 ยังคงมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานโรงแรมนี้อยู่. จำเลยที่ 2 ได้รับมอบหมายจากผู้ถือหุ้นให้ดำเนินกิจการโรงแรมแทนบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคล. ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นนายจ้างของโจทก์ตามบทนิยามคำว่า'นายจ้าง' ในข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน. แม้จำเลยที่ 2 จะเข้ามาดำเนินกิจการโรงแรมเมื่อจำเลยที่2 ซื้อหุ้นจากบริษัทจำเลยที่ 1 ก็ตาม. แต่โจทก์ก็ได้ทำงานต่อเนื่องกันมา. จึงต้องนับอายุงานของโจทก์ที่ทำงานอยู่กับบริษัทจำเลยที่ 1 ต่อเนื่องกันมาด้วย.จะนับอายุงานของโจทก์เพียงเท่าที่จำเลยที่ 2 เข้าดำเนินกิจการโรงแรมหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 221-222/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้าง-นายจ้าง: การเปลี่ยนแปลงสถานะทางธุรกิจและการเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าว
หลังจากจำเลยได้เช่ากิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานทอผ้าพ.มาดำเนินการ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2523 โจทก์ทุก คนซึ่งเป็นลูกจ้างของห้างหุ้นส่วนจำกัดโรงงานทอผ้า พ. ได้ทำงานกับจำเลยต่อมาและจำเลยได้จ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ แสดงว่าโจทก์ตกลงทำงานให้กับจำเลยจำเลยตกลงให้ค่าจ้างแก่โจทก์ เท่ากับจำเลยยอมรับโจทก์เป็นลูกจ้างและโจทก์ยอมรับจำเลยเป็นนายจ้าง ถือได้ว่าการปฏิบัติระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นลูกจ้างนายจ้างกันตามความหมายของคำว่า "ลูกจ้าง"และ "นายจ้าง" ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2523 จำเลยไม่อาจตั้งเงื่อนไขให้โจทก์สมัครงานใหม่กับจำเลยได้
การที่จำเลยปิดโรงงาน 30 วัน โดยไม่ยอมให้โจทก์เข้าทำงาน ถือได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า จำเลยต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 582 และค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 46
การขอเลื่อนคดีหลายครั้งโดยไม่มีเหตุสมควร ถือว่าเป็นการประวิงคดีให้ชักช้าศาลชอบที่จะงดสืบพยานฝ่ายที่ขอเลื่อนคดีนั้นเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2114/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเงินสงเคราะห์ตกทอด: การเปลี่ยนแปลงสถานะบุตรหลังการตายของเจ้ามรดกไม่มีผลย้อนหลัง
ในวันที่นาย ก. ถึงแก่ความตายโจทก์เป็นบุตรนอกสมรสยังมิได้มีฐานะเป็นทายาทของนาย ก. แม้ภายหลังจะมีคำพิพากษาของศาลถึงที่สุดให้โจทก์ทั้งสองเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ก็ย่อมไม่มีผลย้อนหลัง โจทก์จึงไม่มีสิทธิรับส่วนแบ่งในเงินสงเคราะห์ตกทอดจากการรถไฟแห่งประเทศไทยจำเลยซึ่งมีข้อบังคับให้ตกทอดแก่ทายาทโดยอนุโลมตามหลักเกณฑ์ในพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1558 เป็นกรณีที่ให้สิทธิแก่บุตรชอบด้วยกฎหมายโดยคำพิพากษาภายหลังการตายของเจ้ามรดก รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมซึ่งเป็นเรื่องของการรับมรดกโดยตรง เมื่อเงินสงเคราะห์ตกทอดไม่ใช่มรดกจะนำมาตรา 1558 มาบังคับแก่กรณีของโจทก์ไม่ได้
of 3