คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้าว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1216/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฝากเก็บข้าวโดยไม่มีค่าตอบแทน และการขายข้าวเพื่อป้องกันความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ไม่ถือเป็นการละเมิด
จำเลยขายข้าวให้โจทก์ แล้วรับฝากข้าวไว้ในยุ้งโดยไม่มีบำเหน็จ ต่อมาเกิดอุทกภัย จำเลยให้โจทก์มารับข้าวโจทก์ก็ไม่มา จำเลยจึงขายข้าวนั้นไปเพราะเกรงน้ำจะท่วมข้าวเสียหาย หลังจากที่จำเลยได้ขายข้าวของจำเลยเองไปหมดแล้ว ดังนี้ ถือว่าจำเลยในฐานะผู้รับฝากด้วยการทำให้เปล่าไม่มีบำเหน็จ ได้ใช้ความระมัดระวังสงวนทรัพย์สินที่รับฝากไว้เหมือนเช่นได้ประพฤติในกิจการของตนเองดังประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคต้น และเป็นการกระทำเพื่อจะปัดป้องอันตรายอันจะเป็นภัยแก่ทรัพย์สินนั้นโดยมิได้จงใจทำผิดหรือเป็นความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงประการใด จึงไม่ต้องรับผิดดังนัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 398

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดและลูกจ้างในการจัดการจำหน่ายข้าว การละเลยควบคุมทำให้เกิดความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุม และฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎรและมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการกระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพรแล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพรไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชนในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้นกระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบหมายให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าวเงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการและใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทยการดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขายเมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกับจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระจำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมาโดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าวเมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการพิจารณาพิพากษาแล้วก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมายและไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งแยกจากกันได้และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำเลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดการจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการกระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดไปว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะไม่ใช่ทำตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติการงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในจ่าจังหวัดที่ตนมอบหมายเองเมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับและจำหน่ายข้าวตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ เมื่อมอบหมายให้จ่าจังหวัดทำหน้าที่นี้ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบกระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหายผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วยจะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติของตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมราคาข้าวและการสิ้นสุดความผิดอาญา การยกเลิกประกาศควบคุมราคาไม่ลบล้างความผิดที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้
จำเลยขายข้าวเกินราคาที่ควบคุมประกาศฉบับที่ 1 ซึ่งออกประกาศโดยอาศัย อำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพ.ร.บ. ป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ. 2490 ภายหลังจำเลยถูกจับและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล มีประกาศฉบับที่ 2 ยกเลิกการควบคุมราคาข้าวดังกล่าว เช่นนี้ ความผิดของจำเลยตามประกาศฉบับที่ 1 ก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ ประกาศฉบับที่ 2 ไม่ลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้ว เพราะประกาศฉบับที่ 2 ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือยกเว้นโทษตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (5) (7) ความผิดดังกล่าวของจำเลยจึงยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1295/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การควบคุมราคาข้าวและการมีผลย้อนหลังของประกาศยกเลิกการควบคุมราคา ความผิดยังคงอยู่แม้มีประกาศยกเลิก
จำเลยขายข้าวเกินราคาที่ควบคุม ประกาศฉบับที่ 1 ซึ่งออกประกาศโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่ง พระราชบัญญัติป้องกันการค้ากำไรเกินควร พ.ศ.2490 ภายหลังที่จำเลยถูกจับและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาล มีประกาศฉบับที่ 2ยกเลิกการควบคุมราคาข้าวดังกล่าว เช่นนี้ ความผิดของจำเลยตามประกาศฉบับที่ 1 ก็ยังคงเป็นความผิดอยู่ ประกาศฉบับที่ 2 ไม่ลบล้างความผิดที่จำเลยได้กระทำไปแล้ว เพราะประกาศฉบับที่ 2 ไม่ใช่เป็นกฎหมายที่ยกเลิกความผิดหรือยกเว้นโทษตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(5)(7) ความผิดดังกล่าวของจำเลยจึงยังคงอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2101/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความหมายของ 'ข้าว' ใน พ.ร.บ.สำรวจกักกันข้าว: ข้าวสารเหนียวไม่อยู่ในข่าย
ข้าวสารเหนียว ไม่รวมอยู่ในความหมายของคำว่า "ข้าว"ตาม พระราชบัญญัติสำรวจกักกันข้าว (อ้างฎีกาที่ 72/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 383/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักย้ายข้าวตาม พ.ร.บ.การค้าข้าว 2489 และการริบข้าวที่เกี่ยวเนื่องกับความผิด
ทำสัญญาซื้อข้าวกัน 1,000 กระสอบแล้วส่งคนเอาเรือเอี้ยมจุ๊นไปจัดการขนข้าวจากโกดังที่เก็บบรรทุกลงเรือพอบรรทุกลงเรือได้ 716 กระสอบก็ถูกจับดังนี้ ต้องฟังว่า จำเลยได้ยักย้ายข้าว 716 กระสอบจากสถานที่เก็บฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการปฏิบัติการตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว 2489 ซึ่งห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดยักย้ายข้าวจากสถานที่เก็บ ฯลฯ เป็นความผิดสำเร็จแล้วตามพระราชบัญญัติการค้าข้าว 2489 มาตรา 17 ซึ่งได้แก้ไขเพิ่มเติมโดยฉบับที่ 2 พ.ศ.2489 มาตรา 10 ข้าว 716 กระสอบที่ขนย้ายแล้ว ก็ตกเป็นข้าวที่ซึ่งเกี่ยวเนื่องกับความผิด ซึ่งตามมาตรา 21ทวิ บัญญัติให้ริบเสีย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการริบของกลาง: ริบได้เฉพาะที่ถูกยึดในความครอบครองของจำเลยขณะจับกุม
คดีที่ศาลพิพากษาให้ริบข้าวของกลางจำนวนหนึ่ง ซึ่งปรากฏว่าขณะจำเลยถูกจับนั้น มีข้าวของกลางอยู่ในความครอบครองของจำเลยเพียงเล็กน้อย ข้าวนอกนั้นจำเลยได้ขายไปเรื่อยๆ ก่อนถูกจับ ดังนี้ถือว่าข้าวของกลางคือข้าวที่จับได้จากจำเลย ส่วนข้าวนอกนั้นไม่ใช่ข้าวของกลางที่ศาลให้ริบ ศาลจะให้จำเลยใช้ราคาไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการสำรวจและกักกันข้าวในการห้ามขนย้ายข้าวทางทะเล ไม่ถือเป็นการกำหนดเขตเกินอำนาจ
คณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวมีอำนาจประกาศห้ามการขนย้ายข้าวทางทะเลเป็นเด็ดขาดเพราะถือว่าเท่ากับเป็นการกำหนดเขตขึ้นเอง เพราะฉะนั้นประกาศของคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวฉบับที่ 9 และฉบับที่12 จึงไม่ขัดต่อมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.สำรวจและกักกันข้าวและมีผลใช้ได้ ไม่เป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1535/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกผลธรรมดา vs. ดอกผลนิตินัย: ข้าวจากนาไม่ใช่ดอกผลธรรมดา แม้ได้จากทรัพย์สินร่วม
ดอกผลธรรมดาตามมาตรา 111(1) นั้นหมายถึงบรรดาสิ่งทั้งปวงซึ่งได้มาเพราะใช้ของนั้น อันเกิดโดยธรรมชาติของมันดังเช่น ผลไม้ น้ำนม ขน และลูกของสัตว์
ส่วนต้นข้าวที่ทำได้จากนานั้นเป็นสังหาริมทรัพย์ต้นข้าวเกิดขึ้นจากแรงงานไม่ใช่ดอกผลของนา ฉะนั้นข้าวเปลือกก็ไม่ใช่ดอกผลของนาเช่นเดียวกัน
(ประชุมใหญ่)
ฟ้องเรียกข้าวฐานเป็นดอกผลธรรมดา เมื่อวินิจฉัยว่าข้าวไม่ใช่ดอกผลธรรมดาโจทก์ไม่มีสิทธิขอแบ่งแล้ว จะเปลี่ยนเป็นให้แบ่งค่าเช่านาอันเป็นดอกผลนิตินัยแก่โจทก์ย่อมไม่ได้ เพราะนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 88/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งปริมาณข้าวหลังประกาศคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าว ไม่ถือว่าผิดประกาศ
ประกาศคณะกรรมการสำรวจและห้ามกักกันข้าวกำหนดให้ ผู้มีข้าวสารอยู่ในครอบครองไปแจ้งปริมาณและสถานที่เก็บต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2489 ย่อมไม่หมายความให้ผู้ได้ข้าวมาและอยู่ในความครอบครองหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2489 ไปแจ้งความตามประกาศนี้ เพราะย่อมปฏิบัติตามไม่ได้ เมื่อโจทก์ฟ้องหาว่า จำเลยกักกันข้าวในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2489 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันที่ 15 ตุลาคม 2489 จำเลยจึงไม่ได้ทำการฝ่าฝืนประกาศ และไม่มีผิดดังฟ้อง./
of 5