คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีละเมิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4151/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีละเมิดจากการทำงาน เมื่อศาลสั่งจำหน่ายคดีข้ามประเภท
โจทก์ฟ้องว่า การที่โซดาแอชของโจทก์เสียหายเป็นเพราะความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลย และไม่เอาใจใส่ระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่รักษาผลประโยชน์ของโจทก์ และเป็นการจงใจทำให้โซดาแอชเสียหาย อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ และผิดสัญญาที่ทำไว้กับโจทก์ต้องใช้ค่าเสียหายดังนี้เป็นคำฟ้องให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในความผิดฐานละเมิดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420และตามพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 8(5) โจทก์ทราบว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2525และจำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2525 โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลแพ่งเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2526 จึงเป็นการฟ้องภายในกำหนดอายุความ 1 ปี ตาม มาตรา 448 ต่อมาศาลแพ่งได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2526 ให้นำคดีไปฟ้องต่อศาลแรงงานกลาง ถือได้ว่าศาลแพ่งได้ยกคดีของโจทก์เสียเพราะเหตุคดีไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแพ่งแต่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 176 บัญญัติให้ขยายอายุความนี้ออกไปถึง 6 เดือน ภายหลังคำพิพากษานั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องต่อศาลแรงงานกลางเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2526คดีโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3264/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการขอถอนอุทธรณ์ คดีละเมิดที่ไม่เกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลาย
เมื่อลูกหนี้ถูกผู้ชำระบัญชีร้องขอต่อศาลให้ล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจเข้าว่าคดีหรือดำเนินคดีแพ่งอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งค้างพิจารณาอยู่ในศาล และมีอำนาจขอให้ศาลงดการพิจารณาคดีแพ่งดังกล่าว ตลอดทั้งการขอถอนฟ้องสำหรับกรณีที่ลูกหนี้เป็นโจทก์ได้
โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ฟ้องจำเลยว่ากระทำละเมิดต่อลูกหนี้เป็นเหตุให้ลูกหนี้ได้รับความเสียหาย แม้ลูกหนี้ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วย ก็มิใช่เป็นคดีเกี่ยวกับทรัพย์สินในคดีล้มละลายของลูกหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขอถอนอุทธรณ์.โดยไม่จำต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 317/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิอุทธรณ์ฎีกาในคดีละเมิดรวม พิจารณาตามทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละราย
โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดโดยโจทก์ที่ 1 เรียกค่าเสียหาย 50,000 บาท โจทก์ที่ 2 เรียกค่าเสียหาย7,000 บาท ดังนี้ ถึงแม้จะฟ้องรวมเป็นคดีเดียวกัน สิทธิอุทธรณ์ฎีกาก็ต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2663/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหลักฐานในคดีละเมิด และการโต้แย้งความถูกต้องของเอกสารบัญชี
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายหลายรายการ จำเลยให้การปฏิเสธว่ามิได้กระทำการตามที่โจทก์กล่าวอ้างและโจทก์มิได้เสียหายโจทก์มีหน้าที่จะต้องนำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้ทำการต่างๆ อันเป็นเหตุให้โจทก์มิได้รับความเสียหายเป็นจำนวนดังที่ฟ้องมา
การคัดค้านพยานเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 125 ซึ่งกฎหมายบัญญัติให้คัดค้านเสียก่อนวันสืบพยานนั้น เป็นการให้คัดค้านในเรื่องการมีอยู่ของต้นฉบับความแท้จริงของต้นฉบับหรือความถูกต้องตามต้นฉบับของสำเนาที่อ้าง หาใช่บังคับให้ต้องคัดค้านไว้ก่อนว่าข้อความในเอกสารไม่ถูกต้อง แม้จำเลยมิได้คัดค้านบัญชีงบดุลที่โจทก์ส่งศาล จำเลยก็ยังโต้เถียงได้ว่าการคิดบัญชีนั้นไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2691/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกคำฟ้องในคดีละเมิด: ศาลต้องวินิจฉัยเฉพาะประเด็นที่ถูกฟ้องเท่านั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยร่วมกันทำละเมิด โดยบรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 ร่วมทุจริตกับจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหาย ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ร่วมทุจริตกับจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 ก็ไม่ต้องรับผิดตามฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเกินเลยไปว่า จำเลยที่ 2 ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงเป็นการพิพากาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1583-1587/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อกองมรดก: กองมรดกไม่ใช่ นิติบุคคล จึงไม่มีอำนาจถูกฟ้อง
กองมรดกของผู้ตายไม่ใช่นิติบุคคล โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องกองมรดกให้รับผิดร่วมกับบุคคลธรรมดาซึ่งทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 476/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการหักกลบลบหนี้: แม้มีคดีละเมิดค้าง แต่เจ้าหนี้ยังบังคับคดีจากหนี้ถึงที่สุดได้หากทรัพย์สินยึดเพียงพอ
ข้อเท็จจริงของคดีนี้โจทก์จำเลยแถลงรับกันอยู่ว่าหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งโจทก์มีสิทธิบังคับคดีเอากับจำเลยมีทุนทรัพย์ถึง 400,000 บาทเศษ แต่คดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ในข้อหาละเมิดเรียกค่าเสียหายมีทุนเพียง 316,350 บาท ซึ่งคดียังไม่ถึงที่สุด ทั้งปรากฏชัดว่าบรรดาทรัพย์สินของจำเลยที่โจทก์นำยึดไว้นั้นทุกรายการมีผู้ร้องขัดทรัพย์อยู่ จึงไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์จะบังคับคดีเอากับทรัพย์สินที่ยึดไว้แล้วได้มากน้อยเพียงใด ประกอบกับหนี้ของโจทก์ที่จะบังคับกับจำเลยมีจำนวนแน่นอนและสูงกว่าหนี้ที่จำเลยฟ้องเรียกร้องจากโจทก์อยู่เป็นจำนวนถึง 90,000 บาทเศษ เฉพาะหุ้นที่โจทก์นำยึดขอขายทอดตลาด จำเลยก็รับว่ามีราคาน้อยเพียง 3,000 บาทเท่านั้น จึงเป็นที่เห็นได้ชัดว่าแม้จำเลยจะเป็นฝ่ายชนะคดีโจทก์ก็ไม่สามารถที่จะหักกลบลบหนี้กันได้ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ข้อเท็จจริงที่ ปรากฏในสำนวนจึงมีพอที่ศาลจะสั่งได้ไม่จำเป็นต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาใหม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 932/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีละเมิด: การฟ้องเรียกค่าเสียหายซ้ำหลังจากศาลตัดสินให้คืนทรัพย์สินแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำ
การฟ้องซ้ำเป็นเรื่องเกี่ยวแก่ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลชอบที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้อง เนื่องด้วยจำเลยกระทำละเมิดสมคบกันเอาที่ของโจทก์ไปขาย ศาลพิพากษาให้โจทก์ชะนะคดีตามคำขอแล้ว ผลจึงเป็นว่าโจทก์ได้ฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนในการทำละเมิดของจำเลยที่ได้ทำมาแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องเรื่องละเมิดเดิมนี้โดยเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ยังไม่ได้เรียกร้องไว้ จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
(อ้างฎีกาที่ 957/2492)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12750/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดหลังมีคำพิพากษาคดีอาญาถึงที่สุด และข้อยกเว้นตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
คำฟ้องโจทก์บรรยายว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้แทน จำเลยที่ 3 เป็นเจ้าหน้าที่ อันถือว่าเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นกรมในรัฐบาล และมีฐานะเป็นนิติบุคคล ตาม พ.ร.บ.จัดปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2545 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับจำเลยที่ 1 เข้ารื้อถอนที่พักอาศัยของโจทก์และทำลายทรัพย์สินของโจทก์ เป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยทั้งสามจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมาย ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 กรณีจึงต้องบังคับตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 ที่บัญญัติให้ผู้เสียหายในผลแห่งละเมิดที่เจ้าหน้าที่ได้กระทำในการปฏิบัติหน้าที่ต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐดังกล่าวโดยตรง แต่จะฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดไม่ได้
ป.วิ.อ. มาตรา 188 บัญญัติว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลตั้งแต่วันที่ได้อ่านในศาลโดยเปิดเผยเป็นต้นไป และมาตรา 15 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ภายใต้บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยการอุทธรณ์ฎีกาและการพิจารณาใหม่ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด ๆ ให้ถือว่าผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษาหรือมีคำสั่ง นับตั้งแต่วันที่ได้พิพากษาหรือมีคำสั่ง จนถึงวันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลง แก้ไข กลับ หรืองดเสีย ถ้าหากมี ดังนี้ เมื่อโจทก์เป็นจำเลยในคดีอาญาที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง และศาลชั้นต้นในคดีอาญาดังกล่าวพิพากษาลงโทษโจทก์และคดีถึงที่สุดแล้ว แสดงว่าไม่มีการอุทธรณ์ฎีกาหรือขอให้พิจารณาคดีใหม่ คำพิพากษาศาลชั้นต้นในคดีอาญาย่อมมีผลบังคับแก่โจทก์ ซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 โจทก์หามีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าว จึงขอให้บังคับแก่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยทั้งสาม เป็นการบังคับคดีในคดีอาญาดังกล่าว ไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6390/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: การครอบครองปรปักษ์ต่างจากคดีละเมิด แม้มีประเด็นที่ดินร่วมกัน ศาลต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริง
ฟ้องโจทก์ในคดีก่อนเป็นกรณีที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้บ้านเลขที่ 137/2 ของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ได้รับความเสียหายและจำเลยที่ 1 กับพวกนำทรัพย์สินของโจทก์ไป ประเด็นในคดีก่อนจึงมีว่า จำเลยที่ 1 กับพวกร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ ไม่มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์ในที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ส่วนคดีนี้เป็นกรณีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 1137 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์โดยการครอบครองปรปักษ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 และขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนกับคดีนี้จึงมิใช่เรื่องเดียวกันและประเด็นคนละอย่างต่างกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้อน ทั้งโจทก์มิใช่คู่ความในคดีที่จำเลยที่ 1 ฟ้องขับไล่นางผูกมารดาโจทก์ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 173/2534 แม้โจทก์จะไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนด 8 วัน นับแต่วันปิดประกาศตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) ซึ่งสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษา แต่บทกฎหมายดังกล่าวก็หาได้มีผลเด็ดขาดเป็นการตัดสิทธิห้ามฟ้องภายหลังไม่ เมื่อโจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีก่อนดังกล่าวจึงไม่ผูกพันในผลแห่งคดี ต้องห้ามมิให้ฟ้องร้อง คดีจึงต้องมีการฟังข้อเท็จจริงกันต่อไป การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายว่าฟ้องโจทก์เป็นฟ้องซ้อนแล้วพิพากษายกฟ้อง และศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษายืนจึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247
of 2