พบผลลัพธ์ทั้งหมด 490 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น และสิทธิในการขอเพิกถอนการโอนที่ดินโดยไม่มีค่าตอบแทน
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองทรัพย์มรดกร่วมกันมา จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1591/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยไม่เป็นธรรม ทายาทมีสิทธิเพิกถอนการโอนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
โจทก์ จำเลยที่ 1 และทายาทอื่นครอบครองที่ดินทรัพย์มรดกร่วมกันมา การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 ซึ่งไม่ใช่ทายาทโดยไม่มีค่าตอบแทน โจทก์ย่อมฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนเฉพาะส่วนของโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9295/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์มรดกโดยผู้จัดการมรดกโดยมิชอบ และการขาดอายุความคดีมรดก
การที่ ป. ในฐานะผู้จัดการมรดกทำนิติกรรมโอนทรัพย์มรดกที่ดินพิพาททั้งสองแปลงให้แก่ตนเองซึ่งไม่ใช่ทายาท แม้จะเป็นการตอบแทนการเอาเงินส่วนตัวชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองแทนกองมรดก อันเป็นการจัดการมรดกทั่วไป ก็ไม่มีอำนาจกระทำเพราะเป็นปฏิปักษ์ต่อกองมรดก เมื่อผู้ตายมิได้ทำพินัยกรรมอนุญาตและ ป. ไม่ได้รับอนุญาตจากศาลจึงเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1722 ย่อมตกเป็นโมฆะ ที่ดินพิพาททั้งสองแปลงจึงยังคงเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความเป็นทรัพย์มรดก: จำเลยมีสิทธิในที่ดินก่อนพินัยกรรม ศาลยกฟ้อง
คดีก่อนซึ่งถึงที่สุดแล้วมีประเด็นว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลหรือไม่ และมีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่ ส่วนคดีนี้มีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกหรือไม่ จึงมีประเด็นต่างกัน แม้ในคดีก่อนศาลจะฟังว่าที่ดินเป็นของผู้ตายเพียงผู้เดียว ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นประเด็นที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งแล้วในคดีก่อน จึงไม่อาจนำผลของคำวินิจฉัยดังกล่าวมาผูกพันจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้รับมรดกแทนทายาทเดิม โดยมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713 บัญญัติว่า ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตราดังกล่าวหาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกของ ก. แทนที่ ช. บิดาผู้ร้อง และหลังจากที่ ก. ถึงแก่ความตาย ที่ดินของ ก. และ ส. ยังมิได้จัดแบ่งตามกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของรวม ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่งและถือว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกของ ส. ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของ ส. ในที่ดินโฉนดดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 616/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก แม้ไม่เป็นทายาทโดยตรง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 บัญญัติว่าทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียจะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกก็ได้ ดังนั้น ผู้มีส่วนได้เสียที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามมาตรา 1713 หาจำต้องมีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตายโดยเป็นทายาทโดยตรงของผู้ตายทุกกรณีไม่ เมื่อผู้ร้องเป็นผู้รับมรดกของ ก. แทนที่ ช. บิดาผู้ร้อง และหลังจากที่ ก. ถึงแก่ความตายยังมิได้จัดแบ่งที่ดินตามกรรมสิทธิ์แห่งเจ้าของรวมระหว่าง ก. กับ ส. ผู้ตายทั้งสอง ดังนั้น ผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อยู่ด้วยส่วนหนึ่ง ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินอันเป็นมรดกของ ส. ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกเฉพาะที่ดินอันเป็นมรดกของ ส. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1231/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองทรัพย์มรดกหลังการเสียชีวิตของผู้ถือกรรมสิทธิ์ และการเปลี่ยนแปลงเจตนาครอบครองเพื่อตนเอง
ขณะมีชีวิตอยู่ ห. เพียงแต่มีความประสงค์จะยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเท่านั้น แต่ยังไม่ได้มีการยกให้จริง ดังนั้น ห. ถึงแก่กรรมที่ดินพิพาทจึงย่อมเป็นทรัพย์มรดกของ ห. ตกได้แก่บรรดาทายาทของ ห. ซึ่งรวมถึงโจทก์และจำเลยด้วย การที่จำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาภายหลังจากที่ ห. ถึงแก่กรรมแล้วจึงเป็นการครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทของ ห. คนอื่นๆ ด้วย จำเลยเพิ่งจะมาเปลี่ยนเจตนาครอบครองเพื่อตนก็เมื่อจำเลยไปยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานที่ดินดำเนินการออกโฉนดที่ดินสำหรับที่ดินพิพาทให้เป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2537 โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2538 จึงมีอำนาจฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลตามฟ้องแย้งก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็เพราะว่าในการที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นนอกจากจำเลยจะมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วจำเลยยังขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องแย้งของจำเลยด้วย ดังนั้น ในการอุทธรณ์จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งคำฟ้องโจทก์และคำฟ้องแย้งของจำเลย
ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มีคำสั่งให้จำเลยชำระค่าขึ้นศาลตามฟ้องแย้งก่อนอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ก็เพราะว่าในการที่จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้นนอกจากจำเลยจะมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วจำเลยยังขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 8 พิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำฟ้องแย้งของจำเลยด้วย ดังนั้น ในการอุทธรณ์จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งคำฟ้องโจทก์และคำฟ้องแย้งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดก – การฟ้องคดีซ้ำที่มีประเด็นวินิจฉัยเดียวกันกับคดีที่ยังพิจารณาค้างอยู่
คดีก่อนโจทก์เคยให้พนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรี ยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุทองดี โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยได้ยื่นคำคัดค้านในคดีก่อนว่า ทรัพย์ที่จะขอตั้งผู้จัดการมรดกเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีที่ได้มาระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นของวัดจำเลยที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทองดี คดีดังกล่าวจึงมีประเด็นว่า พระภิกษุทองดีได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่ และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดคดีว่า ทรัพย์สินของพระภิกษุทองดีได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จึงตกเป็นของวัดจำเลยที่เป็นภูมิลำเนาของพระภิกษุทองดี ไม่มีเหตุที่จะตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก ขณะคดีอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อนว่า ทรัพย์มรดกพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุทองดีได้มาก่อนบวชเป็นพระภิกษุที่วัดจำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าทรัพย์มรดกพิพาทเป็นทรัพย์สินที่พระภิกษุทองดีได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย เมื่อในคดีก่อนพนักงานอัยการจังหวัดปราจีนบุรีร้องขอแทนโจทก์ ศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างมีข้อพิพาท ย่อมถือได้ว่าเป็นการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 โดยฟ้องของโจทก์คดีนี้กับคดีก่อนมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้อนกับคดีก่อน ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6066/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีทรัพย์มรดกที่ศาลเคยมีคำพิพากษาแล้ว การฟ้องคดีซ้ำจึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้าม
คดีแพ่งเรื่องก่อนพนักงานอัยการยื่นคำร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกของพระภิกษุ ท. โดยอ้างว่าเป็นทรัพย์สินที่ได้มาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศ จำเลยคดีนี้ยื่นคำคัดค้านว่าเป็นทรัพย์สินของพระภิกษุ ท. ที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศตกเป็นสมบัติของวัดจำเลย จึงมีประเด็นว่า พระภิกษุ ท. ได้ทรัพย์สินมาก่อนเวลาที่อยู่ในสมณเพศหรือไม่และเป็นทรัพย์มรดกตกทอดแก่โจทก์หรือไม่ ขณะคดีดังกล่าวอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยกล่าวอ้างทำนองเดียวกันกับคดีก่อน แม้คดีก่อนพนักงานอัยการจะเป็นผู้ร้องขอให้ตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดก แต่เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นทายาทมีสิทธิร้องขอให้ตั้งตนเองเป็นผู้จัดการมรดกได้อยู่แล้วให้พนักงานอัยการร้องขอแทน จึงถือได้ว่าเป็นการร้องขอแทนโจทก์ เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นดำเนินคดีอย่างคดีมีข้อพิพาทย่อมถือได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 188(4) ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยเป็นอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกต้องมีทรัพย์มรดกเหลืออยู่จริง ศาลไม่อาจตั้งผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์ที่ไม่มีอยู่
เมื่อเหตุที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้ตัวผู้จัดการมรดกเป็นกรณีมีเหตุขัดข้องในการจัดการหรือในการแบ่งปันมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 (2) แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ที่ดินนั้น ผู้ตายโอนให้บุคคลอื่นไปในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่เป็นทรัพย์มรดกของผู้ตาย ส่วนเงินฝากธนาคาร ผู้มีอำนาจในการถอนได้ปิดบัญชีไปก่อนที่ผู้ร้องจะยื่นคำร้องขอให้ตัวผู้จัดการมรดก จึงไม่มีทรัพย์มรดกของผู้ตายที่จะต้องจัดการ และกฎหมายมิได้กำหนดเหตุให้ตัวผู้จัดการมรดกเพื่อสืบหาทรัพย์มรดกของผู้ตาย เพื่อนำมาจัดการแต่อย่างใด ไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดก