พบผลลัพธ์ทั้งหมด 599 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4351/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลผูกพันเฉพาะส่วนที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย แม้มีส่วนโมฆะ และคำพิพากษาไม่กระทบสิทธิบุคคลภายนอก
โจทก์ทั้งสามและจำเลยมีข้อพิพาทระหว่างกันทั้งคดีแพ่งและอาญา การที่ต่อมาโจทก์ทั้งสามและจำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยระบุให้โจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาแผ่นดินด้วย ข้อตกลงให้ถอนฟ้องคดีอาญาดังกล่าว จึงเป็นข้อตกลงที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150 แต่สัญญาประนีประนอมยอมความยังมีข้อตกลงอื่น ๆ อีกหลายประการ แสดงให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าประสงค์ให้ข้อตกลงอื่นนอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญา คงมีผลผูกพันคู่กรณีทั้งสองฝ่ายอยู่ และข้อตกลงอื่นไม่ต้องห้ามโดยกฎหมาย ไม่เป็นการพ้นวิสัยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ตามพฤติการณ์แห่งกรณีจึงสันนิษฐานได้ว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายเจตนาจะให้ส่วนที่ไม่เป็นโมฆะแยกออกจากส่วนที่เป็นโมฆะ ข้อตกลงส่วนอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อตกลงเรื่องการถอนฟ้องคดีอาญาคงมีผลผูกพันคู่กรณีอยู่
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความที่ให้จำเลยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสาม โดยปลอดภาระจำยอม ซึ่งศาลพิพากษาตามยอมให้นั้น คำพิพากษาดังกล่าวไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกที่จำเลยจดทะเบียนภาระจำยอมให้หลังจากทำบันทึกข้อตกลงประนีประนอมยอมความกับโจทก์ทั้งสามแล้ว เพราะมิได้พิพากษาบังคับให้เพิกถอนการจดทะเบียนภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่ฝ่ายโจทก์จะบังคับเอาแก่จำเลยตามคำพิพากษาโดยลำพังเท่านั้น
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องแย้งของจำเลยโดยมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดกล่าวอ้าง ศาลฎีกาก็มีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4045/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความตัดสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย ผู้รับประกันภัยรับช่วงสิทธิไม่ได้
พนักงานสอบสวนได้บันทึกแจ้งข้อหาจำเลยเป็นคดีอาญาในข้อหาขับรถประมาทเฉี่ยวชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหายและทำให้ผู้อื่นได้รับบาดเจ็บและเปรียบเทียบปรับไว้ว่า คู่กรณีตกลงกันโดยทั้งสองฝ่ายไม่ติดใจเรียกร้องค่าเสียหาย เป็นที่พอใจแล้ว โดย ส. ผู้เอาประกันภัยและจำเลยลงชื่อไว้ จึงเป็นการระงับข้อพิพาทให้เสร็จไปโดยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันด้วยการที่ต่างฝ่ายต่างซ่อมรถที่เสียหายเอง มีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ซึ่งมีผลให้ ส. ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้อีก การที่โจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายให้ ส. เป็นการปฏิบัติไปตามข้อสัญญาในกรมธรรม์ประกันภัย แต่ ส. เป็นผู้เสียหายย่อมมีสิทธิทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยโดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะรับช่วงสิทธิจากผู้เอาประกันภัยมาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3490/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีเลิกกันเนื่องจากประนีประนอมยอมความในหนี้เช็ค สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
การที่ผู้เสียหายและจำเลยได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในมูลหนี้ตามที่จำเลยออกเช็คพิพาท และศาลได้พิพากษาตามยอมคดีถึงที่สุดแล้ว ผลของการประนีประนอมยอมความดังกล่าวย่อมทำให้การเรียกร้องซึ่งแต่ละฝ่ายได้ยอมสละนั้นระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงในสัญญานั้นว่าเป็นของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 เมื่อสิทธิเรียกร้องของผู้เสียหายในมูลหนี้ที่จำเลยได้ออกเช็คพิพาทระงับสิ้นไป ไม่ว่าผู้เสียหายจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนหรือไม่ กรณีถือได้ว่าหนี้ที่ผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4 ได้สิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดคดีจึงเลิกกันตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 7 สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2841/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความต้องระบุข้อตกลงครอบคลุมทุกค่าเสียหาย มิฉะนั้นหนี้ละเมิดยังไม่ระงับ นายจ้างต้องรับผิด
บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า "วันที่ 23 ธันวาคม 2539 ได้มี ป. ผู้ขับขี่รถยนต์เก๋ง และ ว. ผู้ขับขี่รถยนต์กระบะ มาพบเพื่อเจรจาค่าเสียหาย ที่ตกลงกันได้ คือ ป. ได้เรียกร้องให้ ว. ซ่อมรถที่ได้รับความเสียหายให้อยู่ในสภาพเดิม และ ว. ยอมตกลงตามข้อเสนอทุกประการ" เอกสารดังกล่าวไม่มีข้อความระบุถึงค่าเสียหายที่โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บเป็นอันตรายแก่กายรวมทั้งมิได้ระบุถึงค่าเสียหายอื่นๆ ที่โจทก์ทั้งสองพึงได้รับชดใช้จากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้ยังไม่ปรากฏข้อความให้เห็นด้วยว่าคู่กรณีตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่หรือจะมีขึ้นโดยยอมสละข้อเรียกร้องอื่นทั้งสิ้น หรือข้อความว่าโจทก์ทั้งสองไม่ประสงค์จะฟ้องร้องจำเลยทั้งสองทั้งทางแพ่งและทางอาญาต่อไป บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีดังกล่าวจึงมิใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มูลหนี้ละเมิดระหว่างโจทก์ที่ 2 และจำเลยที่ 1 จึงยังไม่ระงับ จำเลยที่ 2 ในฐานะนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2840/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระงับข้อพิพาทละเมิด และผลกระทบต่อความรับผิดของนายจ้าง
เมื่อจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงกับตัวแทนของโจทก์ต่อหน้าพนักงานสอบสวนตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีว่า จำเลยที่ 1 ยินยอมตกลงชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ โดยจำเลยที่ 1 จะนำรถยนต์ของโจทก์ไปทำการซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพเดิม อันเป็นการปฏิบัติการชำระหนี้อย่างหนึ่งของจำเลยที่ 1 ลูกหนี้ โดยจำเลยที่ 1 ไม่จำเป็นจะต้องเสนอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์เป็นจำนวนเงินที่แน่นอน ข้อเสนอของจำเลยที่ 1 ในการซ่อมแซมรถยนต์ของโจทก์ เมื่อตัวแทนของโจทก์ได้ตกลงยินยอมตามนั้น ย่อมถือว่าโจทก์ยอมรับค่าเสียหายในมูลละเมิดที่เกิดขึ้นแล้ว บันทึกข้อตกลงตามรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ผลแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความนี้ทำให้สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอย่างใด ๆ ในมูลละเมิดที่จำเลยที่ 1 กระทำขึ้นเป็นอันระงับไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 852 และความรับผิดของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างก็ย่อมระงับสิ้นไปด้วย เพราะไม่มีมูลหนี้ในมูลละเมิดระหว่างโจทก์กับลูกจ้างในอันที่นายจ้างจะต้องรับผิดต่อไปอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1645/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการสินสมรสและการขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวหลังสัญญาประนีประนอมยอมความไม่สมบูรณ์
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอลงชื่อร่วมในอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นสินสมรสและขอค่าอุปการะเลี้ยงดู ต่อมาโจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในเรื่องการตกลงหย่าขาดและแบ่งสินสมรส และศาลพิพากษาตามยอม ซึ่งตามสัญญาข้อ 1 จำเลยต้องปฏิบัติการขายที่ดิน 2 แปลง และนำเงินที่หักค่าใช้จ่ายแล้วมาชำระให้แก่โจทก์ ข้อ 2 จำเลยตกลงโอนที่ดิน 5 โฉนดให้แก่โจทก์ ข้อ 3 ที่ดินนอกจากนี้ให้เป็นของจำเลย ข้อ 4 โจทก์จำเลยตกลงหย่ากัน เมื่อโจทก์ได้รับเงินตามข้อ 1 และได้รับโอนตามข้อ 2 เรียบร้อยแล้ว แต่ปรากฏว่าที่ดินยังจำหน่ายไม่ได้และระยะเวลา 6 เดือน ที่กำหนดให้ขายที่ดินและสิ่งปลูกสร้างให้แล้วเสร็จนั้นก็ผ่านไปแล้ว ซึ่งจำเลยก็รับในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องฎีกาลงวันที่ 3 ธันวาคม 2545 ว่ายังไม่ได้ปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความในข้อ 1 นี้ ดังนั้น เมื่อจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาปฏิบัติตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ครบถ้วน สถานภาพของการสมรสระหว่างโจทก์จำเลยยังคงมีผลตามกฎหมาย คู่สมรสคงต้องมีภาระหน้าที่รับผิดต่อบุคคลภายนอกหรืออาจได้รับความเสียหายจากการจัดการสินสมรสของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยคดีนี้เพื่อขอเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ฝ่ายเดียว โดยมีเหตุจำเลยปลอมลายมือชื่อโจทก์ในการจัดการเกี่ยวกับที่ดินสินสมรส ชอบที่โจทก์จะขอเป็นผู้จัดการสินสมรสฝ่ายเดียวและจัดการแยกสินสมรส จึงมิใช่เรื่องที่โจทก์ขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมและเป็นคนละประเด็นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9051/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ความผิดฐานปลอมเอกสาร: สิทธิฟ้องคดีอาญาไม่ระงับ แม้มีการประนีประนอมยอมความในคดีก่อนหน้า
โจทก์ร่วมเคยร้องทุกข์กล่าวหาจำเลยว่ายักยอกเงินตามเช็คของโจทก์ร่วมไปจำนวน 3,000,000 บาทเศษ แล้วต่อมาได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยและถอนคำร้องทุกข์ในคดีกังกล่าวไป ก็เพียงทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์และโจทก์ร่วมในความผิดฐานยักยอกทรัพย์อันเป็นความผิดต่อส่วนตัวระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) ส่วนการที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ค่าเสียหายจากมูลละเมิดที่เกิดจากการปลอมเช็คและเบิกเงินตามเช็คไป ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุด ก็มีผลเพียงห้ามคู่ความเดียวกันมารื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันเฉพาะมูลคดีแพ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นยังไม่เคยมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในคดีอาญาสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารตั๋วเงินและใช้เอกสารตั๋วเงินปลอมอันเป็นมูลคดีนี้ ซึ่งไม่ใช่ความผิดอันยอมความได้ โจทก์และโจทก์ร่วมมีสิทธิฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยเป็นคดีนี้ได้ ไม่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (4) และสิทธินำคดีอาญามาฟ้องคดีนี้ของโจทก์และโจทก์ร่วมยังไม่ระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2)
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ปลอมเช็ค 53 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว และทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมก็สืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คจำนวน 5 ฉบับ และใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอมจึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้ปลอมเช็ค 53 ฉบับ อันเป็นเอกสารสิทธิขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 265 แม้ไม่ได้บรรยายว่าปลอมตั๋วเงินตาม ป.อ. มาตรา 266 (4) แต่เช็คก็เป็นตั๋วเงินชนิดหนึ่ง คำบรรยายฟ้องเช่นนี้ทำให้จำเลยสามารถเข้าใจข้อหาได้โดยถูกต้องแล้วว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดอย่างไร แม้โจทก์มิได้ระบุ ป.อ. มาตรา 266 (4) ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง คำฟ้องของโจทก์ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว และทางพิจารณาโจทก์และโจทก์ร่วมก็สืบสมว่า จำเลยปลอมเช็คจำนวน 5 ฉบับ และใช้หรืออ้างเอกสารเช็คปลอมจึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8373/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความผิดสัญญาจ้างแรงงาน-ละเมิด & ผลสัญญาประนีประนอมยอมความหลังฟ้องคดี
แม้การกระทำของจำเลยที่ 1 ที่เก็บเงินจากลูกค้าของโจทก์แล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนจะเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่เนื่องจากโจทก์และจำเลยที่ 1 มีความสัมพันธ์กันตามสัญญาจ้างแรงงาน การที่จำเลยที่ 1 กระทำการดังกล่าว จึงเป็นการผิดสัญญาจ้างแรงงานอยู่ในตัวด้วย การใช้สิทธิเรียกร้องของโจทก์เกี่ยวกับการผิดสัญญาจ้างแรงงานไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ ต้องอยู่ในบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 193/30 คือ มีอายุความ 10 ปี มิใช่ 1 ปี หนี้ของโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความและแม้จำเลยที่ 1 กับโจทก์จะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ แต่สัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกระทำภายในศาลหลังมีการฟ้องคดีแล้ว เห็นได้ว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเพื่อบังคับหนี้ตามฟ้อง มิใช่เพื่อระงับหนี้เดิมและก่อหนี้ใหม่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ไม่มีผลให้หนี้เดิมระงับ จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ยังต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7864/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความกับการบังคับคดีที่ดิน: การยกที่ดินเพื่อระงับข้อพิพาท ไม่ใช่การให้โดยเสน่หา
โจทก์และจำเลยพิพาทกันเกี่ยวกับที่ดินพิพาท มีการเจรจาและทำใบยอมความกันต่อหน้าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองว่า จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง ดังนี้ การที่จำเลยตกลงยกที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ก็เพื่อระงับข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดินระหว่างโจทก์และจำเลย จึงหาใช่เป็นการให้โดยเสน่หาที่จะต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ แต่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ เมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายพิมพ์นิ้วมือจำเลย และมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วย 2 คน โจทก์ย่อมฟ้องให้บังคับคดีจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4822/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงประนีประนอมยอมความมีผลระงับสิทธิเรียกร้อง แม้ฝ่ายหนึ่งไม่ได้ร่วมตกลง ผู้กระทำละเมิดยังต้องรับผิดชอบ
แม้ใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนจะเป็นแบบฟอร์มที่บริษัทจำเลยที่ 2 จัดทำขึ้นเอง แต่เมื่อได้กรอกข้อความตามที่ตกลงกัน และโจทก์ได้ลงลายมือชื่อในช่องผู้รับเงิน ใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวจึงเป็นเอกสารที่แสดงว่าโจทก์ยอมรับเงินไปจากจำเลยที่ 2 จริง อันมีลักษณะเป็นการประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นการระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ให้เสร็จสิ้นไปโดยต่างฝ่ายต่างยอมผันให้แก่กันด้วยความสมัครใจของโจทก์และจำเลยที่ 2
เอกสารใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นข้อตกลงประนีประนอมยอมความและมีผลใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้รับเงินไปตามข้อตกลงแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันระงับไปตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์และมิได้ร่วมตกลงด้วย จึงไม่อาจอาศัยเอกสารดังกล่าวต่อสู้โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์เพียง 20,250 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
เอกสารใบรับเงินค่าสินไหมทดแทนเป็นข้อตกลงประนีประนอมยอมความและมีผลใช้บังคับได้ เมื่อโจทก์ได้รับเงินไปตามข้อตกลงแล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่ 2 จึงเป็นอันระงับไปตามข้อตกลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ส่วนจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์และมิได้ร่วมตกลงด้วย จึงไม่อาจอาศัยเอกสารดังกล่าวต่อสู้โจทก์ ส่วนจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียงใด ศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยเนื่องจากคดีมีทุนทรัพย์เพียง 20,250 บาท การวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นอาจมีผลทำให้คดีต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง จึงสมควรย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาในประเด็นดังกล่าวจากพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทั้งสองนำสืบก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247