คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ผู้จัดการทรัพย์สิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถอดถอนผู้จัดการทรัพย์สิน และการแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินใหม่ ศาลอุทธรณ์พิพากษาเกินคำขอหรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรก และสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลย เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้น เป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวนเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ. ตาราง 1 ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาศาลอุทธรณ์ตั้งผู้จัดการทรัพย์สินร่วมกับจำเลยเดิม ไม่เกินคำขอและชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม 2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรกและสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบและเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ชอบแล้ว ที่จำเลยฎีกาเฉพาะข้อกฎหมายว่าศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลยเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบและเป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้นเป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก) เมื่อปรากฏว่าจำเลยเสียค่าขึ้นศาลดังกล่าวเกินมา จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกินให้แก่จำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4875/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอดถอนและแต่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ การวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่เกินคำขอ
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งถอดถอนจำเลยออกจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ และแต่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ต่อไป จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องขอให้ถอดถอนจำเลย และโจทก์ไม่เหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทรวม 2 ประเด็น คือ สมควรถอดถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่ เป็นประเด็นข้อแรกและสมควรตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่หรือไม่เป็นประเด็นข้อ 2 ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์เห็นสมควรและมีคำพิพากษาตั้งโจทก์เข้าร่วมเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของผู้ไม่อยู่ จึงเป็นการวินิจฉัยในข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นคำพิพากษาตามคำขอในประเด็นข้อ 2 ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษาตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการทรัพย์ของผู้ไม่อยู่ร่วมกับจำเลย เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้นโดยชอบ และเป็นการพิพากษาเกินคำขอคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบนั้น เป็นฎีกาเกี่ยวกับคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีตามมาตรา 307: รายได้ประจำปีเพียงพอชำระหนี้ได้ ศาลสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ มิใช่ผ่อนชำระรายปี
ความหมายแห่งบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 ให้ใช้รายได้ 1 ปี มาชำระหนี้ให้ครบถ้วนตามคำพิพากษามิใช่ให้ผ่อนชำระเป็นรายปีแล้วแต่ลูกหนี้จะผ่อนชำระได้ จำเลยที่ 2 มิได้มีรายได้จากอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดจึงไม่อาจตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการทรัพย์แทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้จากรายได้ประจำปีตามมาตรา 307 คพพ.
ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ว่าด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการขายทอดตลาดเป็นบทบัญญัติคุ้มครองผลประโยชน์และส่วนได้เสียของลูกหนี้ตามคำพิพากษาในชั้นบังคับคดี ซึ่งทำให้อาจปลดเปลื้องหนี้สินตามคำพิพากษาได้ โดยไม่ต้องมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้และจะไม่เกิดความเสียหายแก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา หากรายได้จากอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการของลูกหนี้เมื่อคำนวณประจำปีแล้วอาจเพียงพอชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ ซึ่งเมื่อศาลเห็นสมควรหรือเมื่อลูกหนี้ตามคำพิพากษาร้องขอศาลอาจมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการเหล่านั้นและบังคับให้มอบรายได้ทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควรแทนการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา หาใช่ให้ผ่อนชำระเป็นรายปีแล้วแต่ลูกหนี้จะผ่อนชำระได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้หากข้อกล่าวอ้างไม่น่าเชื่อถือ
คำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามความใน ป.วิ.พ.มาตรา 307 ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งได้ การที่จะต้องไต่สวนตามคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเห็นสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตาม ป.วิ.พ. มาตรา 307 ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินที่ยึด ไม่ใช่แค่มีโรงงาน
การที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ ตามป.วิ.พ. มาตรา 307 ต้องเป็นกรณีที่ตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองมีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษา เมื่อที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดมีแต่พืชไร่ซึ่งไม่ปรากฎว่าเกี่ยวข้องกับกรณีดังกล่าวอันจะมีรายได้ประจำปีมาชำระหนี้ตามคำพิพากษา ดังนี้ ไม่อาจตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตราดังกล่าวได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อหารายได้ชำระหนี้ ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินนั้นจริง
ที่ดินของจำเลยที่ถูกโจทก์นำยึดไม่มีรายได้ประจำปีอันเกิดจากที่ดินนั้นหรือมีการประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมอยู่ในขณะที่ถูกยึด จำเลยจึงไม่อาจขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินแทนการสั่งขายทอดตลาดที่ดิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 307 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2191/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการตั้งผู้จัดการทรัพย์สินตามมาตรา 307 ต้องมีรายได้จากทรัพย์สินนั้นจริง
แม้ในฎีกาจะระบุว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ยื่นฎีกา ซึ่งโจทก์แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฎีกาก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาว่าการโต้แย้งเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ สืบเนื่องจากการยึดที่ดินของจำเลยที่ 2และจำเลยที่ 2 ได้คัดค้านมาโดยตลอด เนื้อหาในฎีกาก็เป็นการอ้างสิทธิของจำเลยที่ 2 ว่าศาลควรให้โอกาสแก่จำเลยดำเนินการจัดการทรัพย์สินที่ถูกยึด ใจความและเหตุผลน่าจะเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 ทนายความที่ดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ศาลชั้นต้นจนถึงชั้นฎีกาแทนจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ก็เป็นทนายความผู้เรียงฎีกาคนเดียวกัน การระบุชื่อของจำเลยที่ 1 ว่าเป็นผู้ฎีกาตามแบบพิมพ์ จึงเป็นข้อผิดหลง ซึ่งโดยข้อเท็จจริงแล้วจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหาที่ว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิฎีกาจึงเป็นอันตกไป การที่จะร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ในการประกอบกิจการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307จะต้องเป็นกรณีที่ตัวอสังหาริมทรัพย์นั้นเองในปัจจุบันมีรายได้ประจำปีจากการประกอบอุตสาหกรรม พาณิชยกรรม หรือกสิกรรมของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพราะการนำยึดอสังหาริมทรัพย์ที่มีลักษณะดังนี้ออกขายทอดตลาดโดยตรง อาจนำความเสียหายมาสู่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือฝ่ายลูกหนี้ตามคำพิพากษาทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ โดยเฉพาะลูกหนี้ตามคำพิพากษาอาจสูญเสียทรัพย์สินที่เคยใช้ประกอบอาชีพและมีรายได้ที่ได้รับ โดยสม่ำเสมอเป็นประจำดังนั้น บทบัญญัติในวิธีการบังคับคดีจึงให้โอกาสแก่คู่ความที่จะเลือกใช้วิธีการบังคับคดีตามมาตรา 307 ซึ่งเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็อาจได้รับชำระหนี้ของตนได้เต็มตามจำนวนจนเป็นที่พอใจ เมื่อทรัพย์สินที่ถูกนำยึดไม่มีรายได้หรือมีการประกอบการอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมในขณะนั้นตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 ดังกล่าวข้างต้น จึงไม่อาจร้องขอให้ศาลตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ในการประกอบกิจการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ของผู้จัดการทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย การแจ้งการประเมินภาษีและการโต้แย้งสิทธิ
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ ปรากฏว่าลูกหนี้เป็นหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่ต่อโจทก์ เจ้าพนักงานประเมินของโจทก์จึงได้แจ้งการประเมินไปยังจำเลยเพื่อให้ชำระค่าภาษีดังกล่าว ดังนี้ การแจ้งการประเมินจึงเป็นการปฏิบัติตามวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ.2508 มาตรา 48 ไม่ใช่เรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 91 การที่จำเลยมีหนังสือไปถึงผู้อำนวยการเขตลาดกระบังแจ้งว่าหนี้ค่าภาษีบำรุงท้องที่เป็นหนี้ไม่อาจขอรับชำระได้นั้น เป็นเรื่องที่นอกเหนืออำนาจตามกฎหมาย เท่ากับเป็นเพียงการแจ้งความคิดเห็นของจำเลยไปให้ผู้อำนวยการเขตลาดกระบังทราบเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีคำวินิจฉัยในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ จึงไม่มีผลผูกพันใด ๆ ต่อโจทก์ โจทก์จึงไม่ต้องร้องคัดค้านความเห็นของจำเลยตามพระราช-บัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ก่อน ฉะนั้น การที่จำเลยไม่ชำระค่าภาษีบำรุงท้องที่แก่โจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
จำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์สินของลูกหนี้เนื่องจากลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด และได้จัดให้เช่าที่ดินของลูกหนี้ จำเลยจึงมีหน้าที่ชำระภาษีบำรุงท้องที่ ตามมาตรา 35 วรรคสอง หนี้เงินภาษีดังกล่าวเป็นหนี้ที่กฎหมายบังคับให้ต้องชำระ แม้จะเกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้วจำเลยก็ยังมีหน้าทื่ชำระหนี้แทนลูกหนี้
of 4