พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้ถูกกล่าวหาในคดีอาญา กรณีแจ้งความเท็จทำให้พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า มูลเดิมโจทก์เป็นผู้เสียหายไในคดีอาญาฐานพยายามฆ่าโจทก์ จำเลยเป็นพยานในชั้นสอบสวน โดยชั้นแรกให้การว่าเห็นนายยุงหรือพยุงผู้ต้องหายกปืนขึ้นประทับอกเล็งจ้องมาทางโจทก์ ต่อมาจำเลยแจ้งความเท็จโดยให้การต่อพนังานสอบสวนว่า ข้าฯไม่เห็นนายยุงหรือพยุงยกปืนขึ้นประทับบ่าหรือเล็งจ้องมาทางพันตำรวจเอกพระกล้า ฯ(ใจพล) แต่อย่างไรเห็นแต่นายยุงถือปืนทำท่าจะลงเรือเท่านั้น พันตำรวจเอกพระกล้าฯ บอกให้ข้าพเจ้าให้การ ดังนั้น ข้าฯมีความเกรงใจเพราะเป็นผู้ใหญ่แล้วจึงให้การคล้อยตามไป อันเป็นเท็จ ทำให้โจทก์เสียหายโดยพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง ปล่อยนายยุงหรือพยุงไปเป็นเหตุให้คนทั้งหลายดูหมิ่นเกลียดชังโจทก์ ขอให้ลงโทษตามมาตรา 137,172,200 ดังนี้ หากข้อเท็จจริงฟังได้ดังฟ้อง ก็นับว่าโจทก์ได้รับความเสียหายด้วยคนหนึ่ง จึงมีอำนาจฟ้อง ศาลชั้นต้นจึงต้องดำเนินการไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิจารณาสั่งไปตามกระบวนความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2491
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องฐานสมคบเล่นการพนัน: การตีความบทบาทของผู้ถูกกล่าวหา
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลย 6 คนสมคบกันเล่นการพนันที่บ้านจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2-3 เป็นเจ้ามือ จำเลยนอกนั้นเป็นคนแทง ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์หาว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนแทงด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 694/2487
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างทนาย: คดีจำหน่ายชั่วคราวและวิกลจริตของผู้ถูกกล่าวหา
โจทก์รับเป็นทนายแก้ต่างบุตรของจำเลยซึ่งถูกฟ้องในคดีอาญาโดยตกลงกันว่า ถ้าคดีนั้นจำเลยเป็นฝ่ายชนะยกฟ้องหรือจำหน่ายคดีด้วยประการใดใดจำเลยจะให้ค่าจ้าง 400 บาท ครั้นต่อมาศาลได้สั่งจำหน่ายคดีอาญานั้นเสียชั่วคราวโดยบุตรจำเลยเกิดวิกลจริต ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้าง 400 บาทได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยระบุตัวผู้ถูกกล่าวหาเข้าข่ายความผิดตามมาตรา 158
ความผิดตาม ม.158 ไม่หมายถึงเรื่องฟ้องเท็จศาลอย่างเดียว การฟ้องเรียนเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจโดยระบุเจาะตัวผู้ถูกหา ก็เป็นผิดตามมาตรานี้
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเจ้าทุกข์เมาสุราเถื่อนไปอำเภอตามคำสั่งของผู้ใหญ่บ้านกับไปบอกตำรวจว่าเจ้าทุกข์มีสุราเถื่อนดังนี้ ต้องผิดฐานร้องเรียนเท็จตามมาตรา 158
อ้างฎีกาที่ 169/2479 และที่ 392/2480
จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเจ้าทุกข์เมาสุราเถื่อนไปอำเภอตามคำสั่งของผู้ใหญ่บ้านกับไปบอกตำรวจว่าเจ้าทุกข์มีสุราเถื่อนดังนี้ ต้องผิดฐานร้องเรียนเท็จตามมาตรา 158
อ้างฎีกาที่ 169/2479 และที่ 392/2480
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2480
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหมิ่นประมาทเจ้าหน้าที่: จำเลยเจตนาหมิ่นประมาทเฉพาะผู้ถูกกล่าวหาโดยตรง ไม่ถือว่าหมิ่นประมาทผู้แต่งตั้ง
กล่าวว่า "กรรมการอำเภอหมา ๆ ผู้ตั้งมาไม่ดูไม่แล ตั้งคนหมา ๆ มาเป็นธรรมการอำเภอ" ดังนี้มีผิดฐานหมิ่นประมาทธรรมการอำเภอตาม ม.339
(2) แต่หามีผิดฐานหมิ่นประมาทรัฐมนตรีผู้ตั้งธรรมการอำเภอตาม ม.116 ด้วยไม่
หน้าที่นำสืบ
(2) แต่หามีผิดฐานหมิ่นประมาทรัฐมนตรีผู้ตั้งธรรมการอำเภอตาม ม.116 ด้วยไม่
หน้าที่นำสืบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4185-4186/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งเรียกค่าสินไหมทดแทนที่ไม่สมบูรณ์: จำเป็นต้องให้โอกาสผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงก่อนออกคำสั่ง
โจทก์ที่ 1 เพียงแต่ได้ให้ปากคำต่อคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ส. ซึ่งไม่ใช่กระบวนการหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งที่จำเลยจะมาอ้างว่าโจทก์ที่ 1 มีโอกาสชี้แจงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนแล้ว เมื่อคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไม่ได้เรียกหรือให้โอกาสโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นผู้ถูกกล่าวหาได้มีโอกาสให้ถ้อยคำชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตน จึงเป็นกรณีที่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิดไม่ได้ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 30 วรรคหนึ่ง และข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มีผลทำให้คำสั่งของจำเลยที่เรียกให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน เป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งจำเลยอาจแก้ไขให้สมบูรณ์ในภายหลังได้ โดยเรียกให้โจทก์ที่ 1 รับทราบข้อกล่าวหาและชี้แจงพยานหลักฐานของตนก่อนสิ้นสุดกระบวนการพิจารณาอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 41 การที่จำเลยแจ้งคำสั่งให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนและต่อมาโจทก์ที่ 1 ได้มีหนังสือถึงองค์การสะพานปลาโต้แย้งหนังสือบอกกล่าวให้ชำระค่าสินไหมทดแทน จึงเป็นกรณีที่โจทก์ที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งทางปกครองดังกล่าว หาใช่โจทก์ที่ 1 ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนไม่ และการที่จำเลยได้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาความเห็นโต้แย้งหนังสือบอกกล่าวให้ชำระหนี้ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ที่ 1 ก็เป็นกระบวนการที่จำเลยพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 เมื่อคณะกรรมการดังกล่าวพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดเกิดขึ้นมาใหม่ที่จะมาเปลี่ยนแปลงคำวินิจฉัยเดิมของกรมบัญชีกลาง และจำเลยเห็นชอบตามความเห็นของคณะกรรมการดังกล่าว กระบวนการพิจารณาอุทธรณ์จึงได้สิ้นสุดแล้ว ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า หลังจากจำเลยมีคำสั่งเรียกให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่ไม่สมบูรณ์ จำเลยได้ดำเนินการโดยให้โอกาสแก่โจทก์ที่ 1 ได้ชี้แจงข้อเท็จจริงและโต้แย้งแสดงพยานหลักฐานของตนอย่างเพียงพอและเป็นธรรม คำสั่งทางปกครองดังกล่าวจึงหากลับมาสมบูรณ์ในภายหลังไม่ คำสั่งที่จำเลยเรียกให้โจทก์ที่ 1 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจึงยังเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ และทำให้คำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินของโจทก์ที่ 1 เป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 624/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งข้อกล่าวหาผู้ถูกกล่าวหาที่จงใจปกปิดภูมิลำเนา การฟ้องคดีอาญาต่อผู้ถูกกล่าวหา
ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการไต่สวนข้อเท็จจริง พ.ศ. 2555 ที่ใช้อยู่ขณะเกิดเหตุ กำหนดวิธีการแจ้งข้อกล่าวหาแก่ผู้ถูกกล่าวหาไว้หลายวิธี โดยข้อ 37 วรรคหนึ่งกำหนดว่า "เมื่อองค์คณะอนุกรรมการไต่สวนเห็นว่า จากทางไต่สวนข้อเท็จจริงมีพยานหลักฐานพอที่จะสนับสนุนข้อกล่าวหาว่าผู้ถูกกล่าวหาได้กระทำการอันมีมูลความผิด ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนมีหนังสือเรียกผู้ถูกกล่าวหามาพบและแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบ..." วรรคสองกำหนดว่า "ในการแจ้งข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนจัดทำเป็นบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหา ระบุการกระทำและพฤติการณ์ทั้งหลายที่อ้างว่าผู้ถูกกล่าวหากระทำความผิด ข้อเท็จจริงและรายละเอียด... ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้ผู้ถูกกล่าวหาเข้าใจข้อกล่าวหาได้ดี... โดยให้ผู้ถูกกล่าวหาลงลายมือชื่อรับทราบการแจ้งข้อกล่าวหาไว้เป็นหลักฐานด้วย" ข้อ 38 วรรคหนึ่งกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบข้อกล่าวหาตามกำหนดนัดหรือปรากฏว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับหนังสือตามข้อ 37 ให้คณะอนุกรรมการไต่สวนส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาไปให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการหรือตามหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวนข้อเท็จจริง..." วรรคสองกำหนดว่า "ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่มารับทราบข้อกล่าวหาหรือไม่ได้รับหนังสือแจ้งให้มารับทราบข้อกล่าวหาตามวรรคหนึ่ง ให้มีการปิดประกาศหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหามารับทราบข้อกล่าวหาไว้โดยเปิดเผยยังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. และภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา..." ลักษณะการแจ้งข้อกล่าวหาตามระเบียบดังกล่าวพอจำแนกตามวัตถุประสงค์ได้เป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ การมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง ซึ่งปกติต้องส่งไปยังภูมิลำเนาของผู้ถูกกล่าวหา การส่งบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง และการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 38 วรรคสองนั้น มุ่งให้ผู้ถูกกล่าวหารับทราบข้อกล่าวหาเพื่อประโยชน์ในการชี้แจงและนำสืบแก้ข้อกล่าวหา โดยแจ้งไปยังภูมิลำเนาและที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาซึ่งปรากฏตามหลักฐานของทางราชการ หรือตามหลักฐานที่ปรากฏจากการไต่สวน ซึ่งเป็นสถานที่อยู่สำคัญที่ผู้ถูกกล่าวหาน่าจะได้รับหนังสือแจ้งให้มารับทราบข้อกล่าวหา ส่วนการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหายังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นวิธีการที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การไต่สวนให้สามารถดำเนินการต่อไปได้ กรณีที่ไม่อาจแจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ด้วยวิธีอื่น คดีนี้มีการแจ้งข้อกล่าวหาครบทั้งสองลักษณะ สำหรับการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยการมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 37 วรรคหนึ่ง การส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามข้อ 38 วรรคหนึ่ง และการปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาตามข้อ 38 วรรคสองนั้น จำเลยที่ 2 จงใจปกปิดภูมิลำเนาของตนเพื่อหลบเลี่ยงมิให้คณะอนุกรรมการไต่สวนสามารถติดตามดำเนินคดีแก่ตนได้ เจ้าของบ้านแจ้งจำหน่ายชื่อจำเลยที่ 2 ออกจากทะเบียนบ้านแล้วไปเพิ่มชื่อจำเลยที่ 2 ในทะเบียนบ้านของสำนักงานทะเบียนท้องถิ่น ย่อมทำให้ภูมิลำเนาของจำเลยที่ 2 ไม่ชัดเจนเพียงพอที่จะทำให้คณะอนุกรรมการไต่สวนสามารถมีหนังสือแจ้งข้อกล่าวหา ส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาแก่จำเลยที่ 2 ได้ ถือได้ว่าการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยวิธีอื่นไม่อาจกระทำได้ ต้องนำการแจ้งข้อกล่าวหาด้วยวิธีปิดประกาศหนังสือส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหายังที่ทำการสำนักงาน ป.ป.ช. ตามข้อ 38 วรรคสอง มาใช้บังคับ เมื่อการปิดประกาศดังกล่าวกระทำโดยชอบ การสอบสวนของคณะอนุกรรมการไต่สวนจึงเป็นไปโดยชอบ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2554/2566
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจในการยื่นคำร้องขอทรัพย์สินตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ฟอกเงิน ต้องเป็นทรัพย์สินของผู้ถูกกล่าวหา
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ทรัพย์สินรายการที่ 147 ซึ่งเป็นที่ดินโฉนดเลขที่ 3630 ตกเป็นของแผ่นดิน และผู้คัดค้านอุทธรณ์โต้แย้งเกี่ยวกับทรัพย์สินรายการที่ 147 แม้ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้คัดค้านเกี่ยวกับทรัพย์สินรายการที่ 147 เพราะเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เนื่องจากผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำคัดค้านว่าไม่ใช่ทรัพย์สินของผู้คัดค้านมาตั้งแต่แรก แต่ตามคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้องได้ยอมรับข้อเท็จจริงแล้วว่า ทรัพย์สินรายการที่ 147 มีชื่อ ธ. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ไม่ใช่ของผู้คัดค้านตามที่ผู้ร้องระบุในบัญชีรายการทรัพย์สิน จึงขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ไขเกี่ยวกับทรัพย์สินรายการที่ 147 ให้ถูกต้อง เห็นว่า หากข้อเท็จจริงฟังได้ตามคำแก้อุทธรณ์ ผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ทรัพย์สินรายการที่ 147 ตกเป็นของแผ่นดิน ปัญหาเรื่องอำนาจในการยื่นคำร้องของผู้ร้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยเกี่ยวกับทรัพย์สินรายการที่ 147 ตามคำแก้อุทธรณ์ของผู้ร้อง ซึ่งมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มาตรา 56 วรรคท้าย