คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
พยายามทำร้ายร่างกาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1372/2499

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่า vs. พยายามทำร้ายร่างกาย: ปืนแก๊ปทำเอง, ระยะยิง, กระสุนไม่ถูกตัว
ได้ความแต่เพียงว่าจำเลยใช้ปืนยิงผู้เสียหาย แต่ไม่ได้ปืนมาเป็นของกลาง และได้ความจากพยานแต่เพียงว่าเป็นปืนแก๊ปทำเอง ลำกล้องยาวราว 1 คืบปากกระบอกขนาดนิ้วก้อยรอดได้ ปืนนั้นจะร้ายแรงพอจะทำให้ผู้ถูกยิงตายหรือไม่ ไม่ปรากฏชัด คงปรากฏแต่ว่ากระสุนไปถูกพื้นถนนเลยตัวผู้เสียหายที่วิ่งหนีไปราว 1 ศอก ดินถนนกระจายขึ้น ประกอบจำเลยยิงเมื่อผู้เสียหายไปห่างถึง 15 วาแล้วดังนี้ยังไม่พอฟังว่ามีความผิดฐานพยายามฆ่าคนตาย มีผิดเพียงฐานพยายามทำร้ายร่างกายบาดเจ็บสาหัสตามมาตรา 256,60

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 821/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพยายามฆ่าต้องพิสูจน์ถึงเจตนาและความสามารถของอาวุธ หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ ศาลลดโทษเหลือพยายามทำร้ายร่างกาย
จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองทำเองยิงผู้เสียหายในระยะห่างกัน 1 เส้น5 วากระสุนปืนมิได้ถูกผู้เสียหายโจทก์ไม่ได้อาวุธปืนมาพิสูจน์ให้เห็นว่าเป็นปืนชนิดมีกำลังแรงพอจะยิงผู้เสียหายให้ตายในระยะอันไกลถึงเพียงนั้น ดังนี้จำเลยมีความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายบาดเจ็บเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2080/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกาย แม้ไม่ถูกตัว แต่มีเจตนาและพฤติการณ์ใกล้ชิด
ใช้มีดแทง ผู้เสียหายหลบมีดจึงไม่ถูกผู้เสียหาย เป็นความผิดตาม มาตรา 254,60

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 855/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามฆ่า ลดเหลือพยายามทำร้ายร่างกาย และข้อจำกัดในการฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามฆ่าคนโดยเจตนาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 249,60 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยยิงขู่ไม่มีเจตนาจะยิงผู้เสียหายจึงพิพากษายกฟ้อง
ศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยมีเจตนาจะยิงผู้เสียหาย แต่ปืนที่ใช้ยิงเป็นปืนทำเองไม่ร้ายแรงกระสุนก็ไม่ร้ายแรงไม่อาจทำลายชีวิตได้จึงพิพากษากลับให้ลงโทษจำเลยฐานพยายามทำร้ายร่างกายตาม กฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 254,60 ดังนี้ ในข้อหาโจทก์ที่หาว่าจำเลยพยายามฆ่าผู้เสียหายโดยเจตนานั้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยไม่มีความผิดแล้ว โจทก์จะฎีกาในข้อนี้ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219
(อ้างฎีกาที่ 1316/2493)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1150/2482

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามทำร้ายร่างกาย: ระยะห่าง 2 วา ไม่ถือว่าใกล้ชิดต่อความสำเร็จ
ถือมีดเข้าไปจะทำร้ายเขา เข้าไปได้อย่างใกล้ที่สุด ระยะห่าง 2 วา ถือว่าเป็นการกระทำใกล้ชิดต่อความสำเร็จยังไม่ได้ จำเลยยังไม่มีผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 783/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามทำร้ายร่างกายด้วยอาวุธอันตราย: การป้องกันตัวของผู้ถูกทำร้าย และการลงโทษตามบทหนัก
เงื้อขวานเข้ามาจะฟันเขาแต่เขาถลันเข้าไปป้องกันไว้ได้เป็นการกระทำที่เห็นได้ว่าถ้าถูกก็มีบาดแผล จำเลยต้องมีผิดตามมาตรา 254-60 การกระทำเป็นการเลมิดกฎหมายหลายบทศาลลงโทษตามบทหนัก พ.ร.บ.ฎีกาอุทธรณ์ พ.ศ.2461 ม.3 แก้มาก ศาลเดิมลงโทษตาม ม.338 ให้ปรับ 40 บาทศาลอุทธรณ์แก้ลงโทษตามมาตรา 254 -60 ให้จำคุก 1 ปี 6 เดือนเป็นแก้ไขมาก ฎีกาข้อเท็จจริงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายที่ไม่ชัดเจนถึงอันตรายร้ายแรง ทำให้ความผิดเป็นเพียงลหุโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 80 และ 83 โดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อ (ค) ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ท่อนไม้และขวดขว้างใส่ผู้เสียหายทั้งสองโดยมีเจตนาทำร้าย จำเลยทั้งสองกับพวกลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลเนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองวิ่งหลบหนีได้ทัน ทำให้ท่อนไม้และขวดไม่ถูกร่างกายของผู้เสียหายทั้งสอง โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นข้อเท็จจริงว่าหากจำเลยทั้งสองขว้างปาท่อนไม้และขวดถูกผู้เสียหายทั้งสอง ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายทั้งสองได้อย่างแน่นอน อันเป็นองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวมาด้วย ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นขนาดของขวดและไม้มาพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ซึ่งหากขวดหรือท่อนไม้ขนาดไม่ใหญ่มากนักขว้างถูกผู้เสียหายทั้งสอง ไม่แน่นอนว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจได้หรือไม่ ฟ้องโจทก์ข้อ (ค) ดังกล่าวนี้ จึงต้องแปลว่าเป็นการบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองอาจไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายทั้งสอง ตาม ป.อ. มาตรา 391 ประกอบมาตรา 80 และ 83 เท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองในข้อนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 105
of 2