พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1335/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุหย่า: พฤติกรรมดูถูกเกลียดชัง, การทำร้ายร่างกาย, และการหมิ่นประมาทบุพการี - ไม่เพียงพอต่อการพิพากษาให้หย่า
จำเลยเป็นภรรยาโจทก์ การที่จำเลยไม่ยอมพูดกับโจทก์ หากมีเรื่องที่จะต้องปรึกษาหารือกันจำเลยจะเขียนจดหมายแทนการพูดกับโจทก์ก็เนื่องจากความผิดของโจทก์ที่มีความสัมพันธ์ทางเพศกับหญิงอื่นและทำร้ายร่างกายจำเลย ทั้งเพื่อหลีกเลี่ยงมิให้บุตรได้ยินการทะเลาะกันระหว่างโจทก์กับจำเลย การกระทำของโจทก์เป็นเหตุอันสมควรที่จะทำให้จำเลยแสดงอาการดูถูกเกลียดชังโจทก์และไม่พูดคุยกับโจทก์ได้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยประพฤติชั่ว และถือไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภรรยากันอย่างร้ายแรงอันจะเป็นเหตุหย่า มารดาของโจทก์เป็นลมเนื่องจากทะเลาะกับจำเลย เพราะจำเลยต้องการพาบุตรชายไปเที่ยวนอกบ้านแต่มารดาไม่ยอม เหตุดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าจำเลยหมิ่นประมาทหรือเหยียดหยามบุพการีโจทก์อย่างร้ายแรง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แม้จำเลยอายุน้อย แต่พฤติกรรมแสดงถึงความสำนึกผิดชอบเสมือนผู้ใหญ่
ขณะกระทำผิด จำเลยที่ 1 ที่ 2 อายุ 18 ปี ทั้งให้การรับสารภาพตลอดมา แต่ พฤติกรรมที่จำเลยทั้งสองกระทำความผิดตั้งแต่ เริ่มแรกโดย ร่วมกันวางแผนและดำเนินการตาม แผน ที่วางไว้ เป็นพฤติกรรมอัน ส่อแสดงให้เห็นถึง ความรู้สึกผิดชอบเสมือนเป็นผู้ใหญ่แล้ว ศาลย่อมใช้ ดุลพินิจ ไม่ลดมาตราส่วนโทษ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3513/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมทำร้ายเกียรติศักดิ์ การกระทำต้องร้ายแรงถึงขนาดเป็นเหตุให้หย่าได้
การที่จำเลยได้เข้ามาที่บริษัทซึ่งโจทก์เป็นที่ปรึกษาและกรรมการบริษัทและพูดกับพนักงานหญิงของบริษัทว่า "พวกนางดอกทอง ระวังตัวอย่ามาแย่งผัว" และเรียกพนักงานชายมาต่อว่าว่า "ระวังเมียเจ้าให้ดี อย่าให้มายุ่งกับผัวข้า" นั้นจำเลยกระทำไปด้วยอารมณ์หึงหวงเพื่อเป็นการป้องกันมิให้โจทก์กับพนักงานหญิงของบริษัทมีความสัมพันธ์ฉันชู้สาวกัน อันจะเป็นสาเหตุทำให้โจทก์ละทิ้งจำเลยและบุตรของจำเลยหลายคนอันเกิดแต่โจทก์ได้ การกระทำของจำเลยดังกล่าวจึงยังไม่ถึงขนาดเป็นการประพฤติชั่วอันทำให้โจทก์ได้รับความอับอายขายหน้าอย่างร้ายแรง หรือได้รับความดูถูกเกลียดชัง หรือได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร โจทก์จึงยังไม่มีสิทธิที่จะฟ้องหย่าจำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3140/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ชอบธรรมจากพฤติกรรมเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ตำแหน่งหน้าที่ และสิทธิค่าชดเชย
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการสาย ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สามารถให้คุณให้โทษแก่ น. ผู้เป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารที่ร่วมรับคนโดยสารในกิจการของจำเลยได้ โจทก์ไปขอสุราต่างประเทศจาก น.ถึงที่พักในเวลา 23 นาฬิกาเศษ เมื่อ น.ไม่มีสุราต่างประเทศโจทก์ก็ยอมรับเอาเงินจำนวน 200 บาท จาก น.ถือได้ว่าโจทก์ได้กระทำการอันเป็นเหตุให้เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่อันเป็นการประพฤติชั่วตามข้อบังคับของจำเลยข้อ 4.13 ย่อมเป็นเหตุที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ ไม่เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม การกระทำความผิดวินัยตามข้อ 4.13 จำเลยกำหนดให้ลงโทษด้วยการให้ออกโดยกำหนดไว้ในข้อ 9 ของข้อบังคับว่า การลงโทษให้ออกนั้นให้กระทำในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอันเป็นเหตุให้เสียหายแก่องค์การไม่ถึงร้ายแรง และได้รับการเตือนเป็นหนังสือแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์มาก่อนและกรณีไม่ต้องด้วยข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลย โจทก์กระทำผิดวินัยตามข้อบังคับ โดยประพฤติตนเป็นที่เสื่อมเสียเกียรติศักดิ์ของตำแหน่งหน้าที่ จึงเป็นเรื่องโจทก์จงใจขัดคำสั่งของนายจ้างตามที่กำหนดไว้ในข้อบังคับ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องเอาสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3608/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากพฤติกรรมไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู และการกระทำที่สร้างความเดือดร้อนอย่างมากต่อคู่สมรส
หลังจดทะเบียนสมรสแล้ว จำเลยเป็นฝ่ายก่อเหตุให้เกิดความระหองระแหงในครอบครัว ด้วยการไปรับบุตรสาวซึ่งเกิดจากภริยาเก่ามามาเลี้ยงดูอยู่ในบ้านเดียวกัน อันเป็นการผิดถ้อยคำพูดที่จำเลยเคยให้ไว้แก่โจทก์ว่าจำเลยไม่เคยมีภริยาและบุตรมาก่อน แล้วหลังจากนั้นจำเลยก็ไม่จ่ายเงินเป็นค่าอุปการะเลี้ยงดูโจทก์และครอบครัวเช่นที่เคยปฏิบัติมา เป็นเหตุให้โจทก์ต้องนำเงินเดือนแต่ละเดือนของโจทก์มาใช้จ่ายเลี้ยงดูครอบครัวจำเลยเกือบหมด ทั้งจำเลยยังติดต่อกับภริยาเก่าและแสดงกิริยาวาจาเหยียดหยามมารดาของโจทก์จนกระทั่งโจทก์ไม่สามารถอยู่ร่วมกับจำเลยต่อไปได้ เช่นนี้ถือได้ว่าจำเลยไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูโจทก์ตามสมควรอันประกอบด้วยเหตุอื่น ๆ อีกถึงขนาดที่โจทก์เดือดร้อนเกินสมควรที่โจทก์จะอยู่กินร่วมกันฉันสามีภริยากับจำเลยต่อไปได้ อันเป็นเหตุฟ้องหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (6)
การหย่าโดยคำพิพากษานั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 16 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่านั้นไว้ในทะเบียน โดยคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ศาลจึงไม่ต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
การหย่าโดยคำพิพากษานั้น พระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว พ.ศ.2478 มาตรา 16 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียยื่นสำเนาคำพิพากษาอันถึงที่สุดที่รับรองถูกต้องต่อนายทะเบียน และขอให้นายทะเบียนบันทึกการหย่านั้นไว้ในทะเบียน โดยคู่สมรสไม่จำต้องไปแสดงเจตนาขอจดทะเบียนการหย่าต่อนายทะเบียนอีก ศาลจึงไม่ต้องสั่งให้ถือเอาคำพิพากษาแทนการแสดงเจตนา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับรู้พฤติกรรมตัวแทนโดยปริยาย ทำให้จำเลยผูกพันตามสัญญา
การที่ ช. ซึ่งเคยเป็นกรรมการบริษัทจำเลยและปัจจุบันยังคงเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งซึ่งเข้าประชุมผู้ถือหุ้นตลอดมา ได้สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์โดยแสดงนามบัตรว่าทำงานกับจำเลย เมื่อโจทก์จัดส่งสินค้าแก่จำเลย จำเลยมิได้ปฏิเสธการสั่งซื้อสินค้า หรือจัดส่งสินค้าคืนโจทก์ในเวลาอันควร ทั้งผู้จัดการจำเลยก็รับรู้ตลอดว่า ช. สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์แต่มิได้ทักท้วงพฤติการณ์เท่ากับจำเลยได้ยอมรับรู้ให้ ช. เชิดตัวเองเพื่อให้โจทก์หลงเชื่อว่า ช. เป็นตัวแทนของจำเลย จำเลยจึงต้องผูกพันรับผิดต่อโจทก์ในการกระทำของ ช..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3978-3979/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม เหตุจากพฤติกรรมนอกสถานที่ทำงานและข้อจำกัดการอุทธรณ์
โจทก์ทั้งสองมีกัญชาไว้ในความครอบครองและสูบกัญชานั้นโดยผิดกฎหมายยังไม่ปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกและยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองได้กระทำโดยจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายจึงไม่ต้องด้วยข้อยกเว้นที่จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนข้อที่จำเลยอุทธรณ์ว่ากรณีดังกล่าวเป็นกรณีร้ายแรงซึ่งจำเลยไม่จำต้องมีข้อบังคับระบุลงโทษไว้นั้นจำเลยให้การต่อสู้คดีเพียงว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้างอันเป็นกรณีร้ายแรงมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การด้วยว่าเป็นกรณีไม่จำต้องมีข้อบังคับระบุลงโทษจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลางต้องห้ามอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความเห็นถึงพฤติกรรมของลูกจ้างในการโต้เถียงเรื่องการประเมินผลงาน ไม่เป็นหมิ่นประมาท
จำเลยกล่าวต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่า ก่อนมีการประชุมคณะกรรมการพนักงานของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์จำเลย โจทก์เข้าไปพบจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ในขณะนั้น โจทก์ได้ต่อว่าจำเลยเรื่องการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนมีการโต้เถียงกันและโจทก์แสดงกิริยาไม่เหมาะสมโดยยืนเท้าโต๊ะทำกิริยาเหมือนขู่ตะคอกและเหมือนกับจะทำร้ายจำเลยนั้น แม้จะรับฟังว่าจำเลยกล่าวข้อความต่อคณะกรรมการดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นแต่เพียงทำให้เห็นว่าโจทก์บันดาลโทสะที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากจำเลยในการพิจารณาเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือน โจทก์จึงเข้าไปต่อว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา แสดงว่าโจทก์เพียงโกรธจำเลยที่ไม่ให้ความเป็นธรรมและแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อจำเลยไปบ้าง ซึ่งบุคคลทั่วไปอาจเป็นเช่นโจทก์ได้ในภาวะเช่นนั้น หาจำเป็นต้องเป็นคนเลวร้ายแต่อย่างใดไม่ ข้อความดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความเห็นถึงพฤติกรรมของลูกจ้างในที่ประชุม ไม่ถือเป็นการหมิ่นประมาทหากเป็นความเห็นได้
จำเลยกล่าวต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่า ก่อนมีการประชุมคณะกรรมการพนักงานของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์จำเลยโจทก์เข้าไปพบจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา โจทก์ในขณะนั้น โจทก์ได้ต่อว่าจำเลยเรื่องการประเมินผลงานเพื่อ เลื่อนขั้นเงินเดือนมีการโต้เถียงกันและโจทก์แสดงกิริยาไม่เหมาะสม โดยยืนเท้าโต๊ะทำกิริยาเหมือนขู่ตะคอกและเหมือนกับจะทำร้ายจำเลยนั้น แม้จะรับฟังว่าจำเลยกล่าวข้อความต่อคณะกรรมการดังกล่าวก็ตาม ก็เป็นแต่เพียงทำให้เห็นว่าโจทก์บันดาลโทสะที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากจำเลยในการพิจารณาเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือน โจทก์จึงเข้าไปต่อว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชา แสดงว่าโจทก์เพียงโกรธจำเลยที่ไม่ให้ ความเป็นธรรมและแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อจำเลยไปบ้าง ซึ่งบุคคลทั่วไป อาจเป็นเช่นโจทก์ได้ในภาวะเช่นนั้น หาจำเป็นต้องเป็นคนเลวร้าย แต่อย่างใดไม่ ข้อความดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแสดงความเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกจ้างในการประเมินผลงาน ไม่ถึงขั้นหมิ่นประมาท
จำเลยกล่าวต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ว่าก่อนมีการประชุมคณะกรรมการพนักงานของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยซึ่งเป็นนายจ้างของโจทก์จำเลยโจทก์เข้าไปพบจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาโจทก์ในขณะนั้นโจทก์ได้ต่อว่าจำเลยเรื่องการประเมินผลงานเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือนมีการโต้เถียงกันและโจทก์แสดงกิริยาไม่เหมาะสมโดยยืนเท้าโต๊ะทำกิริยาเหมือนขู่ตะคอกและเหมือนกับจะทำร้ายจำเลยนั้นแม้จะรับฟังว่าจำเลยกล่าวข้อความต่อคณะกรรมการดังกล่าวก็ตามก็เป็นแต่เพียงทำให้เห็นว่าโจทก์บันดาลโทสะที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากจำเลยในการพิจารณาเสนอเลื่อนขั้นเงินเดือนโจทก์จึงเข้าไปต่อว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาแสดงว่าโจทก์เพียงโกรธจำเลยที่ไม่ให้ความเป็นธรรมและแสดงกิริยาไม่เหมาะสมต่อจำเลยไปบ้างซึ่งบุคคลทั่วไปอาจเป็นเช่นโจทก์ได้ในภาวะเช่นนั้นหาจำเป็นต้องเป็นคนเลวร้ายแต่อย่างใดไม่ข้อความดังกล่าวย่อมถือไม่ได้ว่าทำให้โจทก์ต้องเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังอันเป็นการหมิ่นประมาทโจทก์.