พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำผิดซ้ำ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ช่วงเวลาทับซ้อน ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นความผิดสองกรรม
จำเลยทั้งสองใช้อาคารเป็นสำนักงานเพื่อกิจการพาณิชย์กรรมโดยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา32วรรคสามตั้งแต่วันที่24สิงหาคม2535ถึงวันที่24พฤศจิกายน2535เป็นการกระทำความผิดกรรมหนึ่งแล้วเมื่อจำเลยทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา44แล้วตั้งแต่วันที่9ตุลาคม2535ยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไปอีกจนถึงวันที่24พฤศจิกายน2535ก็เป็นการกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างจากกรรมแรกการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต้องเรียงกระทงลงโทษแม้ระยะเวลาการกระทำความผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5442/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดหลายกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการลงโทษนิติบุคคลร่วมกับกรรมการ
ความผิดฐานก่อสร้างอาคารโดยมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นความผิดตามมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ส่วนความผิดฐานฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้รื้อถอนอาคารเป็นความผิดตามมาตรา 42 มิใช่เป็นความผิดอยู่ในบทมาตราเดียวกัน สำหรับมาตรา 65 นั้น เป็นบทบัญญัติที่กำหนดโทษของความผิดตามมาตรา 21,42 และมาตราอื่น ๆ รวมอยู่ด้วยทั้งโจทก์ก็ได้บรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึง ที่ 5ได้กระทำความผิดต่อกฎหมายหลายกรรม โดยระบุวันเวลาที่กระทำผิดแต่ละฐานต่างกันและลักษณะการกระทำผิดย่อมแยกออกต่างหากจากกันได้ ดังนั้นจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน โจทก์ได้ระบุในฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5เป็นเจ้าของผู้ครอบครองอาคารและเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพตามฟ้องข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ที่จำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5ฎีกาว่า ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการนั้นขัดกับคำรับสารภาพของจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 รับฟังไม่ได้ และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษตามมาตรา 69 มาด้วย ซึ่งตามมาตรา 69ได้บัญญัติไว้ว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นการกระทำของผู้ดำเนินการ ผู้กระทำต้องระวางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ"เมื่อความผิดตามมาตรา 65 วรรคสอง มีอัตราโทษปรับวันละ500 บาท ศาลชั้นต้นจึงปรับจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5วันละ 1,000 บาท ต่อคน ตามมาตรา 65 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 69 ได้ หาเป็นการเกินคำขอไม่ โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลจำเลยนอกนั้นเป็นกรรมการร่วมกันกระทำความผิด เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 ถึงที่ 5 ให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงจึงฟังเป็นยุติได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 3ถึงที่ 5 ได้ร่วมกันกระทำความผิดในคดีนี้ ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 72 แต่กรณีที่ลงโทษปรับผู้กระทำผิดหลายคน พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำประมวลกฎหมายอาญามาตรา 31 ประกอบด้วยมาตรา 17 มาใช้บังคับซึ่งตามมาตรา 31 ให้ศาลลงโทษปรับเรียงตามรายตัวบุคคล จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล จะกักขังแทนค่าปรับไม่ได้ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้กักขังจำเลยที่ 1 หากไม่ชำระค่าปรับจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2414/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคาร การละเลยควบคุมงานทำให้เกิดการก่อสร้างผิดแบบ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยทั้งสองได้ทำหนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานตามใบอนุญาตก่อสร้างที่ ว. ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ทำการก่อสร้างอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงมีหน้าที่ต้องไปควบคุมการก่อสร้าง แต่ละเลยไม่ไปควบคุมการก่อสร้างจนเป็นเหตุให้มีการก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจะถือว่าการก่อสร้างอาคารที่ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตดังกล่าว เป็นการกระทำของผู้อื่นมิใช่เป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31วรรคสองตอนท้ายไม่ได้ แต่ต้องถือว่าเป็นการกระทำของจำเลยทั้งสองตามมาตรา 31 วรรคสองตอนแรก จึงฟังได้ว่าจำเลยทั้งสองได้ร่วมกระทำความผิดฐานจัดให้มีการก่อสร้างอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต ตามหนังสือขอก่อสร้างอาคาร หนังสือแสดงความยินยอมเป็นผู้ควบคุมงานของจำเลยทั้งสองและใบอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารระบุว่าเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์-พักอาศัย และอาคารที่เกิดเหตุเป็นตึกแถวสามชั้นซึ่งปกติใช้เพื่อการพาณิชยกรรมได้ ถือได้ว่าอาคารที่เกิดเหตุเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องเป็นไปตามคำขอท้ายฟ้อง และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้
มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ที่บัญญัติว่า "ถ้าการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้องระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ต้องไม่เกินคำขอของโจทก์ และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 70
แม้ตามฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำผิดในฐานะผู้ดำเนินการตามความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่งเป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. นี้ เป็นการกระทำอันเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม...ต้องระวางโทษ..." หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ หากมีลักษณะต้องตามที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตามมาตรานี้ได้หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัวอาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามมาตรา 44 ซึ่งจะต้องถูกลงโทษตามมาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3186/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการลงโทษตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การลงโทษเกินคำขอ และการปรับบทลงโทษอาคารพาณิชย์
แม้ตาม ฟ้องโจทก์ระบุว่า จำเลยเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารพิพาทแต่ ก็ไม่ได้บรรยายฟ้องให้เห็นว่า จำเลยได้ กระทำผิดในฐานะ ผู้ดำเนินการตาม ความหมายของมาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ ทั้งมิได้อ้างมาตรา 69 ซึ่ง เป็นบทลงโทษเฉพาะผู้ดำเนินการมาในคำขอท้ายฟ้อง ศาลย่อมไม่อาจลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินคำขอของโจทก์ มาตรา 70 พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522ที่บัญญัติว่า "ถ้า การกระทำความผิดตาม พระราชบัญญัตินี้ เป็นการกระทำเกี่ยวกับอาคารเพื่อพาณิชยกรรม... ต้อง ระวางโทษ...หมายรวมความผิดทุกอย่างที่เป็นความผิดตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารหากมีลักษณะต้องตาม ที่บัญญัติไว้อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ลงโทษตาม มาตรานี้ได้ หาจำต้องเป็นความผิดที่เกี่ยวกับตัว อาคารโดยตรงไม่ เมื่อจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นตาม มาตรา 44ซึ่ง จะต้องถูกลงโทษตาม มาตรา 67 และอาคารที่จำเลยกระทำผิดเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม ศาลจึงนำมาตรา 70 มาปรับบทลงโทษแก่จำเลยได้ .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2050/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องอาญาฐานดัดแปลงอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตและการปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: ศาลพิพากษาลงโทษได้ตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารที่ต่อเติม มีกำหนด 150 วัน (นับตั้งแต่ วันที่ 29 สิงหาคม 2530จนถึง วันฟ้อง) และมีคำขอท้ายฟ้องว่า ขอศาลได้ สั่งปรับจำเลยตลอดระยะเวลาที่ฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าวด้วย เป็นฟ้องที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะได้ บรรยายแล้วว่าจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งมีกำหนดถึง วันฟ้องกี่วัน และมีคำขอท้ายฟ้องให้สั่งปรับจำเลยตลอด เวลาที่ฝ่าฝืนมาด้วยจำเลยให้การรับสารภาพ จึงอ้างว่าไม่สามารถเข้าใจข้อหาได้ดี ไม่ได้ พ.ร.บ. ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 6570 บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้ปรับได้ตลอด ระยะเวลาที่ยังฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคาร และโจทก์ก็ขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย การที่ศาลพิพากษาในปัญหานี้จึงไม่เกินคำขอ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4335/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแขวง: โทษปรับตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ไม่เกินเกณฑ์ศาลแขวง
โทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 มีเพียงโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และปรับอีกวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน มาตรา 67 มีโทษปรับวันละห้าร้อยบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนและมาตรา 69 ให้ปรับผู้ดำเนินการเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติสำหรับความผิดนั้น ๆ ซึ่งหมายถึงความผิดตามมาตรา 65 และมาตรา 67 จึงมิใช่โทษปรับเกินกว่าหกหมื่นบาทตามความหมายในพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22(5) ศาลแขวงจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2344/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาวินิจฉัยอุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ไม่ส่งผลถึงความสมบูรณ์ของคำวินิจฉัย แต่เปิดสิทธิเสนอคดีต่อศาล
แม้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 52 วรรคสองบัญญัติให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ก็ตาม แต่บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติว่าหากวินิจฉัยอุทธรณ์เกินกำหนดจะมีผลเป็นอย่างไร ดังนั้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์ในกำหนดจึงไม่ทำให้อำนาจของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่จะรับวินิจฉัยอุทธรณ์หมดไป เพียงแต่ผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ทันทีหลังจากพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันโดยไม่ต้องรอคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามขั้นตอนเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 622/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การก่อสร้างอาคารโดยไม่ขออนุญาต แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งรื้อถอนเกินกำหนด ก็ยังต้องรื้อถอน
จำเลยก่อสร้างอาคารโดยไม่รับอนุญาตเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ตรวจพบหลังจากที่อาคารก่อสร้างเสร็จแล้วจึงล่วงเลยเวลาที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างได้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจึงไม่จำต้องมีคำสั่งดังกล่าวดังนั้นแม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารเกิน30วันนับแต่วันที่ได้มีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างก็ไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิดที่จะรื้อถอนอาคารและไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา42.