พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติด (เมทแอมเฟตามีน) ถือเป็นการ “ผลิต” ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยมีเมทแอมเฟตามีนอันเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภท 1ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย และเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยได้ขณะจำเลยแบ่งบรรจุเมทแอมเฟตามีนใส่หลอดกาแฟ แล้วใช้ไฟลนหลอดกาแฟปิดหัวท้าย หลอดละ 10เม็ด จำนวน 14 หลอด หลอดละ 20 เม็ด จำนวน 1 หลอด หลอดละ 1 เม็ดจำนวน 136 หลอดของกลาง แม้ว่าเมทแอมเฟตามีนของกลางโดยสภาพอัดเป็นเม็ดไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุเหมือนเฮโรอีนก็ตาม แต่บทบัญญัติ มาตรา 4 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ได้ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" หมายความว่า เพาะปลูกทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูป สังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ดังนี้แม้เมทแอมเฟตามีนมีการอัดเป็นเม็ดที่ไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุ ก็สามารถนำออกจำหน่ายได้สะดวกก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่าจะไม่สามารถแบ่งบรรจุได้ ดังนั้นเมื่อกระทำของจำเลยเห็นได้ว่าเป็นการแบ่งบรรจุแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการผลิตตามที่ให้บทนิยามไว้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานผลิตเมทแอมเฟตามีนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1424/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งบรรจุยาเสพติดเข้าข่ายความผิดฐานผลิตตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด แม้สภาพยาเสพติดไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุ
บทบัญญัติมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 ให้บทนิยามคำว่า "ผลิต" หมายความว่าเพาะปลูก ทำ ผสม ปรุง แปรสภาพ เปลี่ยนรูปสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ และให้หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุ หรือรวมบรรจุด้วย ซึ่งแม้เมทแอมเฟตามีนมีการอัดเป็น เม็ดอันมีสภาพที่ไม่จำเป็นต้องแบ่งบรรจุก็สามารถนำออกจำหน่ายได้สะดวกก็ตาม แต่ก็มิได้หมายความว่า จะไม่สามารถแบ่งบรรจุได้ การที่จำเลยนำเอาเมทแอมเฟตามีน ที่อัดเป็นเม็ดใส่หลอดกาแฟตัดสั้นแล้วใช้ความร้อนปิดหัวท้ายแสดงว่าสามารถแบ่งบรรจุได้ เข้าลักษณะเป็นการแบ่งบรรจุแล้ว ถือได้ว่าเป็นการผลิตตามบทนิยามจึงเป็นความผิดฐานผลิต ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดียาเสพติดตาม พ.ร.บ.มาตรการปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2534 การพิจารณาตามมาตรา 30 และการไม่นำบทบัญญัติ ป.อ.มาตรา 36 มาใช้
การดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 นั้น มีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด ตามมาตรา 30
การร้องขอให้ริบทรัพย์คดีนี้เป็นการยื่นคำร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครี่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 การริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนี้ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 36 มาใช้บังคับ ดังนั้นการร้องขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าให้ศาลริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของข้อความในมาตรา 30 วรรคสามที่ศาลอุทธรณ์นำมาใช้ในการวินิจฉัยขึ้นอ้างอิง และบทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฎหมายบทเดียวกับที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้ศาลอุทธรณ์จึงมิได้ยกข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ตามมาตรา 32 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลงบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีของการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามมาตรา 22 อันเป็นคนละกรณีกับกรณีตามมาตรา30 จึงไม่อาจปรับบทบัญญัติตามมาตรา 32 มาใช้บังคับคดีนี้ได้
การร้องขอให้ริบทรัพย์คดีนี้เป็นการยื่นคำร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครี่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิด หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 การริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนี้ พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ตาม ป.อ.มาตรา 36 มาใช้บังคับ ดังนั้นการร้องขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าให้ศาลริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของข้อความในมาตรา 30 วรรคสามที่ศาลอุทธรณ์นำมาใช้ในการวินิจฉัยขึ้นอ้างอิง และบทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฎหมายบทเดียวกับที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้ศาลอุทธรณ์จึงมิได้ยกข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ตามมาตรา 32 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลงบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีของการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามมาตรา 22 อันเป็นคนละกรณีกับกรณีตามมาตรา30 จึงไม่อาจปรับบทบัญญัติตามมาตรา 32 มาใช้บังคับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 276/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์ในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด ไม่ใช่ประมวลกฎหมายอาญา
การดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติ มาตราการในการปราบปราม ผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 นั้นมีอยู่ 2 กรณี คือ การร้องขอให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินซึ่งคณะกรรมการมีคำสั่งให้ยึดหรืออายัดตามมาตรา 22 เป็นทรัพย์สิน ที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามมาตรา 27 และการร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ยานพาหนะ เครื่องจักรกล หรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้ รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30 การร้องขอให้ริบทรัพย์คดีนี้เป็นการยื่นคำร้องขอให้ริบบรรดาเครื่องมือ เครื่องใช้ ยานพาหนะ เครื่องจักรกลหรือทรัพย์สินอื่นใดที่ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด หรือใช้เป็นอุปกรณ์ให้ได้รับผลในการกระทำความผิดหรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตามมาตรา 30การริบทรัพย์สินในคดีความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดนี้พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 ซึ่งเป็นกฎหมายพิเศษ บัญญัติมิให้นำบทบัญญัติเรื่องการริบทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 36มาใช้บังคับ ดังนั้นการร้องขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าวจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสอง ดังนี้ แม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าให้ศาลริบทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งได้เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันแรกของวันประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันตามวรรคสอง เมื่อปรากฏว่าศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยในเรื่องดังกล่าว เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งของข้อความในมาตรา 30 วรรคสาม ที่ศาลอุทธรณ์นำมาใช้ในการวินิจฉัยขึ้นอ้างอิง และบทบัญญัติดังกล่าวก็เป็นกฎหมายบทเดียวกับที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัย ดังนี้ศาลอุทธรณ์จึงมิได้ยกข้อกฎหมายที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ตามมาตรา 32 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีหรือมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องผู้ต้องหาหรือจำเลยรายใด ให้การยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้น รวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลยรายนั้นสิ้นสุดลงบทบัญญัติดังกล่าวเป็นกรณีของการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้ต้องหาหรือจำเลยรวมทั้งทรัพย์สินของผู้อื่นที่ได้ยึดหรืออายัดไว้เนื่องจากเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดของผู้ต้องหาหรือจำเลย ตามมาตรา 22 อันเป็นคนละกรณีกับกรณีตามมาตรา 30 จึงไม่อาจปรับบทบัญญัติตามมาตรา 32 มาใช้บังคับคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6995/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายยาเสพติด แม้ยังมิได้ส่งมอบเงิน ก็ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. ยาเสพติด
ตามพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518มาตรา4ให้คำนิยามว่า"ขาย"หมายความรวมถึงจำหน่ายจ่ายแจกแลกเปลี่ยนส่งมอบหรือมีไว้เพื่อขายการที่เจ้าพนักงานตำรวจติดต่อขอซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยโดยบอกว่ามีเมทแอมเฟตามีนเท่าใดต้องการซื้อหมดจำเลยบอกว่ามีอยู่30เม็ดราคาเม็ดละ40บาทเจ้าพนักงานตำรวจตกลงซื้อจำเลยเดินไปหลังบ้านแล้วนำเมทแอมเฟตามีนมามอบให้เจ้าพนักงานตำรวจจำนวน30เม็ดแม้เจ้าพนักงานตำรวจจะยังมิได้ส่งมอบเงินให้จำเลยการกระทำของจำเลยดังกล่าวก็เป็นการขายตามความหมายของพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทพ.ศ.2518แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะลูกจ้างประจำส่วนราชการ ไม่เป็นพนักงาน รัฐวิสาหกิจ ตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จำเลยที่ 2 เป็นลูกจ้างประจำสังกัดศูนย์มาลาเรีย กองมาลาเรียกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นส่วนราชการ จำเลยที่ 2 จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 100 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่ 2 และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไข มิชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3025/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปรับบทมาตรา 100 พ.ร.บ.ยาเสพติดสำหรับลูกจ้างประจำของหน่วยงานราชการที่ไม่เข้าข่ายพนักงานรัฐ
จำเลยที่2เป็นลูกจ้างประจำสังกัดศูนย์มาลาเรียกองมาลาเรียกรมควบคุมโรคติดต่อกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นส่วนราชการจำเลยที่2จึงมิใช่พนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา100ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยปรับบทมาตราดังกล่าวสำหรับจำเลยที่2และศาลอุทธรณ์ไม่แก้ไขมิชอบศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไข
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกัญชาเพื่อจำหน่ายและขอบเขตการปรับบทลงโทษตามพ.ร.บ.ยาเสพติด
ฎีกาจำเลยที่ว่า ตามฟ้องและทางนำสืบของโจทก์ได้ความว่าจำเลยมีกัญชาน้ำหนักเพียง 15.90 กรัม แต่ตามมาตรา 26 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 กำหนดว่าต้องมีกัญชาไว้ในครอบครองมีปริมาณถึง 10 กิโลกรัม ขึ้นไป จึงจะให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จำเลยจึงไม่มีความผิดตามมาตรา 26 วรรคสอง และ76 วรรคสอง นั้น เป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาว่าจำเลยมีกัญชาจำนวน 15.90 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายว่าการกระทำของจำเลย ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 76 วรรคสอง ดังกล่าวหรือไม่ จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยไม่เกิน 5 ปีจำเลยจึงไม่อาจฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก จำเลยมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายสถานเดียว อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ. 2522 มาตรา 76 วรรคสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามบทมาตราดังกล่าวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องปรับบทลงโทษ จำเลยฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 26 วรรคแรก และ 76 วรรคแรกอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติด: การส่งมอบเงินและฝิ่นเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
จ่าสิบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อฝิ่นส่งมอบเงินค่าซื้อฝิ่นให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 ยืนอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 นับเงินแล้วส่งให้จำเลยที่ 2 ตรวจนับเงินต่อ พร้อมทั้งจำเลยที่ 1 ได้มอบฝิ่นให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกันขายหรือจำหน่ายฝิ่นตามความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 4 แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2898/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษจำคุกหรือประหารชีวิตสำหรับข้าราชการ/พนักงานรัฐที่กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ
ถ้าผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการหรือพนักงานขององค์การและหน่วยงานของรัฐ จะต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 100 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 8 ร่วมกันกระทำความผิดฐานจำหน่ายเฮโรอีนมีปริมาณเกินกว่า 100 กรัม ซึ่งตามมาตรา 66 วรรคสองมีโทษสองสถานคือจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต เมื่อศาลใช้ดุลพินิจกำหนดโทษจำคุกตลอดชีวิตแก่จำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 แล้ว การที่ศาลกำหนดโทษประหารชีวิตจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นข้าราชการและพนักงานองค์การและหน่วยงานของรัฐ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจกำหนดโทษให้สูงกว่าโทษของจำเลยที่ 1 ที่ 4 และที่ 6 นั่นเอง หาใช่เป็นการเปลี่ยนโทษหรือเพิ่มโทษจากจำคุกตลอดชีวิตเป็นประหารชีวิตไม่