พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1661/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องบังคับจดทะเบียนเช่าไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ หากประเด็นต่างจากคดีก่อน
ในคดีก่อนเมื่อจำเลยบังคับคดีตามฟ้องแย้งแก่ ส. และโจทก์ในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น โจทก์ได้ขอแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ว่าโจทก์ได้สิทธิการเช่าและมิใช่บริวาร ซึ่งศาลได้มีคำสั่งยกคำร้องของโจทก์ ส่วนคดีนี้โจทก์ขอบังคับให้จำเลยไปจดทะเบียนการเช่าตามสัญญาเช่าอันเดียวกับคดีก่อนจึงเป็นคนละประเด็นกับคดีก่อนฟ้องโจทก์จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6451/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน การฟ้องบังคับจดทะเบียนเป็นโมฆะ
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทรวม 2 แปลง จากจำเลยมีกำหนด 30 ปีสัญญาเช่าทำเป็นหนังสือกันเองรวม 10 ฉบับ มีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ3 ปีติดต่อกัน โดยมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ ภายหลังที่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าหมดแล้ว ดังนี้ การเช่าที่ดินตามฟ้องมีระยะเวลาเช่าเกินกว่า 3 ปี เมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าที่ดินมีกำหนดเวลา 30 ปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6451/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าที่ดินเกิน 3 ปี ไม่จดทะเบียน สัญญาไม่สมบูรณ์ โจทก์ฟ้องบังคับจดทะเบียนไม่ได้
โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทรวม2แปลงจากจำเลยมีกำหนด30ปีสัญญาเช่าทำเป็นหนังสือกันเองรวม10ฉบับมีกำหนดเวลาเช่าฉบับละ3ปีติดต่อกันโดยมิได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มีข้อตกลงกันว่าจำเลยจะไปจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ภายหลังที่จำเลยจัดสรรที่ดินให้เช่าหมดแล้วดังนี้การเช่าที่ดินตามฟ้องมีระยะเวลาเช่าเกินกว่า3ปีเมื่อยังมิได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โจทก์จะฟ้องบังคับให้จำเลยจดทะเบียนการเช่าที่ดินมีกำหนดเวลา30ปีไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์และการหักล้างหนี้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์ฟ้องบังคับหนี้ไม่ได้ และจำเลยมีสิทธิหักล้างได้
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ก็ให้จำเลยทำสัญญากู้ให้เรื่อย ๆ โดยมิได้มีการกู้และรับเงินกันจริงตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์นำมาฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่สมบูรณ์ จำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบหักล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้เช่านาต้องร้อง คชก. ก่อนฟ้องคดี หาก คชก.ไม่วินิจฉัยต้องฟ้องบังคับ คชก. ไม่ใช่ฟ้องคู่กรณี
พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา54 วรรคสอง, 56 วรรคหนึ่ง, 57 กำหนดขั้นตอนในกรณีที่ผู้รับโอนไม่ยอมขายนาให้แก่ผู้เช่านาว่า ผู้เช่านาต้องร้องขอต่อ คชก.ตำบล เพื่อวินิจฉัยก่อน เมื่อ คชก.ตำบลวินิจฉัยแล้ว คู่กรณีไม่พอใจก็อุทธรณ์ต่อ คชก.จังหวัด และเมื่อ คชก.จังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่พอใจจึงมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลได้ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่ายื่นคำร้องต่อ คชก.ตำบลภายในกำหนดแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิได้รับคำวินิจฉัยจาก คชก.ตำบลตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 13 และมาตรา 54 หาก คชก.ตำบลไม่วินิจฉัยในเวลาอันควรก็เป็นเรื่องที่โจทก์จะต้องไปฟ้องบังคับให้ คชก.ตำบลวินิจฉัยเสียก่อน มิใช่มาฟ้องคู่กรณี โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ยื่นคำร้องต่อ คชก.ตำบลแล้ว แต่ คชก.ตำบล ยังมิได้มีคำวินิจฉัย ดังนี้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 348/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของรวมในสินสมรส: การฟ้องบังคับจัดการทรัพย์สินรวม แม้มีหนี้ร่วม การแบ่งทรัพย์สินเป็นอีกเรื่อง
ที่พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายโจทก์ย่อมมีกรรมสิทธิ์รวมในที่พิพาทในฐานะเจ้าของรวมและมีสิทธิจัดการทรัพย์สินนั้นได้การที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตายใส่ชื่อตนในโฉนดที่พิพาทเป็นการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางจัดการตามธรรมดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1358เมื่อไม่มีข้อตกลงระหว่างเจ้าของรวมเป็นอย่างอื่นแล้วโจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องบังคับจำเลยได้แม้ผู้ตายจะได้ชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินซึ่งเป็นหนี้อันเกี่ยวกับทรัพย์สินรวมและเป็นหนี้ร่วมระหว่างโจทก์กับผู้ตายก็เป็นคนละกรณีกันเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้แบ่งทรัพย์สินระหว่างเจ้าของรวมจึงไม่อาจนำมาใช้ยันหรือปฏิเสธมิให้โจทก์ใส่ชื่อในโฉนดที่พิพาทได้เป็นเรื่องที่จำเลยต้องไปว่ากล่าวเป็นอีกเรื่องหนึ่งในเวลาที่แบ่งทรัพย์สินรวม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องในสัญญาจะซื้อขายต้องแปลงหนี้ใหม่ ผู้รับโอนสิทธิไม่มีนิติสัมพันธ์กับผู้จะขายโดยตรง จึงไม่อาจฟ้องบังคับได้
สัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3เป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้จะซื้อเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ผู้จะซื้อจะโอนสิทธิของตนตามบทบัญญัติของการโอนสิทธิเรียกร้องธรรมดาไม่ได้ ต้องทำเป็นแปลงหนี้ใหม่ มีผู้จะขายเข้ามาเป็นคู่สัญญากับผู้รับโอนด้วย ผู้รับโอนจึงจะมีสิทธิฟ้องบังคับผู้จะขายได้ เมื่อไม่มีการแปลงหนี้ใหม่โจทก์ผู้รับโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายจากจำเลยที่ 1ก็ไม่อาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ผู้จะขายได้เพราะไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน เมื่อโจทก์ผู้รับโอนไม่อาจฟ้องจำเลยที่ 3 ผู้จะขายได้และจำเลยที่ 1 ก็มิได้มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินที่จะขอจดทะเบียนโอนที่ดินได้ จึงไม่อาจบังคับจำเลยที่ 1 ให้ร่วมกับจำเลยที่ 3 จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6930/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือสัญญากู้ยืมที่ผู้กู้ลงลายมือชื่อ แม้ผู้ให้กู้ลงลายมือชื่อปลอม ก็ฟ้องบังคับได้ ดอกเบี้ยหลังฟ้องไม่ขาดอายุความ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา653บังคับให้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อผู้กู้จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้โดยมิได้บังคับผู้ให้กู้ต้องลงลายมือชื่อด้วยเมื่อจำเลยเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญากู้เงินและลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้แล้วย่อมฟ้องร้องบังคับคดีได้แม้ลายมือชื่อผู้ให้กู้เป็นลายมือชื่อปลอมก็หามีผลให้หลักฐานการฟ้องร้องบังคับแก่จำเลยได้ที่สมบูรณ์อยู่แล้วเสียไปไม่ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งมีกำหนดอายุความ5ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา166เดิม(มาตรา193/33ใหม่)หมายถึงดอกเบี้ยที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันฟ้องส่วนดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องไปจนกว่าจะชำระเสร็จไม่ใช่ดอกเบี้ยค้างชำระโจทก์มีสิทธิได้ดอกเบี้ยเกิน5ปีโดยไม่มีกำหนดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6666/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนโฉนดที่ดินตามข้อตกลง: โจทก์มีสิทธิฟ้องบังคับได้ แม้จำเลยอ้างเหตุผลต่างๆ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์นำโฉนดที่ดินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์และ อ.มาให้จำเลยยึดถือไว้โดยมีข้อตกลงกันไว้ด้วย ต่อมาโจทก์ขอให้จำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ตามข้อตกลง แต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ จำเลยก็ให้การยอมรับว่าจำเลยไม่ยอมคืนโฉนดที่ดินให้แก่โจทก์จริง แม้จำเลยจะให้การอ้างว่าจำเลยรับโฉนดที่ดินไว้ในฐานะผู้แทนของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี และจำเลยฎีกาอ้างว่าจำเลยเก็บโฉนดที่ดินไว้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเพชรบุรี จำเลยไม่อาจนำโฉนดที่ดินมาคืนให้แก่โจทก์ได้ก็ตาม ก็ถือได้ว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิตามฟ้องของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้บังคับจำเลยคืนโฉนดที่ดินแก่โจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3136/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของนายกเทศมนตรีที่ไม่ฟ้องบังคับทายาทตามสัญญา ทำให้โจทก์ขาดสิทธิเรียกร้อง
บันทึกข้อตกลงที่ร.ยกที่ดินให้เทศบาลเมืองยโสธรโจทก์สร้างตลาดสดโดยมีข้อตกลงว่าร.จะสร้างอาคารพาณิชย์ให้เสร็จครบทุกหลังภายในกำหนด 3 ปี นับแต่โจทก์สร้างตลาดสดเสร็จและเปิดดำเนินการ และจะยกกรรมสิทธิ์ให้โจทก์ 2 คูหาโดยจะสร้างเสร็จภายใน 2 ปี นับแต่สร้างตลาดสดเสร็จแล้วเปิดดำเนินการ แล้วโจทก์จะให้ร.เช่าอาคารพาณิชย์2 คูหา มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าคู่หาละ 200 บาท ต่อเดือนหากร.สร้างไม่เสร็จตามกำหนด ก็จะต้องเสียค่าเช่าตามอัตราดังกล่าวแก่โจทก์มีกำหนด 12 ปี เป็นสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งก่อให้เกิดบุคคลสิทธิขึ้นในอันที่จะเรียกร้องให้บังคับกันได้ตามกฎหมายระหว่างโจทก์และร. จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำ ร.มาทำความตกลงกับโจทก์ และยังได้ลงลายมือชื่อเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์และร.ด้วย จำเลยที่ 1 ย่อมจะทราบดีอยู่แล้วว่าร.มีข้อผูกพันที่จะต้องปฎิบัติ ต่อโจทก์ให้เป็นไปตามข้อตกลงดังกล่าวนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 เข้ารับตำแหน่งนายกเทศมนตรีต่อจากส.จำเลยที่ 1 มีฐานะเป็นผู้แทนโจทก์ จำเลยที่ 1ชอบที่จะดำเนินการเรียกร้องให้ ร.ปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำไว้แต่จำเลยที่ 1 หาได้กระทำการดังกล่าวไม่ จำเลยที่ 1คงปล่อยปละละเลยเรื่องมาจนกระทั่งร.ถึงแก่กรรมและจำเลยที่ 1 ก็ยังปล่อยให้เวลาล่วงพ้นไปเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 7 ปี โดยมิได้ฟ้องบังคับเอาแก่ทายาทของร.จนคดีขาดอายุความมรดกแล้ว ย่อมถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายอันเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นปลัดเทศบาล จำเลยที่ 2 ได้ไปทวงถามทายาทของร.ตามที่จำเลยที่ 1 มอบหมายอันเป็นการปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 2 แล้ว ส่วนอำนาจในการฟ้องคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2หาได้มีอำนาจเช่นนั้นไม่ จำเลยที่ 2จึงมิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ ร.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2521 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรคแรกบังคับให้จำเลยที่ 1 ต้องฟ้องคดีเพื่อบังคับเอาแก่ทายาทของร.ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ร.ถึงแก่กรรมแต่จำเลยที่ 1 ปล่อยปละละเลยไม่ฟ้องคดีจนขาดอายุความจึงถือได้ว่าเหตุละเมิดเกิดขึ้นตั้งแต่วันพ้นกำหนดอายุความคือวันที่ 13 เมษายน 2522 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป