คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
มติคณะรัฐมนตรี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างของรัฐวิสาหกิจ: การยุบเลิกกิจการโดยมติคณะรัฐมนตรีชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และมีผลต่อการเลิกจ้างลูกจ้างหรือไม่
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะจ้าง ผู้คัดค้านต่อไปกรณีมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งหมดได้ ดังนี้ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่ากิจการของผู้ร้องจะยุบเลิกหรือหยุดดำเนินกิจการได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบเลิกหรือหยุดดำเนินการออกใช้บังคับ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะวินิจฉัยเพราะการที่ผู้ร้องยุบเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ร้อง ขอ อนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านในคดีนี้ เมื่อได้ความว่าผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 785/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจตามมติคณะรัฐมนตรี โดยไม่ต้องมีพระราชกฤษฎีกา
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า ผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้วผู้ร้องจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่จะจ้างผู้คัดค้านต่อไป กรณีมีเหตุสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านทั้งหมดได้ ดังนี้ ที่ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่ากิจการของผู้ร้องจะยุบเลิกหรือหยุดดำเนินกิจการได้ต่อเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาให้ยุบเลิกหรือหยุดดำเนินการออกใช้บังคับ จึงไม่มีประโยชน์ที่ศาลจะวินิจฉัยเพราะการที่ผู้ร้องยุบเลิกกิจการหรือหยุดดำเนินการจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จะต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกาหรือไม่ไม่เกี่ยวกับการที่ผู้ร้องขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านในคดีนี้ เมื่อได้ความว่าผู้ร้องได้เลิกกิจการแล้ว ผู้ร้องก็ชอบที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นคณะกรรมการลูกจ้างได้.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ แม้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจ นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยหากผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำพ.ศ. 2515 ก็ดี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2527 ก็ดี ต่างก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายเมื่อจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นนายจ้างของโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว แม้จะมีมติของคณะรัฐมนตรีห้ามรัฐวิสาหกิจทำการปรับปรุงค่าจ้างของลูกจ้างเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ แต่ก็ปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวมีผลใช้บังคับภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ จำเลยจึงไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีมาเป็นข้อยกเว้นบทกฎหมายได้ และถือว่าจำเลยผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1975/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกร้องค่าจ้างเหมาและผลกระทบจากมติคณะรัฐมนตรีปรับราคาค่างาน
โจทก์เป็นผู้รับเหมาทำการก่อสร้างให้จำเลย โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างในผลงานก่อสร้างจากจำเลยถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ค้าฟ้องเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างในกิจการนั้น จึงต้องใช้สิทธิฟ้องร้องในอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) ในกรณีมีมติคณะรัฐมนตรีให้ปรับราคาค่างานรายการก่อสร้างตามดัชนีราคาสินค้าที่สูงขึ้นโดยให้คำนวณ ณ วันที่มีการส่งมอบงานเป็นเกณฑ์ เงินเพิ่มปรับราคาค่างานรายการก่อสร้างจึงมิใช่ค่าตอบแทนที่มีข้อผูกพันกันตามสัญญาจ้างเหมาทำการก่อสร้างที่โจทก์กับจำเลยตกลงทำกันไว้แต่เดิม หากแต่เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างหรือสินจ้างที่เพิ่มขึ้นจากผลงานที่โจทก์พึงได้รับตามมติคณะรัฐมนตรี การฟ้องเรียกร้องเงินเพิ่มค่างานจึงเสมือนเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือสินจ้างจากผู้ว่าจ้าง ซึ่งอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(7) จำเลยมีหนังสือไปถึงสำนักงบประมาณขอให้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการจ่ายเงินเพิ่มค่างานสำหรับงวดสุดท้ายให้โจทก์หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหนังสือที่จำเลยติดต่อหารือไปยังสำนักงบประมาณเกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ ไม่ปรากฏว่าจำเลยยอมจะชำระเงินเพิ่มค่างานให้ตามหนังสือนั้นและจำเลยมิได้มีหนังสือดังกล่าวไปถึงโจทก์ จึงไม่เป็นการรับสภาพหนี้อันเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินเพิ่มค่างานนับแต่วันที่โจทก์ส่งมอบงานเป็นต้นไป แม้การหน่วงเหนี่ยวไม่ชำระเงินเพิ่มค่างานอาจเป็นการละเมิดต่อโจทก์ แต่คดีโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับความเสียหายอันเกิดจากการหน่วงเหนี่ยวไม่ยอมชำระเงินเพิ่มค่างานโจทก์ก็อาจบังคับสิทธิเรียกร้องเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้ทันทีอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่โจทก์ส่งมอบงานเป็นต้นไปหาใช่ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับชำระเงินเพิ่มตราบนั้น การละเมิดยังคงมีอยู่ต่อเนื่องกันตลอดไปไม่ โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2เมื่อเกิน 1 ปีแล้ว คดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยชอบธรรมตามมติคณะรัฐมนตรีและการสิ้นสุดงาน
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา 52 นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้าง โดยเหตุนั้นอาจเกิดจากกรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้างหรือบุคคลภายนอกก็ได้ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ การดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร้องปลูกสร้างโรงแรมขึ้นใหม่ในที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงแรมเดิมผู้ร้องจึงจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าว และทำให้งานซึ่งผู้คัดค้านทำอยู่ต้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยมีเหตุจำเป็นจากมติคณะรัฐมนตรี ศาลอนุญาตเลิกจ้างได้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มาตรา 52 นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโดยเหตุนั้นอาจเกิดจากกรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้าง หรือบุคคลภายนอกก็ได้ ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจการดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร้องปลูกสร้างโรงแรมขึ้นใหม่ในที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงแรมเดิม ผู้ร้องจึงจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าวและทำให้งานซึ่งผู้คัดค้านทำอยู่ต้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมี เหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1849/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีเหตุจำเป็นจากมติคณะรัฐมนตรี
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ มาตรา52 นายจ้างจะต้องมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างโดยเหตุนั้นอาจเกิดจากกรรมการลูกจ้างหรือเป็นเหตุจากทางฝ่ายนายจ้างหรือบุคคลภายนอกก็ได้ผู้ร้องซึ่งเป็นนายจ้างเป็นรัฐวิสาหกิจ การดำเนินกิจการต้องปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ผู้ร้องปลูกสร้างโรงแรมขึ้นใหม่ในที่ดินที่เป็นที่ตั้งโรงแรมเดิมผู้ร้องจึงจำเป็นต้องหยุดดำเนินกิจการโรงแรมดังกล่าว และทำให้งานซึ่งผู้คัดค้านทำอยู่ต้องสิ้นสุดลง ผู้ร้องจึงมีเหตุจำเป็นหรือเหตุอันสมควรที่จะเลิกจ้างผู้คัดค้านได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างรัฐวิสาหกิจภายใต้มติคณะรัฐมนตรี: ผลบังคับเมื่อมติออกหลังข้อตกลง
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินที่แตกต่างไปจากทางราชการอยู่ก่อนแล้วก็ให้เป็นไปตามเดิม แต่ถ้าจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีนั้น ดังนี้ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า จำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรเพิ่มให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานช่วยกันปฏิบัติหน้าที่จนมีผลให้ลดการรั่วไหลของน้ำเพิ่มขึ้นนับจากวันทำข้อตกลงกันและข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติดังกล่าวแล้วผลการดำเนินงานจะเป็นไปเช่นข้อตกลงก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติข้างต้น จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินหรือปฏิบัติไปตามข้อตกลงเลยและเมื่อกระทรวงการคลังไม่อนุญาตให้จ่ายเงินตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตามที่จำเลยได้ขอไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเช่นว่านั้นจึงไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4205/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงสภาพการจ้างที่ขัดแย้งกับมติคณะรัฐมนตรีเรื่องสวัสดิการรัฐวิสาหกิจ: ข้อตกลงไม่มีผลบังคับ
การที่คณะรัฐมนตรีมีมติว่า ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้กำหนดให้มีการจ่ายเงินที่แตกต่างไปจากทางราชการอยู่ก่อนแล้วก็ให้เป็นไปตามเดิม แต่ถ้าจะกำหนดให้มีการจ่ายเงินสวัสดิการหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขหลักเกณฑ์นอกเหนือไปจากที่มีอยู่ให้ทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมติคณะรัฐมนตรีนั้น ดังนี้ แม้ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยที่ว่า จำเลยจะจ่ายเงินช่วยเหลือบุตรเพิ่มให้แก่พนักงาน เมื่อพนักงานช่วยกันปฏิบัติหน้าที่จนมีผลให้ลดการรั่วไหลของน้ำเพิ่มขึ้นนับจากวันทำข้อตกลงกันและข้อตกลงนั้นมีผลใช้บังคับก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติดังกล่าว แล้วผลการดำเนินงานจะเป็นไปเช่นข้อตกลงก็ตาม แต่เมื่อได้ความว่าก่อนที่คณะรัฐมนตรีจะมีมติข้างต้น จำเลยยังไม่ได้จ่ายเงินหรือปฏิบัติไปตามข้อตกลงเลยและเมื่อกระทรวงการคลังไม่อนุญาตให้จ่ายเงินตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวตามที่จำเลยได้ขอไป ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยเช่นว่านั้นจึงไม่มีผลบังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2736-2738/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงจ่ายบำเหน็จขัดมติคณะรัฐมนตรี: สัญญาไม่มีผลผูกพันรัฐวิสาหกิจ
บันทึกข้อตกลงระหว่างผู้แทนของจำเลยกับผู้แทนสหภาพโรงแรมเอราวัณที่ตกลงจ่ายเงินบำเหน็จให้แก่พนักงาน เมื่อเลิกจ้าง ถือได้ว่าเป็นการปรับปรุงสวัสดิการที่อาจคิดเป็นตัวเงินได้ตามความหมายของมติคณะรัฐมนตรีลงวันที่ 15 กันยายน 2524 ซึ่งห้ามมิให้รัฐวิสาหกิจใดกระทำการดังกล่าวเป็นอันขาดเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม ทั้งพนักงานของจำเลยก็เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจต้องอยู่ภายใต้บังคับของมติดังกล่าวด้วยเช่นกัน การที่ผู้แทนของจำเลยและผู้แทนของสหภาพแรงงานโรงแรมเอราวัณตกลงกันจ่ายเงินบำเหน็จอันเป็นการปรับปรุงสวัสดิการโดยฝ่าฝืนมติคณะรัฐมนตรี จึงไม่มีผลบังคับ.
of 4