คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ยักยอกเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 147 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5327/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคืนทรัพย์สินจากการยักยอกเงินบริษัท ไม่ใช่หนี้สินจากการชำระบัญชี
การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้นเป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา1272 จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา 448 คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา448 ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุล โดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการ รายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นิติบุคคลซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้น และขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้นมิใช่กรณีที่เมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกันและมีการชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ฐานเช่นนั้น ดังที่บัญยัติไว้ใน ป.พ.พ.มาตรา 1272 จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน อันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ตามมาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2523 มีจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2526 ศาลชั้นต้นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 12816/2526 มีคำสั่งให้เลิกบริษัทโจทก์โดยตั้งจำเลยเป็นผู้ชำระบัญชี และต่อมาศาลชั้นต้นดังกล่าวมีคำสั่งตั้งนายจงศักดิ์ หน่อชูเวช เป็นผู้ชำระบัญชีร่วมกับจำเลยแต่ภายหลังศาลชั้นต้นมีคำสั่งถอนจำเลยจากการเป็นผู้ชำระบัญชี จึงเหลือนายจงศักดิ์เป็นผู้ชำระบัญชีเพียงผู้เดียวและการชำระบัญชียังไม่ถึงที่สุด จากการตรวจสอบบัญชีของโจทก์นายจงศักดิ์พบว่าจำเลยทำบัญชีงบดุลของโจทก์ในปี 2524 โดยนำเงินสดของโจทก์ไปใช้รวม 1,234,188.28 บาท โดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่าย และเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการกล่าวคือ ค่าขุดบ่อน้ำบาดาล 270,000 บาท ค่าสำรวจไร่กับค่าหญ้า 833,146บาท ค่าใช้จ่ายในเดือนธันวาคม 2523 จำนวน 71,397.28 บาท และค่าใช้จ่ายในเดือนมกราคม 2526 อีก 59,645 บาท ค่าใช้จ่ายดังกล่าวนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์ เนื่องจากเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทโจทก์ และที่ประชุมก่อตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบัน หรืออนุมัติการจ่ายเงินดังกล่าว เงินจำนวนนี้เป็นของโจทก์แต่จำเลยนำไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวแล้วลงในบัญชีของโจทก์เป็นรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไว้ โจทก์ขอให้จำเลยทำการแก้ไขบัญชีของโจทก์ให้ถูกต้องและทวงถามให้จำเลยนำเงินมาคืนให้โจทก์แล้ว แต่จำเลยเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงินจำนวน 1,234,188.28 บาท แก่โจทก์ พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ
จำเลยให้การว่า คดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่นายจงศักดิ์ หน่อชูเวช ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้น ขอให้ยกฟ้อง
ศาลชั้นต้นเห็นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง
โจทก์อุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า ให้จำเลยชำระเงินจำนวน401,042.28 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกา
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ข้อเท็จจริงฟังยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยโจทก์ไม่ได้โต้แย้งว่า จำเลยได้นำเงินของโจทก์ไปใช้จ่ายเป็นค่าสำรวจไร่และค่าหญ้าซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์รวมเป็นเงิน 833,146 บาท จริง ปัญหาที่ต้องวินิจฉัยในชั้นนี้มีว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ และจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ในส่วนค่าขุดบ่อน้ำบาดาลและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ รวม 25 รายการเป็นเงิน 401,042.28 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหรือไม่ ที่จำเลยฎีกาว่าตามคำฟ้องของโจทก์เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยนำเงินของโจทก์ไปใช้เป็นประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่ชอบ เป็นเหตุให้โจทก์และผู้ถือหุ้นได้รับความเสียหายจึงมิใช่กรณีที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นลูกหนี้อันจะต้องตกอยู่ในบังคับอายุความ 2 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1272 แต่เป็นการฟ้องให้จำเลยรับผิดในฐานะผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ จึงต้องนำอายุความในมูลละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448มาใช้บังคับนั้น เห็นว่า การที่จำเลยให้การว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความเนื่องจากโจทก์ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่นายจงศักดิ์ หน่อชูเวช ผู้ชำระบัญชีของโจทก์ชำระบัญชีเสร็จสิ้น เป็นการให้การต่อสู้แจ้งชัดว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1272 จำเลยมิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความฟ้องร้องคดีละเมิดตามมาตรา 448 คดีจึงไม่มีประเด็นให้วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความตามมาตรา 448 หรือไม่ ที่ศาลชั้นต้นยกเอาอายุความตามมาตรา 448 ซึ่งจำเลยมิได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้มาเป็นเหตุยกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ อย่างไรก็ดี ที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทโจทก์ทำบัญชีงบดุลปี 2524 โดยนำเงินของโจทก์ไปใช้ส่วนตัวโดยลงรายการเป็นค่าใช้จ่ายของโจทก์ ซึ่งไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินและเป็นรายการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหลายรายการ รายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวไม่ใช่ค่าใช้จ่ายในกิจการของโจทก์และเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นก่อนโจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ซึ่งที่ประชุมตั้งบริษัทไม่ได้ให้สัตยาบันและอนุมัติการจ่ายเงินนั้น และขอให้บังคับจำเลยคืนเงินดังกล่าวนั้น มิใช่กรณีที่เมื่อบริษัทโจทก์ได้เลิกกัน และมีการชำระบัญชีเสร็จแล้ว ผู้เป็นเจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทเป็นลูกหนี้อยู่ในฐานเช่นนั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1272 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงไม่อาจนำอายุความตามที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าวมาใช้บังคับแก่คดีนี้ได้ การฟ้องคดีนี้เป็นเรื่องที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินฟ้องเรียกทรัพย์สินคืนอันเป็นการใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากจำเลยบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดเวลาให้เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิเช่นนี้ โจทก์เป็นผู้ถูกโต้แย้งสิทธิดังกล่าวอยู่ตลอดเวลาตราบเท่าที่จำเลยยังมิได้คืนเงินให้โจทก์ คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ ฎีกาจำเลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7797/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าพนักงานยักยอกเงิน แม้เป็นเงินสถานีอนามัย ไม่ใช่สำนักงานสาธารณสุข ก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 147
จำเลยรับราชการในตำแหน่งสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธรเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายมีหน้าที่รักษาเงินตามหน้าที่เมื่อจำเลยถอนเงินดังกล่าวมาแล้วเบียดบังเอาเป็นของจำเลยเสียโดยทุจริตแม้จะเป็นเงินของสถานีอนามัยอำเภอเมืองยโสธรไม่ใช่เงินของสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองยโสธรที่จำเลยเป็นเจ้าพนักงานอยู่และเป็นเงินบำรุงนอกงบประมาณจำเลยก็มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา147

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการรับส่งเงินและผู้บังคับบัญชาต่อการยักยอกเงินของส่วนราชการ
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจหน้าที่และการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 ที่ 7 และที่ 10 ทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่จำเลยดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดไว้ แม้จำนวนเงินที่บรรยายไว้จะไม่ตรงกับเอกสารท้ายฟ้องก็ตาม ก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาว่าที่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไร ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172วรรคสอง แล้ว
ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520 และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริต จำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้ว หาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่ การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัด ปล่อยให้จำเลยที่ 1 เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่ 1 สามารถปลอมใบนำส่งเงิน ปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย จึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงิน ข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฏิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ที่ 5 และที่ 7 หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่
แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการ พ.ศ.2520 จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวัน แล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้าย และให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้อง ทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้น ๆ เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบ แต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้น ย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือ ต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5850/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรรมการ/ผู้บริหารต่อการยักยอกเงินของเจ้าหน้าที่ – การประมาทเลินเล่อต้องทำให้เกิดการยักยอก
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงอำนาจหน้าที่และการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ที่3ที่5ที่7และที่10ทำให้โจทก์เสียหายทั้งได้บรรยายถึงจำนวนเงินที่จำเลยดังกล่าวจะต้องร่วมรับผิดไว้แม้จำนวนเงินที่บรรยายไว้จะไม่ตรงกับเอกสารท้ายฟ้องก็ตามก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะไปว่ากล่าวกันในชั้นพิจารณาว่าที่ถูกต้องเป็นจำนวนเท่าไรฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาคำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสองแล้ว ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520และคำสั่งป่าไม้จังหวัดอุบลราชธานีมุ่งให้คณะกรรมการรับส่งเงินรับผิดชอบร่วมกันควบคุมเงินไปส่งที่คลังจังหวัดเพื่อป้องกันการทุจริตจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ในฐานะกรรมการรับส่งเงินมีหน้าที่ต้องปฎิบัติตามร่วมกันนำส่งเงินต่อคลังจังหวัดจนกว่าคลังจังหวัดจะรับเงินไว้เรียบร้อยแล้วหาใช่เพียงแต่ควบคุมเงินไปถึงคลังจังหวัดก็เป็นอันหมดหน้าที่ไม่การที่จำเลยดังกล่าวได้นำเงินไปส่งคลังจังหวัดโดยคอยอยู่นอกห้องคลังจังหวัดปล่อยให้จำเลยที่1เข้าไปนำส่งเงินในห้องคลังจังหวัดเพียงผู้เดียวเป็นการไม่ปฎิบัติตามระเบียบและคำสั่งดังกล่าวและเป็นผลให้จำเลยที่1สามารถปลอมใบนำส่งเงินปลอมลายมือชื่อคลังจังหวัดและตราประทับของคลังจังหวัดยักยอกเงินของโจทก์ไปได้ถือได้ว่าจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7ประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามจำนวนเงินที่ตนร่วมเป็นกรรมการนำส่งเงินข้อที่ว่ากรรมการอื่นก็ได้เคยปฎิบัติเช่นเดียวกับจำเลยที่2ที่3ที่5และที่7หาอาจจะยกเป็นข้ออ้างให้พ้นความรับผิดได้ไม่ แม้ตามระเบียบการเก็บรักษาเงินและการนำเงินส่งคลังของส่วนราชการพ.ศ.2520จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่การเงินรวบรวมยอดเงินตามใบเสร็จรับเงินในแต่ละวันแล้วบันทึกยอดรวมไว้ด้านหลังสำเนาใบเสร็จรับเงินฉบับสุดท้ายและให้ส่วนราชการตรวจสอบจำนวนเงินที่นำส่งให้ตรงกับหลักฐานที่บันทึกในบัญชีเงินสดให้ถูกต้องทั้งตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่218ว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินจะบัญญัติให้หัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดนั้นๆเป็นผู้ปกครองบังคับบัญชารับผิดชอบแต่การจะให้ผู้บังคับบัญชาต้องร่วมรับผิดกับผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยนั้นย่อมต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยละเมิดกล่าวคือต้องจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นผลทำผู้ใต้บังคับบัญชายักยอกเงินไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5524/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของโจทก์ที่ 3 และความรับผิดของจำเลยที่ 5 ในคดีละเมิดจากการยักยอกเงินรายได้แผ่นดิน
กรมทะเบียนการค้าโจทก์ที่ 1 กรมการค้าภายในโจทก์ที่ 2และสำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์โจทก์ที่ 3 ต่างมีฐานะเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากกันตามกฎหมาย แม้โจทก์ที่ 1 และที่ 2จะมอบหมายให้สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์เป็นผู้เก็บเงินค่าธรรมเนียมก็ตาม สำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ก็เป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ที่ 1 และที่ 2 เท่านั้น เมื่อเงินตามคำฟ้องที่จำเลยที่ 1 ยักยอกไปนั้นเป็นเงินค่าธรรมเนียมจดทะเบียนอันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 1 และเงินค่าธรรมเนียมรายได้เบ็ดเตล็ดต่าง ๆ อันเป็นรายได้ของโจทก์ที่ 2 มิใช่เงินค่าธรรมเนียมรายได้ของโจทก์ที่ 3 หรือเงินค่าธรรมเนียมรายได้ของสำนักงานพาณิชย์จังหวัดนครสวรรค์ ที่โจทก์ที่ 3เป็นผู้บังคับบัญชาควบคุมและดูแลอยู่ โจทก์ที่ 3 จึงไม่ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ที่ 3 ย่อมไม่มีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่วิเคราะห์งานทะเบียนการค้ามีหน้าที่รับจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ในการปฏิบัติหน้าที่จำเลยที่ 5 คงรับเฉพาะเงินค่าธรรมเนียมจากผู้ที่มาขอจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วนำไปมอบให้แก่เจ้าหน้าที่การเงินเท่านั้นหาใช่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินที่ได้รับมอบเงินค่าธรรมเนียมแล้วนำไปส่งคลังจังหวัดไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 5 รับเงินค่าธรรมเนียมแล้วมอบเงินนั้นให้จำเลยที่ 1 นำไปส่งคลังจังหวัด จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 278/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเอกอัครราชทูตต่อความเสียหายจากการยักยอกเงินของลูกน้อง เนื่องจากการละเลยควบคุมดูแล
การที่จำเลยที่2ได้มอบหมายให้จำเลยที่1ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการเงินทั้งหมดซึ่งจำเลยที่1มีหน้าที่จัดทำบัญชีแต่มิได้จัดทำไว้ตามระเบียบและจำเลยที่2ก็มิได้ควบคุมดูแลให้จำเลยที่1ปฏิบัติให้ถูกต้องหากจำเลยที่2ควบคุมดูแลจะทราบได้ว่ามีการปลอมเอกสารและจำเลยที่1ยักยอกเงินไปแม้จำเลยที่2จะได้แต่งตั้งให้จ. ควบคุมดูแลอีกชั้นหนึ่งเมื่อจำเลยที่2เป็นผู้รับผิดชอบควบคุมดูแลอยู่ด้วยก็ไม่ทำให้จำเลยที่2พ้นความรับผิด ส่วนความเสียหายที่จำเลยที่1ปลอมลายมือชื่อจำเลยที่2ลงในเช็คแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารนั้นความเสียหายของโจทก์ทั้งสองย่อมเกิดขึ้นแล้วส่วนเงินจำนวนดังกล่าวแม้จะมีคนต้องรับผิดหลายคนโจทก์ทั้งสองจะเลือกฟ้องให้บางคนรับผิดก็เป็นสิทธิที่จะทำได้เมื่อจำเลยที่2ประมาทเลินเล่ออันเป็นละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองก็ไม่ทำให้จำเลยที่2พ้นความรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1980/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของ ผวจ. และความรับผิดของคณะเทศมนตรีต่อการยักยอกเงินของเทศบาล
โจทก์ที่ 2 เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 71 ในการควบคุมดูแลเทศบาลโจทก์ที่ 1 เท่านั้น โจทก์ที่ 2 ไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ที่ 1 หรือมีอำนาจฟ้องผู้ที่ทำละเมิดแก่โจทก์ที่ 1 ได้ พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 มาตรา 39 เพียงกำหนดให้คณะเทศมนตรีรับผิดชอบบริหารกิจการของเทศบาลโจทก์เท่านั้นมิได้บัญญัติให้คณะเทศมนตรีร่วมรับผิดกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ยักยอกเงินของโจทก์ คณะเทศมนตรีจะต้องรับผิดก็ต่อเมื่อได้ปล่อยปละละเลย หรือประมาทเลินเล่ออันวิญญูชนที่กระทำในหน้าที่และฐานะเช่นนั้นทำให้เกิดการยักยอกเงินดังกล่าวเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1910/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้ถือหุ้น: กรณีกรรมการยักยอกเงิน
ปกติเมื่อกรรมการผู้ใดทำให้บริษัทเสียหาย บริษัทย่อมเป็นผู้ฟ้องเรียกให้กรรมการผู้นั้นชดใช้ค่าเสียหายแก่บริษัท ส่วนผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้ฟ้องตามป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคแรก ต้องเป็นการฟ้องแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัทเฉพาะกรณีที่บริษัทไม่ยอมฟ้อง และเป็นการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนเท่านั้น
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นคนหนึ่งของบริษัท ก.นำหนี้ค่าสินไหมทดแทนซึ่งจำเลยในฐานะกรรมการบริษัท ก.ที่ยักยอกเงินของบริษัท ก.และต้องรับผิดต่อบริษัท ก.มาฟ้องจำเลยขอให้ล้มละลาย หาใช่เป็นกรณีการฟ้องเพื่อเรียกร้องเอาสินไหมทดแทนจากจำเลยแทนหรือฟ้องเพื่อประโยชน์ของบริษัท ก.ไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของบริษัท ก.จึงมิได้อยู่ในฐานะเจ้าหนี้ของจำเลยที่จะฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 9 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 79/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพูดใส่ความผู้อื่นว่ายักยอกเงิน เป็นการหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นอาจารย์ใหญ่ถูกร้องเรียนว่ายักยอกเงินโครงการอาหารกลางวันและอื่น ๆ ถูกตั้งกรรมการสอบสวนและได้รับคำสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น จำเลยซึ่งรักษาการแทนโจทก์ร่วมทำหนังสือสั่งธนาคารระงับการจ่ายเงินเดือนให้โจทก์ร่วม และได้พูดกับ พ.ผู้ช่วยสมุหบัญชีธนาคารว่า "ยักยอก ตามตัวไม่พบ" คำพูดดังกล่าวมีความหมายให้ พ. เข้าใจว่าโจทก์ร่วมยักยอกเงินของทางราชการแล้วหนีไป จึงเป็นการใส่ความโจทก์ร่วม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์ร่วมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชังจึงเป็นถ้อยคำหมิ่นประมาทโจทก์ร่วม จำเลยมีเจตนากล่าวถ้อยคำโดยเจตนาใส่ความโจทก์ร่วมทั้งถ้อยคำดังกล่าวก็เป็นความเท็จเพราะจำเลยทราบดีว่าขณะนั้นโจทก์ร่วมอยู่ในระหว่างถูกผู้บังคับบัญชาตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยและได้สั่งให้โจทก์ร่วมไปช่วยราชการที่อื่น หาใช่ว่าคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการเสร็จแล้วและลงความเห็นว่าโจทก์ร่วมกระทำผิดวินัยและหลบหนีไปแต่อย่างใดไม่ การกล่าวถ้อยคำของจำเลยจึงมิใช่เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือข้อความโดยสุจริต จำเลยกระทำความผิดก่อนวันใช้บังคับของพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 11) พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และมิได้เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องใช้บังคับตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 เดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1585/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับฟังข้อเท็จจริงเรื่องยักยอกเงิน, อายุความไม่ขาด, และไม่มีเหตุรอการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า พยานหลักฐานของโจทก์ โจทก์ร่วมและจำเลยยังไม่ได้ความชัดแจ้งในเรื่องจำนวนเงินที่จะให้จำเลยคืนหรือใช้ตามคำขอของโจทก์ เห็นสมควรให้ไปว่ากล่าวกันในทางแพ่ง โจทก์ฎีกาว่า พยานหลักฐานที่โจทก์และโจทก์ร่วมนำสืบมาฟังได้แน่ชัดว่าจำเลยยักยอกเอาเงินตามจำนวนที่โจทก์ขอมาจริงฎีกาของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการฟังพยานหลักฐานว่าควรเชื่อได้เพียงใดเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลล่างทั้งสองลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
โจทก์ร่วมมีหนังสือร้องทุกข์ถึงหัวหน้าพนักงานสอบสวน ลงวันที่ 15สิงหาคม 2529 สถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองเชียงใหม่ได้รับเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม2529 ถือว่าผู้เสียหายได้ร้องทุกข์ตั้งแต่วันที่ 18 สิงหาคม 2529 ส่วนวิธีการของพนักงานสอบสวนจะปฏิบัติอย่างไรในการลงบันทึกประจำวันเกี่ยวกับคดีเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งไม่กระทบถึงวันที่มีการร้องทุกข์โดยถูกต้องแล้ว คดีจึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยมีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีวุฒิภาวะพอเพียงที่จะสำนึกว่าการใดควรไม่ควร ก่อนที่จะได้ลงมือกระทำการนั้น จำเลยใช้โอกาสที่ตนมีหน้าที่ที่ได้รับความไว้วางใจให้ดูแลดำเนินกิจการของโจทก์ร่วมในฐานะผู้จัดการ ทำการทุจริตเป็นเวลาหลายเดือนติดต่อกัน จึงไม่มีเหตุรอการลงโทษ
of 15