พบผลลัพธ์ทั้งหมด 61 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4964/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานเป็นมิชอบ หากข้อเท็จจริงยังไม่ยุติว่าจำเลยกระทำการโดยสุจริตหรือฉ้อโกงโจทก์
เมื่อตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยทั้งสามไม่อาจฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติได้ว่าจำเลยทั้งสามกระทำการโดยสุจริตหรือคบคิดกันฉ้อโกงโจทก์หรือไม่ศาลต้องฟังพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสามก่อนการที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบโจทก์และจำเลยทั้งสามจึงเป็นการมิชอบ โจทก์กล่าวในคำฟ้องด้วยว่าจำเลยทั้งสามสมคบกันทำสัญญาซื้อขายเป็นการฉ้อฉลโจทก์อันหมายถึงการกระทำโดยไม่สุจริตหรือฉ้อโกงโจทก์นั่นเองที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าจำเลยที่1โอนขายทรัพย์มรดกให้แก่จำเลยที่2และที่3เป็นการกระทำโดยสุจริตหรือไม่จึงมิได้เป็นการวินิจฉัยคดีนอกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6238/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำเลยไม่ยื่นอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนที่เกี่ยวข้อง ทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นในส่วนนั้นเป็นที่ยุติ
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ คดีในส่วนจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6238/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยส่วนของจำเลยที่ 1 เนื่องจากมิได้อุทธรณ์คดี ทำให้คดีส่วนนั้นยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำเลยที่1มิได้อุทธรณ์คดีในส่วนจำเลยที่1จึงเป็นอันยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นและเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค1ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองว่ามีเหตุสมควรที่จะฎีกาในข้อเท็จจริงได้ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักกลบลบหนี้จากฟ้องแย้งที่ยุติแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยซ้ำ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ติดตั้งชุดมอเตอร์เกียร์ให้จำเลยไม่ตรงตามสัญญาจนต่อมาได้เสียหายทั้งชุดโจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนนี้ตามฟ้องแย้งจำนวน80,000บาทโดยให้หักกับเงินจำนวน200,000บาทที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ในงานงวดสุดท้ายและพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จำนวน120,000บาทโจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับจำนวนความเสียหายตามฟ้องแย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำนวนเงินตามฟ้องแย้งจึงยุติถึงที่สุดแล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยต้องเสียหายเป็นจำนวนเงิน150,000บาทตามฟ้องแย้งและนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นความผิดเดิมหลังจำเลยยอมรับผิดในชั้นอุทธรณ์ ถือเป็นการยุติแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องจำเลยอุทธรณ์ว่ายอมรับผิด ไม่ขอต่อสู้คดีหรือโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์อีก เพียงแต่ขอให้ศาลอุทธรณ์ลงโทษสถานเบาและรอการลงโทษปัญหาที่ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จำเลยจะกลับมายื่นฎีกาในปัญหานี้อีกไม่ได้ถือไม่ได้ว่าเป็นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีต่ำกว่าสองแสนบาท และเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังยุติแล้ว
ศาลล่างทั้งสองต่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองมิได้ซื้อที่พิพาท หากแต่เช่าที่พิพาทจึงมิได้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง การที่ศาลฟังว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 และ 94 นั้น จึงเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังยุติต้องกันแล้วว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1596/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีทรัพย์สินมูลค่าน้อยกว่า 5 หมื่นบาท และผลของการฎีกาในข้อเท็จจริงที่ยุติแล้ว
เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท และจำเลยยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงภายหลังพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 12) พ.ศ. 2534 มาตรา 14 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยให้จึงเป็นการไม่ชอบ เมื่อคดีได้ยุติไปแล้วตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ผู้พิพากษาจะรับรองให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง แต่ก็เป็นข้อเท็จจริงที่ยุติไปแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาที่ศาลอุทธรณ์ผิดขั้นตอน โดยวินิจฉัยข้อหาที่ยุติแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขได้
การที่จำเลยช่วยจำหน่ายหรือช่วยพาเอาไปเสียซึ่งโคของผู้เสียหายอันเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำผิดฐานลักทรัพย์ กรณีจะเป็นความผิดก็เข้าลักษณะฐานรับของโจร แม้จำเลยร่วมกับผู้อื่นยอมชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้เสียหาย ก็ไม่แสดงว่าจำเลยเป็นคนร้ายลักโคของผู้เสียหายไป โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ ถือว่ายกฟ้องข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ ข้อหาฐานรับของโจรย่อมยุติ จำเลยทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องฐานลักทรัพย์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์แต่มีความผิดฐานรับของโจร และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานรับของโจรจึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยทั้งสองมีสิทธิฎีกาขอให้ยกฟ้องฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้เป็นว่าให้ยกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจร.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2819/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความผิดฐานลักทรัพย์และรับของโจร ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาที่ยุติแล้ว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดฐานลักทรัพย์ จึงถือได้ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ข้อหาฐานรับของโจร เมื่อโจทก์ไม่อุทธรณ์ต้องถือว่าข้อหาความผิดฐานรับของโจรได้ยุติไปแล้วจำเลยอุทธรณ์ขอให้พิพากษายกฟ้องข้อหาฐานลักทรัพย์ ประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะวินิจฉัยก็คือ จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองไม่มีความผิดฐานลักทรัพย์จึงชอบแล้ว แต่ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 กลับไปวินิจฉัยข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดฐานรับของโจร และพิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองฐานรับของโจรซึ่งยุติไปแล้วนั้น จึงไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา จำเลยทั้งสองมีสิทธิฎีกาขอให้ยกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรได้ และศาลฎีกาไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิจารณาพิพากษาใหม่ เพราะศาลอุทธรณ์ภาค 2 ได้ยกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาฐานลักทรัพย์แล้ว ศาลฎีกาจึงพิพากษายกฟ้องในข้อหาฐานรับของโจรเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5486/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลต้องไต่สวนข้อเท็จจริงเพื่อให้ได้ความยุติก่อนวินิจฉัยว่าฝ่ายใดผิดสัญญา
ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมให้จำเลยที่ 2 ไปทำการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้โจทก์ และโจทก์จะชำระเงินค่าที่ดินให้จำเลยที่ 2 พร้อมกันณ สำนักงานที่ดินเวลา 11 นาฬิกา ถึงวันนัด ต่างฝ่ายต่างยืนยันว่าฝ่ายตนปฏิบัติตามสัญญา แต่อีกฝ่ายไม่ปฏิบัติตาม โดยจำเลยที่ 2 แถลงว่า จำเลยที่ 2 ได้ไปและคอยโจทก์ที่สำนักงานที่ดินพร้อมด้วยเอกสารอันจำเป็นในการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ฝ่ายโจทก์ตั้งแต่เวลา 10.30 นาฬิกา ถึงเวลา12 นาฬิกา ส่วนโจทก์ยื่นคำร้องว่า โจทก์ได้มอบให้ทนายโจทก์นำเอกสารการรับโอนสิทธิไปสำนักงานที่ดิน เวลา 10.45 นาฬิกา และแจ้งทนายจำเลยทราบว่าโจทก์กำลังดำเนินการให้ธนาคารออกเช็คขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่ดินเตรียมเอกสารต่าง ๆ ในการทำนิติกรรมให้ และโจทก์ได้เดินทางไปถึงสำนักงานที่ดินเมื่อเวลา 12.10 นาฬิกา พร้อมทั้งเช็คและเงินสดเพื่อชำระให้จำเลยที่ 2 แต่จำเลยที่ 2 และเจ้าหน้าที่ที่ดินไม่ดำเนินการจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินให้ตามสัญญา เช่นนี้ ข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไร ศาลชั้นต้นชอบที่จะทำการไต่สวนให้ได้ความจริงเป็นยุติ โดยเฉพาะถ้าข้ออ้างของโจทก์ที่ว่าได้ให้ทนายโจทก์ไปแจ้งต่อทนายจำเลยที่สำนักงานที่ดินว่าพร้อมที่จะรับโอนที่ดินเป็นความจริง จำเลยที่ 2 ก็จะอ้างว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาประนีประนอมยอมความเสียทีเดียวยังไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นเพียงแต่นัดสอบถามแล้วมีคำสั่งว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดนัด เป็นการไม่ชอบ