คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ราคาศุลกากร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ไม่ยึดเพียงราคาสูงสุดที่ผู้อื่นนำเข้า
คำสั่งเฉพาะกรมศุลกากรที่ 14/2524 เรื่องการตรวจสอบและประเมินราคาสินค้า และคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 เรื่องระเบียบ ปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการ ตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้าเป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของ กรมศุลกากรจำเลยใช้สำหรับการพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาด โดยการเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้นคำสั่งเฉพาะ กรมศุลกากรที่ 14/2524 ระบุให้ผู้อำนวยการกองประเมินอากรใช้ดุลพินิจ พิจารณานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ในคำสั่งดังกล่าวตามควรแก่กรณีได้ แสดงให้เห็นว่าราคาที่มีผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลา 3 เดือน ก่อน โจทก์นำเข้าอาจไม่ใช่ราคาอันแท้จริง ในท้องตลาด จึงต้องให้ ผู้อำนวยการกองประเมินราคาพิจารณาอีกชั้นหนึ่งฉะนั้น การ ที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้า ขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น จึงถือ เอาราคาที่มี ผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้าเป็น ราคาที่ใช้ในการประเมิน จึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด ได้ ปรากฏว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้าเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ ในการผลิตน้ำมันและราคาน้ำมันในท้องตลาดขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ฉะนั้นราคาสูงและ ต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งโดยไม่ปรากฏว่ามีการลดหย่อนราคากัน เป็นพิเศษจึงอาจถือได้ว่าเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 112/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาดจริง โดยพิจารณาจากราคา CIF และความผันผวนของราคาน้ำมัน
คำสั่งเฉพาะกรมศุลกากรที่ 14/2524 เรื่อง การตรวจสอบและ ประเมินราคาสินค้าและคำสั่งทั่วไปกรมศุลกากรที่ 8/2530 เรื่อง ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาราคาที่ใช้ในการประเมินอากรและการตรวจสอบใบขนสินค้าขาเข้า เป็นเพียงแนวทางให้เจ้าพนักงานของ กรมศุลกากรจำเลยใช้สำหรับการพิจารณาราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดย การเปรียบเทียบราคากับผู้นำเข้ารายก่อนเท่านั้น คำสั่งเฉพาะ กรมศุลกากรที่ 14/2524 ระบุให้ผู้อำนวยการกองประเมินอากรใช้ ดุลพินิจพิจารณานอกเหนือจากหลักเกณฑ์ในคำสั่งดังกล่าวตามควร แก่กรณีได้ แสดงให้เห็นว่าราคาที่มีผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้าอาจไม่ใช่ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จึงต้อง ให้ผู้อำนายการกองประเมินราคาพิจารณาอีกชั้นหนึ่ง ฉะนั้น การที่เจ้าพนักงานของจำเลยเห็นว่าราคาที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าต่ำกว่าราคาที่เคยมีผู้นำเข้าก่อนหน้านั้น จึงถือเอาราคาที่มี ผู้นำเข้าสูงสุดในระยะเวลาไม่เกิน 3 เดือน ก่อนโจทก์นำเข้า เป็นราคาที่ใช้ในการประเมิน จึงไม่อาจถือเป็นราคาอันแท้จริง ในท้องตลาดได้ สินค้าเคมีภัณฑ์ ที่โจทก์นำเข้าคือ เมทิ่วเอททิ่วคีโตน(methylethylketone) และ บิวทิ่วอะครีเลทโมโนเมอร์ (butylacrylatemonomer) อันเป็นผลิตภัณฑ์อันเกิดจากผลพลอยได้ในการผลิตน้ำมันราคาน้ำมันในท้องตลาดขึ้นลงเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอทำให้ผลิตภัณฑ์พลอยได้จากน้ำมันขึ้นลงตามไปด้วย ฉะนั้น ราคาสูงและต่ำในการนำเข้าแต่ละครั้งโดยไม่ปรากฏว่ามีการลดหย่อนราคากันเป็นพิเศษจึงอาจถือได้ว่าเป็นราคาสินค้าขาเข้าซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่ที่ของนำเข้าโดยไม่มีหักทอนและลดหย่อนราคา อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6343/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาเวลาและสภาพสินค้าที่นำเข้า ราคาที่ปรากฏในใบกำกับสินค้าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
มาตรา 2 แห่ง พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 บัญญัติว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด หรือราคาแห่งของอย่างใดนั้นหมายความว่า ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร)ซึ่งจะพึงขายของประเภทและชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้าหรือส่งออกแล้วแต่กรณี โดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด โจทก์นำของเข้าเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2531 แต่ของตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าที่จำเลยนำมาใช้เปรียบเทียบนำเข้าเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2530 และวันที่ 15กันยายน 2530 อันเป็นการนำเข้าในเวลาที่แตกต่างกันจนไม่อาจจะนำเอาราคามาเทียบกันได้ เมื่อราคาของที่ขายกันตามใบเสนอขาย และใบกำกับสินค้าเป็นไปตามปกติธรรมดาของของที่ซื้อขายกัน ราคานั้นเป็นราคา ซี.ไอ.เอฟ. กรุงเทพมหานคร จึงเป็นราคา ณ เวลาและที่ที่นำของเข้าซึ่งจะพึงขายได้โดยไม่ขาดทุน อันถือได้ว่าเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5669/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาของประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกัน แหล่งที่มา และระยะเวลาที่นำเข้า
คำว่า "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" หรือ "ราคา" แห่งของอย่างใด ตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 2 นั้น หมายความว่า "ราคาขายส่งเงินสด (ในส่วนของขาเข้าไม่รวมค่าอากร) ซึ่งจะพึงขายของประเภทและ ชนิดเดียวกันได้โดยไม่ขาดทุน ณ เวลาและที่นำของเข้าหรือส่งออก แล้วแต่กรณีโดยไม่มีหักทอนหรือลดหย่อนราคาอย่างใด" ฉะนั้นการที่ จะนำราคาของของที่มาจากคนละแห่งคนละยี่ห้อ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ นำเข้ามาในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันหรือไม่อย่างไร มาถือว่าเป็นราคาเดียวกันนั้น จึงเป็นการประเมินราคาที่ไม่อยู่ในเงื่อนไข ตามที่กฎหมายบัญญัติ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ราคาศุลกากร: การประเมินราคาซื้อขายที่ไม่เป็นราคาแท้จริงเมื่อมีราคาซื้อขายที่แตกต่างกัน
ราคาสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินถือตามเป็นราคาที่ผู้นำเข้าได้นำเข้าก่อนโจทก์ไม่นานนัก และบางรายก็ปรากฏว่าได้นำเข้าหลังโจทก์เพียง 1 วัน เป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามคำสั่งเฉพาะของกรมศุลกากรที่ 14/2524 และคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่ 8/2530ซึ่งแม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมาย แต่ก็แสดงว่าเป็นการปฏิบัติที่มีแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรมและกระทำโดยสุจริต เมื่อราคาที่นำเข้ามาก่อนกลับสูงกว่าที่โจทก์นำเข้า จึงมีเหตุให้น่าสงสัยว่า ราคาที่ซื้อมาอาจมิใช่ราคาอันแท้จริง หากราคาที่โจทก์ซื้อต่ำกว่าราคาที่บริษัทอื่นซื้อเพราะโจทก์เป็นลูกค้าประจำและโจทก์สั่งเข้ามาเป็นจำนวนมากหรือเพราะบริษัทผู้ขายย่อมขายให้ลูกค้าแต่ละรายแตกต่างกัน ก็ย่อมแสดงว่าราคาที่โจทก์ซื้อเป็นราคาที่ได้หักทอนหรือลดหย่อน ซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการลดหย่อนทั่ว ๆ ไป การลดหย่อนดังกล่าวจึงเป็นการลดหย่อนกรณีพิเศษเฉพาะราย ซึ่งตามพระราชบัญญัติ-ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 2 จะถือเอามาเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3246/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่สูงกว่าราคาซื้อขายจริง ความน่าสงสัยของราคาพิเศษและแนวทางปฏิบัติของกรมศุลกากร
ราคาสินค้าที่เจ้าพนักงานประเมินถือตามเป็นราคาที่ผู้นำเข้าได้นำเข้าก่อนโจทก์ไม่นานนัก และบางรายก็ปรากฏว่าได้นำเข้าหลังโจทก์เพียง 1 วัน เป็นการที่เจ้าพนักงานประเมินได้ปฏิบัติตามคำสั่งเฉพาะของกรมศุลกากรที่ 14/2524 และคำสั่งทั่วไปของกรมศุลกากรที่8/2530 ซึ่งแม้คำสั่งดังกล่าวจะมิใช่กฎหมายแต่ก็แสดงว่าเป็นการปฏิบัติที่มีแนวทางที่ถูกต้องชอบธรรมและกระทำโดยสุจริตและแม้ราคาสินค้าที่บริษัทอื่นนำเข้ามาจะเป็นราคาในช่วงเวลาก่อนและหลังการนำเข้าของโจทก์ แต่เมื่อเป็นราคาที่อยู่ในระยะเวลาใกล้ชิดกันมากและโดยปกติสินค้ามัก จะขึ้นราคาไปเรื่อย ๆ เมื่อราคาที่นำเข้ามาก่อนกลับสูงกว่าที่โจทก์นำเข้าจึงมีเหตุให้น่าสงสัยว่า ราคาที่ซื้อมาอาจมิใช่ราคาอันแท้จริง หากราคาที่โจทก์ซื้อต่ำกว่าราคาที่บริษัทอื่นซื้อเพราะโจทก์เป็นลูกค้าประจำและโจทก์สั่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก หรือเพราะบริษัทผู้ขายย่อมขายให้ลูกค้าแต่ละรายแตกต่างกันก็ย่อมแสดงว่าราคาที่โจทก์ซื้อเป็นราคาที่ได้หักทอนหรือลดหย่อนซึ่งเมื่อไม่ปรากฏว่าเป็นการลดหย่อนทั่ว ๆ ไป การลดหย่อนดังกล่าวจึงเป็นการลดหย่อนกรณีพิเศษเฉพาะราย ซึ่งตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯมาตรา 2 จะถือเอามาเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาดไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลและในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อนการที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากรมิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่ง สนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4929/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องขอคืนค่าอากรที่ชำระเกิน การประเมินราคาศุลกากร และการพิสูจน์ราคาอันแท้จริง
ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 40 โจทก์สามารถนำสินค้าออกจากอารักขาของศุลกากรได้ โดยชำระภาษีอากรให้ครบถ้วนหรือวางเงินไว้เป็นประกันก็ได้ แต่โจทก์เลือกชำระค่าภาษีอากรตามจำนวนที่เจ้าหน้าที่ของจำเลยกำหนด ดังนี้จึงถือได้ว่าโจทก์ได้ชำระค่าภาษีอากรส่วนที่เกินโดยสมัครใจ การฟ้องเรียกร้องขอคืนเงินอากรส่วนที่เสียไว้เกิน จึงต้องนำอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 10 วรรค 5มาใช้บังคับ โจทก์มาฟ้องเรียกร้องขอคืนค่าอากรที่เสียไว้เกินจำนวนเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้า คดีของโจทก์ส่วนนี้จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4448/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และการมีอำนาจฟ้องร้องกรณีภาษีการค้า/ภาษีบำรุงเทศบาล
เมื่อโจทก์นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร เจ้าพนักงานกรมศุลกากรได้ประเมินอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล และในรายการที่สำแดงภาษีอากรมียอดเงินสำหรับอากรขาเข้า ภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาลแยกกันแต่ละรายการ ย่อมถือได้ว่ามีการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล โดยเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรแล้ว หากโจทก์เห็นว่าไม่ถูกต้องอย่างไรก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากรเสียก่อน การที่โจทก์อุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการกองวิเคราะห์ราคา กรมศุลกากร มิใช่เป็นการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินภาษีการค้าและภาษีบำรุงเทศบาล
โจทก์ซื้อสินค้าพิพาทจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศในราคาต่ำกว่าที่โจทก์เคยซื้อและสำแดงราคาในการนำเข้าครั้งก่อนเพราะผู้ขายซื้อจากผู้ผลิตได้ในราคาต่ำลง แต่เป็นการขายสินค้าในราคาปกติทั่วไป เพื่อจะให้ลูกค้าสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ มิใช่ลดหย่อนให้แก่โจทก์โดยเฉพาะเพียงรายเดียว แม้จะเป็นช่วงระยะเวลาไม่เกินหนึ่งเดือนนับแต่การนำเข้าในครั้งก่อน ราคาของประเภทและชนิดเดียวกันก็มีราคาลดลงได้ อีกทั้งปรากฏด้วยว่าเมื่อโจทก์นำสินค้าชนิดเดียวกันเข้ามาในราชอาณาจักรภายหลังกรณีพิพาทนี้ จำเลยก็ได้ยอมรับราคาที่ลดต่ำลงดังที่โจทก์สำแดงด้วย ยิ่งสนับสนุนให้เห็นว่า จำเลยได้ยอมรับว่าสินค้าพิพาทมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดลดต่ำลง และฝ่ายจำเลยก็มิได้นำสืบให้เห็นว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดเป็นเท่าใด เพียงแต่อาศัยราคาที่โจทก์เคยนำเข้าในครั้งก่อนภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน มาเป็นเกณฑ์ประเมินราคาเท่านั้น จึงถือได้ว่าราคาสินค้าพิพาทที่ต่ำลงตามที่โจทก์สำแดงนั้นเป็นราคาอันแท้จริงในท้องตลาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3459/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากรต้องพิจารณาชนิด เวลาที่นำเข้า และปัจจัยตลาด หากโจทก์พิสูจน์ราคาอันแท้จริงไม่ได้ ให้สันนิษฐานตามราคาที่สำแดง
โจทก์ฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด จำเลยให้การว่าราคาสินค้าในใบขนสินค้าสำแดงตามราคาท้องตลาดที่แท้จริง ดังนี้ เป็นการปฏิเสธข้อกล่าวอ้างในคำฟ้องของโจทก์ ภาระการพิสูจน์ตามข้ออ้างตกเป็นหน้าที่โจทก์ผู้กล่าวอ้าง
การที่จะถือว่าเป็น "ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด" หรือ "ราคา" ตามความหมายของพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2 นั้น จะต้องพิจารณาถึงประเภท ชนิด เวลาที่นำเข้าของสินค้าเป็นสำคัญ ส่วนการจะเรียกเก็บภาษีอากรในพิกัดเดียวกันหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้า ภาวะความต้องการของผู้บริโภค ตามเวลาและโอกาสที่แตกต่างกัน
เมื่อโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมานำสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนที่ว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาด และจำเลยไม่สุจริตอย่างไร ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังตามข้อต่อสู้ของจำเลยว่าราคาสินค้าที่สำแดงไว้ในใบขนสินค้าสำแดงตามราคาท้องตลาดที่แท้จริงตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 6
of 3