คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
รายรับ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1807/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีการค้าโรงแรมและที่ดิน: การประเมินรายรับจากบริการโทรศัพท์และธุรกรรมซื้อขายที่ดินระหว่างบริษัทแม่และบริษัทย่อย
โจทก์มีโทรศัพท์ไว้บริการแขกผู้มาพักการใช้โทรศัพท์ผู้มาพักสามารถใช้โดยผ่านพนักงานโรงแรมของโจทก์ช่วยต่อให้หรือผู้มาพักต่อสายด้วยตนเองโดยผ่านตู้แยกสายที่โจทก์จัดไว้ให้และผู้มาพักสามารถติดต่อภายในกรุงเทพมหานครต่างจังหวัดและต่างประเทศได้และสามารถโทรออกจากห้องพักหรือโทรจากนอกห้องพักก็ได้ดังนี้เมื่อโทรศัพท์ดังกล่าวโจทก์เป็นผู้จัดหาไว้ให้ผู้มาพักได้ใช้ทั้งภายในและภายนอกห้องพักจึงเป็นบริการที่โจทก์จัดให้แก่ผู้มาพักควบคู่กันไปกับการจัดห้องพักดังนั้นค่าตอบแทนที่ได้จากการนั้นจึงถือเป็นรายรับอันเนื่องมาจากการจัดสถานที่และอำนวยความสะดวกสบายให้แก่ผู้เข้ามาพักในโรงแรมของโจทก์เป็นรายรับที่ได้รับจากการประกอบธุรกิจโรงแรมซึ่งต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า7(ข)โรงแรมหาใช่ประเภทการค้า10ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าไม่และตามประมวลรัษฎากรมาตรา 78ได้บัญญัติให้ต้องเสียภาษีการค้าจากรายรับของทุกเดือนภาษีตามอัตราในบัญชีภาษีการค้าซึ่งหมายความว่าเป็นรายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงไม่มีค่าใช้จ่ายที่จะนำมาหักเพื่อคำนวณภาษีการค้าโจทก์จึงหามีสิทธิจะนำค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้แก่องค์การโทรศัพท์และการสื่อสารแห่งประเทศไทย มาหักออกแล้วนำเฉพาะส่วนที่โจทก์เรียกเก็บเพิ่มจากผู้เข้ามาพักเสียภาษีการค้าเท่านั้นไม่ โจทก์มิได้มีวัตถุประสงค์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินโจทก์ที่ซื้อที่ดินทั้งห้าโฉนดมาแล้วปลูกสร้างอาคารโรงแรมที่โอนขายนั้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบธุรกิจโรงแรมตามวัตถุประสงค์ของโจทก์บริษัทท. เป็นบริษัทย่อยของโจทก์โจทก์ถือหุ้นอยู่ถึงร้อยละ99.99และถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์เป็นผู้ซื้อและรับโอนที่ดินกับอาคารดังกล่าวจากโจทก์มีคณะกรรมการชุดเดียวกันกับคณะกรรมการบริษัทโจทก์เงินค่าที่ดินและอาคารที่บริษัทดังกล่าวจ่ายให้แก่โจทก์คือเงินจำนวนเดียวกันกับที่โจทก์จ่ายค่าหุ้นให้เงินที่โจทก์ให้กู้ยืมและเงินที่วางประกันการที่โจทก์เช่าที่ดินและอาคารจากบริษัทดังกล่าวการชำระเงินกระทำกันโดยการโอนตัวเลขทางบัญชีระหว่างโจทก์กับบริษัทดังกล่าวประโยชน์ที่โจทก์ได้รับก็คือสามารถลบตัวเลขทางบัญชีของโจทก์ที่ขาดทุนตลอดมาตั้งแต่ปี2526ทำให้มีกำไรเพื่อที่โจทก์จะมีคุณสมบัติสามารถเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จึงเห็นได้ว่าโจทก์มิได้มีจุดมุ่งหมายในการซื้อที่ดินและทำการปลูกสร้างอาคารไว้เพื่อขายหากำไรเป็นสำคัญมาแต่เดิมที่โจทก์ต้องตั้งบริษัทย่อยขึ้นมาแล้วทำสัญญาโอนขายที่ดินและอาคารให้ก็เพราะโจทก์ประกอบการขาดทุนมาโดยตลอดตั้งแต่ปี2526จำเป็นจะต้องกระทำการดังกล่าวเพื่อทำให้มีกำไรแม้โจทก์จะตั้งราคาขายสูงกว่าราคาที่ซื้อมาเป็นจำนวนมากเพื่อให้เห็นว่าโจทก์มีกำไรสามารถเข้าจะทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ก็เป็นไปตามปกติของการประกอบกิจการค้าและราคาที่ดินที่สูงขึ้นหาใช่มีลักษณะเป็นทางค้าหรือหากำไรจากการซื้อที่ดินมาแล้วขายไปไม่จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นผู้ประกอบการค้าที่ดินและอาคารดังกล่าวโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภท11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 53/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสียภาษีเงินได้ของสมาคมผู้จัดพนันโตแตไลเซเตอร์: ภาษีคำนวณจากรายรับก่อนหักรายจ่าย หรือรายได้สุทธิหลังหักค่าใช้จ่าย
โจทก์จัดให้มีการเล่นพนันโตแตไลเซเตอร์ สำหรับการเล่นแข่งม้าตามบัญชีข.ข้อ17แห่งพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478เงินที่โจทก์ได้รับจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)เพราะเป็นเงินได้จากการอื่นนอกจากที่ระบุไว้ใน(1)ถึง(7)ของมาตรา40แห่งประมวลรัษฎากรและมิใช่รายได้ตามมาตรา65ทวิ(13)แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิใช่เงินค่าลงทะเบียนหรือค่าบำรุงที่ได้จากสมาชิกหรือเงินหรือทรัพย์สินที่ได้รับจากการรับบริจาคหรือจากการให้โดยเสน่หาโจทก์ซึ่งเป็นสมาคมจึงต้องเสียภาษีเงินได้ในอัตราร้อยละ2ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆตามที่มาตรา4แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร(ฉบับที่168)พ.ศ.2529บัญญัติไว้โจทก์ได้รับเงินจากการจำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดให้แก่ผู้เล่นมาแต่ต้นจำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นเงินได้ของโจทก์ซึ่งโจทก์จะต้องนำไปเสียภาษีตามหน้าที่ที่พระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478บัญญัติไว้รวมทั้งเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประมวลรัษฎากรและจ่ายรางวัลแก่ผู้เล่นที่แทงผลการแข่งม้าถูกตามลักษณะข้อจำกัดและเงื่อนไขในใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้าข้อ4และข้อ5ที่กำหนดไว้ซึ่งล้วนเป็นรายจ่ายของโจทก์ที่เกิดขึ้นหลังจากได้รับจำนวนเงินดังกล่าวมาแล้วนอกจากนี้ตามมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478รัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้รับอนุญาตการเล่นหมายเลข17ในบัญชีข.เสียภาษีไม่เกินกว่าร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายและเสียภาษีเพิ่มขึ้นอีกไม่เกินร้อยละ2.5เพื่อให้เป็นรายได้ของเทศบาลแห่งท้องที่ที่เล่นการพนันตามใบอนุญาตโดยกำหนดในกฎกระทรวงดังนั้นโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับใบอนุญาตให้จัดให้มีการเล่นการพนันโตแตไลเซเตอร์สำหรับการเล่นแข่งม้ามีหน้าที่เสียภาษีร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายตามข้อ12(1)(ก)ของกฎกระทรวงฉบับที่17(พ.ศ.2503)ออกตามความในพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478จึงต้องชำระค่าภาษีดังกล่าวด้วยเงินของโจทก์จะอ้างว่าเงินค่าภาษีร้อยละ10แห่งยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายที่โจทก์ชำระไปนั้นมิใช่รายได้ของโจทก์หาได้ไม่ที่โจทก์เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลมาในอัตราร้อยละ2ของรายรับก่อนหักรายจ่ายหรือของจำนวนเงินที่โจทก์จำหน่ายสลากวินโต๊ดและเปล๊สโต๊ดได้ซึ่งถือว่าเป็นรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆจึงเป็นการเสียภาษีที่ถูกต้องแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9498/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการบริหารกิจการร่วมค้าเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
กิจการร่วมค้า ซ.เป็นกิจการที่ดำเนินการร่วมกันเป็นทางค้าหรือหากำไรระหว่างบริษัทโจทก์กับบริษัท ม.และได้จดทะเบียนการค้าต่อจำเลยกิจการร่วมค้า ซ.เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39กิจการร่วมค้า ซ.จึงแยกต่างหากจากกิจการของโจทก์ โจทก์กับบริษัท ม.มีข้อตกลงให้โจทก์เป็นผู้บริหารกิจการร่วมค้า ซ.แต่เพียงผู้เดียว และใช้สถานที่ของโจทก์เป็นที่ทำการ พนักงานของโจทก์ที่ทำหน้าที่บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกร ฝ่ายบัญชี ฝ่ายธุรการและฝ่ายบริหาร แสดงว่าโจทก์เป็นผู้บริหารกิจการทั้งปวงของกิจการร่วมค้า ซ.มิใช่โจทก์เพียงแต่เข้าไปดูแลผลประโยชน์ของตนในกิจการร่วมค้า ซ. และกิจการร่วมค้า ซ.มิใช่กิจการของโจทก์แต่เพียงผู้เดียว การบริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.โจทก์จะต้องมีค่าใช้จ่ายของโจทก์เองเพื่อที่จะบริหารงานให้บรรลุผลตามข้อตกลง การบริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ.จึงมิใช่กิจการที่ทำให้เปล่าโดยไม่มีค่าตอบแทน ทั้งวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ซึ่งจดทะเบียนไว้ก็ระบุว่า ให้บริการทางด้านบริหารการจัดการธุรกิจอุตสาหกรรมและโจทก์จดทะเบียนการค้า ตามประเภทการค้า 1ชนิด 1 (ก) การขายของและตามประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ก) และ (ฉ)การรับจ้างทำของด้วย ดังนั้นการที่โจทก์รับเป็นผู้บริหารงานของกิจการร่วมค้า ซ.จึงเป็นการประกอบการเพื่อหารายได้ตามวัตถุที่ประสงค์และตามที่ได้จดทะเบียนการค้าไว้ ทั้งการที่โจทก์เข้าบริหารงานดังกล่าวก็เพื่อให้กิจการของกิจการร่วมค้าซ.เป็นไปด้วยดี เงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ.ซึ่งเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างหากตาม ป.รัษฎากร มาตรา 39 จ่ายให้แก่โจทก์ไม่ว่าจะมีวิธีคิดอย่างไรก็เป็นเงินที่จ่ายให้เพื่อผลสำเร็จของงานที่โจทก์รับทำให้แก่กิจการร่วมค้าดังกล่าว จึงถือเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ และไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทดรองจ่ายเงินจำนวนใดไปก่อนอันจะถือได้ว่าเงินค่าบริหารงานที่กิจการร่วมค้า ซ.จ่ายให้แก่โจทก์นั้นเป็นการจ่ายคืนเงินทดรองแก่โจทก์ จึงฟังได้ว่าการที่โจทก์เป็นผู้บริหารงานกิจการร่วมค้า ซ.เป็นการรับจ้างทำของ เงินค่าบริหารงานที่โจทก์ได้รับมาจากกิจการร่วมค้าซีแพค-โมเนียจึงเป็นรายรับจากการประกอบการค้าอันจะต้องเสียภาษีการค้าตามบัญชีอัตราภาษีการค้าประเภทการค้า 4 ชนิด 1 (ฉ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5598/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าจากการซื้อขายที่ดินและรับเหมาก่อสร้าง ศาลยืนตามประเมินภาษีจากรายรับทั้งหมด
โจทก์ซื้อที่ดินเนื้อที่ 16 ไร่เศษ มาแบ่งเป็นแปลงย่อยขายให้ผู้อื่น ในการซื้อขายได้จดทะเบียนนิติกรรมว่าขายเฉพาะที่ดิน ส่วนอาคารผู้ซื้อเป็นผู้สร้างเองและในการทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินโจทก์ลงชื่อเป็นผู้จะขาย และประทับตราบริษัท บ. ซึ่งโจทก์เป็นกรรมการผู้จัดการ และในวันเดียวกันยังได้ทำสัญญาจ้างเหมาสร้างอาคาร โดยโจทก์ลงชื่อเป็นผู้รับจ้างเหมาและประทับตราบริษัท บ.เหมือนสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ซื้อที่ดินและอาคารทุกรายให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินตรงกันว่าได้ซื้อที่ดินและอาคารจากโจทก์และในชั้นไต่สวนโจทก์ได้ให้การต่อเจ้าพนักงานประเมินว่าผู้ซื้อที่ดินได้ว่าจ้างโจทก์ปลูกสร้างอาคารในที่ดินที่ซื้อ ทั้งบริษัท บ. ไม่เคยเสียภาษีเกี่ยวกับรายรับจากการรับเหมาก่อสร้างอาคาร รายรับของโจทก์จึงมิได้มีเพียงรายรับจากการขายที่ดินเท่านั้น แต่มีรายรับจากการรับเหมาก่อสร้างอาคารรวมอยู่ด้วยโจทก์จึงต้องเสียภาษีการค้า สำหรับรายรับดังกล่าวด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1708/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประโยชน์จากการใช้รถยนต์ของบริษัทถือเป็นเงินได้พึงประเมินและรายรับที่ต้องเสียภาษี
โจทก์รับฝากขายสินค้าผงชูรสและผลิตภัณฑ์พลอยได้จากผงชูรสให้แก่บริษัท อ. โดยได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินที่เรียกว่า"ค่าบริการดำเนินการจัดธุรกิจให้กับผู้อื่น" หรือ "คอนซายน์เมนท์ฟี"เป็นรายเดือนตามอัตราแน่นอนที่กำหนดไว้ในสัญญา โดยไม่คำนึงถึงยอดขายสินค้าว่าจะเป็นจำนวนเท่าใด เหตุที่มีการกำหนดค่าตอบแทนแน่นอนตายตัวก็เนื่องจากบริษัท อ. ได้มอบรถยนต์ของตนจำนวน60-70 คัน ต่อเดือนให้โจทก์ใช้เป็นยานพาหนะในการจำหน่ายสินค้าโดยไม่เสียค่าตอบแทน ซึ่งหากบริษัท อ. ไม่ได้ให้รถยนต์โจทก์ใช้โดยไม่เสียค่าตอบแทนแล้ว โจทก์จะต้องมีรายจ่ายเกี่ยวกับยานพาหนะในการประกอบกิจการและย่อมเป็นการแน่นอนว่าการกำหนดค่าบริการหรือค่าตอบแทนอันเป็นรายรับหรือเงินได้ของโจทก์จะต้องสูงขึ้นเพราะต้องคิดคำนวณต้นทุนในเรื่องยานพาหนะเพิ่มขึ้นและคงไม่กำหนดค่าตอบแทนเป็นจำนวนแน่นอนตายตัว การที่บริษัท อ. ได้ให้โจทก์ใช้รถยนต์โดยไม่เสียค่าตอบแทนจึงเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนหรือค่าบริการที่บริษัท อ. ให้แก่โจทก์นอกเหนือไปจากค่าตอบแทนที่กำหนดไว้เป็นจำนวนตายตัวในสัญญา ถือได้ว่าเป็นประโยชน์ที่โจทก์ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และเป็นรายได้จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่โจทก์กระทำในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งจะต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ทั้งเป็นประโยชน์อันมีมูลค่าที่ได้รับหรือพึงได้รับจากการประกอบการค้าอันถือได้ว่าเป็นรายรับตามมาตรา 79 ที่จะต้องเสียภาษีการค้าตามมาตรา 78 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6357/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับจ้างปูพรมพร้อมวัสดุประกอบถือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
การจ้างปูพรมที่โจทก์ผู้รับจ้างจัดซื้อแผ่นยางรองพื้นพรมมาจากผู้อื่น แล้วปูแผ่นยางรองพื้นพรมและพรมให้แก่ลูกค้าจนสำเร็จโดยคิดราคาแผ่นยางรองพื้นพรมต่างหากจากค่าแรงงานนั้น แม้โจทก์จะถือว่าซื้อแผ่นยางรองพื้นพรมแล้วขายให้แก่ลูกค้าไป แต่โจทก์ก็ต้องปูพรมโดยใช้แผ่นยางรองพื้นพรมนั้นเพื่อช่วยให้พรมที่ปูมีความนุ่มและสวยงามตามที่ลูกค้าต้องการ พรมและแผ่นยางรองพื้นพรมจึงเป็นส่วนประกอบของกันและกันเพื่อให้งานสำเร็จสมเจตนาของคู่กรณี จึงเป็นเรื่องการรับจ้างทำของ ราคาแผ่นยางรองพื้นพรมที่โจทก์คิดจากลูกค้าจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของอันจะต้องเสียภาษีการค้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6357/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการปูพรมพร้อมยางรอง เป็นรายรับจากการรับจ้างทำของ ต้องเสียภาษีการค้า
การพิจารณาว่ารายรับของโจทก์เป็นรายรับจากการขายแผ่นยางรองพื้นพรมหรือเป็นการรับจ้างทำของ ต้องพิจารณาตามลักษณะของงานที่ทำและเจตนาของคู่สัญญา ลักษณะการทำงานของโจทก์เป็นการรับจ้างปูพรมให้แก่ลูกค้าแต่ถ้ารายใดต้องการใช้แผ่นยางรองพื้นพรมโจทก์เป็นผู้จัดการหาแผ่นยางรองพื้นพรมให้ โดยซื้อมาจากผู้อื่นแล้วจัดการปูแผ่นยางรองพื้นพรมและปูพรมให้แก่ลูกค้าจนเรียบร้อยโจทก์คิดค่าแรงงานส่วนหนึ่งและราคาแผ่นยางรองพื้นพรมอีกส่วนหนึ่งลักษณะการทำงานของโจทก์เห็นได้ว่า โจทก์ต้องทำงานปูพรมให้แก่ลูกค้าจนสำเร็จและเจตนาของคู่กรณีอยู่ที่ผลสำเร็จแห่งการงานที่ลูกค้าจ้างโจทก์ปูพรมให้แม้โจทก์จะจัดการซื้อแผ่นยางรองพื้นพรมและขายให้ลูกค้า แต่เมื่อโจทก์เป็นผู้จัดการปูพรมและต้องใช้แผ่นยางรองพื้นพรมเพื่อให้งานที่โจทก์รับจ้างปูพรมสำเร็จผล จึงเป็นเรื่องการรับจ้างทำของ ราคาแผ่นยางรองพื้นพรมจึงเป็นรายรับจากการรับจ้างทำของอันจะ ต้องเสียภาษีการค้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6056/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี: การยินยอมปฏิบัติตามและอายุความ 10 ปี กรณีแสดงรายรับขาดเกิน 25%
หมายเรียกเพื่อตรวจสอบไต่สวนของเจ้าพนักงานประเมินให้เวลาโจทก์ฟ้องน้อยกว่า 7 วัน โจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้าน กลับยินยอมปฏิบัติตามหมายเรียกตลอดจนร่วมมือในการตรวจสอบไต่สวนตลอดมาจนกระทั่งเสร็จสิ้นและเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินแล้วโจทก์มากล่าวอ้างว่าหมายเรียกดังกล่าวไม่ชอบภายหลังหาได้ไม่ โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการการค้า แสดงรายรับขาดไปเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าของยอดรายรับ เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจทำการประเมินภายในกำหนด 10 ปี นับแต่วันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้า ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 88 ทวิ(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5948/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รายได้จากการขายลดเช็คถือเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แม้ไม่มีการลงบัญชีซื้อขาย
เช็คที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆมีอยู่ 3 ประเภท คือ เช็คของลูกค้า เช็คของโจทก์เอง และเช็คที่ไม่ปรากฏที่มา สำหรับเช็คของลูกค้า เป็นเช็คที่ได้มาจากการประกอบกิจการของโจทก์ โดยโจทก์ได้รับชำระหนี้มาเป็นเช็คที่ยังไม่ถึงกำหนดจึงนำไปขายลด จำนวนเงินที่ได้จากการขายลดเช็คประเภทนี้ต้องถือว่าเป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์ ส่วนเช็คของโจทก์เองที่นำไปขายลดนั้น ต่อมาโจทก์ต้องนำเงินไปเข้าบัญชีเพื่อให้ธนาคารจ่ายเงินตามเช็คนั้น การที่โจทก์จะมีเงินไปเข้าบัญชีโจทก์ก็จะต้องมีเงินได้จากรายรับเนื่องจากการประกอบกิจการเช่นกันสำหรับเช็คที่ไม่ปรากฏที่มานั้น โจทก์อ้างว่าเป็นเช็คของหุ้นส่วนที่โจทก์ยืมมาใช้จ่ายในการประกอบกิจการ แต่ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปีที่โจทก์นำเช็คที่ยืนมาไปขายลดนั้น โจทก์ยังเป็นหนี้หุ้นส่วนที่โจทก์ยืมเช็คมา ย่อมแสดงว่าถ้ามีการยืมเช็คของหุ้นส่วนมาขายลดจริง ก็ต้องมีการชำระหนี้ตามเช็คที่ยืมมานั้นหมดแล้ว และโจทก์ต้องมีรายรับจากการประกอบกิจการอย่างน้อยตามจำนวนเงินในเช็คที่ยืมมาขายลด โจทก์จึงจะสามารถชำระหนี้เงินตามเช็คที่ยืมมาได้หมดสิ้น จึงถือได้ว่าเงินตามเช็คที่โจทก์ยืมมาขายลดนี้ เป็นรายรับจากการประกอบกิจการของโจทก์เช่นเดียวกัน ดังนั้น เงินตามเช็คทั้ง 3 ประเภทที่โจทก์นำไปขายลดแก่ธนาคารและสถาบันการเงินต่าง ๆ จึงเป็นรายรับจากกิจการของโจทก์ในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีที่ขายลด โจทก์ก็ย่อมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิที่คิดจากยอดรายรับดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5309/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสละข้อต่อสู้เรื่องรายรับและรายจ่ายต้องห้ามในการประเมินภาษี ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง และการไม่อาจพิสูจน์รายจ่ายจริง
โจทก์สละข้อต่อสู้ในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับประเด็นการลงยอดรายรับของห้างฯ ผิดพลาด ค่าใช้จ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ และการหักต้นทุนขายร้อยละ 90 ของรายรับปัญหาดังกล่าวจึงยุติ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องในประเด็นดังกล่าวแม้จำเลยจะมิได้อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ปัญหาการประเมินภาษีเกี่ยวกับยอดซื้อและค่าใช้จ่ายต่างจังหวัดว่าเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่ พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ซื้ออะไรจากใครเมื่อใดและได้จ่ายเบี้ยเลี้ยงให้ลูกจ้างของโจทก์จริง ถือได้ว่ายอดซื้อและค่าใช้จ่ายต่างจังหวัดเป็นรายจ่ายที่โจทก์กำหนดขึ้นเองโดยไม่มีการจ่ายจริง ต้องห้ามมิให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 ตรี(9).
of 6