พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2026/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับ, ค่าเสียหายจากการผิดสัญญา, การลดค่าปรับ, สิทธิริบผลงาน, สัญญาจ้างเหมา
ค่าปรับที่โจทก์และจำเลยตกลงกำหนดกันไว้นั้น ถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้หรือบรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า ถ้าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 และข้อตกลงให้โจทก์ริบเอาผลงานที่จำเลยได้ทำไปแล้วโดยจำเลยจะเรียกร้องค่าตอบแทนและค่าเสียหายใด ๆ ไม่ได้ ก็เป็นข้อตกลงที่มีลักษณะเป็นการที่จำเลยให้สัญญาว่าจะทำการชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 382 ถ้าเบี้ยปรับนี้สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงให้เหลือเป็นจำนวนพอสมควรตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 เช่นกันแม้สิทธิริบผลงานที่จำเลยทำไปแล้วเป็นสิทธิของโจทก์หลังจากโจทก์ บอกเลิกสัญญาแต่เมื่อถือว่าเป็นเบี้ยปรับเช่นเดียวกับค่าปรับ ศาลจึงนำมาเป็นข้อวินิจฉัยลดค่าปรับได้หากเห็นว่าโจทก์ จะได้รับเบี้ยปรับสูงเกินส่วน ตาม สัญญา จ้าง เหมา มี สาระ สำคัญ ว่า ถ้า จำเลย ทำ ผิด สัญญา ข้อหนึ่ง ข้อใด โจทก์ มี สิทธิ บอกเลิก สัญญา นี้ ได้ และ มี อำนาจจ้าง ผู้อื่น ทำงาน ต่อ จาก จำเลย ได้ ด้วย โดย จำเลย ยอม จ่าย เงินค่าจ้าง และ ค่าใช้จ่าย อื่นใด ตาม จำนวน ที่ โจทก์ ต้อง เสีย ไปโดย สิ้นเชิง และ ถ้า ผู้ว่าจ้าง บอกเลิก สัญญา แล้ว ผู้รับจ้าง ยอม ให้ เรียก ค่าเสียหาย อัน พึง มี ได้ อีก ด้วย ดังนั้น แม้ ยัง ไม่ ปรากฏ ว่า ผู้รับจ้าง ราย ใหม่ หลังจาก โจทก์ บอกเลิก สัญญา ได้ ทำการ ก่อสร้าง งาน ตาม สัญญา ต่อ จาก จำเลย จน งาน แล้ว เสร็จบริบูรณ์หรือไม่ แต่ ตาม ข้อความ ใน สัญญา จ้างเหมา นั้นเอง เห็นเจตนารมณ์ ได้ ว่า ถ้า หาก จำเลย ผิดสัญญา โจทก์ ย่อม มี สิทธิ ที่จะ จ้าง บุคคลอื่น ทำการ ก่อสร้าง งาน แทน จำเลย โดย จำเลย ต้องเสีย ค่าใช้จ่าย และ โจทก์ มีสิทธิ เรียก ค่าเสียหาย จาก การ ที่ ต้องเสีย ค่าจ้าง แพง กว่า เดิม โดย มิพัก ต้อง รอ ให้งาน ก่อสร้าง ที่กระทำ ภายหลัง ต้อง สำเร็จ เสียก่อน เพราะ เป็น ที่ เห็น ได้ชัดว่า เป็น ความเสียหาย อันเกิด จากการ ผิดสัญญา ของ จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 735/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาจ้างก่อสร้างสูงเกินส่วน ศาลลดค่าปรับตามหลักความเป็นธรรม
จำเลยที่ 3 และที่ 4 ผู้รับจ้างทำงานไม่แล้วเสร็จตามกำหนดงวดงานในสัญญาจ้างโดยผิดนัดตั้งแต่ งวดที่ 2ถึงงวดที่ 4 และได้เสียค่าปรับให้โจทก์ไปแล้ว 110 วันวันละ 797 บาท สำหรับงวดที่ 5 ซึ่งเป็นงวดสุดท้ายจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ได้ลงมือก่อสร้างเลย ตามพฤติการณ์การทำงานของจำเลยโจทก์น่าจะคาดหมายได้ว่าจำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่สามารถทำงานให้เสร็จภายในกำหนดและคงทิ้งงานงวดสุดท้าย ซึ่งโจทก์ควรจะใช้สิทธิยกเลิกสัญญาเสียภายในหนึ่งถึงสองเดือน อันเป็นระยะเวลาพอสมควร แต่โจทก์กลับปล่อยให้เวลาล่วงเลย ไปกว่า 6 เดือน จึงบอกเลิกสัญญา เป็นความล่าช้าในการ ดำเนินงานของโจทก์เองด้วยส่วนหนึ่งประกอบกับจำเลยได้ชำระ ค่าปรับแก่โจทก์ไปแล้วถึง 110 วัน วันละ 797 บาท ทั้งโจทก์ ก็ไม่ได้นำสืบว่าการที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่ทำงาน งวดสุดท้ายทำให้โจทก์เสียหายมากเพียงใด ดังนี้พิเคราะห์ ทางได้เสียของโจทก์แล้ว ค่าปรับ 196 วัน วันละ 797 บาท ตามข้อตกลงในสัญญานั้นสูงเกินส่วน ศาลย่อมลดลงเป็นจำนวนพอ สมควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 การที่ ศาลลดค่าปรับลงเหลือวันละ 500 บาท เป็นเวลา 196 วัน เป็นเงิน 98,000 บาท นั้นเป็นการเหมาะสม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกันตัว: ลดค่าปรับตามสมควรเมื่อจำเลยเจรจาตกลงกับผู้เสียหายได้
การที่จำเลยทำสัญญาประกันตัวไว้ต่อโจทก์ในคดีที่จำเลยตกเป็นผู้ต้องหาแล้วผิดนัดไม่มาพบโจทก์เป็นเวลานานประมาณ 3 เดือนทำให้การดำเนินคดีของโจทก์ต้องล่าช้า แต่จำเลยกับผู้เสียหายก็ตกลงยอมความกันได้ และผู้เสียหายได้ถอนคำร้องทุกข์ไปจากโจทก์แล้วแสดงว่าในช่วงระยะเวลาที่จำเลยผิดนัดจำเลยได้ไปติดต่อเจรจากับผู้เสียหายจนสำเร็จ พฤติการณ์เช่นนี้หากจะให้จำเลยต้องรับผิดชำระค่าปรับเต็มตามสัญญาประกันก็จะสูงเกินไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1251/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประกัน – การปรับค่าประกัน – เงื่อนไขการชำระ – การลดค่าปรับ – อำนาจศาล
ผู้ประกันทำสัญญาประกันจำเลยที่ 2 ที่ 3 ต่อศาลชั้นต้นเป็นฉบับเดียวกัน แล้วผิดสัญญาประกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจสั่งปรับผู้ประกันในคำสั่งเดียวกันได้ และเมื่อภายหลังผู้ประกันนำตัวจำเลยที่ 3 มาส่งศาลหลังวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ปรับผู้ประกัน ศาลชั้นต้นย่อมมีอำนาจที่จะมี คำสั่งลดจำนวนค่าปรับผู้ประกันเฉพาะจำเลยที่ 3 ลงโดยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องชำระค่าปรับดังกล่าวภายใน 1 เดือน และต้องไม่ผิดนัดชำระค่าปรับสำหรับจำเลยที่ 2 ด้วยมิฉะนั้นให้ปรับเต็มตามสัญญาประกันอันเป็นเงื่อนไขซึ่งเกี่ยวพันกับการปรับผู้ประกันในส่วนของจำเลยที่ 2 ที่อยู่ระหว่างผ่อนชำระค่าปรับกรณีผิดสัญญาประกันได้ตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 119 โดยไม่จำต้องแยกคำสั่งปรับผู้ประกันจำเลยที่ 2และที่ 3 ออกจาก กัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2685/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าปรับในสัญญาประกันภัยเนื่องจากจำเลยพยายามติดตามตัวผู้ต้องหา แม้จะล่าช้า
หลังจากผิดสัญญาประกัน จำเลยนายประกันได้พยายามสืบหาผู้ต้องหาและได้จ้างผู้อื่นช่วยสืบหาจนได้ตัวผู้ต้องหาส่งให้แก่โจทก์ดำเนินคดี แม้จะใช้เวลาเกือบ 2 ปี ความเสียหายของโจทก์ก็มีน้อยกว่าที่โจทก์ดำเนินการเอง สมควรลดค่าปรับให้แก่จำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับในสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่สูงเกินสมควร ศาลมีอำนาจลดค่าปรับตามกฎหมาย
ค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 139/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาประกันตัวผู้ต้องหาที่สูงเกินสมควร ศาลลดค่าปรับได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
ค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหาชั้นสอบสวนเป็นเบี้ยปรับถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าปรับในสัญญาก่อสร้าง: ศาลมีอำนาจลดค่าปรับหากสูงเกินส่วน แม้โจทก์มิได้ขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มิได้เป็นฝ่ายบกพร่องในเหตุที่ทำงานล่าช้าและขอคืนค่าปรับทั้งหมด ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นไว้ว่าโจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนค่าปรับ หรือชดใช้เงินค่าจ้างให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ ดังนั้นค่าปรับหรือเบี้ยปรับจึงเป็นประเด็นโดยตรง และเมื่อศาลเห็นว่าค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่แท้จริงแล้วสูงเกินไป จึงกำหนดลดต่อลงได้ ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ และไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทั้งตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 เป็นอำนาจของศาลที่จะใช้ดุลพินิจลดค่าปรับ หรือเบี้ยปรับลงได้ หากเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน โดยพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดค่าปรับสัญญาก่อสร้าง: ศาลมีอำนาจลดค่าปรับหากสูงเกินส่วน แม้โจทก์มิได้ขอ
โจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างส่งมอบงานแก่จำเลยล่าช้าเกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนถูกจำเลยปรับตามสัญญา แม้โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับคืนโดยอ้างว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมิได้ขอให้ศาลลดค่าปรับ ถ้าศาลเห็นว่าโจทก์ผิดสัญญา แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่แท้จริงแล้วสูงเกินไปศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดค่าปรับลงแล้วคืนให้โจทก์บางส่วนได้ไม่ใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3768/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีก่อสร้าง: การลดค่าปรับ, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, และขอบเขตความรับผิดจำกัด
สัญญามีข้อความว่า ผู้รับจ้างยินยอมให้บรรดาสิ่งก่อสร้างที่ผู้รับจ้างได้กระทำขึ้น รวมทั้งสัมภาระอุปกรณ์การก่อสร้างที่ได้ทำไว้ ณ สถานที่ก่อสร้าง โดยเฉพาะเพื่อการก่อสร้าง.... ให้กรรมสิทธิ์ตกเป็นของผู้ว่าจ้างทั้งสิ้น นั้น ทรัพย์สินที่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมควบคุมโรคติดต่อ ผู้ว่าจ้างก็เฉพาะวัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างที่จะใช้ในการก่อสร้างอาคารตามสัญญา และที่ได้ก่อสร้างเป็นส่วนของอาคารตามสัญญาไปแล้วเท่านั้น มิได้หมายความรวมถึงเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำการก่อสร้างด้วย
ข้อสัญญาที่ว่า ในกรณีที่ผู้รับจ้างผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนด กรณีจะเป็นเรื่องผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาหรือให้ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างล่วงเวลาไป ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดต่อผู้ว่าจ้างในสิ่งก่อสร้างและสัมภาระอุปกรณ์ในการก่อสร้างของผู้รับจ้างคงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยไม่ต้องใช้ราคาแก่ผู้รับจ้าง ข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 382 แก่กรมควบคุมโรคติดต่อผู้ว่าจ้าง ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของกรมควบคุมโรคติดต่อ กับสภาพหรือผลงานและพฤติการณ์ที่บริษัทจันทนิมิตก่อสร้าง จำกัด ผู้รับจ้างปฏิบัติมาแล้ว เห็นว่า เบี้ยปรับส่วนนี้เป็นเงินพอสมควรแล้วกรมควบคุมโรคติดต่อจึงมีสิทธิรับผลงานไว้โดยไม่ต้องชดใช้ราคา
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า "ข้าพเจ้ายอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่กรมควบคุมโรคติดต่อได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่บริษัทจันทนิมิตก่อสร้าง จำกัด โดยเพียงแต่กรมควบคุมโรคติดต่อแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น" เช่นนี้เป็นการที่ธนาคารผู้ค้ำประกันยินยอมด้วยล่วงหน้าในการผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในการก่อสร้างเมื่อกรมควบคุมโรคติดต่อได้ผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในการก่อสร้างจึงไม่เข้าข่ายที่ธนาคารจะหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 แม้สัญญาตอนท้ายจะมีข้อความว่ากรมควบคุมโรคติดต่อต้องแจ้งให้ธนาคารทราบโดยไม่ชักช้า ข้อความดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าถ้าไม่ได้แจ้งจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นเป็นการแสดงเจตนาของธนาคารที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น ฉะนั้น แม้กรมควบคุมโรคติดต่อจะไม่ได้แจ้งธนาคาร ธนาคารก็ไม่หลุดพ้นความรับผิด
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ต่อกรมควบคุมโรคติดต่อ เป็นเงิน 1,122,868.80 บาท ข้อสัญญานี้เป็นการผูกพันรับผิดเป็นจำนวนจำกัดแน่นอน ถ้าบริษัท จ. ต้องรับผิดต่อกรมควบคุมโรคติดต่อไม่ถึง 1,122,867.80 บาท ธนาคารผู้ค้ำประกันก็ย่อมผูกพันรับผิดตามจำนวนที่บริษัท จ. ต้องรับผิดนั้น แต่ถ้าบริษัท จ. ต้องรับผิดเกิน 1,122,867.80 บาท ธนาคารก็รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่จำกัดไว้แล้ว ฉะนั้น เมื่อบริษัท จ. จะต้องรับผิดชอใช้ค่าเสียหายแก่กรมควบคุมโรคติดต่อเป็นเงิน 4,700,654 บาท ธนาคารจึงต้องรับผิดด้วยเป็นเงิน 1,122,867.80 บาท
ข้อสัญญาที่ว่า ในกรณีที่ผู้รับจ้างผิดสัญญาไม่ทำงานให้แล้วเสร็จภายในกำหนด กรณีจะเป็นเรื่องผู้ว่าจ้างบอกเลิกสัญญาหรือให้ผู้รับจ้างทำการก่อสร้างล่วงเวลาไป ผู้รับจ้างยินยอมรับผิดต่อผู้ว่าจ้างในสิ่งก่อสร้างและสัมภาระอุปกรณ์ในการก่อสร้างของผู้รับจ้างคงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ว่าจ้างโดยไม่ต้องใช้ราคาแก่ผู้รับจ้าง ข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นการที่ผู้รับจ้างให้สัญญาว่าจะชำระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่จำนวนเงินให้เป็นเบี้ยปรับตาม ป.พ.พ. มาตรา 382 แก่กรมควบคุมโรคติดต่อผู้ว่าจ้าง ซึ่งเมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของกรมควบคุมโรคติดต่อ กับสภาพหรือผลงานและพฤติการณ์ที่บริษัทจันทนิมิตก่อสร้าง จำกัด ผู้รับจ้างปฏิบัติมาแล้ว เห็นว่า เบี้ยปรับส่วนนี้เป็นเงินพอสมควรแล้วกรมควบคุมโรคติดต่อจึงมีสิทธิรับผลงานไว้โดยไม่ต้องชดใช้ราคา
หนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า "ข้าพเจ้ายอมรับรู้และยินยอมด้วยในกรณีที่กรมควบคุมโรคติดต่อได้ยินยอมให้ผัดหรือผ่อนเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาให้แก่บริษัทจันทนิมิตก่อสร้าง จำกัด โดยเพียงแต่กรมควบคุมโรคติดต่อแจ้งให้ข้าพเจ้าทราบโดยไม่ชักช้าเท่านั้น" เช่นนี้เป็นการที่ธนาคารผู้ค้ำประกันยินยอมด้วยล่วงหน้าในการผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในการก่อสร้างเมื่อกรมควบคุมโรคติดต่อได้ผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาในการก่อสร้างจึงไม่เข้าข่ายที่ธนาคารจะหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 900 แม้สัญญาตอนท้ายจะมีข้อความว่ากรมควบคุมโรคติดต่อต้องแจ้งให้ธนาคารทราบโดยไม่ชักช้า ข้อความดังกล่าวมิใช่สาระสำคัญอันเป็นเงื่อนไขว่าถ้าไม่ได้แจ้งจะทำให้ข้อความตอนต้นไม่เป็นผล เพราะข้อความตอนต้นเป็นการแสดงเจตนาของธนาคารที่มีผลเป็นการยินยอมด้วยในการผ่อนผันเวลาหรือผ่อนผันการปฏิบัติตามสัญญาแล้ว มิใช่ข้อสัญญาว่าจะปฏิบัติการชำระหนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง หากเป็นเพียงคำขอร้องหรือเสนอแนะเท่านั้น ฉะนั้น แม้กรมควบคุมโรคติดต่อจะไม่ได้แจ้งธนาคาร ธนาคารก็ไม่หลุดพ้นความรับผิด
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่า ข้าพเจ้ายอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันบริษัท จ. ต่อกรมควบคุมโรคติดต่อ เป็นเงิน 1,122,868.80 บาท ข้อสัญญานี้เป็นการผูกพันรับผิดเป็นจำนวนจำกัดแน่นอน ถ้าบริษัท จ. ต้องรับผิดต่อกรมควบคุมโรคติดต่อไม่ถึง 1,122,867.80 บาท ธนาคารผู้ค้ำประกันก็ย่อมผูกพันรับผิดตามจำนวนที่บริษัท จ. ต้องรับผิดนั้น แต่ถ้าบริษัท จ. ต้องรับผิดเกิน 1,122,867.80 บาท ธนาคารก็รับผิดไม่เกินจำนวนเงินที่จำกัดไว้แล้ว ฉะนั้น เมื่อบริษัท จ. จะต้องรับผิดชอใช้ค่าเสียหายแก่กรมควบคุมโรคติดต่อเป็นเงิน 4,700,654 บาท ธนาคารจึงต้องรับผิดด้วยเป็นเงิน 1,122,867.80 บาท