คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลายลักษณ์อักษร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 214/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลสัญญาค้ำประกันต้องเป็นผลดีต่อลูกหนี้ ข้อความเพิ่มเติมในสัญญาต้องไม่ขยายความเกินจากลายลักษณ์อักษร
สัญญาค้ำประกัน
การแปลสัญญา ต้องแปลให้เป็นผลดีกับลูกหนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 986/2473

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกมฤดก และผลของการตกลงแบ่งมรดกที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
มฤดก อายุความ อายุความที่จะฟ้องเรียกมฤดก 1 ปีนั้น ตั้งต้นนับแต่วันผู้มรณภาพตาย ผู้รับมฤดกที่อยู่ต่างประเทศจะฟ้องเรียกมฤดกเกิน 1 ปีไม่ได้ ประมวลแพ่ง ม.850,523 สัญญาแบ่งมฤดกต้องทำเปนลายลักษณอักษร มิฉะนั้นใช้ไม่ได้ให้ที่ดินไม่มีหนังสือสำคัญต้องส่งมอบจึงจะสมบูรณ์ตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาปรานีปรานอมเกี่ยวกับมรดก: ข้อกำหนดลายลักษณ์อักษรและพยาน
อย่างไรเรียกว่าสัญญาปรานีปรานอม สัญญาชนิดนี้ต้องทำเปนลายลักษณอักษร มฤดก แบ่งปันกันเปนสัญญาปรานีปรานอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2472

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเข้าหุ้นส่วน, เบี้ยปรับ, อำนาจเลิกสัญญา, สัญญาลายลักษณ์อักษร: ศาลยึดตามสัญญาและข้อตกลงเดิม
หุ้นส่วน สัญญาเข้าหุ้นส่วนค่าเสียหายกำหนดไว้สำหรับผิดสัญญาเป็นเบี้ยปรับไหมเพียงใด แม้ในสัญญาจะใช้คำว่า " ปรับ " ก็ไม่จำเป็นต้องถือตามตัวหนังสือตัวการตัวแทนเสมียนไม่มีอำนาจเลิกสัญญาแทนนายจ้างสัญญาเป็นลายลักษณอักษรต้องเลิกด้วยลายลักษณอักษร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2298/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงทางลายลักษณ์อักษรต้องสมบูรณ์และชัดเจน การลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณาไม่ถือเป็นสัญญาประนีประนอม
ข้อตกลงตามที่ระบุไว้ในรายงานเจ้าหน้าที่ที่เสนอต่อผู้พิพากษา ปรากฏว่าคู่ความมิได้ลงลายมือชื่อไว้จึงถือไม่ได้ว่ามีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดที่โจทก์จะอ้างมาเป็นหลักฐานในการฟ้องร้องให้บังคับแก่จำเลยทั้งห้าได้ ส่วนรายงานกระบวนพิจารณา แม้โจทก์ จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ที่ 5 และทนายจำเลยทั้งห้าลงลายมือชื่อไว้ แต่ความตกลงยังหาได้ยุติไม่ เพราะยังจะต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินกันอยู่อีก กรณีจึงไม่ใช่เรื่องตกลงระงับข้อพิพาทที่มีอยู่ หรือที่จะมีขึ้นนั้นให้เสร็จสิ้นไปในทันทีด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน และรายงานเจ้าหน้าที่กับรายงานกระบวนพิจารณาไม่อาจนำมาประกอบกันแล้วถือว่าเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีภาษีอากร: ผู้ยื่นคำร้องต้องมีอำนาจตามกฎหมาย หรือได้รับมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษร มิฉะนั้นไม่มีสิทธิฟ้อง
ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้ถือว่าการที่เทศบาลนครจำเลยรับคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินใหม่ของโจทก์ไว้พิจารณาและมีคำวินิจฉัยแล้ว เป็นการรับรองว่าผู้ลงลายมือชื่อในคำร้องมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ และเป็นกรณีที่จำเลยไม่มีสิทธิที่จะกลับมาอ้างว่าคำร้องดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายในภายหลัง หากจำเลยพบในภายหลังถึงเหตุที่ทำให้คำร้องไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะผู้ลงลายมือชื่อในคำร้องไม่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ จำเลยก็ย่อมมีสิทธิยกขึ้นกล่าวอ้างโต้แย้งอำนาจฟ้องของโจทก์ได้
ป. มิได้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์หรือได้รับมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ให้ลงนามแทนในคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดิน คำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินที่ ป. ยื่นต่อจำเลย เป็นการยื่นคำร้องที่ผู้รับประเมินมิได้ลงนามหรือมอบฉันทะเป็นลายลักษณ์อักษรให้ตัวแทนลงนาม จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.ภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 26 และมาตรา 27 โจทก์ย่อมไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลตามมาตรา 7 (1) และมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528
of 2