พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลทหาร: พิจารณาคดีตามสถานะผู้กระทำผิด ณ วันกระทำผิด แม้ภายหลังจะพ้นสถานะ
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 13 กำหนดเอาวันกระทำผิดเป็นข้อสำคัญว่า คดีใดจะให้ฟ้องต่อศาลทหารหรือศาลพลเรือน
ถ้าจำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตร ได้กระทำผิดในขณะที่ยังเป็นนายทหารประจำการอยู่ ต้องฟ้องต่อศาลทหารโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้นจำเลยเป็นนายทหารนอกประจำการแล้วหรือไม่และการที่จำเลยเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วยในขณะกระทำผิด ก็ไม่ทำให้ข้อวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(2) เป็นบทบัญญัติให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหารภายหลังที่เป็นนายทหารนอกประจำการแล้วต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้ทำไว้เมื่อยังประจำการอยู่
ถ้าจำเลยเป็นนายทหารสัญญาบัตร ได้กระทำผิดในขณะที่ยังเป็นนายทหารประจำการอยู่ ต้องฟ้องต่อศาลทหารโดยไม่จำต้องพิจารณาว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องนั้นจำเลยเป็นนายทหารนอกประจำการแล้วหรือไม่และการที่จำเลยเป็นรัฐมนตรีอยู่ด้วยในขณะกระทำผิด ก็ไม่ทำให้ข้อวินิจฉัยเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น
พระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 มาตรา 16(2) เป็นบทบัญญัติให้นายทหารชั้นสัญญาบัตรที่กระทำผิดต่อคำสั่งหรือข้อบังคับตามประมวลกฎหมายอาญาทหารภายหลังที่เป็นนายทหารนอกประจำการแล้วต้องอยู่ในอำนาจศาลทหารด้วยเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับการกระทำผิดที่ได้ทำไว้เมื่อยังประจำการอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาเบียดบังทรัพย์ไม่สมบูรณ์ เหตุไม่ระบุวันกระทำผิดชัดเจน
ฟ้องที่มิได้บรรยายให้ชัดแจ้ง ไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ไว้เป็นประโยชน์ของจำเลยเมื่อวันเดือนใด ฯลฯ ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องอาญาไม่ชัดเจนวันกระทำผิด ทำให้ฟ้องไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
ฟ้องที่มิได้บรรยายให้ชัดแจ้ง ไม่เป็นการแน่นอนว่าโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยเบียดบังทรัพย์ของโจทก์ไว้เป็นประโยชน์ของจำเลยเมื่อวัน เดือนใด ฯลฯ ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2507 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีเงินรองรับ & เพิ่มโทษจำคุกซ้ำ: การกำหนดวันกระทำผิด & ผลของการรับสารภาพ
1.ฟ้องโจทก์กล่าวถึงข้อที่ว่าจำเลยเคยต้องคำพิพากษาให้จำคุกมาแล้ว อันจะเป็นเหตุให้ถูกเพิ่มโทษ และได้อ้างบทมาตราเรื่องเพิ่มโทษมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย เมื่อจำเลยให้การว่าขอรับสารภาพตามฟ้องก็ถือได้ว่ารับในข้อเท็จจริงที่โจทก์อ้างมาขอให้เพิ่มโทษด้วย
2.บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 487,488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค) ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
3.ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507 และ18/2507)
อนึ่ง ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507 ได้เห็นชอบให้ออกไปตามร่างคำพิพากษาฎีกานี้ได้
2.บุคคลใดทำเป็นหนังสือตราสารซึ่งมีรายการครบถ้วนบริบูรณ์ตามลักษณะดังที่กล่าวไว้ในมาตรา 487,488 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์แล้วก็เป็นเช็ค เมื่อผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ (แม้จะเป็นเพราะบัญชีเงินฝากของบุคคลนั้นปิดเสียแล้วในขณะที่ออกเช็ค) ผู้ออกเช็คก็มีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497
3.ในกรณีออกเช็คล่วงหน้า วันที่เขียนเช็คยังไม่ถือว่าเป็นวันออกเช็ค ต้องถือเอาวันที่ลงในเช็คเป็นวันออกเช็ค และตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2497 มาตรา 3 ต้องถือว่าวันออกเช็คเป็นวันที่เริ่มการกระทำอันจะก่อให้เกิดความผิด และความผิดได้เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน เมื่อยังไม่เกิน 5 ปีนับแต่วันที่พ้นโทษในคดีเรื่องก่อน ย่อมเพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2507 และ18/2507)
อนึ่ง ที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 24/2507 ได้เห็นชอบให้ออกไปตามร่างคำพิพากษาฎีกานี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาต้องระบุความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันฟ้อง หากฟ้องระบุวันกระทำผิดภายหลังวันฟ้องเป็นฟ้องที่ไม่ชอบ
ฟ้องที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันฟ้องนั้น เป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้อง ไม่ชอบที่ศาลจะรับประทับฟ้องไว้
ข้อที่ว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นเองได้
ข้อที่ว่าฟ้องของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น แม้จำเลยจะมิได้ยกขึ้นต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันกระทำผิดไม่ตรงตามฟ้อง ทำให้ศาลลงโทษจำเลยไม่ได้ แม้มีพยานหลักฐานอื่น
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยสมคบกันทำร้ายร่างกายและทำให้โจทก์เสื่อมอิสสระภาพในวันเวลาเดียวกัน ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยคนเดียวฐานทำให้เสื่อมเสียอิสสระภาพ และยกฟ้องปล่อยจำเลยคืน โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยอื่นตามฟ้อง ส่วนจำเลยคนที่ถูกลงโทษก็อุทธรณ์ขอให้ปล่อย ศาลอุทธรณ์เห็นว่าวันที่หาว่ากระทำผิดได้ความไม่ตรงกับฟ้อง จึงพิพากษาให้ยกฟ้องปล่อยจำเลยที่อุทธรณ์ไปโดยไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ เมื่อปรากฎว่าความผิดทั้ง 2 ฐานที่กล่าวหาว่ากระทำผิดก็เป็นวันเดียวกัน ถ้าตามทางพิจารณาในเรื่องวันกระทำผิดได้ความแตกต่างกับฟ้องแล้ว ถึงอย่างไรศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ ตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 192 หากเป็นเช่นนั้น คดีของโจทก์ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1240/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันกระทำผิดไม่ตรงตามฟ้อง ทำให้ศาลลงโทษจำเลยไม่ได้ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
โจทก์ฟ้องหาว่าจำเลยสมคบกันทำร้ายร่างกายและทำให้โจทก์เสื่อมเสียอิสระภาพในวันเวลาเดียวกัน ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยคนเดียวฐานทำให้เสื่อมเสียอิสระภาพ และยกฟ้องปล่อยจำเลยอื่น โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยอื่นตามฟ้อง ส่วนจำเลยคนที่ถูกลงโทษก็อุทธรณ์ขอให้ปล่อย ศาลอุทธรณ์เห็นว่า วันที่หาว่ากระทำผิด ได้ความไม่ตรงกับฟ้อง จึงพิพากษาให้ยกฟ้องปล่อยจำเลยที่อุทธรณ์ไป โดยไม่พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าความผิดทั้ง 2 ฐานที่กล่าวหาว่ากระทำผิดก็เป็นวันเดียวกัน ถ้าตามทางพิจารณาในเรื่องวันกระทำผิด ได้ความแตกต่างกับฟ้องแล้วถึงอย่างไรศาลก็ย่อมลงโทษจำเลยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 หากเป็นเช่นนั้น คดีของโจทก์ก็ไม่จำเป็นที่ศาลจะย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิพากษาใหม่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627-1632/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่ชัดเจนของวันกระทำผิดในฟ้องอาญา ทำให้ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2491 เวลากลางวัน จำเลยนี้ เป็นทหารกองเกินและได้รับหมายเรียกของคณะกรมการอำเภอให้มาให้คณะกรรมการ ตรวจเลือกเข้ากองประจำการทหารจำเลยบังอาจหลีกเลี่ยงไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกตามกำหนดเวลา ทั้งนี้เพื่อจะไม่เข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติ เหตุเกิด ฯลฯดังนี้จำเลยย่อมเข้าใจฟ้องของโจทก์ไม่ได้ดีว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดในวันใด ฟ้องโจทก์จึงไม่ถูกต้องตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158(5) ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1627-1632/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความไม่ชัดเจนของวันกระทำผิดในฟ้องอาญา ทำให้ฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ฟ้องโจทก์กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 เมษายน พ.ศ.2491 เวลากลางวัน จำเลยนี้ เป็นทหารกองเกินและได้รับหมายเรียกของคณะกรมการอำเภอให้มาให้คณะกรรมการ ตรวจเลือกเข้ากองประจำการทหารจำเลยบังอาจหลีกเลี่ยงไม่มาให้คณะกรรมการตรวจเลือกตามกำหนดเวลา ทั้งนี้เพื่อจะไม่เข้ารับราชการทหารกองประจำการตามพระราชบัญญัติ เหตุเกิด ฯลฯดังนี้ จำเลยย่อมเข้าใจฟ้องของโจทก์ไม่ได้ดีว่าโจทก์หาว่าจำเลยกระทำผิดในวันใด ฟ้องโจทก์จึงไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) ศาลต้องพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับใช้กฎหมายภาษีสุรา: กฎหมายที่ใช้ ณ วันกระทำผิดสำคัญกว่ากฎหมายที่ออกภายหลัง
จำเลยขนน้ำสุรา 16 ขวดมีน้ำสุรา 10 ลิตรไปจากเขตท้องที่จังหวัดพระนคร มายังตำบลบางปลาสร้อย อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรี ขณะกล่าวหามีกฎกระทรวงการคลังลงวันที่ 17 กรกฎาคม 2487 ห้ามขนสุราโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเขตท้องที่ที่ระบุไว้ท้ายกฎ แต่ไม่มีระบุถึงจังหวัดพระนคร จำเลยจึงยังไม่มีผิดตามกฎนี้ ต่อมาเมื่อวันที่14 กันยายน 2491 อันเป็นวันหลังจากที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิด ได้มีกฎกระทรวงการคลังยกเลิกกฎกระทรวงการคลังซึ่งออกมาแล้วทุกฉบับ และระบุห้ามขนสุราจากท้องที่ตามที่ระบุไว้ท้ายกฎอันมีจังหวัดพระนครอยู่ด้วย ต่อมาวันที่ 12 ตุลาคม 2491 จึงได้มีกฎกระทรวงการคลังให้ถือเขตจังหวัดแต่ละจังหวัดตาม พ.ร.บ.ปกครองท้องที่ เป็นเขตซึ่งอยู่ในอำนาจและหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้ทำการเก็บภาษีสุรา ซึ่งกฎกระทรวงการคลังที่ออกภายหลังวันที่กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดในคดีนี้ จะใช้บังคับแก่การกระทำของจำเลยในคดีนี้ไม่ได้ จำเลยจึงไม่มีผิด