คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,432 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7035/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานข่มขืนและฆ่าเพื่อปกปิดความผิด: ศาลฎีกาแก้ไขโทษฐานความผิดต่างกรรม
การกระทำความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเรากับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นเพื่อปกปิดความผิดอื่นของตน เป็นความผิดต่างกรรมกัน แต่เมื่อโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาขอให้เพิ่มโทษ ศาลฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตาม ป.อ. มาตรา 276 วรรคแรก อีกกระทงหนึ่งได้ เพราะเป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1 ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ศาลฎีกามีอำนาจปรับบทลงโทษให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7019/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทลงโทษในความผิดอาญา, การลดโทษจำเลย, และอำนาจแก้ไขของศาลฎีกาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคสอง, 72 ทวิ วรรคสอง เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ตามข้อเท็จจริงจึงลงโทษจำเลยตามบทมาตราดังกล่าวได้ การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน ฯ มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง, 72 ทวิ วรรคสอง และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน อันเป็นการปรับบทลงโทษจำเลยไม่ถูกต้อง เมื่อคดีขึ้นมาสู่ศาลฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขโดยปรับบทให้ถูกต้องได้ แต่โจทก์มิได้ฎีกาจึงไม่อาจลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นได้ เพราะต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6974/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับอายุความคดีละเมิดช่วงวันหยุดราชการ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องภายในกำหนด
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 17 กรกฎาคม 2542 เมื่อนับเวลา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือ วันที่ 17 กรกฎาคม 2543 ตรงกับวันเข้าพรรษาเป็นวันหยุดราชการประจำปี และวันที่ 18 กรกฎาคม 2543 เป็นวันหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชาวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ ตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยื่นคำฟ้องคดีนี้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6941/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีถึงที่สุดหลังศาลฎีกายกคำร้องอุทธรณ์ไม่รับฎีกา การขอออกหนังสือสำคัญแสดงคดีถึงที่สุดชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยมิได้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์มาวางศาล ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 ฎีกาคำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 อุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งยกคำร้อง เนื่องจากจำเลยที่ 3 ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับฎีกาเกินกำหนด 15 วัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 234 ประกอบ มาตรา 247 อันมีผลทำให้คำสั่งไม่รับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยที่ 3 ถึงที่สุดนับแต่วันที่ 16 ธันวาคม 2546 ซึ่งเป็นวันที่ได้อ่านคำสั่งศาลฎีกาให้จำเลยที่ 3 ฟัง และถือว่าคดีถึงที่สุดแล้วในวันดังกล่าวตาม ป.วิ.พ. มาตรา 147 วรรคสอง จำเลยที่ 3 จึงไม่อาจมายื่นคำแถลงขอวางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นการเริ่มดำเนินการเพื่อให้กลับไปสู่การวินิจฉัยในเรื่องการรับอุทธรณ์คำพิพากษาของจำเลยที่ 3 ซึ่งถึงที่สุดไปแล้วได้อีก โจทก์ชอบที่จะยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นออกหนังสือสำคัญเพื่อแสดงว่าคดีนี้ถึงที่สุดแล้วได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6698/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินต่อศาลเพื่อฟ้องคดีแรงงาน: ศาลฎีกาตัดสินว่าชอบแล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม ที่กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานสามารถนำคดีไปสู่ศาลแรงงานได้ แต่นายจ้างต้องวางเงินต่อศาลตามจำนวนที่ถึงกำหนดจ่ายตามคำสั่ง จึงจะฟ้องคดีได้นั้น เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่มุ่งถึงสิทธิของลูกจ้างที่จะได้รับเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 จากนายจ้างโดยเร็วเมื่อลูกจ้างชนะคดี อันเป็นการป้องกันไม่ให้นายจ้างหน่วงเหนี่ยวชำระให้แก่ลูกจ้างชักช้า และตามมาตรา 125 วรรคสี่ ยังบัญญัติไว้สอดคล้องกันว่าเมื่อคดีถึงที่สุดลูกจ้างเป็นฝ่ายชนะคดี ให้ศาลมีอำนาจจ่ายเงินที่นายจ้างวางไว้ต่อศาลแก่ลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบังคับคดี ซึ่งเงินที่กฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องนำมาวางศาลเมื่อฟ้องคดี ขอให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวเป็นเงินตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ที่พนักงานตรวจแรงงานเห็นว่าลูกจ้างมีสิทธิที่จะได้รับ จึงมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้าง มิใช่เงินค่าฤชาธรรมเนียมที่ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 27 กำหนดให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระเมื่อฟ้องคดีต่อศาลแรงงานแต่อย่างใด ที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องของโจทก์ เพราะโจทก์ไม่วางเงินต่อศาลตามที่ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 วรรคสาม กำหนดไว้ จึงไม่ขัดต่อ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 27

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6550/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บทกำหนดโทษ พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ และอำนาจแก้ไขโทษของศาลฎีกา
บทกำหนดโทษตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสาม มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่หนึ่งล้านบาทถึงห้าล้านบาท หรือประหารชีวิต ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้ประหารชีวิต และลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 ประกอบด้วยมาตรา 52 คงลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนให้จำคุกตลอดชีวิต และปรับ 1,000,000 บาท ด้วยนั้น ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่วางโทษปรับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6509/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จ, ปลอมแปลงเอกสาร, และความผิดตาม พรบ. ห้างหุ้นส่วนฯ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่าโจทก์มีมูลความผิด
บริษัทโจทก์ที่ 5 เป็นเพียงผู้ให้การสนับสนุนด้านทรัพย์สินและการเงินในกิจการของบริษัทจำเลยที่ 1 เท่านั้น โดยโจทก์ที่ 5 มิได้เป็นผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 ประกอบกับการกระทำของจำเลยทั้งห้าตามคำฟ้องมีผลกระทบโดยตรงต่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 ที่ต้องถูกปรับออกจากการเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 1 เท่านั้น มิได้พาดพิงไปถึงโจทก์ที่ 5 อันจะถือว่าโจทก์ที่ 5 ได้รับความเสียหายโดยตรง สิทธิของโจทก์ที่ 5 มิได้ถูกกระทบกระเทือนเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งห้า โจทก์ที่ 5 จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่มีอำนาจฟ้องในความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมและไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษายกฟ้องโจทก์ที่ 5
จำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการผู้จัดการและผู้ถือหุ้นของบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นประธานที่ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นผู้มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการทำรายงานการประชุมของจำเลยที่ 1 การที่จำเลยที่ 2 ได้จัดให้มีการทำบันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นขึ้นตามหน้าที่ของตนและลงลายมือชื่อตนเองเป็นประธานที่ประชุม มิได้ทำในนามของบุคคลอื่น จึงเป็นเอกสารที่แท้จริงของจำเลยที่ 2 แม้ข้อความในเอกสารจะไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีการประชุมดังกล่าว ก็เป็นการทำเอกสารอันเป็นความเท็จเท่านั้น ไม่ทำให้เป็นเอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 เมื่อการกระทำดังกล่าวไม่เป็นการปลอมเอกสาร การกระทำของจำเลยทั้งห้าจึงไม่เป็นความผิดฐานร่วมกันปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมตามมาตรา 264, 268

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันจำหน่ายยาเสพติดและแก้ไขเลขหมายอาวุธปืน ศาลฎีกาพิพากษาแก้ข้อกฎหมายและบทลงโทษ
เลขหมายประจำปืนไม่ใช่ทะเบียนอาวุธปืนซึ่งเป็นเอกสารที่เจ้าพนักงานจัดทำและมิได้เป็นเอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ จึงไม่ใช่เอกสารราชการและเอกสารสิทธิ การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิหรือเอกสารราชการตาม ป.อ. มาตรา 265 จำเลยที่ 1 คงมีความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก และใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลอนาคตในคดีอุทธรณ์ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าไม่จำเป็นต้องเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มเติม หากคำขอต่อเนื่องจากคำขอหลัก
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารพิพาท และให้จำเลยชำระเงิน 630,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ กับให้จำเลยชำระค่าเสียหายในอัตราเดือนละ 30,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินออกจากอาคารพิพาท จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายกฟ้องของโจทก์ แม้อุทธรณ์ของจำเลยจะมีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในส่วนที่ให้จำเลยชำระดอกเบี้ยกับค่าเสียหายแก่โจทก์นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไปด้วย แต่คำขอในส่วนนี้มิใช่เป็นคำขอให้ชำระค่าเสียหายหรือเงินอื่น ๆ บรรดาที่ให้จ่ายมีกำหนดเป็นระยะเวลาในอนาคตตามตาราง 1 (4) ท้าย ป.วิ.พ. ที่ให้คิดค่าขึ้นศาลหนึ่งร้อยบาทเป็นอีกส่วนหนึ่ง เพราะเป็นคำขอที่มีผลต่อเนื่องจากคำขอที่ให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยและบริวารออกจากอาคารพิพาทอันเป็นคำขอประธานเท่านั้น อุทธรณ์ของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ต้องเสียค่าขึ้นศาลในอนาคตเป็นอีกส่วนหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 571/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยผิดสัญญา (เบี้ยปรับ) และเบี้ยประกันภัยตามสัญญากู้ยืม: ศาลฎีกาวินิจฉัยขอบเขตการเรียกร้อง
สัญญากู้ยืมเงินมีใจความว่า ในระยะ 2 ปีแรก นับแต่วันทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์คิดดอกเบี้ยคงที่ได้เพียงร้อยละ 5.25 ต่อปี เท่านั้น จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นไม่ได้จนกว่าจะล่วงพ้น 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาเว้นแต่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้เมื่อใดไม่ว่าจะอยู่ในช่วง 2 ปี นับแต่วันที่ทำสัญญาหรือหลังจากนั้น โจทก์มีสิทธิปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นได้เสมอ ดังนั้น ดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5.25 ต่อปี ในระยะเริ่มแรกก็ดี และหลังจากล่วงพ้นระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญาก็ดี ล้วนเป็นอุปกรณ์แห่งหนี้ที่โจทก์มีสิทธิได้รับตามข้อสัญญาทั้งสิ้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหรือไม่ จึงเป็นดอกผลนิตินัยตาม ป.พ.พ. มาตรา 148 วรรคสาม แต่สำหรับดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 13.5 ต่อปี ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยหลังจากที่จำเลยตกเป็นผู้ผิดนัด และยังอยู่ในช่วงระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันทำสัญญากู้ ซึ่งโจทก์ยังไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนั้น เป็นการใช้สิทธิตามสัญญาที่ให้สิทธิแก่โจทก์ที่จะเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นได้ในกรณีที่จำเลยผิดนัดไม่ชำระหนี้ จึงเป็นเบี้ยปรับตามมาตรา 379
จำเลยจะมีหน้าที่ตามสัญญากู้ยืมเงินที่จะต้องเอาประกันภัยสิ่งปลูกสร้างที่จำนองไว้แก่โจทก์ โดยจำเลยตกลงให้โจทก์ทำประกันภัยได้เอง และจำเลยยินยอมชำระเบี้ยประกันภัยคืนแก่โจทก์ แต่เบี้ยประกันภัยภายหลังวันฟ้องเป็นหนี้ซึ่งยังไม่ถึงกำหนดชำระอันเป็นหนี้ในอนาคต จะถือว่าจำเลยละเลยเสียไม่ชำระหนี้ยังไม่ได้ จึงยังไม่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์กับจำเลยตามกฎหมายที่จะฟ้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ดังกล่าวได้ โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเบี้ยประกันภัยหลังวันฟ้อง
of 344