คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
สั่งการ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เอกสารปลอมเพื่อย้ายที่อยู่ แม้ไม่ได้ส่งเอกสารเอง แต่สั่งให้ผู้อื่นดำเนินการแทน ก็ถือเป็นความผิด
จำเลยแจ้งย้ายตนเองและบุตรออกจากจังหวัดนครพนมเทศบาลเมืองนครพนมออกใบแจ้งย้ายออก ท.ร. 17 มอบให้แก่จำเลยจำเลยลงชื่อในช่องผู้แจ้งย้ายออกต่อมาเอกสารดังกล่าวในช่องสัญชาติของบิดามารดาของจำเลยและบุตรจำเลยถูกแก้ไขอันเป็นการปลอมเอกสารดังกล่าวในการแจ้งย้ายเข้าบ้านเลขที่ใหม่ถึงแม้จำเลยจะไม่ได้นำเอกสารดังกล่าวไปให้เจ้าหน้าที่งานทะเบียนเขตดุสิตดำเนินการย้ายเข้าแต่บุตรของเจ้าบ้านเป็นผู้นำเอกสารดังกล่าวไปให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการแทนจำเลย เพื่อให้จำเลยได้ย้ายเข้าบ้านดังกล่าว ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ที่ขอให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการ จำเลยจึงได้ชื่อว่าเป็นผู้ใช้เอกสารปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2607/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการสั่งการสืบพยาน และการไม่อนุญาตให้สืบพยานต่างประเทศเมื่อไม่จำเป็น
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งประเด็นไปสืบตัวจำเลยที่ 6 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 10 ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาแล้วต่อมาได้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสียและสั่งให้ตัวจำเลยมาเบิกความที่ศาลแทนการส่งประเด็นนั้น เป็นอำนาจของศาลที่จะสั่งได้ว่าสมควรจะให้สืบพยานหลักฐานใดในศาลหรือนอกศาลตามความจำเป็นแห่งสภาพของพยานหลักฐานหรือจะให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนก็ได้หากศาลเห็นเป็นการจำเป็นดังมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 102 ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่ายังไม่เป็นการจำเป็นที่จะให้ส่งประเด็นไปสืบจำเลยที่ 6 ที่ 8 ที่ 9 และที่ 10 ยังต่างประเทศ ศาลก็ชอบจะไม่อนุญาตได้แม้ศาลจะสั่งอนุญาตแล้ว ก็เพิกถอนได้ คำสั่งของศาลชั้นต้นในเรื่องนี้จึงชอบแล้ว
ศาลให้นำพยานมาสืบที่ศาลที่พิจารณาคดี เมื่อจำเลยมิได้นำพยานมาสืบที่ศาลที่พิจารณาคดีดังที่ศาลสั่ง และมิได้ขอเลื่อนคดี การที่ศาลสั่งว่าคดีเสร็จสำนวนโดยไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานดังกล่าว จึงเป็นคำสั่งที่ชอบเช่นเดียวกัน และหาใช่เป็นเรื่องที่ศาลสั่งงดสืบพยานจำเลยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1128/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษทางวินัยลูกจ้าง กรณีสั่งการงานเพิ่มเติมโดยไม่ได้รับอนุมัติ และความรับผิดชอบในการแก้ไขอุปสรรคโครงการ
โจทก์ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการและวางแผน และผู้อำนวยการโครงการระบบขนส่งมวลชนของจำเลย มีหน้าที่รับผิดชอบพิจารณาแก้ไขอุปสรรคต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานตามโครงการของจำเลย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์เป็นผู้สั่งการให้ บริษัทวิศวกรที่ปรึกษาของจำเลยสำรวจออกแบบเพิ่มเติมนอกเหนือสัญญา แต่กลับได้ความว่า โจทก์ได้สั่งให้บริษัทเสนอราคาทำงานทำความตกลงกับจำเลยก่อนลงมือทำงาน แต่บริษัทได้ทำการสำรวจออกแบบไปก่อนเอง ประกอบกับจำเลยก็มิได้ยอมรับการทำงานเพิ่มของบริษัทและปฏิเสธที่จะจ่ายเงินเพิ่ม ดังนี้จะถือว่าการปฏิบัติงานของโจทก์เป็นการผิดวินัยตามข้อบังคับของจำเลยมิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2961/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์โดยใช้ผู้อื่นขนย้าย: จำเลยสั่งการให้ขนทรัพย์และรับทรัพย์ที่ได้มาโดยรู้ว่าเป็นของร้าย
จำเลยลักใบยาโดยใช้ ร.และก.ขนไปร. ก.ไม่รู้ไม่ได้ร่วมทำผิด จำเลยเป็นผู้ลักทรัพย์ ไม่ใช่ใช้ให้ร.ก.ทำผิดคำของร.ก.มีน้ำหนักให้รับฟังได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำกัดเฉพาะการสั่งตามที่กฎหมายกำหนด ไม่สามารถสั่งจ่ายค่าชดเชยนอกเหนือจากที่กฎหมายบัญญัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ข้อ 75 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ที่ว่า "เมื่อได้รับคำร้องกล่าวหาตามข้อ 74 แล้ว ให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่รับคำร้องกล่าวหา และถ้าปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73 ให้สั่งเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหา กระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีโดยให้นำข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" นั้น เป็นการให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหากระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณี หมายถึงการให้กระทำหรืองดเว้นกระทำในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหากำลังก่อความเดือดร้อนหรือความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าชดเชยอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าคำสั่งที่ 11/2517 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2517 ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบแต่เพียงบางส่วนก็ควรพิพากษาชี้ขาดไปเพียงนั้น ไม่ควรจะพิพากษาบังคับให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ (ลูกจ้าง) นายวิชัยกับพวกรวม 22 คน ตามคำชี้ขาดข้อ 1 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายอีกเพราะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จำกัดเฉพาะการสั่งการตามกฎหมายที่มีอยู่ ไม่สามารถสั่งจ่ายค่าชดเชยนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการแรงงานสัมพันธ์ข้อ 75 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ที่ว่า"เมื่อได้รับคำร้องกล่าวหาตามข้อ 74 แล้ว ให้คณะกรรมการ แรงงานสัมพันธ์พิจารณาและวินิจฉัยชี้ขาดภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ รับคำร้องกล่าวหา และถ้าปรากฏว่าได้มีการฝ่าฝืนข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือ ข้อ 73 ให้สั่งเป็นหนังสือให้ผู้ถูกกล่าวหา กระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีโดยให้นำข้อ 15 ข้อ 16 และข้อ 17 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" นั้น เป็นการให้อำนาจคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์สั่งให้ผู้ถูกกล่าวหากระทำหรืองดเว้นกระทำตามควรแก่กรณีหมายถึงการให้กระทำหรืองดเว้นกระทำในเรื่องที่ผู้ถูกกล่าวหากำลังก่อความเดือดร้อน หรือความเสียหายให้แก่ผู้ร้องเรียนอยู่ตามที่ระบุไว้ในข้อ 70 ข้อ 71 ข้อ 72 หรือข้อ 73
คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่มีอำนาจที่จะสั่งให้ ผู้ถูกกล่าวหาจ่ายค่าชดเชยอื่นนอกเหนือจากที่ระบุไว้ในข้อ 46 ของประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานลงวันที่ 16 เมษายน 2515
ประเด็นแห่งคดีมีเพียงว่าคำสั่งที่ 11/2517 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2517 ของจำเลยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าเป็นคำสั่งที่ชอบแต่เพียงบางส่วนก็ควรพิพากษาชี้ขาดไปเพียงนั้น ไม่ควรจะพิพากษาบังคับให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่ (ลูกจ้าง) นายวิชัยกับพวกรวม 22 คน ตามคำชี้ขาดข้อ 1 ที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าชอบด้วยกฎหมายอีกเพราะเป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการอนุญาตเดินรถประจำทางเป็นของคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง กรมการขนส่งทางบกไม่มีอำนาจสั่งการ
ตามพระราชบัญญัติการขนส่ง อำนาจที่จะกำหนดเส้นทางและจำนวนผู้ประกอบการขนส่งที่จะพึงอนุญาตสำหรับการขนส่งประจำทางเป็นอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งโดยเฉพาะ กรมการขนส่งทางบกจำเลยหามีอำนาจไม่ การที่กรมการขนส่งทางบกจำเลยมีหนังสือแจ้งมติของคณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหารถเมล์เล็กในซอยไปให้โจทก์และทนายโจทก์ทราบว่าคณะอนุกรรมการพิจารณาปัญหารถเมล์เล็กมีมติไม่อนุมัติตามคำร้องขอของโจทก์ที่จะนำรถยนต์เข้าร่วมแล่นรับส่งคนโดยสารในเส้นทางเดินรถ กับบริษัทสหรถเมล์เล็กธนบุรี จำกัด เช่นนี้ กรมการขนส่งทางบกจำเลยยังมิได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227-229/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายอำเภอในการดูแลรักษาสถานที่สาธารณะ และการสั่งให้ผู้บุกรุกออกจากพื้นที่
หนองสาธารณที่ทางราชการหวงห้ามไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ สำหรับคนและสัตว์ใช้อาบกินร่วมกัน นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมการอำเภอที่จะดูแลรักษาตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 ซึ่งต่อมาได้โอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายอำเภอตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2495 มาตรา 40 วรรค 3 นายอำเภอจึงมีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้บุกรุกหนองสาธารณประโยชน์ออกไปจากหนองนั้นได้ ผู้ใดขัดขืนย่อมมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 มาตรา 122 มิได้ถูกยกเลิกหรือขัดแย้งกับประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 และไม่ต้องด้วยพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 163/2489

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกให้เจ้าพนักงานจดข้อความเท็จ ต้องมีการสั่งให้จด มิใช่แค่การให้เอกสารที่มีข้อความเท็จ
การที่จะเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 226 นั้นจะต้องได้ความว่า จำเลยได้บอกให้เจ้าพนักงานผู้มีตำแหน่งทำการตามหน้าที่จดข้อความซึ่งมันรู้อยู่ว่าเป็นเนื้อความเท็จลงในหนังสืออย่างใดๆ ฯลฯ
การที่จำเลยพิมพ์เอกสารนั้นเองทั้งฉบับ นำมาให้เจ้าหน้าที่เซ็นชื่อโดยไม่ได้บอกให้เจ้าหน้าที่จดและเจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้จดตามจำเลยบอกไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2477

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษนอกฟ้อง: การพิพากษาลงโทษจำเลยฐานใช้ผู้อื่นวางเพลิงโดยที่ศาลไม่ฟังว่าจำเลยสั่งการหรือผู้นั้นกระทำการจริง
อย่างไรเรียกว่าเป็นการลงโทษนอกฟ้อง ฟ้องว่าจำเลยจ้างใช้วานผู้หนึ่งไปวางเพลิงพิจารณาได้ความว่าไม่ได้จ้างผู้นี้ และผู้นี้ไม่ได้วางเพลิงถึงหากจะได้ความว่าจ้างผู้อื่นวางเพลิงรายที่เกิดไหม้ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ เพราะเป็นการขัดกันอยู่ในตัวและเป็นการนอกฟ้อง
of 3