พบผลลัพธ์ทั้งหมด 18 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2481
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาการกระทำความผิดฐานหน่วงเหนี่ยว/กักขัง: การไล่ฟันด้วยมีดไม่ถือเป็นเจตนาทำให้ปราศจากอิสระ
+มีดไล่ฟันเขาจนเขา+วิ่งหนี ไม่ถือว่ามีเจตนากระทำให้เขาปราศจากความเป็นอิสสระแก่ตน+ทำนองหน่วงเหนี่ยว+ขังตาม ม. ก.ม.อาญา 270
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2082/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้เครื่องหมายการค้าชุด การใช้เครื่องหมายแต่ละเครื่องหมายเป็นอิสระ การเพิกถอนเครื่องหมายจากการไม่ใช้
การแสดงปฏิเสธไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรโรมัน SM ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 17 ย่อมทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในอันที่จะใช้อักษรโรมัน SM แต่อักษรโรมัน SM ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้
การพิจารณาว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ หรือไม่ยังต้องพิจารณาทั้งเครื่องหมาย ไม่ใช่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใด ดังนั้น แม้โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า VITARAL S.M. ไวตารอล เอส.เอ็ม. ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว หรือ VITANA - EZ ที่อยู่ระหว่างการขอจดทะเบียน แต่เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ก็ถือไม่ได้ว่า การใช้เครื่องหมายการค้า VITARAL S.M. ไวตารอล เอส.เอ็ม. หรือ VITANA - EZ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ไปด้วยเพราะต่างเครื่องหมายกัน การใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้าใดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 63 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนไว้ ไม่อาจอ้างการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นกับสินค้าที่จดทะเบียนไว้มาเป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
การที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 50 บัญญัติว่า "เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นเครื่องหมายชุดนั้นจะโอนหรือรับมรดกกันได้ ต่อเมื่อเป็นการโอนหรือรับมรดกกันทั้งชุด" นั้น เป็นเรื่องการโอนหรือสืบสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่โอนหรือตกทอดกันทางมรดกได้ ไม่ได้มีผลทำให้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน และไม่เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่อาจถูกเพิกถอนตามกฎหมายเนื่องจากการไม่ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ เพราะความมุ่งหมายของกฎหมายนั้นเป็นไปเพื่อให้สิทธิและความคุ้มครองแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่มีการใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ไม่ใช่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เพียงเพื่อกีดกันผู้อื่น การจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดจึงไม่มีผลทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมายสำหรับเครื่องหมายการค้าแต่ละเครื่องหมาย
แม้ตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดจะใช้ข้อความสรุปว่าขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1) เช่นกันก็ตาม แต่ตามเนื้อหาของคำร้องสอดอ้างเหตุผลว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่สั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ของโจทก์ตามคำร้องขอของผู้ร้องสอดชอบแล้ว อันเป็นกรณีร้องขอเข้ามาในคดีเพราะตนมีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) มิใช่กรณีตามมาตรา 57 (1) แต่อย่างใด และเป็นเรื่องต้องถือตามเนื้อหาแห่งคำร้องสอดดังกล่าวมาเป็นสำคัญ ซึ่งย่อมมิใช่กรณีที่ร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
การพิจารณาว่าโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ หรือไม่ยังต้องพิจารณาทั้งเครื่องหมาย ไม่ใช่เพียงส่วนหนึ่งส่วนใด ดังนั้น แม้โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้า VITARAL S.M. ไวตารอล เอส.เอ็ม. ที่ได้รับการจดทะเบียนไว้แล้ว หรือ VITANA - EZ ที่อยู่ระหว่างการขอจดทะเบียน แต่เมื่อไม่ได้ใช้เครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ก็ถือไม่ได้ว่า การใช้เครื่องหมายการค้า VITARAL S.M. ไวตารอล เอส.เอ็ม. หรือ VITANA - EZ เป็นการใช้เครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ไปด้วยเพราะต่างเครื่องหมายกัน การใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้าใดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 63 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับการใช้หรือไม่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นกับรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนไว้ ไม่อาจอ้างการใช้เครื่องหมายการค้าอื่นกับสินค้าที่จดทะเบียนไว้มาเป็นการใช้เครื่องหมายการค้านั้นได้
การที่ พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 50 บัญญัติว่า "เครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เป็นเครื่องหมายชุดนั้นจะโอนหรือรับมรดกกันได้ ต่อเมื่อเป็นการโอนหรือรับมรดกกันทั้งชุด" นั้น เป็นเรื่องการโอนหรือสืบสิทธิในเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่โอนหรือตกทอดกันทางมรดกได้ ไม่ได้มีผลทำให้เครื่องหมายการค้าทั้งหมดของโจทก์เป็นเครื่องหมายการค้าเดียวกัน และไม่เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขที่อาจถูกเพิกถอนตามกฎหมายเนื่องจากการไม่ใช้เครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ เพราะความมุ่งหมายของกฎหมายนั้นเป็นไปเพื่อให้สิทธิและความคุ้มครองแก่เจ้าของเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนที่มีการใช้เครื่องหมายนั้นกับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและสังคม ไม่ใช่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้เพียงเพื่อกีดกันผู้อื่น การจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายชุดจึงไม่มีผลทำให้เจ้าของเครื่องหมายการค้าไม่จำต้องดำเนินการตามขั้นตอนตามกฎหมายสำหรับเครื่องหมายการค้าแต่ละเครื่องหมาย
แม้ตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดจะใช้ข้อความสรุปว่าขอร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามมาตรา 57 (1) เช่นกันก็ตาม แต่ตามเนื้อหาของคำร้องสอดอ้างเหตุผลว่า คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่สั่งให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า VITANA - SM ไวตานา - เอสเอ็ม ของโจทก์ตามคำร้องขอของผู้ร้องสอดชอบแล้ว อันเป็นกรณีร้องขอเข้ามาในคดีเพราะตนมีส่วนได้เสียตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) มิใช่กรณีตามมาตรา 57 (1) แต่อย่างใด และเป็นเรื่องต้องถือตามเนื้อหาแห่งคำร้องสอดดังกล่าวมาเป็นสำคัญ ซึ่งย่อมมิใช่กรณีที่ร้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17597-17598/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้างลูกจ้าง: ผู้บริหารที่ได้รับมอบหมายให้บริหารบริษัทลูก ไม่ถือเป็นลูกจ้าง
แม้บริษัท พ. ซึ่งเป็นบริษัทแม่จะถือหุ้นร้อยเปอร์เซ็นต์ของบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นบริษัทลูกก็ตาม แต่ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากกัน การที่โจทก์ซึ่งดำรงตำแหน่งกรรมการรองผู้จัดการของบริษัท พ. อยู่แล้วได้รับมอบหมายจากบริษัท พ. ให้ไปปฏิบัติงานในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 ด้วย การที่โจทก์ไปดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ ย่อมมีอำนาจในการบริหารวางแผนและมีอำนาจสูงสุด จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 มิได้แต่งตั้งโจทก์ให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว โจทก์จึงมิใช่ผู้ที่ต้องทำงานภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 แม้ค่าตอบแทนในการบริหารงานที่โจทก์ได้รับจากการบริหารงานในบริษัทต่าง ๆ หลายบริษัทซึ่งรวมทั้งเงินที่ได้รับจากจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 อยู่ด้วย ก็เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับสูงบริษัทกลุ่ม พ. กำหนดไว้ว่าจะได้รับจากบริษัทใดจำนวนเท่าใด ไม่ทำให้เข้าใจไปได้ว่าจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 กำหนดค่าตอบแทนให้แก่โจทก์จำนวนเท่าใดได้เอง ส่วนการหักภาษีเงินได้และเงินกองทุนประกันสังคมในแต่ละบริษัทเห็นได้ว่าเป็นการคำนวณจากค่าตอบแทนที่โจทก์ได้รับจากการที่ผู้บริหารระดับสูงบริษัทกลุ่ม พ. กำหนดให้กระจายความรับผิดชอบไปให้แต่ละบริษัทที่โจทก์เข้าไปบริหารงานนั่นเอง เมื่อโจทก์มิใช่ผู้ที่ต้องทำงานภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 แต่กลับเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ไปเป็นผู้บริหารงานและมีอำนาจสูงสุดในการบริหารบริษัทจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3 เช่นนี้ โจทก์จึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20056/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันอิสระจากสัญญาหลัก: ศาลฎีกาวินิจฉัยการจำหน่ายคดีไม่ชอบ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันยอมผูกพันตนเองโดยไม่มีเงื่อนไขที่จะค้ำประกันชนิดเพิกถอนไม่ได้เช่นเดียวกับลูกหนี้ชั้นต้นในการชำระเงินตามสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างในกรณีที่ผู้รับจ้างก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ หรือต้องชำระค่าปรับหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ หรือผู้รับจ้างมิได้ปฏิบัติตามภาระหน้าที่ใด ๆ ที่กำหนดในสัญญาจ้าง โดยจำเลยจะไม่อ้างสิทธิใด ๆ เพื่อโต้แย้งและโจทก์ไม่จำต้องเรียกร้องให้ผู้รับจ้างชำระหนี้นั้นก่อน ดังนั้น หากเป็นไปตามข้ออ้าง การค้ำประกันตามหนังสือค้ำประกันท้ายฟ้องย่อมไม่ใช่การผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่งเพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระ แต่เป็นการค้ำประกันที่จำเลยมีความผูกพันจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์โดยเคร่งครัดอย่างลูกหนี้ชั้นต้นเมื่อมีการทวงถามตามเงื่อนไขโดยไม่อาจอ้างเหตุใด ๆ ระหว่างโจทก์กับจำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับจ้างขึ้นปลดเปลื้องความรับผิดได้ และความรับผิดของจำเลยในกรณีนี้จะไม่ขึ้นอยู่กับความรับผิดของจำเลยร่วม สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของโจทก์และจำเลยตามหนังสือค้ำประกันที่พิพาทกันในคดีนี้เป็นเอกเทศและต้องพิจารณาแยกต่างหากจากสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง ส่วนผลแห่งการบังคับตามสัญญานี้จะกระทบถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของจำเลยและจำเลยร่วมตามคำขอให้ออกหนังสือค้ำประกันที่พิพาท หรือกระทบถึงสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดของโจทก์และจำเลยร่วมตามสัญญาว่าจ้างก่อสร้างอย่างไร เป็นเรื่องที่ต้องว่ากล่าวกันต่างหาก
การเรียกบุคคลมาเป็นจำเลยร่วมเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
การเรียกบุคคลมาเป็นจำเลยร่วมเป็นเรื่องอำนาจฟ้องอันเป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2231-2233/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นกลางของอนุญาโตตุลาการเป็นหลักประกันความยุติธรรม การไม่เปิดเผยข้อมูลการถือหุ้นถือเป็นเหตุแห่งความไม่เป็นอิสระ
ความเป็นกลางและเป็นอิสระของอนุญาโตตุลาการถือเป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะเป็นหลักประกันความยุติธรรมให้แก่คู่พิพาท หากอนุญาโตตุลาการปราศจากเสียซึ่งความเป็นกลางและเป็นอิสระแล้ว คู่พิพาทก็จะไม่ได้รับความเป็นธรรมและกระบวนการอนุญาโตตุลาการก็จะไม่ได้รับการยอมรับ บทบัญญัตินี้จึงเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านที่ 1 ไม่ใช่ผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 จึงไม่มีเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางและเป็นอิสระของผู้คัดค้านที่ 1 ในการปฏิบัติหน้าที่อนุญาโตตุลาการเพื่อพิจารณาข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ดังนั้น การที่ผู้ร้องทั้งสามสำนวนอุทธรณ์คัดค้านว่าผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งได้รับเลือกเป็นประธานอนุญาโตตุลาการขาดความเป็นกลางและเป็นอิสระ จึงเป็นการกล่าวอ้างคัดค้านว่าคำสั่งศาลชั้นต้นขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 45 (2) แห่งพ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อโอนหุ้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมต้องรู้อยู่ก่อนแล้วว่าหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ออกในนามของตนเอง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะเห็นว่าตนไม่มีส่วนได้เสียในการซื้อหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 แต่ผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งอาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของตนให้คู่พิพาททราบ การที่ผู้คัดค้านไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการขัดต่อหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการรวมทั้งเป็นประธานอนุญาโตตุลาการได้
ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ลงชื่อโอนหุ้นให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาย่อมต้องรู้อยู่ก่อนแล้วว่าหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 ออกในนามของตนเอง แม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะเห็นว่าตนไม่มีส่วนได้เสียในการซื้อหุ้นของผู้คัดค้านที่ 3 และที่ 5 แต่ผู้คัดค้านที่ 1 ก็มีหน้าที่ต้องเปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวซึ่งอาจเป็นเหตุอันควรสงสัยถึงความเป็นกลางหรือความเป็นอิสระของตนให้คู่พิพาททราบ การที่ผู้คัดค้านไม่เปิดเผยข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการขัดต่อหน้าที่ของอนุญาโตตุลาการตามมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อาจทำหน้าที่เป็นอนุญาโตตุลาการรวมทั้งเป็นประธานอนุญาโตตุลาการได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11727/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตุลาการมีอิสระในการพิจารณาคดี การฟ้องละเมิดจากคำสั่งศาลต้องเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือมิชอบ
โจทก์ทั้งสามยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้ซึ่งเป็นศาลยุติธรรม โดยยืนยันมาในคำฟ้องว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งไม่ใช่คดีปกครอง ซึ่งแสดงถึงเจตนาของโจทก์ทั้งสามว่าไม่มีความประสงค์ที่จะนำคดีนี้ไปฟ้องที่ศาลปกครอง และการพิจารณาวินิจฉัยคดีตลอดจนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลปกครองกลางโดยจำเลยทั้งสี่ในฐานะตุลาการศาลปกครองกลางตามที่โจทก์ทั้งสามฟ้องว่า จำเลยทั้งสี่กระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามนั้น เป็นการใช้อำนาจตุลาการมิใช่เป็นการใช้อำนาจทางปกครองหรือการดำเนินกิจการทางปกครอง คำสั่งจำหน่ายคดีของศาลปกครองกลางดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งทางปกครองซึ่งไม่เข้ากรณีคดีพิพาทตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 9 (1) ถึง (6) คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง แต่อยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 271 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุและขณะที่โจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา 233 อันเป็นบทบัญญัติในหมวด 8 ศาล ส่วนที่ 1 บททั่วไป บัญญัติว่า "การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นอำนาจของศาลซึ่งต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์" ทั้งยังมีบทบัญญัติในส่วนเดียวกัน มาตรา 249 รับรองอำนาจอิสระในการทำหน้าที่ของศาลด้วย ดังนี้
"ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
การจ่ายสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาและตุลาการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ
การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา"
ตามบทบัญญัติในมาตรา 233 และมาตรา 249 ดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบมาตรา 277 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทบัญญัติหมวด 8 ศาล ส่วนที่ 4 ศาลปกครอง ที่บัญญัติว่า "การแต่งตั้งและการให้ตุลาการในศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติก่อน แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล" ย่อมมีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประสงค์ที่จะปกป้องคุ้มครองผู้พิพากษาและตุลาการในศาลทั้งหลายรวมทั้งตุลาการศาลปกครองให้สามารถทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้อย่างมีอิสระ ปราศจากการแทรกแซงครอบงำของบุคคล องค์กร หรืออำนาจอื่นใดทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการสามารถดำรงสถานะของความเป็นกลางในการทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความในคดีได้อย่างแท้จริง ยิ่งกว่านั้นเพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการสามารถทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีได้อย่างเป็นอิสระไม่ต้องกังวลหวั่นเกรงว่าจะต้องรับผิดต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาและตุลาการผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้รอดพ้นจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำตัดสินชี้ขาดของศาล ดังนั้น อำนาจในการวินิจฉัยประเด็นปัญหาแห่งคดีจึงเป็นอำนาจอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการ บุคคลใดจะฟ้องร้องให้ผู้พิพากษาหรือตุลาการรับผิดจากการใช้อำนาจทางตุลาการไม่ได้ เว้นแต่การใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือโดยมิชอบด้วยหน้าที่เท่านั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ โจทก์ทั้งสามมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยทั้งสี่ในฐานะตุลาการศาลปกครองกลางพิจารณาออกคำสั่งและวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีโดยทุจริตหรือโดยมิชอบด้วยหน้าที่ เพียงแต่กล่าวอ้างว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยทั้งสี่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดี จำเลยทั้งสี่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีด้วยซึ่งเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 132 โดยชัดแจ้งเท่านั้น อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์ทั้งสามไม่พอใจและไม่เห็นพ้องด้วยในผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง ก็ชอบที่โจทก์ทั้งสามจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อตรวจสอบทบทวนแก้ไขให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสามต่อไปได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 73 ประกอบ มาตรา 11 (4) ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามที่โจทก์ทั้งสามบรรยายมาในฟ้องจึงหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้ในชั้นตรวจคำฟ้องโดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสาม ประกอบมาตรา 131 (2)
"ผู้พิพากษาและตุลาการมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของผู้พิพากษาและตุลาการไม่อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาตามลำดับชั้น
การจ่ายสำนวนคดีให้ผู้พิพากษาและตุลาการ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายบัญญัติ
การเรียกคืนสำนวนคดีหรือการโอนสำนวนคดีจะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นกรณีที่จะกระทบกระเทือนต่อความยุติธรรมในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี
การโยกย้ายผู้พิพากษาและตุลาการโดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้พิพากษาและตุลาการนั้น จะกระทำมิได้ เว้นแต่เป็นการโยกย้ายตามวาระตามที่กฎหมายบัญญัติ เป็นการเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น เป็นกรณีที่อยู่ในระหว่างถูกดำเนินการทางวินัย หรือตกเป็นจำเลยในคดีอาญา"
ตามบทบัญญัติในมาตรา 233 และมาตรา 249 ดังกล่าว เมื่อพิจารณาประกอบมาตรา 277 วรรคหนึ่ง อันเป็นบทบัญญัติหมวด 8 ศาล ส่วนที่ 4 ศาลปกครอง ที่บัญญัติว่า "การแต่งตั้งและการให้ตุลาการในศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติก่อน แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล" ย่อมมีนัยสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ประสงค์ที่จะปกป้องคุ้มครองผู้พิพากษาและตุลาการในศาลทั้งหลายรวมทั้งตุลาการศาลปกครองให้สามารถทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีได้อย่างมีอิสระ ปราศจากการแทรกแซงครอบงำของบุคคล องค์กร หรืออำนาจอื่นใดทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการสามารถดำรงสถานะของความเป็นกลางในการทำหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอำนวยความยุติธรรมให้แก่คู่ความในคดีได้อย่างแท้จริง ยิ่งกว่านั้นเพื่อให้ผู้พิพากษาและตุลาการสามารถทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีได้อย่างเป็นอิสระไม่ต้องกังวลหวั่นเกรงว่าจะต้องรับผิดต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาและตุลาการผู้ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้รอดพ้นจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำตัดสินชี้ขาดของศาล ดังนั้น อำนาจในการวินิจฉัยประเด็นปัญหาแห่งคดีจึงเป็นอำนาจอิสระของผู้พิพากษาหรือตุลาการ บุคคลใดจะฟ้องร้องให้ผู้พิพากษาหรือตุลาการรับผิดจากการใช้อำนาจทางตุลาการไม่ได้ เว้นแต่การใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือโดยมิชอบด้วยหน้าที่เท่านั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ทั้งสามในคดีนี้ โจทก์ทั้งสามมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏว่า จำเลยทั้งสี่ในฐานะตุลาการศาลปกครองกลางพิจารณาออกคำสั่งและวินิจฉัยประเด็นแห่งคดีโดยทุจริตหรือโดยมิชอบด้วยหน้าที่ เพียงแต่กล่าวอ้างว่าคำสั่งจำหน่ายคดีของจำเลยทั้งสี่ไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะก่อนมีคำสั่งจำหน่ายคดี จำเลยทั้งสี่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีด้วยซึ่งเป็นการขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 132 โดยชัดแจ้งเท่านั้น อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์ทั้งสามไม่พอใจและไม่เห็นพ้องด้วยในผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลปกครองกลาง ก็ชอบที่โจทก์ทั้งสามจะใช้สิทธิอุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาลปกครองกลางต่อศาลปกครองสูงสุดเพื่อตรวจสอบทบทวนแก้ไขให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสามต่อไปได้ ทั้งนี้ ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 73 ประกอบ มาตรา 11 (4) ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ตามที่โจทก์ทั้งสามบรรยายมาในฟ้องจึงหาเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสามไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะพิพากษายกฟ้องของโจทก์ทั้งสามได้ในชั้นตรวจคำฟ้องโดยไม่จำต้องมีคำสั่งรับฟ้องไว้ก่อน ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสาม ประกอบมาตรา 131 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8203/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมอิสระจากคำชี้ขาด กกต. ในคดีเลือกตั้ง – ค่าเสียหายการเลือกตั้งใหม่
การใช้อำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นไปตามบริบทเฉพาะในส่วนของการจัดการการเลือกตั้งตามอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง มาตรฐานของดุลพินิจก็เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง ดังเช่นกรณีมาตรา 97 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2545 บัญญัติว่า เมื่อคณะกรรมการการเลือกตั้งได้ประกาศผลการเลือกตั้งแล้ว หากภายหลังมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการใดๆ โดยไม่สุจริตเพื่อให้ตนเองได้รับเลือกตั้ง ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งมีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้นั้น และผลของการพิจารณาชี้ขาดก็เป็นไปตามกฎหมายเลือกตั้ง แต่เมื่อมีการนำคดีมาฟ้องที่ศาลยุติธรรม ศาลยุติธรรมย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในบริบทของกระบวนพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม ไม่มีกฎหมายใดกำหนดบังคับให้ศาลยุติธรรมจะต้องผูกพันตามคำชี้ขาดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา มาตรฐานในการวินิจฉัยคดีของศาลยุติธรรมก็แตกต่างจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ฉะนั้นศาลยุติธรรมย่อมมีคำวินิจฉัยข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3884/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พยานหลักฐานประกอบคำซัดทอด – บันทึกถ้อยคำไต่สวนไม่ถือเป็นพยานหลักฐานอิสระ
แม้คำเบิกความของ ส. จะสอดคล้องกับบันทึกถ้อยคำที่ ส. ให้ถ้อยคำไว้ในชั้นไต่สวนข้อเท็จจริงของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติประจำจังหวัดมุกดาหารดังที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัย แต่บันทึกถ้อยคำของ ส. ดังกล่าวไม่ใช่พยานหลักฐานอื่นที่มีแหล่งที่มาเป็นอิสระต่างหากจากคำเบิกความของ ส. อันเป็นพยานหลักฐานที่ต้องการพยานหลักฐานประกอบนั้น ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 227/1 วรรคสอง คำเบิกความของ ส. ที่มีลักษณะเป็นคำซัดทอดจึงไม่มีพยานหลักฐานอื่นมารับฟังประกอบเพื่อลงโทษจำเลยได้