พบผลลัพธ์ทั้งหมด 55 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1337/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีอาญา: การสนับสนุนมิให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ vs. การถูกเรียกเงินภายหลัง
โจทก์กล่าวอ้างว่า จำเลยเรียกร้องเงินจากโจทก์ครั้งแรกในวันที่ 6 มิถุนายน 2531 โจทก์เองก็ได้ยอมรับว่าได้ต่อรองจำนวนเงินและตกลงให้เงินแก่จำเลยจำนวน 15,000 บาท ถือได้ว่าโจทก์สมัครใจมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้จำเลยเพื่อไม่ต้องการให้จำเลยส่งเรื่องแบ่งแยกที่ดินไปกระทรวงดังจำเลยอ้าง โจทก์จึงมีส่วนสนับสนุนไม่ให้จำเลยกระทำการตามหน้าที่ดังกล่าว โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายไม่มีอำนาจฟ้อง แต่ที่โจทก์กล่าวอ้างว่า ในวันที่ 9 มิถุนายน2532 จำเลยได้เรียกร้องเงินจากโจทก์อีกเป็นครั้งที่สองจำนวน 4,000 บาทจำเลยจึงจะมอบ น.ส.3 ก. ที่แบ่งแยกให้โจทก์นั้น โจทก์ไม่ยินยอมมอบเงินแก่จำเลยแต่อย่างใด โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3837/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินตามเช็ค: ผู้ทรงเช็ค vs. ผู้สลักหลัง
เช็คพิพาทจำเลยสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ย่อมโอนไปเพียงด้วยส่งมอบให้กันตาม ป.พ.พ.มาตรา 918, 989 การที่โจทก์สลักหลังเช็คพิพาทแล้วนำไปขายลดให้แก่ธนาคารย่อมเป็นเพียงประกัน(อาวัล) สำหรับผู้สั่งจ่ายตาม ป.พ.พ. มาตรา 921, 989 เมื่อเช็คพิพาทเรียกเก็บเงินไม่ได้ โจทก์ได้ชำระเงินให้แก่ธนาคารและเข้าถือเอาเช็คนั้นกลับคืนมา โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตาม ป.พ.พ. มาตรา904 จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองผู้สั่งจ่ายภายในอายุความ 1 ปี นับแต่วันเช็คถึงกำหนดตาม ป.พ.พ.มาตรา 1002 กรณีไม่ต้องด้วยมาตรา 1003 ซึ่งมีอายุความ 6 เดือน นับแต่วันที่ผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงินและใช้เงิน เพราะโจทก์มิใช่ผู้สลักหลัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2015/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงวันที่เช็คพิพาทโดยผู้จัดการมรดก และอายุความฟ้องร้องเรียกเงินตามเช็ค
จำเลยนำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจาก ช.โดยไม่ได้ลงวันเดือน ปี ที่ออกเช็คไว้ แต่มีพฤติการณ์ที่แสดงว่าจำเลยยอมให้ช.ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาทแล้วนำไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คได้เองเมื่อต้องการเงินคืน ช.ถึงแก่ความตายเสียก่อนที่จะนำเช็คพิพาทไปเรียกเก็บเงิน โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ช.จึงได้ลงวัน เดือน ปี ในเช็คพิพาททั้ง 10 ฉบับ แล้วนำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงิน ถือได้ว่าเป็นการลงวันที่ออกเช็คที่ถูกต้องแท้จริงโดยสุจริตตามข้อตกลง ซึ่งโจทก์ชอบที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 910 ประกอบมาตรา 989 โจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายและสลักหลังให้รับผิดชำระเงินตามเช็คพิพาท ซึ่งลงวันที่ 26 มีนาคม 2527 อันเป็นวันตามที่ถูกต้องแท้จริงและเป็นวันกำหนดชำระเงิน ภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันที่ลงในเช็คดังกล่าวคดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ จำเลยให้การรับว่า จำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทและเป็นผู้สลักหลังเช็คพิพาท ทั้งมิได้โต้เถียงว่าธนาคารตามเช็คไม่ได้ปฏิเสธการจ่ายเงิน ฉะนั้น โจทก์ทั้งสองจึงไม่ต้องส่งอ้างเช็คพิพาทเป็นพยานหลักฐานอีก เพราะเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยอมรับแล้ว ดังนั้น แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ก็รับฟังได้ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายและสลักหลังเช็คพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 199/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อทวงถาม: สิทธิของผู้ทรงในการฟ้องเรียกเงิน
การที่โจทก์ซึ่ง เป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม มีหนังสือทวงถามให้จำเลยที่ ๑ ผู้ออกตั๋วและจำเลยที่ ๒ ผู้รับอาวัล ใช้เงินตาม ตั๋วสัญญาใช้เงินแล้ว แต่จำเลยทั้งสองไม่ชำระ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้เงินได้ เพราะตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงินเมื่อทวงถาม ไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๔๔ และมาตรา ๙๘๕ วรรคแรก ที่ผู้ทรงจะต้อง นำตั๋ว ยื่นเพื่อให้ใช้เงินภายใน ๖ เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3679/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ ขู่เข็ญเรียกเงินจากผู้ประกอบการ และข่มขู่เรียกเงินซ้ำ
การที่ผู้บังคับบัญชามีคำสั่งให้นายตรวจสรรพสามิตแยกกันออกตรวจร้านค้าสุราในท้องที่ตามเขตที่กำหนดนั้นเป็นเรื่องของการแบ่งงานเพื่อความเหมาะสมในการปฏิบัติราชการเท่านั้น หาเป็นการจำกัดอำนาจหน้าที่ในการตรวจร้านค้าสุราในท้องที่เขตอื่นไม่และการตรวจร้านค้าสุราก็มิใช่การปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ราชการ ซึ่งโดยปกติจะกระทำในระหว่างเวลาราชการทั้งไม่ปรากฏว่านายตรวจสรรพสามิตจะต้องปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเวลาราชการดังนั้นการที่จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3ซึ่งเป็นนายตรวจสรรพสามิตได้ไปที่ร้านค้าสุราของผู้เสียหายซึ่งอยู่นอกเขตท้องที่ที่ตนได้รับมอบหมายให้ไปตรวจและไปหลังเวลาราชการ โดยเรียกผู้เสียหายออกจากร้านมาพบที่รถยนต์ แล้วพูดว่าจะจับสุราของผู้เสียหายไปนั้น ก็ต้องถือว่าเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่นั่นเองหาใช่เป็นการกระทำส่วนตัวไม่และเมื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้เสียหายจ่ายเงินเป็นค่าตอบแทนเพื่อจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 จะไม่จับ ทั้งที่ไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายทำผิดกฎหมายอย่างไรนั้น ย่อมเป็นการใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบอันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 แล้ว
ส่วนที่พวกจำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า ถ้าไม่จ่ายเงินจะจับสุราที่ร้านค้าของผู้เสียหายและจะจับเดือนละ 2 ครั้งโดยได้ความว่าก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยได้มาขู่เอาเงินไปแล้ว 2 ครั้งและผู้เสียหายพูดต่อรองไม่ให้จับ เพราะกลัวลูกค้าจะเข้าใจผิดว่าขายสุราผิดกฎหมายแล้วผู้เสียหายจ่ายเงินให้พวกจำเลยไปนั้นเป็นการจ่ายเงินให้ไปด้วยความกลัวที่เกิดจากถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะแกล้งจับสุราในร้านนั่นเองมิใช่ผู้เสียหายจะไม่มีมูลเหตุต้องกลัวเพราะไม่ได้มีสุราผิดกฎหมาย การกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337
ส่วนที่พวกจำเลยพูดกับผู้เสียหายว่า ถ้าไม่จ่ายเงินจะจับสุราที่ร้านค้าของผู้เสียหายและจะจับเดือนละ 2 ครั้งโดยได้ความว่าก่อนเกิดเหตุพวกของจำเลยได้มาขู่เอาเงินไปแล้ว 2 ครั้งและผู้เสียหายพูดต่อรองไม่ให้จับ เพราะกลัวลูกค้าจะเข้าใจผิดว่าขายสุราผิดกฎหมายแล้วผู้เสียหายจ่ายเงินให้พวกจำเลยไปนั้นเป็นการจ่ายเงินให้ไปด้วยความกลัวที่เกิดจากถูกพวกจำเลยขู่เข็ญว่าจะแกล้งจับสุราในร้านนั่นเองมิใช่ผู้เสียหายจะไม่มีมูลเหตุต้องกลัวเพราะไม่ได้มีสุราผิดกฎหมาย การกระทำของพวกจำเลยจึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2760/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คที่ไม่สุจริตขาดอำนาจฟ้องเรียกเงินตามเช็คได้
โจทก์รับสมอ้างเป็นผู้ทรงเช็คผู้ถือและนำเช็คมาฟ้องเรียกเงินจากจำเลยโจทก์จึงไม่ใช่ผู้ทรงเช็คโดยสุจริตโจทก์ย่อมไม่มีมูลหนี้ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระเงินตามเช็คนั้นแก่ตนได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1829/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่เรียกเงินโดยอาศัยเครื่องแบบข้าราชการเข้าข่มขู่ ถือเป็นความผิดฐานกรรโชก
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งแต่งเครื่องแบบข้าราชการกรมป่าไม้กับจำเลยที่ 2 เข้าไปในบ้านของผู้เสียหายขณะผู้เสียหายกำลังทำหน้าต่างด้วยไม้สักที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายอยู่ แล้วจำเลยที่ 1 พูดว่า เอาเงินมา 1,000 บาทถ้าไม่ให้จะเสียเงินมากกว่านี้ นั้น ถือได้ว่าคำพูดดังกล่าวประกอบกับการแต่งเครื่องแบบข้าราชการ เป็นการข่มขู่เรียกร้องเอาเงินจากผู้เสียหายอยู่ในตัวและผู้เสียหายยอมมอบเงินให้จำเลยทั้งสองไป 500 บาท จำเลยทั้งสองจึงมีความผิดฐานกรรโชก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรโชกด้วยการข่มขู่ว่าจะฆ่าและเรียกเงินเพื่อแลกกับความปลอดภัยของผู้เสียหาย แม้ผู้เสียหายวางแผนจับกุมก็เป็นความผิดสำเร็จ
จำเลยบอกผู้เสียหายว่ามีคนจ้างจำเลยฆ่าผู้เสียหาย แต่ไม่บอกชื่อคนจ้าง พร้อมกันนั้นจำเลยขอเงินผู้เสียหาย ถ้าหากไม่ให้ก็จะไม่รับรองความปลอดภัย ผู้เสียหายตกลงยอมให้และนัดมาเอาเงินในวันรุ่งขึ้น คำพูดของจำเลยดังกล่าวเป็นการข่มขู่ผู้เสียหายให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินแก่จำเลย อันเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้ว แม้จะใช้คำว่า 'ขอ' และ 'เพื่อบอกชื่อผู้ที่จ้างฆ่า' ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการข่มขู่เท่านั้น หาทำให้การข่มขู่นั้นกลายเป็นการเรียกร้องเงินเพื่อตอบแทนการบอกชื่อผู้ว่าจ้างฆ่าผู้เสียหายไม่
มาตรา 192 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า ข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด จำเลยยอมรับว่าตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยได้ไปขอเงินผู้เสียหายและผู้เสียหายยอมตกลงจะให้เงินจำเลยจริงเพียงแต่จำเลยอ้างว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในเรื่องเวลา ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเวลากลางวัน แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน ศาลก็ลงโทษจำเลยได้
จำเลยข่มขืนใจโดยการข่มขู่จนผู้เสียหายยอมจะให้เงินแก่จำเลยและนัดมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ถือได้ว่าการกรรโชกได้สำเร็จแล้วแม้ผู้เสียหายจะยินยอมเพื่อต้องการรู้ตัวผู้จ้างจำเลยและได้นำเจ้าหน้าที่มาคอยจับจำเลยเมื่อมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ก็หาทำให้เป็นความผิดฐานพยายามไม่
โจทก์มิได้ฎีกาขอเพิ่มโทษจำเลย ศาลฎีกาจะลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามิได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย แต่ศาลฎีกาวางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
มาตรา 192 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า ข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด จำเลยยอมรับว่าตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยได้ไปขอเงินผู้เสียหายและผู้เสียหายยอมตกลงจะให้เงินจำเลยจริงเพียงแต่จำเลยอ้างว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในเรื่องเวลา ดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเวลากลางวัน แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน ศาลก็ลงโทษจำเลยได้
จำเลยข่มขืนใจโดยการข่มขู่จนผู้เสียหายยอมจะให้เงินแก่จำเลยและนัดมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ถือได้ว่าการกรรโชกได้สำเร็จแล้วแม้ผู้เสียหายจะยินยอมเพื่อต้องการรู้ตัวผู้จ้างจำเลยและได้นำเจ้าหน้าที่มาคอยจับจำเลยเมื่อมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ก็หาทำให้เป็นความผิดฐานพยายามไม่
โจทก์มิได้ฎีกาขอเพิ่มโทษจำเลย ศาลฎีกาจะลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามิได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย แต่ศาลฎีกาวางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขู่เรียกเงินโดยอ้างภัยอันตรายถึงชีวิต ถือเป็นความผิดฐานกรรโชกสำเร็จรูป แม้ผู้เสียหายจะวางแผนจับกุม
จำเลยบอกผู้เสียหายว่ามีคนจ้างจำเลยฆ่าผู้เสียหาย แต่ไม่บอกชื่อคนจ้าง พร้อมกันนั้นจำเลยขอเงินผู้เสียหาย ถ้าหากไม่ให้ก็จะไม่รับรองความปลอดภัย ผู้เสียหายตกลงยอมให้และนัดมาเอาเงินในวันรุ่งขึ้น คำพูดของจำเลยดังกล่าวเป็นการข่มขู่ผู้เสียหายให้ยอมให้หรือยอมจะให้เงินแก่จำเลย อันเป็นการข่มขืนใจผู้เสียหายครบองค์ประกอบความผิดฐานกรรโชกแล้วแม้จะใช้คำว่า 'ขอ' และ 'เพื่อบอกชื่อผู้ที่จ้างฆ่า' ก็เป็นเพียงเหตุผลประกอบการข่มขู่เท่านั้น หาทำให้การข่มขู่นั้นกลายเป็นการเรียกร้องเงินเพื่อตอบแทนการบอกชื่อผู้ว่าจ้างฆ่าผู้เสียหายไม่ มาตรา 192 วรรคสาม แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาบัญญัติว่า ข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียด จำเลยยอมรับว่าตามวันเวลาดังกล่าวจำเลยได้ไปขอเงินผู้เสียหายและผู้เสียหายยอมตกลงจะให้เงินจำเลยจริงเพียงแต่จำเลยอ้างว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด จำเลยจึงมิได้หลงต่อสู้ในเรื่องเวลาดังนั้น แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเวลากลางวัน แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดเวลากลางคืน ศาลก็ลงโทษจำเลยได้ จำเลยข่มขืนใจโดยการข่มขู่จนผู้เสียหายยอมจะให้เงินแก่จำเลยและนัดมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ถือได้ว่าการกรรโชกได้สำเร็จแล้วแม้ผู้เสียหายจะยินยอมเพื่อต้องการรู้ตัวผู้จ้างจำเลยและได้นำเจ้าหน้าที่มาคอยจับจำเลยเมื่อมารับเงินในวันรุ่งขึ้น ก็หาทำให้เป็นความผิดฐานพยายามไม่ โจทก์มิได้ฎีกาขอเพิ่มโทษจำเลย ศาลฎีกาจะลงโทษจำเลยหนักกว่าที่ศาลอุทธรณ์พิพากษามิได้ เพราะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลย แต่ศาลฎีกาวางบทลงโทษจำเลยให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิด ม.149 ประมวลกฎหมายอาญา: การเรียกเงินจากผู้ถูกจับเพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี แม้ยังไม่ได้รับเงินก็ถือเป็นความผิด
ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 149 นั้น เพียงจำเลยเรียกเงินจากผู้ถูกจับเพื่อตนโดยมิชอบเพื่อไม่จับกุมก็เป็นความผิดแล้วแม้จะยังไม่ได้รับเงินก็ตาม ที่พยานโจทก์เบิกความแตกต่างกันในข้อที่ผู้ถูกจับมอบเงินให้จำเลยหรือยังจึงไม่ใช่ข้อสำคัญของคดี