คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
เหตุผลอันสมควร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 23 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต้องมีเหตุผลอันสมควรในการอุทธรณ์คดี มิใช่เพียงยากจน
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ด้วยเหตุคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมและคดีจำเลยไม่มีเหตุผลอัน สมควรที่จะอุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 7 วัน จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายข้อที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์จึงเป็นอันยุติ ดังนั้นแม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม และฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลก็จะอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้เพราะการที่จะอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้นั้น คดีของจำเลยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วย การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลย เป็นคนยากจน แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง และจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น จะถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์อยู่ในตัวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6134/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ต้องมีเหตุผลอันสมควรในการอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถา ด้วยเหตุคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมและคดีจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งภายในกำหนด 7 วัน จำเลยย่อมหมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้ายข้อที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์จึงเป็นอันยุติ ดังนั้นแม้ศาลจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติม และฟังได้ว่าจำเลยเป็นคนยากจนไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียม ศาลก็จะอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาไม่ได้เพราะการที่จะอนุญาตให้จำเลยดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ได้นั้น คดีของจำเลยจะต้องมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ด้วย การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยเป็นคนยากจน แล้วศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง และจำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น จะถือว่าเป็นการอุทธรณ์คำสั่งในประเด็นที่ศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์อยู่ในตัวหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดของลูกจ้าง: เหตุผลอันสมควร, คำเตือน, และสิทธิในการรับค่าชดเชย
มารดาโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งได้รับการรักษาตามปกติไม่ปรากฏว่ามีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน และไม่ได้ป่วยหนักจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรีบเดินทางไปทันที การที่โจทก์ขาดงานไปเยี่ยมมารดาโดยไม่ลากิจ ให้ถูกต้อง จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่ นาย จ้างมีระเบียบห้ามมิให้ลูกจ้างลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำนั้น มิได้หมายความว่าถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนแล้วจะต้องมีความผิด เพราะถ้าลูกจ้างยื่นใบลาโดยไม่มีเหตุสมควรหรือลาหยุดบ่อย นายจ้างก็สามารถจะไม่อนุญาตให้ลาหยุดได้ถ้าลูกจ้างลาหยุดโดยนายจ้างอนุญาตแล้ว แม้เป็นการลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำ จะถือว่าเป็นความผิดของลูกจ้างไม่ได้ และการลากิจ ลาป่วยบ่อย ๆ ของลูกจ้าง ไม่ใช่การกระทำผิดไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ในอันที่จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1449/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการกระทำความผิดและการประวิงคดี: การส่งอาวุธปืนโดยไม่มีเจตนาช่วยเหลือ และการขอเลื่อนคดีโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
เมื่อจำเลยยิงผู้ตายแล้ว ผู้เสียหายได้เข้าไปแย่งปืนจากจำเลยและกอดปล้ำกัน ระหว่างกอดปล้ำกัน ก. วิ่งเข้ามาหาจำเลย จำเลยจึงส่งอาวุธปืนให้แก่ ก. โดยจำเลยมิได้พูดหรือแสดงกิริยาอาการใดที่จะพึงให้เข้าใจได้ว่าจำเลยมีเจตนาให้ ก. ยิงผู้เสียหายเมื่อ ก. ได้รับอาวุธปืนจากจำเลยแล้วก็หาได้ยิงผู้เสียหายในทันทีไม่ แต่ ได้ ถอยหลังออกไปก่อน เมื่อผู้เสียหายเข้าไปแย่งอาวุธปืนจาก ก. อีกจึงถูก ยิง เช่นนี้ไม่อาจรับฟังได้ ว่าจำเลยทราบหรือคาดหมายได้ว่า ก. มีเจตนายิงผู้เสียหาย ถือไม่ได้ว่าจำเลยช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่ ก. ยิงผู้เสียหายตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86 ในวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรก ทนายจำเลยที่ศาลชั้นต้นตั้งขอถอนตัว เพราะจำเลยแต่งตั้ง ทนายเข้ามาใหม่ เมื่อทนายจำเลยขอเลื่อนคดี ศาลชั้นต้นก็อนุญาตและนัดสืบพยานโจทก์ครั้งที่สองห่างจากวันนัดสืบพยานโจทก์ครั้งแรกประมาณ 70 วัน ซึ่ง เป็นระยะเวลาที่เนิ่นนานเพียงพอที่จำเลยจะพิจารณาขอถอน ทนายความคนเดิม และตั้งแต่ง ทนายความคนใหม่เข้ามา และขอเลื่อนคดีเพื่อมิให้เดือดร้อนแก่พยานโจทก์ซึ่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งกำชับให้มาศาล แต่ จำเลยกลับละเลยโดย มาร้องขอถอน ทนายความคนเดิมพร้อมตั้งแต่ง ทนายความคนใหม่กับร้องขอเลื่อนคดีในวันนัดซึ่ง พยานโจทก์ได้ มาศาลพร้อมแล้วจึงเป็นเรื่องที่ไม่มีเหตุผลอันสมควรและส่อไปในทางประวิงคดีให้เนิ่นช้า ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาป่วยดูแลมารดา: เหตุผลอันสมควรในการละทิ้งหน้าที่ทางการงาน
การละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(4) หมายถึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะต้องละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน มิใช่หมายถึงการละทิ้งหน้าที่นั้นกระทำไปโดยไม่สมควรเพราะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง ผู้คัดค้านลากิจกลับไปบ้านที่ต่างจังหวัดเพราะมารดาป่วยหนัก ครบกำหนดลากิจแล้วอาการของมารดาของผู้คัดค้านไม่ทุเลาลง ต้องเข้ารักษาที่สถานีอนามัยและโรงพยาบาลตามลำดับ ผู้คัดค้านได้โทรเลขถึงเพื่อนร่วมงานขอให้ลาต่อแทนดังนี้ การละทิ้งหน้าที่ของผู้คัดค้านมีเหตุอันสมควร กรณีไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย ฯ ข้อ 47(4) ผู้ร้องจะขออนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1110/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ขาดงานโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร และการพิสูจน์หน้าที่ของลูกจ้าง
การจ้างแรงงานคือสัญญาซึ่งลูกจ้างตกลงจะทำงานให้แก่นายจ้างและนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้หน้าที่สำคัญของลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงานคือต้องทำงานให้แก่นายจ้าง การลงเวลามาทำงานไม่ใช่สาระสำคัญของการจ้างแรงงาน เพราะเป็นเพียงพยานหลักฐานเบื้องต้นที่แสดงว่าลูกจ้างจะเข้าทำงานให้แก่นายจ้างในวันนั้นเท่านั้น การที่โจทก์มาเซ็นชื่อในสมุดลงเวลา มาทำงานของจำเลยแล้วกลับไปโดยมิได้ปฏิบัติงานใด ๆให้แก่นายจ้าง จึงถือว่าโจทก์ขาดงานในวันนั้นโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เมื่อโจทก์ขาดงานก่อนหน้าวันดังกล่าวมาแล้วสองวันโดยมิได้ลาตามระเบียบ และไม่ปรากฏเหตุจำเป็น ซึ่งถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสองวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรมาแล้ว จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 (4) จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินประกันของลูกจ้างกรณีขาดงานเกิน 10 วันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ถือเป็นความเสียหายต่อองค์กร
การที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันเกิน 10 วัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรถือได้ว่าโจทก์ทำความเสียหายให้แก่จำเลยอยู่ในตัว จำเลยจึงมีสิทธิริบเงินประกันแทนค่าเสียหายที่โจทก์ขาดงานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2119/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการขายสินค้าโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าฯ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริง
ศาลล่างฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยที่ 3 พนักงานขายของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็น หุ้นส่วนผู้จัดการ ปฏิเสธการจำหน่ายปูนซิเมนต์ให้แก่ผู้ซื้อเพียง 1 ถุง โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ครบองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติ กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด พ.ศ. 2522 มาตรา 30 พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสาม คืนปูนซิเมนต์ทั้งหมดที่อยู่ในห้างซึ่งเป็นของกลางแก่เจ้าของ ดังนั้นที่จำเลยทั้งสามฎีกา ว่าจำเลยไม่มีเจตนาปฏิเสธการจำหน่าย และจำเลยปฏิเสธการจำหน่ายโดยมีเหตุผลอันสมควรก็ดี หรือจำเลยที่ 2 มิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วยในการกระทำของจำเลยที่ 3 ก็ดี จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3394/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลื่อนคดีเนื่องจากทนายจำเลยป่วย ศาลต้องพิจารณาเหตุผลอันสมควร และมิอาจถือว่าจำเลยจงใจขาดนัด
ทนายจำเลยขอเลื่อนคดีโดยอ้างว่าป่วย มีใบรับรองแพทย์เสนอต่อศาลและเป็นการขอเลื่อนคดีในวันนัดสืบพยานจำเลยครั้งแรก โจทก์ไม่คัดค้าน ถือว่ามีเหตุผลอันสมควรในการเลื่อนคดี
บัญชีระบุพยานของจำเลยในช่องหมายเหตุระบุว่า "หมาย/นำ" ซึ่งหมายความว่าจำเลยอาจขอหมายเรียกพยานหรือนำพยานมาศาลก็ได้ ดังนั้นการที่จำเลยไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานจำเลยและไม่ได้ขอหมายเรียกพยานหรือนำพยานมาศาล ก็คงเป็นเพราะเห็นว่าทนายจำเลยป่วย ศาลย่อมจะต้องให้เลื่อนคดีจึงมิใช่จำเลยจงใจไม่มาศาลและไม่จัดการนำพยานมาศาล แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความด้วยเจตนาสุจริตและมีเหตุผลอันสมควร ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
จำเลยซึ่งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลได้ทราบจากผู้ตรวจสอบบัญชีของเทศบาลนั้นว่าเงินของเทศบาลซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของโจทก์ซึ่งเป็นนายกเทศมนตรีนั้นขาดบัญชีไปเป็นจำนวนมากและพฤติการณ์ของโจทก์มีทางให้จำเลยเข้าใจได้เป็นอย่างมากว่าโจทก์น่าจะมีส่วนรู้เห็นด้วย จำเลยจึงแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีต่อไปว่า จำเลยเชื่อมั่นว่าโจทก์กับสมุห์บัญชีเทศบาลนั้นร่วมกันยักยอกหรือเบียดบังเงินของเทศบาลนั้นเอาไปใช้เป็นผลประโยชน์ส่วนตัว การที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนเช่นนั้นเป็นไปเพื่อความชอบธรรมและป้องกันส่วนได้เสียเกี่ยวกับตนตามคลองธรรมโดยสุจริต จึงไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 329(1)
of 3