คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
โทษจำเลย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตคำฟ้องอาญา: การพิจารณาโทษจำเลยต้องอ้างอิงตามข้อเท็จจริงที่ระบุในคำฟ้องเท่านั้น แม้จะมีข้อเท็จจริงใหม่จากการพิจารณา
ฟ้องว่าจำเลยมีแอมเฟตามีนไฮโดรคลอไรด์ไว้ในครอบครอง6 เม็ด และขายแก่ผู้มีชื่อไป หมายความชัดเจนว่าจำเลยขายไปหมด เป็นความผิดกรรมเดียว ข้อที่ว่าจำเลยจำหน่าย 1 เม็ด เหลือ 5 เม็ด ไม่ได้กล่าวในฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 483/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขคำพิพากษาเฉพาะโทษจำเลยบางราย
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยที่ 5 มีกำหนด 6 เดือน ปรับจำเลยที่ 6 เป็นเงิน 500 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะจำเลยที่ 6 เป็นให้ลงโทษจำคุก 6 เดือน เช่นนี้ จำเลยที่ 5 และที่ 6 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 219

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1279/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการ-เอกสารสิทธิ รวมถึงฉ้อโกง ธนาคาร พิจารณาโทษจำเลย
การที่จำเลยร่วมกันปลอมบัตรประจำตัวประชาชนและปลอมตั๋วแลกเงินในระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2518 ถึงวันที่ 4 เมษายน 2518 นั้น เป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265,266,91 แต่จำเลยร่วมกันนำบัตรประจำตัวประชาชนและตั๋วแลกเงินที่ปลอมขึ้นไปใช้ด้วย จึงต้องลงโทษแต่ละกระทงฐานใช้กระทงเดียว ตามมาตรา 268 วรรค 2 และการใช้ในคราวเดียวกันเป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานฉ้อโกง ตามมาตรา 342 โดยจำเลยร่วมกันหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง เพื่อให้ได้ทรัพย์สิน คือเงิน 220,000 บาทจากธนาคาร ย่อมเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องลงโทษฐานใช้ตั๋วเงินปลอม อันเป็นบทหนัก ตามมาตรา 268 ประกอบด้วยมาตรา 266,90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2318/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมีอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตและการทำร้ายร่างกาย ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้โทษจำเลย
จำเลยมีปืนลูกซองและกระสุนปืน โดยไม่ได้รับอนุญาตแต่ทำหายเสียก่อน กฎหมายยกเว้นโทษระหว่างฎีกา จึงไม่มีปืนไปขอรับอนุญาต จำเลยไม่ได้รับยกเว้นโทษ
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยฐานมีอาวุธปืน จำคุก 3 เดือน กับฐานทำร้ายร่างกาย จำคุก 4 ปี รวม 4 ปี 3 เดือนเพิ่มโทษ 1 ใน 3 เป็น 5 ปี 8 เดือน ไม่มีผู้ใดอุทธรณ์ในฐานมีอาวุธปืน ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นให้เพิ่มโทษก่อนลดโทษ ทั้งในฐานทำร้ายร่างกายและฐานมีอาวุธปืนด้วยก็ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับบทกฎหมายอาญาตามประกาศคณะปฏิวัติที่ส่งผลต่อโทษของจำเลย แม้ไม่ได้อุทธรณ์
ศาลล่างพิพากษาลงโทษจำเลย 4 คน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 จำเลยคนหนึ่งฎีกา ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงตามศาลล่าง แต่เมื่อคดีนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาได้มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 11ออกใช้บังคับ ข้อ 14ของประกาศดังกล่าวได้แก้ไขอัตราโทษของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 340 วรรค 4 ให้เบาลง ซึ่งเป็นกฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่จำเลย จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติมาใช้แก่จำเลยและเมื่อศาลฎีกาพิพากษาแก้บทเป็นให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรค 4 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 11 ข้อ 14 ศาลฎีกาย่อมพิพากษาแก้ตลอดไปถึงจำเลยอีก 3 คนที่ไม่ได้ฎีกาด้วยได้เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดโทษจำเลยต้องไม่เกินที่โจทก์บรรยายในฟ้อง แม้พยานหลักฐานเพิ่มเติมจะทำให้เห็นว่ามีความผิดร้ายแรงกว่า
ตามฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองกับพวกอีก 2 คนใช้ปืนเป็นอาวุธขู่จะฆ่าผู้เสียหายให้ถึงตายเพื่อสะดวกแก่การลักทรัพย์พาทรัพย์ไปและให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์ แล้วลักทรัพย์ของผู้เสียหายไป อันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 340 วรรคสอง ซึ่งต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี แม้ทางพิจารณาจะได้ความว่าในการปล้นทรัพย์นี้ จำเลยที่ 2 ใช้อาวุธปืนยิงขู่ ซึ่งมีอัตราโทษกำหนดไว้ตามวรรคสี่ มาตรา 340 จำคุกตลอดชีวิตหรือจำคุก 20 ปีศาลก็ไม่อาจพิพากษาลงโทษเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192
พิพากษาลงโทษจำเลยเกินไปกว่าที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดีย่อมมีผลถึงจำเลยอื่นที่มิได้ฎีกามาด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2501 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสมคบคิดฆ่าผู้อื่นโดยเจตนาและไม่เจตนา ศาลพิจารณาโทษจำเลยแต่ละคนตามบทบาท
ฟ้องว่าฆ่าคนตายโดยเจตนา ลงโทษฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามที่พิจารณาได้ความนั้นได้
จำเลยที่ 2 เอาไม้ตีนายหล่า และจำเลยที่ 2 กับที่ 3 เข้าจับแขนนายหล่าไว้คนละข้าง แล้วจำเลยที่ 1 เอามีดเข้าแทงนายหล่า นายหล่าอยู่ได้ 2 คืนก็ตายเพราะแผลนั้น เหตุเกิดจากการทะเลาะกัน เช่นนี้ถือว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 สมคบกับจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนา แต่กำหนดโทษควรให้ลดหลั่นกัน
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 251,63 จำคุก 4 ปี โจทก์และจำเลยอุทธรณ์ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้ว่าจำเลยที่ 1ผิดฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 249 จำคุก 10 ปี จำเลยฝ่ายเดียวฎีกา ศาลฎีกาฟังว่าจำเลยที่ 1 ผิดฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามกฎหมายลักษณะอาญามาตรา 251 จำคุก 6 ปี เกินกว่ากำหนดโทษของศาลชั้นต้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ไม้หวงห้ามและการบังคับใช้กฎหมายย้อนหลัง: การพิจารณาโทษจำเลยในคดีตัดไม้
ไม้ไข่เขียวเป็นไม้หวงห้าม ซึ่งตามหลักวิชาแล้วฟังว่าอยู่ในจำพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่น ๆ " แต่กรมป่าไม้เพิ่งชี้ขาดและทางราชการเพิ่งประกาศเมื่อ 8 มิ.ย. 2498 หลังจากที่จำเลยไปตัดไม้นี้มาไว้แล้ว ถือว่าจำเลยยังไม่ควรมีผิด
ตามพระราชกฤษฎีกาไม้หวงห้าม "ไม้ตะเคียนสามพอน" ถือว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในพวก "ไม้ตะเคียนชนิดอื่น ๆ " นี้ครอบคลุมถึงไม้ตะเคียนทุกชนิด และคำนี้ก็แสดงว่าเป็นไม้ตะเคียนอยู่ในตัวแล้ว
จำเลยมิได้เป็นเจ้าของโรงงานไม้แปรรูป ขนไม้ที่ยังมิได้เสียค่าภาคหลวงเข้าไปในโรงงานไม้แปรรูปเพื่อทำการแปรรูปจำเลยยังไม่ผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ 2494 ม.16 เพราะไม่ใช่เจ้าของโรงงานไม้แปรรูป จึงไม่ใช่ผู้รับอนุญาตทำการแปรรูปไม้ ฯ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจดุลพินิจศาลในการนับโทษจำเลย: นับโทษจากวันต้องขังในคดีหลังได้
แม้โจทก์จะร้องขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อจากโทษในคดีก่อนศาลก็ใช้ดุลพินิจให้นับโทษจำเลยตั้งแต่วันต้องขังในคดีหลังโดยไม่นับโทษต่อจากคดีก่อนตามโจทก์ขอได้ ทั้งนี้เพราะกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 32 ได้ให้อำนาจศาลใช้ดุลพินิจได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษจำเลยหลังรับสารภาพ และการยื่นคำร้องเพิ่มเติมโทษหลังการให้การ
จำเลยให้การรับสารภาพ. โจทก์จำเลยแถลงไม่สืบพยาน. ในวันเดียวกันนั้นก่อนศาลอ่านคำพิพากษา. โจทก์ยื่นคำร้องว่าจำเลยเคยต้องโทษ. ขอให้เพิ่มโทษ. ดังนี้ควรรับคำร้องนั้นไว้พิจารณาได้.
of 3