พบผลลัพธ์ทั้งหมด 329 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2498 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาที่ศาลอุทธรณ์ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ม. 218 นั้นหมายถึงโทษแต่ละกะทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปี ตาม ก.ม.อาญาม. 298 ,299,63 และตาม ม. 243 อีก 2 ปี รวม 2 กะทง 7 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปี ตาม ก.ม.อาญาม. 298 ,299,63 และตาม ม. 243 อีก 2 ปี รวม 2 กะทง 7 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1458/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเมื่อโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี
โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม มาตรา 218 นั้นหมายถึงโทษแต่ละกะทง
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปี ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 298,299,63 และตาม มาตรา 243 อีก 2 ปี รวม 2 กะทง 7 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลย 5 ปี ตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 298,299,63 และตาม มาตรา 243 อีก 2 ปี รวม 2 กะทง 7 ปี เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ดังนี้ จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาเมื่อโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลยตามความผิดกะทงหนึ่ง 3 ปี อีกกะทงหนึ่ง 1 ปี รวมเป็นโทษจำคุก 4 ปี แล้วเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งเป็น 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คู่ความจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะโทษแต่ละกะทงไม่ถึง 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1119/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญาเมื่อโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลยตามความผิดกระทงหนึ่ง 3 ปี อีกกระทงหนึ่ง 1 ปี รวมเป็นโทษจำคุก 4 ปี แล้วเพิ่มโทษอีกกึ่งหนึ่งเป็น 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คู่ความจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้ เพราะโทษแต่ละกระทงไม่ถึง 5 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 908/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเบิกความเท็จซ้ำ: โจทก์มีสิทธิฟ้องได้ครั้งเดียว แม้จะเป็นหลายตอน
แม้จำเลยจะเบิกความเท็จหลายตอน ก็เป็นกรรมและวาระเดียวกันโจทก์มีสิทธิฟ้องจำเลยได้ครั้งเดียว โจทก์จะแบ่งฟ้องเป็นตอนๆ ไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2496
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์โทษจำคุกจากข้อหาเล่นการพนัน: ข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นลงโทษปรับจำเลย 150 บาทฐานเล่นการพนันป๊อกศาลอุทธรณ์ฟังว่าจำเลยเป็นเจ้ามือพิพากษาแก้ ให้จำคุก 2 เดือนปรับ 400 บาทดังนี้แม้จะเป็นการแก้ไขมาก โทษจำคุกจำเลยก็ยังไม่เกิน 1 ปีหรือปรับไม่เกินพันบาทจะฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 728/2494
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเข้าร่วมเป็นโจทก์ vs. การฟ้องเองในคดีเดียวกัน
ผู้เสียหายร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับอัยการซึ่งได้ฟ้องจำเลยหาว่ากระทำผิดฐานหนึ่งอยู่แล้ว ผู้เสียหายจะมาเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยในเรื่องการกระทำของจำเลยอันเดียวกันนั้นอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเฉพาะจำเลยที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว กรณีจำเลยหลบหนี
จำเลยในคดีอาญาหลบหนียังไม่ได้ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เสียคนหนึ่ง คงฟังแต่จำเลยอีกคนหนึ่งอีกคนหนึ่งเพียงคนเดียว แม้โจทก์จะฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยทั้ง 2 คนก็ตาม ก็ถือว่าคดีเฉพาะจำเลยที่หลบหนี โจทก์ยังฎีกาไม่ได้ ศาลฎีกาคงวินิจฉัยเฉพาะจำเลยที่ฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1587/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งระหว่างพิจารณาที่จำกัดสิทธิในการโต้แย้ง หากศาลไม่ได้ให้โอกาสคู่ความในการโต้แย้งอย่างเพียงพอ
คำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 226 นั้น คู่ความจะต้องโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เสียก่อน จึงจะอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ในภายหลัง แต่ศาลจำจะต้องให้คู่ความมีโอกาศและมีเวลาพอสมควรที่จะโต้แย้งคำสั่งนั้นได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ และสั่งให้งดสืบพยานจำเลยเสียด้วย แล้วนัดฟังคำพิพากษาเลยในวันนั้นเอง ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบไว้ โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ต่อไปได้
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบ และสั่งให้งดสืบพยานจำเลยเสียด้วย แล้วนัดฟังคำพิพากษาเลยในวันนั้นเอง ดังนี้ ถือได้ว่าโจทก์ไม่มีเวลาที่จะโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งว่าโจทก์ไม่มีพยานมาสืบไว้ โจทก์ก็มีสิทธิอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์สั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์ต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเฉลี่ยทรัพย์จากสัญญากู้สมยอม: ศาลจำกัดสิทธิเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องโดยตรง
จำเลยสมยอมกันทำสัญญากู้แล้วนำมาฟ้องศาล ทำสัญญายอมความกัน แล้วจำเลยผู้ขนะคดีมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีที่โจทก์เป็นเจ้าหนี้ยึดทรัพย์มาโจทก์จึงฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนสัญญากู้ สัญญายอมความอีกทั้งคำพิพากษาตามยอมและขอให้จำเลยถอนคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์เสียนั้น ความประสงค์อันแท้จริงของโจทก์ ก็คือจะไม่ให้จำเลยมีสิทธิได้รับส่วนเฉลี่ยทรัพย์ที่โจทก์ได้ยึดไว้ ฉะนั้นศาลจึ่งพิพากษาแต่เพียงว่า จำเลยจะอ้างสิทธิตามสัญญากู้และสัญญายอมความอีกทั้งคำพิพากษาตามยอมในคดีที่สมยอมกันนั้นมาขอเฉลี่ย ทรัพย์ที่โจทก์ยึดในอีกคดีหนึ่งไม่ได้ไม่จำเป็นต้องเพิกถอนสัญญาตามคำขอของโจทก์ เพราะผลคำพิพากษาในคดีของจำเลยนั้นเป็นเรื่องระหว่างจำเลยด้วยกัน