พบผลลัพธ์ทั้งหมด 324 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8812/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องคดีละเมิดลิขสิทธิ์ต้องชัดเจนครบองค์ประกอบ หากไม่ชัดเจนศาลยกฟ้องได้
แม้โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์เพลงของผู้เสียหายโดยการนำเพลงของผู้เสียหายที่มีผู้ทำซ้ำโดยละเมิดลิขสิทธิ์ไปบรรจุอันเป็นการทำซ้ำในหน่วยความจำของเครื่องคาราโอเกะ โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหาย เป็นการทำซ้ำอันเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 26 และ 27 ซึ่งโจทก์อ้างว่า ตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์ที่ถูกต้องคือ มาตรา 27 และ 28 แต่คำบรรยายฟ้องในส่วนนี้โจทก์ได้บรรยายไว้หลังคำฟ้องที่ว่า จำเลยละเมิดลิขสิทธิ์โดยการเผยแพร่ต่อสาธารณชนในงานสร้างสรรค์ประเภทงานดนตรีกรรม งานสิ่งบันทึกเสียง และงานโสตทัศนวัสดุของผู้เสียหาย ดังนั้นข้อความที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้ว่า โดยการนำเพลงของผู้เสียหายที่มีผู้ทำซ้ำขึ้นโดยลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายไปบรรจุในหน่วยความจำของเครื่องคาราโอเกะ จึงเป็นเพียงการบรรยายให้เห็นถึงวิธีการที่จำเลยนำเพลงของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนเพื่อหากำไรโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายเท่านั้น คำบรรยายฟ้องโจทก์ดังกล่าวเป็นคำฟ้องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์โดยการทำซ้ำตามมาตรา 27 (1) และ 28 (1) ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดดังกล่าวได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่งและวรรคสี่
สำหรับความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) โจทก์ต้องบรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตามมาตราดังกล่าวมาด้วย แม้โจทก์บรรยายฟ้องตอนท้ายว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายก็ตาม แต่ก็อาจทำให้จำเลยเข้าใจเพียงว่า การที่จำเลยนำงานของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่จำเลยอาจไม่รู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่นั้นเป็นงานที่ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ฟ้องโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
สำหรับความผิดฐานเผยแพร่ต่อสาธารณชนซึ่งงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่น ตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 31 (2) โจทก์ต้องบรรยายฟ้องว่า จำเลยรู้หรือมีเหตุอันควรรู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนนั้นเป็นงานที่ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้อื่นอันเป็นองค์ประกอบสำคัญของความผิดตามมาตราดังกล่าวมาด้วย แม้โจทก์บรรยายฟ้องตอนท้ายว่า จำเลยรู้อยู่แล้วว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและไม่ได้รับอนุญาตจากผู้เสียหายก็ตาม แต่ก็อาจทำให้จำเลยเข้าใจเพียงว่า การที่จำเลยนำงานของผู้เสียหายออกเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่จำเลยอาจไม่รู้ว่างานที่จำเลยนำออกเผยแพร่นั้นเป็นงานที่ทำขึ้น โดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย ฟ้องโจทก์ในความผิดดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7290/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความชอบด้วยกฎหมายของฟ้องอาญา: องค์ประกอบความผิด พรากผู้เยาว์, พาไปอนาจาร, ข่มขู่, และการบรรยายฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโดยปราศจากเหตุอันสมควรพราก น. ผู้เสียหายที่ 2 อายุ 17 ปีเศษ ซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ยังไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจาก ว. ผู้เสียหายที่ 1 ซึ่งเป็นผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อการอนาจาร โดยผู้เยาว์ไม่เต็มใจไปด้วย กับจำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยพูดข่มขู่ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งขณะนั้นผู้เสียหายที่ 2 สวมใส่ชุดนักเรียนแต่หนีเรียนไม่เข้าโรงเรียนตามปกติ ว่าหากผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยอมไปกับจำเลย จำเลยจะนำเรื่องที่ผู้เสียหายที่ 2 หนีเรียนไม่เข้าโรงเรียนตามปกติดังกล่าวไปแจ้งให้ทางโรงเรียนที่ผู้เสียหายที่ 2 ศึกษาอยู่และผู้ปกครองผู้เสียหายที่ 2 ทราบ เพื่อให้ผู้เสียหายที่ 2 ถูกลงโทษหรือว่ากล่าว เป็นเหตุให้ผู้เสียหายที่ 2 เกิดความกลัวตามคำข่มขู่ของจำเลยดังกล่าว และยอมไปกับจำเลย อันเป็นการขู่เข็ญหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม และจำเลยได้กระทำอนาจารผู้เสียหายที่ 2 โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการจับแขนและดึงตัวผู้เสียหายที่ 2 เข้าไปสวมกอดเพื่อมิให้ผู้เสียหายที่ 2 ขัดขืน แล้วจำเลยได้หอมที่บริเวณหน้าผากของผู้เสียหายที่ 2 โดยจำเลยมีเจตนาล่วงเกินทางเพศต่อผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม แม้โจทก์ไม่ได้บรรยายว่าจำเลยพรากผู้เสียหายที่ 2 หรือพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารอย่างไร และไม่ได้บรรยายถ้อยคำตาม ป.อ. มาตรา 284 ว่า จำเลยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้ายใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด ก็ตาม แต่คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวก็พอเข้าใจได้แล้วว่า จำเลยพรากผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย พาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมและพาผู้เสียหายที่ 2 ไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อุบายหลอกลวงขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดแล้ว ทั้งการบรรยายฟ้องก็หาจำต้องเคร่งครัดถึงกับต้องใช้ถ้อยคำในกฎหมายเสมอไปไม่ ฟ้องโจทก์จึงครบองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ, 284, 318 แล้ว นอกจากนี้โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ และมาตรา 284 ในข้อเดียวกัน แสดงว่าโจทก์ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานดังกล่าวเพียงกรรมเดียว โจทก์จึงไม่ต้องบรรยายฟ้องเกี่ยวกับความผิดนั้นว่าเป็นหลายกรรมต่างกัน ทั้ง ป.อ. มาตรา 90 มิใช่กฎหมายซึ่งอ้างว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด โจทก์จึงไม่จำต้องอ้างบทบัญญัติดังกล่าวในคำขอท้ายฟ้อง ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6044/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความประมาทในการขับรถ ศาลวินิจฉัยได้แม้ไม่มีรายละเอียดความเร็ว หากโจทก์นำสืบได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยขับรถจักรยานยนต์ถึงบริเวณจุดเลี้ยวกลับรถถนนสาย 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่เกิดเหตุ ด้วยความเร็วสูง โดยจำเลยมีความประสงค์ที่ขับรถจักรยานยนต์แล่นผ่านจุดเลี้ยวกลับรถดังกล่าวตรงไปทางด้านถนนบางนา-ตราด และจำเลยมองเห็นอยู่แล้วว่าในขณะนั้นมี ส. กำลังขับรถยนต์เลี้ยวขวากลับรถบริเวณจุดกลับรถเข้าสู่ถนนสาย 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ในช่องเดินรถช่องที่ 2 ซึ่งเป็นช่องเดินรถช่องเดียวกันกับที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์คันดังกล่าวมา แต่จำเลยไม่ชะลอความเร็วและไม่หักหลบรถยนต์คันที่ ส. ขับมาเข้าไปในช่องเดินรถช่องที่ 1 เป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนบริเวณด้านท้ายรถยนต์ของ ส. อย่างแรง ทำให้รถยนต์ของ ส. ได้รับความเสียหาย ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยโดยกล่าวถึงคำฟ้องของโจทก์ว่า ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุไว้ชัดเจนว่า จำเลยขับรถด้วยความเร็วสูง ไม่ชะลอความเร็ว ด้วยความประมาทของจำเลยจึงเป็นเหตุให้รถจักรยานยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนบริเวณด้านท้ายรถยนต์ของ ส. แล้ววินิจฉัยต่อไปว่า โจทก์ย่อมสามารถนำสืบให้เห็นว่าจำเลยขับรถอย่างไร ด้วยอัตราความเร็วเท่าใดจึงเป็นการขับรถโดยประมาท ซึ่งเป็นรายละเอียดปลีกย่อยและศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าการที่จำเลยขับรถด้วยความเร็วเกินกว่า 80 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเป็นการฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามเครื่องหมายจราจรได้ เท่ากับศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้วินิจฉัยคำฟ้องโจทก์ดังกล่าวข้างต้นแล้วเห็นว่าคำฟ้องโจทก์ได้บรรยายถึงการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แล้ว ส่วนจำเลยขับรถอย่างไร ด้วยอัตราความเร็วเท่าใดนั้น เป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ซึ่งศาลย่อมนำข้อนำสืบดังกล่าวมาวินิจฉัยถึงการกระทำผิดของจำเลยได้ คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4745/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนและการบรรยายฟ้องที่ถูกต้องตามกฎหมาย
ในชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพด้วยความสมัครใจตามบันทึกคำให้การของผู้ต้องหา แต่ในชั้นพิจารณาจำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธไม่ได้ยอมรับตามคำให้การดังกล่าว คำให้การของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเพียงพยานบอกเล่า ซึ่งโดยลำพังไม่ควรที่จะเชื่อเพื่อลงโทษจำเลย เว้นแต่จะมีเหตุผลอันหนักแน่น มีพฤติการณ์พิเศษแห่งคดีหรือมีพยานหลักฐานประกอบอื่นมาสนับสนุน แต่เมื่อคำเบิกความของประจักษ์พยานโจทก์ขัดแย้งกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 การตรวจยึดของกลางก็ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าการที่สามารถยึดของกลางได้เพราะเหตุที่ทราบจากจำเลยที่ 2 ส่วนคำเบิกความของพนักงานสอบสวนก็เป็นผู้สอบสวนคำรับสารภาพนั่นเอง พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดกับจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ด้วย
นอกจากโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพาอาวุธปืนตาม ป.อ. มาตรา 371 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ฐานพาอาวุธตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์" ข้อที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นการบรรยายฟ้ององค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง กล่าวคือ การพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หากเป็นกรณีต้องมีติดตัวเนื่องจากมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์แล้ว การพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะไม่เป็นความผิด ส่วนความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณตาม ป.อ. มาตรา 371 นั้น มาตรานี้บัญญัติว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร...ต้องระวางโทษ..." การพาอาวุธที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ต่อเมื่อไม่มีเหตุสมควรอันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดดังกล่าว จึงแตกต่างจากองค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวข้างต้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่อาจถือได้ว่าได้บรรยายฟ้อง องค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธตาม ป.อ. มาตรา 371 จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ในความผิดดังกล่าว
นอกจากโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานพาอาวุธปืนตาม ป.อ. มาตรา 371 แล้ว โจทก์ยังฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสี่ฐานพาอาวุธตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 มาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง ด้วย ซึ่งมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้ผู้ใดพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์" ข้อที่โจทก์บรรยายฟ้องเป็นการบรรยายฟ้ององค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ตามมาตรา 8 ทวิ วรรคหนึ่ง กล่าวคือ การพาอาวุธปืนติดตัวไปโดยไม่ได้รับอนุญาต หากเป็นกรณีต้องมีติดตัวเนื่องจากมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์แล้ว การพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะไม่เป็นความผิด ส่วนความผิดฐานพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณตาม ป.อ. มาตรา 371 นั้น มาตรานี้บัญญัติว่า "ผู้ใดพาอาวุธไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร...ต้องระวางโทษ..." การพาอาวุธที่จะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 ต่อเมื่อไม่มีเหตุสมควรอันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของความผิดดังกล่าว จึงแตกต่างจากองค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธปืนตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ดังกล่าวข้างต้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องโดยระบุองค์ประกอบความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ไม่อาจถือได้ว่าได้บรรยายฟ้อง องค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธตาม ป.อ. มาตรา 371 ด้วย ฟ้องของโจทก์ไม่ได้บรรยายฟ้องถึงองค์ประกอบความผิดฐานพาอาวุธตาม ป.อ. มาตรา 371 จึงไม่อาจพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 3 และที่ 4 ในความผิดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4195/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งประทับฟ้องเด็ดขาด, การยกฟ้องโดยศาลอุทธรณ์, และการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วมีคำสั่งว่าฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1 มีมูล ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้คดีมีมูลย่อมเด็ดขาดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 ศาลอุทธรณ์ไม่อาจยกปัญหาข้อเท็จจริงขึ้นทบทวนโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานในคดีเสียใหม่ แล้วพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ได้ แม้โจทก์ทั้งหกจะมิได้ยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ เพราะเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด คำฟ้องโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
ข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 184 โจทก์ทั้งหกบรรยายฟ้องเพียงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันรื้อถอนบ้านและมิเตอร์ไฟฟ้าออกไป อันเป็นการร่วมกันทำลายวัตถุพยานหลักฐานในการตรวจพิสูจน์ จนทำให้การพิสูจน์หลักฐานไม่สามารถระบุถึงสาเหตุเพลิงไหม้ที่แน่ชัด โดยมิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ร่วมกันกระทำการดังกล่าวเพื่อจะช่วยเหลือผู้อื่นมิให้ต้องรับโทษหรือให้รับโทษน้อยลง จึงเป็นการบรรยายฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบของความผิด คำฟ้องโจทก์ในข้อหานี้จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบรรยายฟ้องความผิดฐานพยายามทำร้ายร่างกายที่ไม่ชัดเจนถึงอันตรายร้ายแรง ทำให้ความผิดเป็นเพียงลหุโทษ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 80 และ 83 โดยโจทก์บรรยายฟ้องข้อ (ค) ว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ท่อนไม้และขวดขว้างใส่ผู้เสียหายทั้งสองโดยมีเจตนาทำร้าย จำเลยทั้งสองกับพวกลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้วแต่การกระทำนั้นไม่บรรลุผลเนื่องจากผู้เสียหายทั้งสองวิ่งหลบหนีได้ทัน ทำให้ท่อนไม้และขวดไม่ถูกร่างกายของผู้เสียหายทั้งสอง โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นข้อเท็จจริงว่าหากจำเลยทั้งสองขว้างปาท่อนไม้และขวดถูกผู้เสียหายทั้งสอง ย่อมเป็นที่คาดหมายได้ว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายทั้งสองได้อย่างแน่นอน อันเป็นองค์ประกอบความผิดของบทมาตราดังกล่าวมาด้วย ทั้งโจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นขนาดของขวดและไม้มาพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยทั้งสองเข้าใจข้อหาได้ดี ซึ่งหากขวดหรือท่อนไม้ขนาดไม่ใหญ่มากนักขว้างถูกผู้เสียหายทั้งสอง ไม่แน่นอนว่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจได้หรือไม่ ฟ้องโจทก์ข้อ (ค) ดังกล่าวนี้ จึงต้องแปลว่าเป็นการบรรยายฟ้องว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองอาจไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้เสียหายทั้งสอง ตาม ป.อ. มาตรา 391 ประกอบมาตรา 80 และ 83 เท่านั้น เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสองในข้อนี้เป็นการพยายามกระทำความผิด จำเลยทั้งสองจึงไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ. มาตรา 105
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14477/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบอาวุธปืน: การบรรยายฟ้อง 'ไม่ปรากฏเครื่องหมายทะเบียน' ไม่ทำให้เป็นทรัพย์สินที่ต้องริบ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นของผู้อื่นที่มีทะเบียน
คำว่า "ปรากฏ" ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า สำแดงออกมาให้เห็น เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องเกี่ยวกับอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองว่า เป็นอาวุธปืนที่ไม่ปรากฏเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ จึงมีความหมายว่า เป็นอาวุธปืนที่ไม่สำแดงออกมาให้เห็นถึงเครื่องหมายทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับ กรณีจึงยังไม่เป็นการแน่นอนว่าอาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองนั้น เป็นอาวุธปืนที่มีหมายเลขทะเบียนของเจ้าพนักงานประทับไว้หรือไม่ จึงต้องฟังข้อเท็จจริงให้เป็นคุณแก่จำเลยว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้น เป็นอาวุธปืนที่เป็นของผู้อื่นซึ่งได้รับใบอนุญาตให้มีและใช้ตามกฎหมาย ซึ่งเป็นความผิดฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต และความผิดดังกล่าวอยู่ที่การไม่ได้รับใบอนุญาต หาทำให้อาวุธปืนของกลางที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นอาวุธปืนผิดกฎหมายไปไม่ อาวุธปืนของกลางจึงไม่ใช่ทรัพย์สินที่มีไว้เป็นความผิดอันจะพึงต้องริบ และไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 32, 33 ไม่อาจริบตามคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ได้ ชอบที่จะต้องส่งคืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13646/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานยักยอกทรัพย์โดยเจ้าพนักงาน แม้ฟ้องผิดบทมาตรา ศาลอุทธรณ์ลงโทษได้ตามความผิดที่บรรยายฟ้อง
ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า จำเลยที่ 1 ใช้อำนาจในตำแหน่งกระทำการทุจริตเบียดบังเอาเงินงบประมาณไปเป็นประโยชน์ส่วนตัว การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 147 แม้โจทก์ระบุ ป.อ. มาตรา 151 ไว้ในคำขอท้ายฟ้อง โดยไม่ได้ระบุมาตรา 147 ก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องแล้วว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานและเจ้าหน้าที่รัฐมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการ จัดการและรักษางบประมาณต่าง ๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว ตามโครงการขุดลอกลำเหมืองหนองถุ หมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 6 เป็นเงินงบประมาณจำนวน 116,000 บาท ได้ใช้จ่ายเงินงบประมาณตามโครงการดังกล่าวจำนวน 69,600 บาท ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 46,400 บาท ขาดหายไป โดยได้เบียดบังเอาเงินงบประมาณจำนวน 46,400 บาท ดังกล่าวรวมทั้งเงินงบประมาณตามโครงการอื่นดังที่บรรยายในคำฟ้องไปเป็นประโยชน์ส่วนตนหรือผู้อื่น อันเป็นการเสียหายแก่รัฐ องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว และประชาชนทั่วไป จึงเป็นการอ้างบทมาตราผิด ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มีอำนาจลงโทษจำเลยที่ 1 ตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคห้า คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขออันจะต้องห้ามตามมาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1313/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำอนาจารเด็กและการพรากผู้เยาว์ การบรรยายฟ้องต้องชัดเจนถึงองค์ประกอบความผิด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยพาผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปกอด จูบ ดูดหัวนมและจูบอวัยวะเพศ อันเป็นการพาไปเพื่อการอนาจาร โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม โดยไม่ได้บรรยายว่า มีการขู่เข็ญ หรือใช้กำลังประทุษร้ายหรือใช้อุบายหลอกลวง ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจาร ตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก ที่โจทก์มีคำขอให้ลงโทษ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหานี้แม้คู่ความจะมิได้ยกขึ้นอุทธรณ์ฎีกา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10918/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดฐานตั้งสถานบริการและค้ามนุษย์: การบรรยายฟ้องต้องครบถ้วนตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตแต่เพียงว่า จำเลยตั้งสถานบริการประเภทที่มีอาหาร สุรา น้ำชาหรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีและการแสดงอย่างอื่นเพื่อการบันเทิงบริการแก่ลูกค้า ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการค้าของจำเลยโดยไม่ได้รับใบอนุญาต โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าจำเลยยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้นักร้อง นักแสดงหรือพนักงานอื่นใดนั่งกับลูกค้าหรือซึ่งปิดทำการหลังเวลา 24.00 นาฬิกา ด้วยแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์ข้อหานี้จึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานตั้งสถานบริการโดยไม่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.สถานบริการ พ.ศ.2509 มาตรา 3 และมาตรา 4 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานค้ามนุษย์ว่า จำเลยกระทำการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป โดยการพูดยุยงส่งเสริม โดยใช้อุบายหลอกลวง ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดด้วยการให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุเกินสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีให้ค้าประเวณี ทั้งนี้ เพื่อการอนาจารและสนองความใคร่ของผู้อื่นเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด แม้ผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็กอายุเกินกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีโดยบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กกระทำการค้าประเวณี ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) แต่โจทก์ฎีกาว่า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ รับผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไว้ให้มานั่งดริ้ง และเมื่อเด็กจะออกไปค้าประเวณีต้องจ่ายค่าปรับค่าร้านให้แก่จำเลย 300 บาท มิฉะนั้นเด็กไม่มีโอกาสที่จะออกจากร้านจำเลยไปได้นั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วยการรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ซึ่งเป็นการกระทำที่โจทก์ไม่ได้บรรยายไว้ในฟ้อง อีกทั้งฟ้องตามที่บรรยายมาก็ไม่อาจแปลความหรือทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ข้อที่โจทก์ฎีกามาจึงเป็นการนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
โจทก์บรรยายฟ้องในความผิดฐานค้ามนุษย์ว่า จำเลยกระทำการค้ามนุษย์เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ เพื่อสนองความใคร่ของผู้อื่น เป็นธุระจัดหา ล่อไป โดยการพูดยุยงส่งเสริม โดยใช้อุบายหลอกลวง ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมหรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใดด้วยการให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กอายุเกินสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีให้ค้าประเวณี ทั้งนี้ เพื่อการอนาจารและสนองความใคร่ของผู้อื่นเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด แม้ผู้เสียหายจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม และเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับการค้าเด็กอายุเกินกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีโดยบังคับ ขู่เข็ญ ชักจูง ยุยง ส่งเสริม หรือยินยอมให้ผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กกระทำการค้าประเวณี ไม่ว่าจะเป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าตอบแทนหรือเพื่อการใด เพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น ไม่ว่าเด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม เป็นการบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (1) แต่โจทก์ฎีกาว่า พฤติการณ์ของจำเลยเป็นการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ รับผู้เสียหายซึ่งเป็นเด็กไว้ให้มานั่งดริ้ง และเมื่อเด็กจะออกไปค้าประเวณีต้องจ่ายค่าปรับค่าร้านให้แก่จำเลย 300 บาท มิฉะนั้นเด็กไม่มีโอกาสที่จะออกจากร้านจำเลยไปได้นั้น เป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ด้วยการรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบอันเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ซึ่งเป็นการกระทำที่โจทก์ไม่ได้บรรยายไว้ในฟ้อง อีกทั้งฟ้องตามที่บรรยายมาก็ไม่อาจแปลความหรือทำให้เข้าใจได้ว่าจำเลยรับไว้ซึ่งเด็กเพื่อแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ข้อที่โจทก์ฎีกามาจึงเป็นการนอกเหนือไปจากที่โจทก์ฟ้อง ศาลจะลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 มาตรา 6 (2) ไม่ได้ ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง