พบผลลัพธ์ทั้งหมด 279 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4968/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้าย ยิงป้องกันตัวเกินกว่าเหตุ ศาลลดโทษตามประมวลกฎหมายอาญา ม.69, 62
จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายกับพวกจะเข้ามาลักผลไม้ในไร่และผู้ตายเดินเข้ามาจะทำร้ายจำเลย แต่ผู้ตายไม่ได้มีอาวุธหรือพูดข่มขู่หรือมีกิริยาอาการว่าจะทำร้ายจำเลยโดยวิธีใดอันจะทำให้จำเลยได้รับอันตรายร้ายแรง หากจำเลยเพียงแต่ยิงขู่ก็น่าจะเป็นการเพียงพอที่จะทำให้ผู้ตายเกรงกลัวและหลบหนีไปได้เพราะผู้ตายมิใช่คนร้าย การที่จำเลยใช้อาวุธปืนลูกซองยาวยิงผู้ตายที่บริเวณหน้าท้อง 1 นัด จนผู้ตายล้มลงแล้วจำเลยยังใส่กระสุนปืนลูกซองเข้าไปใหม่แล้วยิงผู้ตายที่ศีรษะซ้ำอีก 1 นัด จนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทำโดยป้องกันอันเกินกว่ากรณีแห่งการจำต้องกระทำเพื่อป้องกันตาม ป.อ. มาตรา 69 และความสำคัญผิดของจำเลยเกิดขึ้นโดยความประมาท เนื่องจากมิได้ใช้ความระมัดระวังพิจารณาให้รอบคอบว่าผู้ตายกับพวกเป็นคนร้ายจริงไม่ จำเลยจึงมีความผิดฐานกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตาม ป.อ. มาตรา 291 โดยผลของมาตรา 62 วรรคสองด้วย ซึ่งแม้จะแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวมาในฟ้อง แต่เป็นการต่างกันระหว่างการกระทำความผิดโดยเจตนากับประมาท ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคสองและวรรคสาม ประกอบด้วยมาตรา 215 และ 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5547/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 15 ปี จำเลยสำคัญผิดเรื่องอายุหรือไม่
ขณะที่จำเลยขับรถจักรยานยนต์พาผู้เสียหายที่ 1 นั่งซ้อนท้ายไปเที่ยวที่หาดทรายแก้ว ผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นบิดาผู้เสียหายที่ 1 ก็อยู่บริเวณใกล้ๆ นั้นด้วยหลังจากนั้น 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายที่ 2 ไปขอร้องให้ น. พาไปพูดกับบิดามารดาจำเลยว่ายอมจะรับเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 เป็นสะใภ้หรือไม่ เมื่อบิดามารดาจำเลยบอกว่าจะรับเลี้ยงดูผู้เสียหายที่ 1 เหมือนบุตรสะใภ้ ผู้เสียหายที่ 2 ก็พอใจโดยไม่มีการเรียกสินสอดแต่อย่างใด ต่อมา 2 ถึง 3 วัน ผู้เสียหายที่ 2 ไปขอให้ น. ไปพูดกับบิดามารดาจำเลยว่าให้ทำพิธีสมรส แต่บิดามารดาจำเลยบอกว่าให้รอไว้ก่อน ผู้เสียหายที่ 2 รู้เรื่องดังกล่าวแล้วก็มิได้โต้แย้งหรือคัดค้าน ตามพฤติการณ์ของผู้เสียหายที่ 2 ดังกล่าวเชื่อได้ว่าจำเลยพาผู้เสียหายที่ 1 ไปที่บ้านจำเลยและกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 โดยความยินยอมของผู้เสียหายที่ 1 และโดยความรู้เห็นยินยอมของผู้เสียหายที่ 2 การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกิน 15 ปี ไปเสียจากบิดามารดาโดยปราศจากเหตุอันสมควรเพื่อการอนาจารตาม ป.อ.317 วรรคสาม
แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เกือบจะมีอายุครบ 15 ปี แล้วก็ตาม แต่กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเรื่องอายุของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก นั้นจะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจสำคัญผิดโดยสุจริต แต่จำเลยมิได้นำสืบในเรื่องดังกล่าว จำเลยคงเบิกความว่าผู้เสียหายที่ 1 บอกจำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 มีอายุ 16 ปี ส่วน ส.พี่สาวจำเลยให้การชั้นสอบสวนว่า ผู้เสียหายที่ 1 บอก ส. ว่ามีอายุ 16 ปีกว่าแล้ว ส่วน บ. บิดาจำเลยกลับให้การชั้นสอบสวนว่า บ. ได้สอบถามเรื่องอายุ ผู้เสียหายที่ 1 บอกว่ามีอายุ 18 ปี คำเบิกความของจำเลยและคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. ไม่สอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของ บ. เพราะขัดแย้งหรือต่างกันมากถึง 2 ปี ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีรูปร่างใหญ่กว่าเด็กหญิงทั่วไปอันเป็นเหตุชักจูงใจให้จำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ลำพังคำเบิกความของจำเลยที่ว่าผู้เสียหายที่ 1 บอกว่ามีอายุ 16 ปี เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งไม่ใช่ภริยาของตนโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก
แม้ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายที่ 1 เกือบจะมีอายุครบ 15 ปี แล้วก็ตาม แต่กรณีจะเป็นเรื่องสำคัญผิดในข้อเท็จจริงเรื่องอายุของผู้เสียหายที่ 1 อันเป็นองค์ประกอบของความผิดตาม ป.อ. มาตรา 62 วรรคแรก นั้นจะต้องมีพฤติการณ์หรือเหตุชักจูงใจสำคัญผิดโดยสุจริต แต่จำเลยมิได้นำสืบในเรื่องดังกล่าว จำเลยคงเบิกความว่าผู้เสียหายที่ 1 บอกจำเลยว่าผู้เสียหายที่ 1 มีอายุ 16 ปี ส่วน ส.พี่สาวจำเลยให้การชั้นสอบสวนว่า ผู้เสียหายที่ 1 บอก ส. ว่ามีอายุ 16 ปีกว่าแล้ว ส่วน บ. บิดาจำเลยกลับให้การชั้นสอบสวนว่า บ. ได้สอบถามเรื่องอายุ ผู้เสียหายที่ 1 บอกว่ามีอายุ 18 ปี คำเบิกความของจำเลยและคำให้การชั้นสอบสวนของ ส. ไม่สอดคล้องกับคำให้การชั้นสอบสวนของ บ. เพราะขัดแย้งหรือต่างกันมากถึง 2 ปี ทั้งไม่ปรากฏว่าผู้เสียหายที่ 1 มีรูปร่างใหญ่กว่าเด็กหญิงทั่วไปอันเป็นเหตุชักจูงใจให้จำเลยสำคัญผิดโดยสุจริต ลำพังคำเบิกความของจำเลยที่ว่าผู้เสียหายที่ 1 บอกว่ามีอายุ 16 ปี เป็นการกล่าวอ้างที่เลื่อนลอย ย่อมไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง เมื่อจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 1 อายุไม่เกิน 15 ปี ซึ่งไม่ใช่ภริยาของตนโดยผู้เสียหายที่ 1 ยินยอม จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 277 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1539/2563
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ไม่ชอบเนื่องจากข้อมูลทรัพย์ไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ซื้อสำคัญผิดในสาระสำคัญของทรัพย์
ที่ตั้งจริงของทรัพย์อยู่ห่างจากที่ตั้งของทรัพย์ตามประกาศขายทอดตลาดเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร และมีเนื้อที่เพียง 18 ไร่เศษ ทั้งเป็นที่ดินไม่มีทางเข้าออก การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประกาศขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ระบุว่า เนื้อที่ 22 ไร่ 3 งาน 46 ตารางวา และมีแผนที่สังเขปแสดงสภาพที่ดินว่าด้านหนึ่งของที่ดินติดกับที่สาธารณะประโยชน์ของกรมทางหลวง ทั้งมีภาพถ่ายท้ายประกาศแสดงว่าเป็นที่ดินที่ใช้ทำการเกษตร โดยโจทก์เป็นผู้นำส่งภาพถ่ายและแผนที่ที่ตั้งทรัพย์ยืนยันว่าถูกต้องตรงกับทรัพย์ที่นำยึดทุกประการ เมื่อปรากฏว่าที่ดินมีเนื้อที่ต่างกันประมาณ 5 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 20 ของเนื้อที่จริง และมีที่ตั้งอยู่ห่างกัน 5 กิโลเมตร อันนับว่าที่ดินมีที่ตั้งและเนื้อที่ต่างจากที่ปรากฏในประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นอย่างมาก ดังนั้น แม้ประกาศของเจ้าพนักงานบังคับคดีจะระบุว่า ผู้ซื้อทรัพย์มีหน้าที่ต้องตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับทรัพย์ที่จะซื้อ และถือว่าผู้ซื้อทรัพย์ได้ทราบถึงสภาพทรัพย์โดยละเอียดครบถ้วนแล้วก็ตาม แต่เมื่อการปิดประกาศขายทอดตลาด ณ ที่ตั้งทรัพย์ดังกล่าว เป็นการปิดประกาศ ณ สถานที่ที่ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง แม้ผู้ซื้อทรัพย์ไปตรวจดูที่ดินตามที่ระบุไว้ในแผนที่สังเขป ซึ่งไม่ใช่ที่ตั้งทรัพย์จริง ผู้ซื้อทรัพย์อาจไม่ทราบถึงความคลาดเคลื่อนดังกล่าว ดังนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีชอบที่จะตรวจสอบที่ดินแปลงดังกล่าว และให้ข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริงก่อนจะประกาศขายทอดตลาด การที่เจ้าพนักงานบังคับคดีเพียงแนบแผนที่สังเขปดังกล่าว ย่อมทำให้ผู้ซื้อทรัพย์สำคัญผิดเกี่ยวกับสภาพของทรัพย์ที่จะขายทอดตลาด ซึ่งถือว่าเป็นข้อสาระสำคัญที่ทำให้ผู้ซื้อทรัพย์สำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นไปโดยไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8387/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้ส่งสำเนาฎีกาซ้ำซ้อน ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งเดิม ชี้โจทก์สำคัญผิดเนื่องจากส่งเอกสารไปแล้ว
ในชั้นร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลชั้นฎีกา โจทก์ได้ส่งสำเนาคำร้องขอยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลและสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยและจำเลยได้รับเอกสารดังกล่าวแล้ว เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 7 มีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลในชั้นฎีกาทั้งหมด ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะสั่งให้รับฎีกาของโจทก์ไว้แล้วออกหมายนัดแจ้งให้จำเลยทราบกับกำหนดให้จำเลยแก้ฎีกาของโจทก์ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหมายนัด ไม่มีเหตุที่จะต้องสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยซ้ำอีก การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์นำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยแก้ในครั้งหลังนี้อีกจึงเป็นการผิดหลง และเป็นเหตุให้โจทก์สำคัญผิดว่าการที่โจทก์ได้ส่งสำเนาฎีกาให้แก่จำเลยไว้ดังกล่าวข้างต้น เป็นการที่โจทก์ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้ว ไม่จำต้องปฏิบัติซ้ำอีก จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีในการนำส่งสำเนาฎีกาให้จำเลยตามคำสั่งศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดโดยสำคัญผิดและสิทธิในการติดตามเรียกคืนเงินจากผู้ไม่มีสิทธิ
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยคืนเงินเบี้ยหวัด เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เงินบำนาญ และเงินบำเหน็จดำรงชีพที่โจทก์จ่ายให้แก่จำเลยไป โดยจำเลยไม่มีสิทธิจะรับเงินดังกล่าว เนื่องจากจำเลยปิดบังไม่ให้โจทก์ทราบว่าจำเลยกลับเข้ารับราชการ ซึ่งเป็นตำแหน่งที่มีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2543 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดจ่ายให้แก่จำเลยโดยสำคัญผิดว่าจำเลยมีสิทธิได้รับการได้รับเงินเบี้ยหวัดของจำเลยไปจากโจทก์จึงเป็นการรับโดยไม่ชอบซึ่งไม่ใช่กรณีที่โจทก์เบิกจ่ายเงินเบี้ยหวัดแก่จำเลยเพื่อชำระหนี้เพราะเป็นเรื่องจำเลยขอรับสวัสดิการจากหน่วยงานของรัฐจำเลยต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบของทางราชการ ดังนี้ แม้เงินที่จำเลยจะได้รับไปจะเป็นการได้มาโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แต่เมื่อเป็นการได้มาโดยไม่ชอบก็ไม่ใช่เรื่องลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 โจทก์ในฐานะเจ้าของเงินที่ส่งมอบให้จำเลยไปโดยสำคัญผิดย่อมมีสิทธิติดตามเอาเงินของโจทก์คืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะได้รับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 ซึ่งไม่มีกำหนดอายุความ
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2561)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 17/2561)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8685/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการขายทอดตลาดจากคดีล้มละลาย: ผู้ซื้อสำคัญผิดในสภาพทรัพย์สินเนื่องจากข้อมูลไม่ถูกต้อง
ผู้ร้องทั้งสองซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2557 และยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดต่อศาลจังหวัดระยองซึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2557 ในประกาศเจ้าพนักงานบังคับคดี สำนักงานบังคับคดีจังหวัดระยองเรื่องขายทอดตลาดที่ดินระบุว่า เป็นการขายทอดตลาดในคดีของศาลจังหวัดสงขลาหมายเลขแดงที่ 3221/2541 ระหว่าง ธนาคาร น. โจทก์ และจำเลยทั้งสองมิได้ระบุว่าเป็นการดำเนินการแทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย การที่ผู้ร้องทั้งสองเข้าใจว่าเป็นการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดในคดีแพ่งทั่วไปมิใช่คดีล้มละลายก็เนื่องมาจากประกาศขายทอดตลาดระบุว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีจะขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 และเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายโดยมิได้แจ้งให้ผู้เข้าสู้ราคาทราบว่าเป็นการขายทอดตลาดทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต่อมาเมื่อผู้ร้องทั้งสองทราบจากรายงานของเจ้าพนักงานบังคับคดีในวันนัดไต่สวนคำร้องของศาลจังหวัดระยองเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 ว่า จำเลยที่ 2 เป็นบุคคลล้มละลาย ผู้ร้องทั้งสองรีบดำเนินการยื่นคำร้องขอถอนคำร้องต่อศาลจังหวัดระยองและยื่นคำร้องในคดีนี้เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2558 อันเป็นระยะเวลาห่างกันเพียง 9 วัน แสดงให้เห็นว่าผู้ร้องทั้งสองมิได้เพิกเฉยปล่อยปละละเลยที่จะไม่ยื่นคำร้องต่อศาลภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ ศาลฎีกาเห็นสมควรขยายระยะเวลายื่นคำร้องให้แก่ผู้ร้องทั้งสองและรับคำร้องของผู้ร้องทั้งสองไว้วินิจฉัยต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3339/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน โมฆียะกรรมประมูลซื้อรถยนต์
โจทก์ต้องการประมูลซื้อรถพิพาทที่ประกอบและนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งคัน แต่เมื่อปรากฏว่ารถพิพาทเป็นรถที่นำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศมาประกอบเป็นรถจักรยานยนต์ในประเทศ การที่โจทก์ประมูลซื้อรถพิพาทจากการขายทอดตลาดของจำเลยจึงเป็นการแสดงเจตนาโดยสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์สินซึ่งเป็นข้อสาระสำคัญ ซึ่งหากมิได้มีความสำคัญผิดดังกล่าวโจทก์ย่อมไม่เข้าร่วมประมูลซื้อรถพิพาท การแสดงเจตนาของโจทก์ในการประมูลรถพิพาทจึงเป็นโมฆียะตาม ป.พ.พ. มาตรา 157 โจทก์จึงมีสิทธิบอกล้างโมฆียะกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 175 (3) เมื่อโจทก์มีหนังสือบอกล้างโมฆียะกรรมแล้ว ถือว่าการประมูลซื้อรถพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยตกเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก คู่สัญญาต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 978/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาขายฝากสำคัญผิดในราคา โมฆะ คืนทรัพย์สิน + คืนเงิน
การที่ขณะทำสัญญาขายฝากที่ดินพิพาทโจทก์เข้าใจว่าตกลงขายฝากที่ดินพิพาทเป็นเงิน 160,000 บาท ตามจำนวนเงินที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 มิใช่ 500,000 บาท ตามที่ระบุในสัญญาขายฝากเป็นกรณีโจทก์สำคัญผิดในเรื่องราคาขายฝาก แม้มิใช่การสำคัญผิดในลักษณะของนิติกรรม หรือตัวบุคคลซึ่งเป็นคู่กรณีแห่งนิติกรรม หรือทรัพย์สินซึ่งเป็นวัตถุแห่งนิติกรรม แต่ราคาที่ตกลงขายฝากย่อมมีความสำคัญมากพอกับตัวทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งนิติกรรม ถือว่าโจทก์แสดงเจตนาทำนิติกรรมการขายฝากโดยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม สัญญาขายฝากที่ดินพิพาทจึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย ศาลจึงต้องเพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนการขายฝากที่ดินพิพาท
ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก
ส่วนเงินจำนวน 160,000 บาท ที่โจทก์ได้รับจากจำเลยที่ 2 นั้น เป็นการรับไว้โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ โจทก์จึงต้องคืนให้แก่จำเลยที่ 1 ฐานลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง แม้จำเลยที่ 1 มิได้ฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 1 แต่เมื่อโจทก์ไม่อาจอ้างสิทธิใด ๆ ที่จะยึดถือเงินนั้นไว้ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้โจทก์คืนแก่จำเลยที่ 1 ให้เสร็จสิ้นไปในคราวเดียวกัน ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินกว่าคำขอตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สำหรับเงินอีกจำนวน 340,000 บาท ที่จำเลยที่ 2 เบียดบังเอาไปเป็นของตนเป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 ต้องว่ากล่าวเอาจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อีกส่วนหนึ่งต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4084/2567
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โมฆียะกรรม สัญญาซื้อขายรถยนต์พิพาทสำคัญผิดในคุณสมบัติทรัพย์สิน ค่าเสื่อมราคาชดใช้
ผลของการบอกล้างโมฆียะกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง กำหนดให้คู่กรณีได้กลับคืนฐานะเดิมทุกกรณี แม้การคืนทรัพย์จะพ้นวิสัยก็ต้องกำหนดค่าเสียหายแทน โดยการพ้นวิสัยจะให้กลับคืนสู่ฐานะเดิมให้ได้รับค่าสินไหมทดแทนนั้นอาจเกิดจากการคืนทรัพย์ที่เคยรับไว้ให้แก่คู่กรณีไม่ได้เพราะทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลายหมดสิ้นจึงไม่อาจคืนกันได้ หรือคืนได้แต่ทรัพย์นั้นมีความชำรุดบกพร่องหรือบุบสลายไปบางส่วน ส่วนที่ชำรุดบกพร่องหรือบุบสลายไปนั้น ถือเป็นการพ้นวิสัยที่จะกลับคืนสู่ฐานะเดิมได้ ฝ่ายมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์จึงต้องใช้ค่าเสียหายแทน ทั้งนี้ โดยไม่ต้องพิจารณาถึงความสุจริตของฝ่ายที่รับทรัพย์สินนั้นเลยว่าจะได้รับทรัพย์สินนั้นไว้โดยสุจริตหรือไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 ส่งมอบรถพิพาทให้โจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2553 ซึ่งโจทก์ครอบครองใช้ประโยชน์ตลอดมา ต่อมาวันที่ 9 มิถุนายน 2556 กรมสอบสวนคดีพิเศษอายัดรถพิพาทเพื่อตรวจสอบ แต่หลังจากนั้นเพียง 1 เดือนเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษคืนรถให้โจทก์กลับไปครอบครองดูแลโดยไม่ห้ามโจทก์นำรถออกใช้ประโยชน์ จึงต้องถือว่าโจทก์ได้รับประโยชน์จากการใช้รถพิพาทตลอดมา เมื่อนับตั้งแต่จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถพิพาทให้โจทก์จนปัจจุบัน รวมเวลากว่า 13 ปี รถพิพาทย่อมชำรุดบกพร่องเป็นเหตุให้เสื่อมสภาพหรือเสื่อมราคา ทำให้ราคารถพิพาทลดลง กรณีจึงเป็นการพ้นวิสัยที่โจทก์จะคืนรถแก่จำเลยที่ 1 ในสภาพเดิมได้ ค่าเสื่อมราคาจากการใช้ประโยชน์รถพิพาทของโจทก์เป็นค่าเสียหายชดใช้แทนที่ศาลมีอำนาจกำหนดให้ได้ แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้ให้การหรือนำสืบถึง สมควรกำหนดค่าเสื่อมราคารถพิพาทเป็นเงิน 16,000,000 บาท เมื่อนำไปหักออกจากราคารถพิพาท คงเหลือเงินที่จำเลยที่ 1 ต้องคืนแก่โจทก์ 23,000,000 บาท