พบผลลัพธ์ทั้งหมด 369 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 673/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์ลูกหนี้และการโต้แย้งว่าการขายฝากไม่สุจริต ศาลมีอำนาจวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องฟ้องเพิกถอน
โจทก์ยึดทรัพย์ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาผู้ร้องร้องขัดทรัพย์ว่าจำเลยได้ขายฝากไว้กับตนโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์เถียงว่าการขายฝากระหว่างจำเลยกับผู้ร้องไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่สุจริตและทำให้โจทก์เสียเปรียบฯลฯสัญญาขายฝากใช้ไม่ได้ ดังนี้ศาลมีอำนาจที่จะวินิจฉัยชี้ขาดว่านิติกรรมการขายฝากนั้นทำขึ้นโดยสมยอมไม่สุจริตทำให้โจทก์เสียเปรียบหรือไม่โดยโจทก์ไม่ต้องไปฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมก่อนตาม มาตรา 237 แห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับใบแทนโฉนดโดยไม่สุจริต ไม่มีสิทธิฟ้องแย่งการครอบครองจากผู้ครอบครองเดิม
ผู้ได้ใบแทนโฉนดตลอดจนการจดทะเบียนสิทธิมาโดยไม่สุจริต ย่อมไม่มีสิทธิฟ้องผู้ครอบครองที่ดินอยู่ก่อนและยึดถือโฉนดไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังมิได้แก้หลักฐานทางทะเบียนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 504/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้รับใบแทนโฉนดไม่สุจริต ไม่มีสิทธิฟ้องครอบครองที่ดินเดิม
ผู้ได้ใบแทนโฉนดตลอดจนการจดทะเบียนสิทธิมาโดยไม่สุจริตย่อมไม่มีสิทธิฟ้องผู้ครอบครองที่ดินอยู่ก่อนและยึดถือโฉนดไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ยังมิได้แก้หลักฐานทางทะเบียนแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17-18/2497
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยมิได้จดทะเบียน และการได้กรรมสิทธิ์โดยอายุความ การซื้อขายที่ไม่สุจริต
การครอบครองที่ดินโดยปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 อาจใช้ยันผู้เยาว์ได้ไม่ใช่การแสดงเจตนาตามมาตรา 131
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 576/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้จะซื้อที่ดินเมื่อคดีถึงที่สุดช้า การเพิกถอนนิติกรรมโอนขายที่ดินที่ไม่สุจริต
สิทธิของผู้จะซื้อที่ดินตามสัญญาจะซื้อขายที่ดิน เมื่อนำคดีมาสู่ศาลจนศาลพิพากษาให้ผู้จะขายโอนขายที่ดินให้แก่ผู้จะซื้อขายนั้นแล้ว แม้คดีจะยังไม่ถึงที่สุด ก็อยู่ในฐานะเป็นผู้อันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1300 แล้ว ฉะนั้นถ้าผู้จะขาย ที่ดินนั้นแก่ผู้อื่นไปในระหว่างที่คดียังไม่ถึงที่สุด โดยผู้ซื้อไม่สุจริตแล้ว ผู้จะซื้อก็มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237, 1300.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกโดยไม่สุจริตไม่ทำให้กรรมสิทธิของทายาทร่วมเสียไป สามารถฟ้องให้ศาลใส่ชื่อเป็นเจ้าของร่วมได้
ทายาทลำดับเดียวกันได้รับมรดดกเป็นที่ดินแล้ว ต่างได้ครอบครองเป็นเจ้าของร่วมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยยังมิได้โอนโฉนดกัน ครั้งภายหลังทายาทคนหนึ่งไปประกาศขอรับมรดกใส่ชื่อตนเป็นเจ้าของเสียแต่ผู้เดียว ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่เพราะเชื่อถ้อยคำของทายาทคนแรกว่าจะลงชื่อตนเป็นผู้รับมรดกด้วย ฉะนั้นการรับมรดกของทายาทคนแรกจึงเป็นไปโดยไม่สุจริต หาทำให้ทายาทอีกคนหนึ่งขาดกรรมสิทธิในที่ดินมรดกนั้นไม่ ทายาทผู้นั้นมีสิทธิฟ้องของให้ศาลใส่ชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 264/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับมรดกโดยไม่สุจริตไม่ตัดสิทธิทายาทอื่นที่ครอบครองร่วมกัน แม้จะไม่ได้คัดค้าน
ทายาทลำดับเดียวกันได้รับมรดกเป็นที่ดินแล้ว ต่างได้ครอบครองเป็นเจ้าของร่วมกันมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว โดยยังมิได้โอนโฉนดกันครั้นภายหลังทายาทคนหนึ่งไปประกาศขอรับมรดกใส่ชื่อตนเป็นเจ้าของเสียแต่ผู้เดียว ดังนี้ เมื่อได้ความว่า การที่ทายาทอีกคนหนึ่งไม่คัดค้านก็เพราะเชื่อถ้อยคำของทายาทคนแรกว่าจะลงชื่อตนเป็นผู้รับมรดกด้วย ฉะนั้นการรับมรดกของทายาทคนแรกจึงเป็นไปโดยไม่สุจริตหาทำให้ทายาทอีกคนหนึ่งขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินมรดกนั้นไม่ ทายาทผู้นั้นมีสิทธิฟ้องขอให้ศาลใส่ชื่อตนเป็นเจ้าของร่วมด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1192/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้หลังการเสียชีวิตของผู้ทำสัญญาเดิม และการเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายเนื่องจากผู้ซื้อไม่สุจริต
มารดาทำสัญญาจะขายที่ดินให้แก่เขา โดยได้รับเงินค่าที่ดินนั้นไว้บางส่วน และส่งมอบที่ดินให้เขาครอบครองแล้ว ครั้นมารดาถึงแก่กรรม บุตรผู้เป็นทายาทได้ไปขอรับเงินค่าที่ดินนั้นเพิ่มเติมจากผู้ซื้อ และรับว่าจะปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่ดินนั้น ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฎว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกเป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237
ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้แก่เขา แล้ว กลับเอาที่ดินไปจดทะเบียนการซื้อขายกันที่อำเภอ เมื่อปรากฎว่าญาติผู้ซื้อรับโอนที่ดินรายนี้ไว้โดยไม่สุจริต ล่วงรู้ถึงพฤติการณ์อันทำให้ผู้ซื้อคนแรกเป็นเจ้าหนี้ผู้ขายต้องเสียเปรียบแล้ว ผู้ซื้อคนแรกก็มีสิทธิที่จะขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายรายหลังนี้ได้ ตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 237
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 762/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์เมื่อเขตที่ดินไม่ตรงกับโฉนด การไม่สุจริตของผู้ซื้อ
โจทก์จำเลยต่างซื้อที่ดินมีโฉนด ซึ่งอยู่ติดต่อกันคนละโฉนดแล้วต่างเข้าปกครองตามเขตที่ผู้ขายเดิมครอบครองมา ทั้งสองฝ่ายภายหลังรังวัดสอบเขตตามโฉนดกันจึงปรากฎว่าเขตที่ดินที่โจทก์ปกครองตั้งแต่ซื้อตลอดมานั้นล้ำเข้าไปในเขตโฉนดของจำเลยส่วนหนึ่ง ดังนี้เมื่อปรากฎว่าโจทก์ได้ปกครองที่ดินส่วนที่ล้ำเข้าไปนั้นเกินกว่า 10 ปีแล้ว จำเลยจะอ้าง ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1299,1300 มาคุ้มครองจำเลยโดยจำเลยจะเอาทีส่วนที่โจทก์ปกครองนั้นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิรวม สันนิษฐานเท่ากัน แต่พิสูจน์ส่วนได้เสียต่างกันได้ การรับโอนรู้ส่วนได้เสียไม่สุจริต
ป.ม.แพ่ง ฯ มาตรา 1357 เป็นแต่เพียงความสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้นว่า ผู้เป็นเจ้าของร่วมมีส่วนเท่ากันแต่ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันย่อมนำสืบได้ว่า มีส่วนมากน้อยกว่ากันได้ ฉะนั้นผู้มีชื่อในโฉนดร่วมกันย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้แสดงว่าใครมีส่วนเป็นเจ้าของมากน้อยเพียงใดได้
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของคนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น เพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายมีกรรมสิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ดังที่มีชื่อในโฉนดเพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต
ที่ดินมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิในโฉนดร่วมกัน 2 คน เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายส่วนของคนให้แก่ผู้ซื้อ แล้วถูกผู้ซื้อฟ้องศาลจนศาลพิพากษาให้โอนแก่ผู้ซื้อ ในชั้นบังคับคดีผู้เป็นเจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลว่าเจ้าของร่วมผู้ขายมีกรรมสิทธิในที่ดินนั้น เพียง 3 ไร่ ไม่ใช่ครึ่งหนึ่ง ศาลได้รับข้อค้านนั้นไว้ดำเนินการพิจารณาต่อไป หลังจากนั้นผู้ซื้อจึงได้รับโอนที่ดินนั้นกึ่งหนึ่ง ดังนี้ ย่อมถือได้ว่ารับโอนไว้โดยรู้อยู่แล้วว่า ผู้ตายมีกรรมสิทธิไม่ถึงครึ่งหนึ่ง ดังที่มีชื่อในโฉนดเพราะมีข้อพิพาทกันต่อไปแล้วว่า ผู้ขายมีส่วนเป็นเจ้าของเท่าไรแน่ ฉะนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต