คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
การจ่ายเงิน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพิ่มค่าก่อสร้าง: ข้อกำหนดการจ่ายเงินไม่ใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการชำระหนี้ และประเด็นอายุความที่ไม่อุทธรณ์ในชั้นต้น
กระทรวงสาธารณสุขจำเลยทำสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้าง เพราะอุปกรณ์การก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นผิดปกติ เนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ หากจำเลยผู้ว่าจ้างไม่เพิ่มให้โจทก์อาจทิ้งงานเป็นผลให้งานก่อสร้างของทางราชการต้องล่าช้าเสียหาย เงินเพิ่มชดเชยนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาเดิมซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างจะต้องวางเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันเช่นเดียวกับสัญญาเดิม และเป็นเงินที่เพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจำนวนตามที่คู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า จะเพียงพอให้งานก่อสร้างตามสัญญาเดิมดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ดังนั้น ข้อความในสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างที่ว่า " ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับจ้าง เป็นจำนวนเงิน 1,530,880 บาท เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว " จึงมิใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้าง คือ จำเลยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างให้โจทก์ เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สำนักงบประมาณไม่อนุมัติงวดเงินที่ค้างชำระอยู่อีก 356,690 บาทหาได้ไม่
จำลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิม พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเพิ่มค่าก่อสร้าง: การจ่ายเงินเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณไม่ใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการจ่าย
กระทรวงสาธารณสุขจำเลยทำสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างเพราะอุปกรณ์การก่อสร้างมีราคาสูงขึ้นผิดปกติเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ หากจำเลยผู้ว่าจ้างไม่เพิ่มให้โจทก์อาจทิ้งงานเป็นผลให้งานก่อสร้างของทางราชการต้องล่าช้าเสียหาย เงินเพิ่มชดเชยนี้เป็นส่วนหนึ่งของค่าจ้างตามสัญญาเดิมซึ่งโจทก์ผู้รับจ้างจะต้องวางเงินสดหรือหนังสือค้ำประกันเช่นเดียวกับสัญญาเดิม และเป็นเงินที่เพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรีซึ่งมีจำนวนตามที่คู่สัญญาตกลงกันแล้วว่า จะเพียงพอให้งานก่อสร้างตามสัญญาเดิมดำเนินไปจนเสร็จสิ้น ดังนั้น ข้อความในสัญญาเพิ่มเงินค่าก่อสร้างที่ว่า "ผู้ว่าจ้างตกลงจะจ่ายเงินชดเชยให้แก่ผู้รับจ้าง เป็นจำนวนเงิน 1,530,880 บาท เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณตามกฎหมายแล้ว" จึงมิใช่เงื่อนไข แต่เป็นวิธีการกำหนดการจ่ายเงินค่าจ้างคือ จำเลยผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าจ้างให้โจทก์ เมื่อได้รับอนุมัติงวดเงินจากสำนักงบประมาณแล้ว จำเลยจะอ้างว่าไม่ต้องรับผิดในกรณีที่สำนักงบประมาณไม่อนุมัติงวดเงินที่ค้างชำระอยู่อีก 356,690 บาทหาได้ไม่
จำเลยไม่ได้ยกปัญหาเรื่องอายุความขึ้นในชั้นอุทธรณ์ จะยกขึ้นอ้างอิงในชั้นฎีกาไม่ได้ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมเดิมพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2401/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินสังขารานุเคราะห์: การจ่ายเงินให้ทายาทเมื่อผู้รับประโยชน์และสมาชิกถึงแก่กรรมก่อนเวลาอันควร
ผู้ตายเป็นสมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขระบุชื่อ ส. บิดาเป็นผู้รับประโยชน์เงินสังขารานุเคราะห์ไว้ ตามข้อบังคับ ย่อมมีผลว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข โดยองค์การดังกล่าวได้ทำสัญญาว่าจะชำระหนี้แก่ ส. บุคคลภายนอกสิทธิของ ส. จะเกิดมีขึ้นตั้งแต่เวลาที่แสดงเจตนาแก่ลูกหนี้ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญานั้น เมื่อ ส. ตายเสียก่อนโดยมิได้แสดงเจตนาว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาสิทธิของ ส. ในเงินสังขารานุเคราะห์จึงยังไม่เกิดขึ้นและไม่อาจตกทอดเป็นทรัพย์มรดกไปยังทายาทของ ส.
เงินสังขารานุเคราะห์เป็นเงินที่ผู้รับประโยชน์จะได้รับหลังจากที่สมาชิกขององค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขถึงแก่ความตายแล้ว มิใช่ทรัพย์สินที่สมาชิกผู้ตายมีอยู่ในขณะที่ถึงแก่ความตาย จึงไม่เป็นมรดกของผู้ตาย
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 132/2507)
ตามข้อบังคับกรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อสมาชิกตาย ให้จ่าย เงินสังขารานุเคราะห์แก่ผู้รับประโยชน์ซึ่งสมาชิกผู้ตายได้ระบุชื่อไว้แต่เมื่อผู้รับประโยชน์นั้นตายก่อนสมาชิก ย่อมไม่มีตัวผู้รับประโยชน์ที่จะรับเงินสังขารานุเคราะห์ได้ตามข้อบังคับ แม้เงินสังขารานุเคราะห์จะมิใช่ทรัพย์มรดกของสมาชิกผู้ถึงแก่ความตายแต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ลักษณะมรดกเป็นบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งในอันที่จะใช้บังคับเงินสังขารานุเคราะห์ดังกล่าวจึงควรจ่ายให้แก่ทายาทโดยธรรมของสมาชิกผู้ตาย เสมือนหนึ่งทรัพย์มรดก
กรมไปรษณีย์โทรเลขจำเลยให้การว่า ได้จ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ให้แก่ทายาทของผู้รับประโยชน์เป็นการถูกต้องตามข้อบังคับแล้วเท่ากับรับว่าองค์การสงเคราะห์ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลขอยู่ในความรับผิดชอบของกรมไปรษณีย์โทรเลข จะมายกข้อโต้แย้งขึ้นในชั้นฎีกาว่ากรมไปรษณีย์โทรเลข ไม่ ต้องรับผิดจ่ายเงินสังขารานุเคราะห์ หาได้ไม่
(วรรคหนึ่งถึงสามวินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่23/2515)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเมื่อคำขอไม่มีประโยชน์อีกต่อไปหลังมีการจ่ายเงินตามคำพิพากษา และสิทธิในการขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างพิจารณา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จ่ายเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์แก่โจทก์ผู้ร้องฎีกาขอให้ศาลระงับการจ่ายเงินดังกล่าวไว้จนกว่าคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์จำเลยในคดีนี้จะถึงที่สุด โดยผู้ร้องมิได้ขอให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา เมื่อศาลชั้นต้นจ่ายเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ให้แก่โจทก์ไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์ศาลฎีกาย่อมจำหน่ายคดีเสียได้
ในกรณีจำหน่ายคดีดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าตัดสินและค่าคำบังคับให้แก่ผู้ฎีกาได้ (คดีนี้ค่าขึ้นศาลมีเพียง 50 บาท ศาลฎีกาไม่สั่งคืน)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1421/2511

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีเนื่องจากคำขอไม่มีประโยชน์หลังมีการจ่ายเงินตามคำพิพากษา และสิทธิของผู้ร้องนอกเหนือจากเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จ่ายเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์แก่โจทก์.ผู้ร้องฎีกาขอให้ศาลระงับการจ่ายเงินดังกล่าวไว้จนกว่าคดีที่ผู้ร้องเป็นโจทก์ฟ้องโจทก์จำเลยในคดีนี้จะถึงที่สุด.โดยผู้ร้องมิได้ขอให้มีคำสั่งกำหนดวิธีการเพื่อคุ้มครองประโยชน์ในระหว่างการพิจารณา. เมื่อศาลชั้นต้นจ่ายเงินค่าขายทอดตลาดทรัพย์ให้แก่โจทก์ไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว ฎีกาของผู้ร้องจึงไม่มีประโยชน์.ศาลฎีกาย่อมจำหน่ายคดีเสียได้.
ในกรณีจำหน่ายคดีดังกล่าวแล้ว ศาลฎีกามีอำนาจสั่งคืนค่าตัดสินและค่าคำบังคับให้แก่ผู้ฎีกาได้.(คดีนี้ค่าขึ้นศาลมีเพียง 50 บาท ศาลฎีกาไม่สั่งคืน).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 261-262/2509

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมอายัดเงิน: เจ้าหนี้ผู้ขออายัดไม่ได้รับเงิน ต้องเสียค่าธรรมเนียมตามอัตราที่กำหนด
การที่โจทก์ร้องขออายัดเงินของจำเลย และต่อมาได้มีการจ่ายเงินที่อายัดบางส่วนตามคำพิพากษาให้จำเลยไปเงินอายัดที่จ่ายให้จำเลยนั้นต้องเสียค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีร้อยละ 1 ตามตาราง 5(4)ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเพราะเงินจำนวนนี้โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ผู้ขออายัดมิได้รับไปเลย กรณีไม่เข้าตาราง 5(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าป่วยการสมาชิกสภาเทศบาลเมื่อถูกพิพากษาจำคุกแต่มีประกันตัว ต้องพิจารณาการจำคุกจริงเท่านั้น
ข้อบังคับว่าด้วยการจ่ายเงินค่าป่วยการสมาชิกสภาเทศบาลต้องพิเคราะห์รวมกันทั้งหมดจะแยกความหมายและตีความทีละตอนไม่ได้
สมาชิกสภาเทศบาลเพียงแต่ถูกศาลพิพากษาให้จำคุกแต่มีประกันตัวไป ยังไม่ต้องจำคุกจริง จะงดจ่ายค่าป่วยการไม่ได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1056/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายเงินสิทธิประโยชน์ของผู้ตายให้แก่บุคคลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ผู้ตายทำงานอยู่องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ ในกรมรถไฟครั้นเมื่อถึงแก่กรรมลง มีสิทธิได้รับเงินหลายประเภทตามระเบียบข้อบังคับขององค์การและทางการวางไว้ บิดาผู้ตายจึงได้ร้องขอรับเงินจำนวนนี้ โดยแสดงว่าตนเป็นบิดา และกำลังร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอยู่แต่ทางกรมรถไฟกลับจ่ายเงินให้แก่ภริยาผู้ตายซึ่งปรากฏในทะเบียนประวัติว่าเป็นภริยาผู้ตาย แต่ปรากฏว่าภริยาผู้นี้มิได้จดทะเบียนสมรสกับผู้ตายตามกฎหมายนั้น เป็นการจ่ายที่ไม่รอบคอบขาดความระมัดระวัง จึงได้ชื่อว่าปฏิบัติไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 315 ฉะนั้นบิดาของผู้ตายในฐานะผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเงินจำนวนนั้นจากกรมรถไฟอีกได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13937/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างทางพฤติการณ์ และสิทธิการรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเมื่อมีการเลิกจ้าง
การวินิจฉัยว่ามีการเลิกจ้างแล้วหรือไม่ต้องพิจารณาถึงการกระทำของนายจ้างประกอบด้วย จะพิจารณาเพียงว่ามีการบอกกล่าวเลิกจ้างด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือแล้วหรือไม่ย่อมไม่ได้ แม้ในการประชุม ธ. ประธานกรรมการบริหารบริษัทในกลุ่มแพนจะขอให้โจทก์ลาออกโดยจะให้เวลาโจทก์ปรึกษากับครอบครัวก่อน 3 วัน แต่ในวันดังกล่าว ธ. ขอรถยนต์ประจำตำแหน่งที่โจทก์ใช้อยู่คืน และในช่วงระยะเวลา 3 วันนี้โจทก์ไม่ต้องไปทำงาน การกระทำของ ธ. มีลักษณะไม่ยอมให้โจทก์ทำงานให้จำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2545 อันเป็นวันที่เรียกเอารถยนต์ประจำตำแหน่งคืนจากโจทก์ ไม่ใช่เลิกจ้างในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ซึ่งเป็นวันที่คัดชื่อโจทก์ออกจากการเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1
เมื่อพิจารณารายงานการสิ้นสุดสมาชิกภาพของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วโจทก์มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบรวม 164,101.10 บาท แม้โจทก์จะมีคำขอให้จำเลยทั้งสามจ่ายเงินดังกล่าวเพียง 162,851.24 บาท แต่เพื่อให้โจทก์ได้รับเงินตามสิทธิของโจทก์และเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความเห็นสมควรพิพากษาเกินคำขอให้โจทก์
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ.2530 มาตรา 7 บัญญัติว่ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้จดทะเบียนแล้วเป็นนิติบุคคล และมาตรา 23 บัญญัติว่าเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพเพราะเหตุอื่นซึ่งมิใช่กองทุนเลิก ผู้จัดการกองทุนต้องจ่ายเงินจากกองทุนให้ลูกจ้าง กองทุนที่ดำเนินการให้แก่จำเลยที่ 1 คือ จำเลยที่ 2 โดยมีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการกองทุนทำหน้าที่บริหารจัดการจ่ายเงินจากจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์เท่านั้น จำเลยที่ 3 จึงไม่จำต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว ส่วนจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้าง ไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการกองทุน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินสมทบของนายจ้างแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10335/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้อง: จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้จะจ่ายเงินให้ผู้โอนสิทธิเดิม หากไม่ต่อสู้เรื่องความไม่สมบูรณ์ของสัญญา
โจทก์ฟ้องว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างถนนตามสัญญาที่จำเลยทำไว้กับห้างดังกล่าวให้แก่โจทก์และมีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว โดยโจทก์ได้แนบสำเนาหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและสำนวนหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องด้วย จำเลยมิได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าสำเนาหนังสือดังกล่าวไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้องอย่างไร ดังนี้ ถือว่าจำเลยยอมรับตามที่โจทก์กล่าวอ้างและยอมรับความถูกต้องของเอกสารท้ายฟ้องแล้ว ข้อเท็จจริงในส่วนนี้จึงรับฟังได้ตามคำฟ้องโดยที่โจทก์ไม่จำต้องนำสืบจำเลยจะมานำสืบภายหลังว่าหนังสือสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องและหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องฉบับที่อยู่ที่จำเลยมีข้อความบางอย่างไม่ครบถ้วนจึงไม่สมบูรณ์และไม่มีผลบังคับหาได้ไม่
คำให้การของจำเลยที่ว่าจำเลยไม่ทราบและไม่แน่ใจว่าจะมีการโอนสิทธิเรียกร้องกันจริงหรือไม่เพราะห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ได้นำหนังสือยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องมายื่นต่อจำเลยก็ดี จำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ใดๆ กับโจทก์ก็ดี ไม่เป็นคำให้การที่แสดงโดยชัดแจ้งอันจะก่อให้เกิดประเด็นในเรื่องความไม่สมบูรณ์ของการโอนสิทธิเรียกร้อง
ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. โอนสิทธิเรียกร้องที่มีต่อจำเลยให้แก่โจทก์โดยทำหนังสือบอกกล่าวการโอนสิทธิเรียกร้องไปยังจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตามวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ. มาตรา 303 วรรคหนึ่ง และมาตรา 306 แล้ว สิทธิเรียกร้องของห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. ในการรับเงินจากจำเลยตามสัญญาจ้างจึงตกเป็นของโจทก์นับแต่นั้น ลำพังแต่ความจริงของจำเลยที่จ่ายเงินค่าจ้างให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ร. เพราะได้รับแจ้งยกเลิกการโอนสิทธิเรียกร้องจากห้างดังกล่าวยังไม่เป็นเหตุที่จำเลยจะยกมาเป็นข้ออ้างเพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ได้
of 3