คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ก่อสร้างผิดแบบ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและขัดต่อกฎหมายควบคุมอาคาร ทำให้ต้องรื้อถอน แม้จะมีความมั่นคงแข็งแรง
ตาม แผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้ รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและ ดัดแปลงอาคารพิพาทได้ ระบุให้ใช้ โครงสร้างเดิม ซึ่ง เป็นไม้แต่ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิม ออกทั้งหมด แล้วก่อสร้างอาคารใหม่ ขึ้นทั้งหลังโดย ใช้ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้น พร้อมกับขยาย ความกว้างของตัว อาคารออกไปอีก เป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 31และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตาม แบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่และมิได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 21 ด้วย นอกจากนั้น แนวอาคารหลังใหม่ด้าน ทิศเหนือห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะเพียง 1.35 เมตรและห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้าน ทิศใต้เพียง 1.25 เมตรไม่ถึงด้าน ละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารฯ ข้อ 72 วรรคแรก ที่ดินของจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน100 ส่วนของพื้นที่ เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้อง ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ ดังนี้ การที่ เจ้าพนักงาน ท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้ อาคารนั้นมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือ ได้ ว่ามีเหตุผลสมควรที่จะต้อง รื้อถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อข้อบัญญัติควบคุมอาคาร ศาลยืนรื้อถอนได้ แม้มีความมั่นคง
ตามแผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ซ่อมแซมและดัดแปลงอาคารพิพาทได้ระบุให้ใช้โครงสร้างเดิมซึ่งเป็นไม้แต่จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิมทั้งหมดแล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลังโดยใช้โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้นพร้อมกับขยายความกว้างของตัวอาคารออกไปอีก จึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตามแบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 21 อีกด้วยและแนวอาคารด้านทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้านละ 3 เมตร เป็นการขัด ต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72วรรคแรก หากจะให้แนวอาคารร่นระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้านทิศเหนือกับด้านทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้านละ 3 เมตร ที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้นเมื่อที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วน ของพื้นที่เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าวแม้จะมีความมั่นคงแข็งแรงก็ถือได้ว่ามีเหตุผลสมควรจะต้องรื้อถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2482/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและขัดต่อข้อบัญญัติ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งรื้อถอนได้ แม้จะมีความมั่นคงแข็งแรง
ตาม แผนผังและแบบแปลนที่จำเลยได้ รับอนุญาตให้ซ่อมแซม และดัดแปลงอาคารพิพาทนั้นได้ ระบุใช้ โครงสร้างเดิมซึ่ง เป็นไม้แต่ ในการดำเนิน การ จำเลยกลับรื้ออาคารหลังเดิม ทั้งหมด แล้วก่อสร้างใหม่ทั้งหลัง โดยใช้ โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กเสาบ้านก็ก่อสร้างขึ้นใหม่ทุกต้น พร้อมกับขยายความกว้างของตัว อาคารออกไปอีก จึงเป็นการก่อสร้างผิดไปจากแผนผังและแบบแปลนที่ได้ รับอนุญาต เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522มาตรา 31 และเป็นการก่อสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้นตาม แบบแปลนที่จำเลยให้วิศวกรเขียนขึ้นใหม่โดย ไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น เป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา 21 อีกด้วย ข้อเท็จจริงปรากฏว่า แนวอาคารด้าน ทิศเหนือและทิศใต้ห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะไม่ถึงด้าน ละ 3 เมตร เป็นการขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522ข้อ 32 วรรคแรก และหากจะให้แนวอาคารร่น ระยะห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะด้าน ทิศเหนือกับด้าน ทิศใต้เข้ามาให้ได้ด้าน ละ 3 เมตรที่ดินของจำเลยจะเหลือความยาวสำหรับก่อสร้างอาคารเพียง 6.80 เมตรเท่านั้น เมื่อปรากฏว่าที่ดินจำเลยมีเนื้อที่ไม่พอที่จะขออนุญาตให้ก่อสร้างอาคารใหม่ได้ ทั้งอาคารที่จำเลยก่อสร้างใหม่นี้เป็นอาคารที่พักอาศัยไม่มีที่ว่างเหลือ 30 ใน 100 ส่วนของพื้นที่เป็นการขัดต่อ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวข้อ 76 อีก อาคารของจำเลยจึงไม่สามารถแก้ไขให้ถูกต้องตาม ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครดังกล่าวได้ การที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนอาคารดังกล่าว แม้อาคารดังกล่าวจะมีความมั่งคงแข็งแรงก็ถือได้ ว่ามีเหตุสมควรจะต้อง รื้อถอน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีก่อสร้างผิดแบบ และการแก้ไขคำพิพากษาที่เป็นประโยชน์แก่จำเลย
แม้โจทก์ได้มอบอำนาจทุกอย่างให้หัวหน้าเขตดำเนินการและโจทก์ยังไม่ได้เพิกถอนการมอบอำนาจคืน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องคดีได้เอง เพราะโจทก์เป็นตัวการส่วนหัวหน้าเขตเป็นเพียงตัวแทนผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์เท่านั้น
โจทก์ฟ้องจำเลยให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต การกระทำของจำเลยเป็นการขัดต่อเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร และข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคาร และขัดต่อพระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคารและพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร อันเป็นการกระทบกระเทือนต่อความปลอดภัยและป้องกันอัคคีภัยการสัญจรไปมาและรักษาอาคารให้เป็นระเบียบเรียบร้อยแม้ไม่มีคำว่าจะก่อให้เกิดเสียหายอย่างไรก็เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้แต่อย่างใด
การที่ศาลล่างทั้งสองสั่งให้จำเลยทำทางเดินกว้าง 1 เมตรในชั้นที่ 2 ที่ 3 และที่ 4 แทนการให้จำเลยต้องทุบเสาคอนกรีตเสริมเหล็กออกนั้นก็เป็นผลดีแก่จำเลยอย่างที่สุดแล้วและศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้แก้ไขได้คำพิพากษาที่เป็นผลดีแก่จำเลยเช่นนี้ ไม่ถือว่าเป็นการพิพากษาเกินคำขอ เพราะหากศาลพิพากษาให้ตามคำขอของโจทก์ที่ให้รื้อถอนอาคารส่วนที่ก่อสร้างต่อเติมจะทำให้จำเลยเสียหายยิ่งกว่าที่ให้แก้ไข

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 975/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและคำสั่งรื้อถอน: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
จำเลยเป็นผู้ก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตและเป็นการฝ่าฝืนข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ทั้งเป็นกรณีที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้ เมื่อกรุงเทพมหานครได้พิจารณาและตราข้อบัญญัติไว้แล้ว อาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อบัญญัติดังกล่าวย่อมถือว่าเป็นอาคารที่ก่อสร้างขึ้นโดยไม่มีความปลอดภัย
จำเลยก่อสร้างอาคารพิพาทผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับ อนุญาตอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ซึ่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้สั่งให้จำเลยระงับการก่อสร้างตามมาตรา 40 และต่อมา ได้สั่งให้จำเลยรื้อถอนตามมาตรา 42 วรรคแรกแล้ว อาคารดังกล่าวก็จะต้องถูกรื้อถอน แม้พนักงานสอบสวนจะเปรียบเทียบปรับจำเลยโดยอ้างบทกฎหมายไม่ถูกต้องและเจ้าพนักงานเขตออกหมายเลขที่บ้านให้จำเลยโดยมิได้คัดค้านว่าจำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ตาม
ผู้ควบคุมงานของจำเลยเป็นผู้รับทราบคำสั่งให้รื้อถอนอาคารพิพาท ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ทราบด้วย โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนอาคารที่จำเลยก่อสร้างผิดไปจากแบบแปลนที่ได้รับอนุญาต
การมอบอำนาจของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้หัวหน้าเขตปฏิบัติราชการแทน เป็นการมอบอำนาจตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 35 ซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้มีอำนาจมอบอำนาจที่ตนมีอยู่ให้หัวหน้าส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติราชการแทนตามที่กฎหมายให้อำนาจไว้ จึงไม่จำต้องปิดแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ทั้งไม่มีกฎหมายบังคับให้จำต้องมีพยานรับรองลายมือ ชื่อผู้มอบอำนาจด้วย จึงรับฟังเอกสารเป็นพยานได้
เมื่อพยานโจทก์คนสุดท้ายคอบคำถามติงแล้ว โจทก์ส่งเอกสารเป็นพยานต่อศาล แล้วให้พยานนั้นดูเอกสารดังกล่าว และพยานโจทก์แถลงประกอบเอกสาร ถือได้ว่าเป็นการซักถามพยานเมื่อได้ถามติงพยานเสร็จแล้ว แต่การที่ศาลชั้นต้นยอมให้โจทก์กระทำเช่นนั้น ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้รับอนุญาตจากศาลแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 117 วรรคสี่ จึงรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานได้
การที่หัวหน้าเขตซึ่งได้รับมอบอำนาจจากผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครให้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้มอบหมายงานโยธา ให้ผู้ช่วยหัวหน้าเขตเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบสั่งการแทนหัวหน้าเขตได้ เป็นการมอบให้ปฏิบัติราชการแทนตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ ไม่เป็นการมอบอำนาจช่วง ผู้ช่วยหัวหน้าเขตมีอำนาจลงลายมือชื่อในฐานะเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ และหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่จำต้องปิดอากรแสตมป์ตามประมวลรัษฎากร ก็รับฟังเป็นพยานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่งระงับ-โทษปรับอาคารพาณิชย์-การเป็นความผิดสองกรรม
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 หมายความว่า ผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายอาคาร ให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณก็ดีผิดไปจากแบบแปลนก็ดี ผิดไปจากรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ดีผู้ไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก็ดี การกระทำผิดไปเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าว ย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา 31 ทั้งสิ้นหาจำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดพร้อมกันทั้งหมดไม่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7 กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่ 1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522
จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้างจำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาท ปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียวแต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ 5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เองถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท
(วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 9/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3134/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่งระงับการก่อสร้าง ถือเป็นความผิดสองกรรม ปรับตามอัตราที่สูงขึ้น
บทบัญญัติมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 หมายความว่าผู้ใดก็ตามที่จัดให้มีการก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคารให้ผิดไปจากแผนผังบริเวณก็ดีผิดไปจากแบบแปลนก็ดีผิดไปจากรายการประกอบแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตก็ดีผิดไปจากวิธีการหรือเงื่อนไขที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นกำหนดไว้ในใบอนุญาตก็ดีการกระทำผิดไปเพียงอย่างหนึ่งอย่างใดดังกล่าวย่อมเป็นการฝ่าฝืนมาตรา31ทั้งสิ้นหาจำเป็นต้องเป็นการกระทำผิดพร้อมกันทั้งหมดไม่
โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดในระหว่างวันที่ 7กันยายน 2522 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าจำเลยก่อสร้างผิดแบบแปลนตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2523 ถึงวันที่ 11 สิงหาคม 2523 และจำเลยฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่ให้ระงับการก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2523 ถึงวันที่ 11สิงหาคม 2523จำเลยจะขอให้นับระยะเวลาถึงเพียงวันที่1 กรกฎาคม 2523 ซึ่งการก่อสร้างของจำเลยยังไม่แล้วเสร็จหาได้ไม่
อาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมแม้ใบอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารจะระบุว่าเพื่อใช้พาณิชย์พักอาศัย และอาคารดังกล่าวจะใช้เพื่ออยู่อาศัยด้วยก็มิได้หมายความว่าอาคารดังกล่าวมิได้ใช้เพื่อพาณิชยกรรมตามความหมายของมาตรา 70 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522 จำเลยก่อสร้างอาคารผิดไปจากแผนผังบริเวณและแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นเป็นการกระทำความผิดไปกรรมหนึ่งแล้ว เมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้ระงับการก่อสร้าง จำเลยก็ยังคงก่อสร้างต่อไปอีกเป็นการกระทำอีกกรรมหนึ่งต่างไปจากกรรมแรก แม้ระยะเวลากระทำผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตามการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการกระทำอันเป็นความผิดสองกรรม
ความผิดกระทงแรกนอกจากจะต้องลงโทษตามมาตรา 65 วรรคแรกแล้ว วรรคสองยังให้ปรับอีกวันละ 500 บาท ส่วนความผิดกระทงหลังนั้นมาตรา 67 บัญญัติให้ปรับวันละ 500 บาทปรากฏว่าอาคารที่จำเลยก่อสร้างเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมถ้าศาลจะเลือกลงโทษปรับสถานเดียว แต่ละกระทงจะต้องปรับเป็นสิบเท่าตามมาตรา 70 คือปรับวันละ5,000 บาทและอาคารที่จำเลยก่อสร้างยังเป็นของจำเลย เอง ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินการตามความหมายของ มาตรา 4 ซึ่งมาตรา 69 บัญญัติให้วางโทษเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นๆ จึงต้องปรับ จำเลยสำหรับแต่ละกระทงวันละ 10,000 บาท (วรรค 4 และ 5 วินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่9/2528)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1074/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารผิดแบบและการยกเว้นความรับผิดทางอาญาจากความเข้าใจผิดเรื่องกฎหมาย
จำเลยถูกฟ้องว่าปลูกสร้างอาคาร ไม่ตรงตามแบบที่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่าโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าการกระทำของจำเลยไม่เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ฯลฯ อันจะทำให้ ถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด เช่นนี้การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบแห่งความผิดครบถ้วนแล้ว และเป็นหน้าที่ของจำเลย ที่จะต้องนำสืบว่าการกระทำของจำเลยเข้าข้อยกเว้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นปัญหาข้อกฎหมาย
ข้อบัญญัติส่วนท้องถิ่นเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่คนทั่วประเทศมิใช่บังคับเฉพาะแต่คนในท้องถิ่นเท่านั้น จึงเป็น ข้อกฎหมายที่ศาลจะต้องทราบเอง โดยโจทก์มิต้องนำสืบความในข้อบัญญัติดังกล่าว
พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยว่า "ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลนที่ได้รับอนุญาตจากคณะเทศมนตรีเมืองปทุมธานี" เช่นนี้เป็นการแจ้งข้อหาชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 พนักงานสอบสวนหาจำต้องแจ้งชื่อพระราชบัญญัติด้วยไม่การสอบสวนจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
จำเลยทราบอยู่แล้วว่าการก่อสร้างอาคารในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาล ซึ่งมีพระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พุทธศักราช 2479 ในเขตเทศบาลเมืองปทุมธานี ฯ แล้ว การที่จำเลยก่อสร้างฝ่าฝืนต่อเติมอาคารผิดไปจากที่ได้รับอนุญาต จึงจะยกเป็นเหตุอ้างว่าไม่รู้กฎหมาย เพื่อไม่ต้องรับโทษ หรือรับโทษน้อยลงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 62 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6377/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดฐานก่อสร้างผิดแบบและฝ่าฝืนคำสั่ง รวมถึงการกำหนดโทษปรับรายวันเกินเลยขอบเขตฟ้อง
ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดกระทงที่สี่ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้รื้อถอนอาคารจำคุก 2 เดือน และปรับ 50,000 บาท และปรับอีกวันละ 200 บาท นับแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2549 ถึงวันที่ 18 กรกฎาคม 2550 และต่อไปจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย การที่ศาลชั้นต้นลดโทษให้จำเลยกึ่งหนึ่งแล้วคงลงโทษปรับ 25,000 บาท และปรับอีกวันละ 100 บาท ไม่ถูกต้อง ที่ถูกต้องลงโทษจำคุก 1 เดือนด้วยเมื่อโจทก์อุทธรณ์ขอให้วางโทษจำเลยเป็นสองเท่าของโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้สำหรับความผิดของจำเลยตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคารฯ มาตรา 70 ย่อมถือได้ว่า โจทก์อุทธรณ์ในทำนองขอให้เพิ่มโทษแก่จำเลยแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์ระวางโทษจำคุกจำเลยในกระทงที่สี่เป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น และเมื่อลดโทษกึ่งหนึ่งแล้งคงลงโทษจำคุก 2 เดือน จึงไม่ห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212
ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานก่อสร้างอาคารผิดแบบที่ได้รับอนุญาตระหว่างวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 29 มีนาคม 2549 ฐานฝ่าฝืนคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างอาคารผิดแบบระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 และฐานฝ่าฝืนคำสั่งห้ามใช้หรือเข้าไปในส่วนใดๆ ของอาคารระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2549 ถึงวันที่ 9 ตุลาคม 2549 เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องมาเช่นนี้ แสดงว่าหลังจากวันที่ 29 มีนาคม 2549 และวันที่ 9 ตุลาคม 2549 ตามลำดับ จำเลยมิได้กระทำการอันเป็นความผิดนั้น ๆ แล้ว การที่ศาลล่างทั้งสองลงโทษปรับรายวันหลังจากวันดังกล่าวจนกว่าจำเลยจะปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าที่โจทก์ประสงค์ให้ลงโทษไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาโดยตรงแต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาแก้โทษจำเลยให้ตรงกับฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4196/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้รับเหมาผิดสัญญา ก่อสร้างอาคารไม่ตรงแบบ ทำให้ถล่มเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตราย
ผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างตามความหมายของ ป.อ. มาตรา 227 ป.อ. มิได้นิยามคำว่า ผู้มีวิชาชีพไว้ จึงต้องถือตามความหมายที่ยอมรับกันโดยทั่วไปตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ซึ่งให้ความหมายของคำว่า วิชาชีพ รวมกับคำว่า วิชา หมายถึงผู้ที่มีอาชีพที่ต้องอาศัยวิชาความรู้ ความชำนาญ หรือผู้ที่มีความรู้ซึ่งอาจได้จากการเล่าเรียนโดยตรง หรือจากการทำงานอันเป็นการฝึกฝนในการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระก็ได้ กรณีจึงไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้ที่เล่าเรียนมาโดยตรงเพื่อเป็นสถาปนิกหรือวิศวกรเท่านั้น แต่หมายรวมถึงผู้ที่มีความรู้ ความชำนาญ ในการทำงานอันได้รับการฝึกฝนจากการประกอบอาชีพตามปกติด้วย เมื่อจำเลยประกอบอาชีพรับเหมาก่อสร้างมาเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงเป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญ ในการก่อสร้างซึ่งเกิดจากการทำงานรับเหมาก่อสร้างอันเป็นการประกอบอาชีพเป็นปกติธุระ และเป็นผู้มีวิชาชีพในการก่อสร้างตามความหมายของบทบัญญัติดังกล่าว
of 3