คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ขัดต่อกฎหมาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2635/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินบำเหน็จกับการจ่ายค่าชดเชย: ข้อตกลงที่ขัดต่อกฎหมายแรงงาน
จำเลยมีข้อบังคับให้จ่ายบำเหน็จเมื่อพนักงานมีอายุงานครบ5 ปี หรือกว่านั้นแต่ค่าชดเชยนั้นลูกจ้างประจำซึ่งทำงานติดต่อกันครบหนึ่งร้อยยี่สิบวันก็มีสิทธิได้รับแล้ว การคำนวณบำเหน็จก็อาศัยค่าจ้างสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุงานและตัวประกอบอื่นอีก และ ยังจ่ายให้ในกรณีลาออกและถึงแก่กรรมอีกด้วย เงินบำเหน็จจึงมีลักษณะเป็นการสงเคราะห์ตอบแทนการที่ลูกจ้างทำงานด้วยดีจนออกจากงานหรือถึงแก่กรรมถือได้ว่าเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง มิใช่ค่าชดเชย ดังนั้น การที่นายจ้างกับลูกจ้างตกลงกันให้เงินบำเหน็จนี้เป็นค่าชดเชย จึงเป็นการหลีกเลี่ยงที่จะไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อตกลงนั้นจึงไม่มีผลผูกพันลูกจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดีและการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลตัดสินแล้ว ถือเป็นการขัดต่อกฎหมาย
ศาลพิพากษาให้จำเลยรื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินของโจทก์ โดยวินิจฉัยว่าบ้านจำเลยปลูกอยู่ในที่ดินที่จำเลยขายให้โจทก์แล้ว คดีถึงที่สุด ดังนี้การที่จำเลยกลับมายื่นคำร้องในชั้นบังคับคดีว่าจำเลยปลูกบ้านอยู่นอกเขตโฉนดที่จำเลยขายให้ โจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่ ขอให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งเพิกถอนคำบังคับนั้น เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นที่ศาลได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดไว้แล้ว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทนายลักษณะแบ่งส่วนทรัพย์สินขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม ทำให้สัญญาเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างว่าความซึ่งมีข้อความว่า ฟ้องเรียกทรัพย์สินเป็นมูลค่าประมาณ 24 ล้านบาท ขอคิดค่าจ้างรวมเป็นเงิน 12 ล้านบาท ถ้าเรียกร้องได้มากกว่านี้ก็ไม่เพิ่มขึ้นนั้น แม้จะเป็นการกำหนดค่าจ้างไว้ครึ่งหนึ่งของจำนวนทุนทรัพย์ที่จะฟ้องเรียกร้องจากจำเลยก็ตาม แต่ข้อความที่เขียนต่อไปว่า "แต่ถ้าได้น้อยกว่าที่กะประมาณไว้นี้ ให้ลดลงตามส่วนจำนวนเงินที่ได้มา" ดังนี้ เป็นการแสดงอยู่ว่า ถ้าศาลตัดสินให้น้อยกว่าจำนวนเงินที่ฟ้อง ทนายก็จะเรียกค่าจ้างเอาครึ่งหนึ่งของจำนวนทุนทรัพย์ที่ศาลตัดสินให้เสมอไป จึงเป็นการทำสัญญาเรียกค่าจ้างว่าความโดยวิธีแบ่งเอาส่วนจากทรัพย์สินที่เป็นมูลพิพาทอันจะพึงได้แก่คู่ความนั่นเอง นอกจากนี้ตามพฤติการณ์ในเรื่องก็เห็นได้ชัดว่าทนายจัดทำสัญญาตลอดจนปฏิบัติต่อสู้ความ ได้กระทำไปเกินขอบเขตแห่งความเป็นธรรมอยู่มาก สัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องจึงเป็นการขัดต่อพระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2477 มาตรา 12 อนุมาตรา 2 และขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกเงินตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1462/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับสารภาพในคดีอาญาแล้วมาพิสูจน์สัญชาติใหม่ในคดีแพ่ง ขัดต่อหลักกฎหมาย
จำเลยถูกฟ้องในคดีอาญาว่าเป็นคนต่างด้าว หลบหนี้เข้ามาในประเทศไทย จำเลยรับสารภาพจนศาลพิพากษาไป คดีถึงที่สุดแล้วภายหลังจำเลยจะมาฟ้องเป็นคดีต่อศาลพิศูจน์ว่าจำเลยเป็นคนไทยนั้น เป็นการขัดต่อ ป.ม.วิ.อาญามาตรา 46 ศาลย่อมไม่ยอมให้จำเลยสืบตามข้ออ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 589/2495 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตัดสินคดีเกินคำฟ้องและคำขอ ขัดต่อหลักการในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยรุกที่ดินของโจทก์ทางทิศเหนือ ขอให้ขับไล่ ศาลพิพากษาว่าจำเลยรุกที่ของโจทก์ทางทิศตะวันตกของที่โจทก์ และให้ขับไล่จำเลย ดังนี้ เป็นการตัดสินเกินคำฟ้องและคำขอของโจทก์ เพราะโจทก์ทางทิศตะวันตกเลย จึงเป็นการฝ่าฝืน ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 142

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1551/2494 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีระหว่างบุตรกับมารดาแทนบุพพการี ขัดต่อหลักกฎหมาย
บิดาฟ้องมารดาเป็นจำเลย หาว่าร้องเรียนเท็จแจ้งความเท็จ ระหว่างพิจารณาบิดาตาย บุตรจึงร้องขอรับมรดกความแทนบิดาดังนี้ ก็นับได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นผู้ฟ้องบุพพการีของตน ต้องด้วยข้อห้ามตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1534

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 909/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาแบ่งมรดกขัดต่อกฎหมายเมื่อทำก่อนเจ้ามรดกเสียชีวิตและเพิกถอนสิทธิในพินัยกรรม
เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกที่ดินให้แก่ผู้รับพินัยกรรมแต่ก่อนเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้รับพินัยกรรมต่างตกลงแบ่งทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นกันใหม่ โดยไม่ถือสิทธิที่จะได้ตามพินัยกรรม ดังนี้ สัญญาแบ่งทรัพย์ย่อมไม่มีผลเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1619

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14785/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องเป็นไปตามข้อร้องทุกข์เดิม การสอบสวนเพิ่มเติมขัดต่อกฎหมาย
วันที่ 4 พฤศจิกายน 2548 โจทก์ร่วมร้องทุกข์ขอให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าโจทก์ร่วมและจำเลยทั้งสองร่วมกันประกอบกิจการขายรถยนต์ใช้แล้วด้วยกัน โดยโจทก์ร่วมเป็นผู้ออกเงินทุนซื้อรถยนต์ใช้แล้วจากนั้นนำไปมอบให้จำเลยทั้งสองเสนอขาย เมื่อขายได้โจทก์ร่วมจะได้รับเงินทุนคืนพร้อมเงินกำไรร้อยละหกสิบ ส่วนจำเลยทั้งสองจะได้เฉพาะเงินกำไรร้อยละสี่สิบ โจทก์ร่วมนำรถยนต์ 6 คันตามฟ้องไปมอบให้จำเลยทั้งสองเสนอขาย เมื่อจำเลยทั้งสองขายได้แล้วจำเลยทั้งสองร่วมกันเบียดบังเอาเงินที่ขายได้ไปโดยทุจริต ซึ่งเป็นการร้องทุกข์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกเงินที่ได้จากการขายรถยนต์ของโจทก์ร่วม แต่หลังจากนั้นในวันที่ 18 เมษายน 2549 พนักงานสอบสวน สอบสวนโจทก์ร่วมเพิ่มเติมว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันยักยอกรถยนต์ของโจทก์ร่วม ซึ่งไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมได้ร้องทุกข์ไว้ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2548 การสอบสวนเพิ่มเติมดังกล่าวจึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 121 วรรคสอง เพราะมิใช่เรื่องที่โจทก์ร่วมร้องทุกข์ไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาร่วมกันยักยอกรถยนต์ของโจทก์ร่วมเป็นคดีนี้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 120

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13083/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาบริการประกันชีวิตขัดต่อ พ.ร.บ.ประกันชีวิต การจ่ายค่าตอบแทนล่วงหน้าทำให้โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้อง
พ.ร.บ.ประกันชีวิต พ.ศ.2535 มาตรา 33 บัญญัติว่า "ห้ามมิให้บริษัทกระทำการดังกล่าวต่อไปนี้... (7) จ่ายเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดล่วงหน้าให้แก่บุคคลใดเป็นค่านายหน้าหรือค่าตอบแทนสำหรับงานที่จะทำให้แก่บริษัท" และมาตรา 93 บัญญัติว่า "บริษัทใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมาตรา 33 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 500,000 บาท และถ้าเป็นกรณีการกระทำความผิดต่อเนื่องให้ปรับอีกไม่เกินวันละ 20,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่" การที่โจทก์ทำสัญญาว่าจ้างจำเลยที่ 1 ให้สรรหาและฝึกอบรมบุคลากรเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนหาลูกค้า และทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานขายให้แก่โจทก์ โดยโจทก์จ่ายเงินเป็นค่าจ้างหรือค่าตอบแทนล่วงหน้าให้แก่จำเลยที่ 1 ไปก่อน จึงขัดต่อบทกฎหมายมาตราดังกล่าว ถือได้ว่าโจทก์กระทำการเพื่อชำระหนี้อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่อาจเรียกคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 411

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6425/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านเจ้าพนักงานบังคับคดีต้องอ้างเหตุขัดต่อกฎหมาย ไม่ใช่ละเมิดสิทธิเสรีภาพ เพื่อส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา
คำร้องคัดค้านการตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดี โดยอ้างว่าการดำเนินการเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 39, 197, 212 ประกอบมาตรา 211 เป็นการโต้แย้งเกี่ยวกับการกระทำของโจทก์ที่ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับชำระค่าปรับ จำเลยที่ 1 มิได้โต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับแก่คดีขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญอันจะต้องด้วยบทบัญญัติมาตรา 6 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่ศาลจะต้องส่งคำร้องคัดค้านของจำเลยที่ 1 ไปให้ศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย
of 4