พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามกฎหมายภาษีอากร ไม่รวมถึงอาหารสัตว์
คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' ตามบัญชีที่ 1 หมวด 1(4)ท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ 21) พ.ศ. 2509 ไม่มีบทนิยามให้มีความหมายโดยเฉพาะ ย่อมค้นหาความหมายได้โดยเปรียบเทียบจากบทบัญญัติที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งคือจากบทมาตราอื่นๆ ของประมวลรัษฎากร
คำว่า 'อาหาร' ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ถ้าใช้เป็นคำกลางๆ หมายถึงอาหารสำหรับคนเท่านั้น หามีความหมายถึงอาหารสัตว์ด้วยไม่ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' จึงหมายถึง อาหารคนแต่อย่างเดียว ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายถึงอาหารอย่างอื่น ก็จำเป็นจะต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเป็นแห่ง ๆ ไปฉะนั้น อาหารสัตว์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร'
คำว่า 'อาหาร' ในบทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากร ถ้าใช้เป็นคำกลางๆ หมายถึงอาหารสำหรับคนเท่านั้น หามีความหมายถึงอาหารสัตว์ด้วยไม่ คำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร' จึงหมายถึง อาหารคนแต่อย่างเดียว ถ้ากฎหมายประสงค์จะให้หมายถึงอาหารอย่างอื่น ก็จำเป็นจะต้องบัญญัติไว้ให้ชัดเป็นแห่ง ๆ ไปฉะนั้น อาหารสัตว์จึงไม่อยู่ในความหมายของคำว่า 'ผลิตภัณฑ์อาหาร'
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2290/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความ 'พนักงาน' ใน พ.ร.บ.ความผิดของพนักงานฯ ทุนขององค์กรต้องมาจากรัฐเกินครึ่ง จึงจะถือเป็นพนักงานได้
การที่จะถือว่าจำเลยซึ่งเป็นพนักงานขององค์การค้าของคุรุสภาเป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 หรือไม่ จะต้องได้ความว่า ทุนทั้งหมดหรือทุนเกินร้อยละห้าสิบขององค์การค้าของคุรุสภาเป็นของรัฐ เมื่องานหรือทุนที่ดำเนินการองค์การค้าของคุรุสภาเป็นของคุรุสภาซึ่งเป็นนิติบุคคล มิใช่เป็นของรัฐ จำเลยจึงไม่เป็น "พนักงาน" ตามความหมายแห่งพระราชบัญญัติที่กล่าวข้างต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 490/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลวิกลจริต: ขอบเขตความหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 29 และการพิจารณาความเป็นผู้อนุบาล
คำว่า บุคคลวิกลจริต ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 นั้น มิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่วๆ ไปว่าเป็นบ้า เท่านั้นไม่ แต่หมายรวมถึงบุคคลที่มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาศ คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรู้สึกผิดชอบด้วยเพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการงานของตน หรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้ทีเดียว
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลามีอาการพูดไม่ได้ หูไม่ได้ยินตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสัมปชัญญะใดๆ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่าง ถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 แล้ว
ผู้ที่ป่วยเป็นโรคเนื้องอกในสมอง ต้องนอนอยู่บนเตียงตลอดเวลามีอาการพูดไม่ได้ หูไม่ได้ยินตาทั้งสองข้างมองไม่เห็น มีอาการอย่างคนไม่มีสติสัมปชัญญะใดๆ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่าง ถือว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่จอดรถสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(9) หมายถึงที่ให้จอดรถได้จริง ไม่ใช่ที่รอรับส่งผู้โดยสาร
ที่จอดรถสาธารณะตามมาตรา 335(9) แห่งประมวลกฎหมายอาญานั้น เป็นที่จอดรถซึ่งสาธารณชนมีสิทธิจะนำรถของตนไปจอดได้ ดังนั้น ที่ซึ่งมีป้ายให้รถประจำทางหยุดรับส่งคนโดยสารเป็นระยะ ๆ ไป จึงไม่ใช่ที่จอดรถสาธารณะตามความมุ่งหมายของกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1223/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาพสัดส่วนร่างกายที่ไม่เข้าข่ายภาพลามกตามประมวลกฎหมายอาญา
ภาพพิมพ์ของกลางเป็นเพียงภาพที่แสดงถึงส่วนสัดความสมบูรณ์ของร่างกายที่มิได้มีสิ่งปกปิด โดยเฉพาะส่วนล่างก็พยายามปกปิดหรือทำเป็นเพียงเงาๆ และได้ลบเลือนให้เป็นอวัยวะที่ราบเรียบแล้ว ภาพไม่มีลักษณะน่าเกลียดน่าอุดจาดบัดสีแล้ว ดังนี้ไม่ถือว่าเป็นภาพลามกตามความหมายที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 287
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความ 'วัตถุระเบิด' ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ ต้องมีกำลังทำลายหรือประหาร
วัตถุระเบิดตามความหมายของพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯพ.ศ. 2501 มาตรา 3(3) คือวัตถุที่สามารถส่งกำลังดันอย่างแรงต่อสิ่งห้อมล้อมโดยฉับพลันโดยมีสิ่งเหมาะมาทำให้เกิดกำลับดันหรือโดยการสลายตัวของวัตถุระเบิดนั้น และจะต้องทำให้มีแรงทำลายหรือแรงประหารเกิดขึ้นด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 272-273/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นซึ่งหน้า: ถ้อยคำมีความหมายในเชิงชู้สาว แม้มีการสะกดผิดเล็กน้อย ก็ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393
จำเลยเป็นชายพูดต่อหน้าผู้เสียหายซึ่งเป็นภริยาผู้ใหญ่บ้านว่า 'เมียผู้ใหญ่บ้านนี้แต่งตัวสวยน่าอยากล่ำสักที'ซึ่งหมายความว่าผู้เสียหายแต่งตัวสวยอยากเย็ดสักทีนั้นคำที่จำเลยกล่าว และวิธีที่จำเลยกล่าว ฟังได้ว่าเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหายซึ่งหน้าแล้ว (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1811/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความหมายของคำว่า 'วิวาท' ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372 และขอบเขตการฟ้องร้อง
บรรยายฟ้องว่า จำเลยวิวาทต่อสู้ทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันในสาธารณสถานทำให้เสียความสงบเรียบร้อย ทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยได้ด่าและโต้เถียงกัน ก็ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 372 ได้ ไม่ถือว่าต่างกับฟ้อง เพราะคำว่าวิวาทหมายถึงการโต้เถียง ทุ่มเถียง ทะเลาะกันทั้งมาตรา 372 นี้ ยังบัญญัติถึงการกระทำโดยประการอื่นใดให้เสียความสงบเรียบร้อยไว้อีกด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473-474/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ไม้ตะเคียนสามพอนจัดเป็นไม้หวงห้ามตาม พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม แม้ไม่ได้ระบุชื่อโดยตรง
แม้ตามบัญชีใน พ.ร.ก.กำหนดไม้หวงห้าม 2497 มาตรา4 จะได้ระบุชื่อไม้ตะเคียนของจังหวัดสตูลไว้โดยไม่มีชื่อไม้ตะเคียนสามพอนก็ดี ก็ยังถือว่า ไม้ตะเคียนสามพอนอยู่ในประเภทไม้ตะเคียนชนิดอื่นๆ ตามบัญชีอันดับ 22
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 543/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำหมิ่นประมาท: ข้อเท็จจริงสำคัญในการพิจารณาความหมายของถ้อยคำ
ศาลล่างฟังว่าถ้อยคำที่โจทก์กล่าวอ้างว่าเป็นคำหมิ่นประมาทโจทก์นั้น ไม่มีความหมายเป็นถ้อยคำที่ใส่ความโจทก์ โจทก์ฎีกาว่า ถ้อยคำนั้นมีความหมายเป็นอีกอย่างซึ่งเป็นความหมาย+เป็นคำหมิ่นประมาทโจทก์เช่นนี้ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง