พบผลลัพธ์ทั้งหมด 41 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนเก่าขาดอายุความ ไม่เป็นเหตุเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย แม้ขาดงานเล็กน้อย
คำเตือนเรื่องขาดงานที่นายจ้างเคยตักเตือนลูกจ้างก่อนการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานครั้งเกิดเหตุอันเป็นมูลเลิกจ้างนานเกือบ 4 ปี ถือว่าเป็นระยะเวลาเนิ่นนานเกินสมควรและสิ้นผลแล้ว.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบซ้ำหลังได้รับคำเตือนแล้ว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน 3 วัน และขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วย หาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1916/2527)
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับซ้ำ โดยศาลยืนตามการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน 3 วัน และขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วย หาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 1916/2527)
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่
ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้ว ส. กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับ โจทก์จึงเลิกจ้าง ส. ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 123(3) หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 123 อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างที่ฝ่าฝืนระเบียบซ้ำหลังได้รับคำเตือนแล้ว ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
การที่นายจ้างลงโทษลูกจ้างให้พักงาน3วันและขณะเดียวกันในคำสั่งลงโทษนั้นยังมีคำเตือนอีกด้วยหาทำให้คำเตือนนั้นสิ้นผลไปด้วยโทษที่ได้รับไปแล้วไม่(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่1916/2527) ส.ลูกจ้างของโจทก์ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับด้วยการนอนหลับและได้รับคำเตือนเป็นหนังสือมาแล้วส.กลับมากระทำผิดฐานเดียวกันซ้ำอีกในระหว่างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลบังคับโจทก์จึงเลิกจ้างส.ซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานได้ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา123(3)หาเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรมไม่ โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ซึ่งวินิจฉัยชี้ขาดตามอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518ศาลชอบที่จะปรับด้วยพระราชบัญญัติดังกล่าวมาตรา123อันเป็นบทมาตราโดยเฉพาะสำหรับกรณีที่นี้หาใช่ปรับด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(3)ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารประกาศผลการลงโทษลูกจ้าง ไม่ถือเป็นคำเตือนตามกฎหมายแรงงาน
เอกสารของจำเลยเป็นแต่เพียงประกาศให้ลูกจ้างทุกคนทราบผลของการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบว่าจะถูกลงโทษเช่นไร และถ้าผู้ใดกระทำก็จะถูกลงโทษ ไม่มีข้อความตักเตือนโจทก์มิให้กระทำความผิดอีก และจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ในการกระทำความผิดดังกล่าวไปแล้วดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเอกสารนี้เป็นคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(3)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3601/2525)
(อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3601/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3888/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารประกาศผลการลงโทษ ไม่ถือเป็นคำเตือนตามกฎหมายแรงงาน จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชย
เอกสารของจำเลยเป็นแต่เพียงประกาศให้ลูกจ้างทุกคนทราบผลของการที่โจทก์ฝ่าฝืนระเบียบว่าจะถูกลงโทษเช่นไร และถ้าผู้ใดกระทำก็จะถูกลงโทษ ไม่มีข้อความตักเตือนโจทก์มิให้กระทำความผิดอีกและจำเลยก็ได้ลงโทษโจทก์ในการกระทำความผิดดังกล่าวไปแล้วดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเอกสารนี้เป็นคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(3) (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 3601/2525)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 93/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถือเป็นคำสั่งหรือคำวินิจฉัย ไม่ทำให้เกิดข้อโต้แย้งสิทธิ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานให้นายจ้างจ่ายเงินค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง ไม่ใช่คำสั่งหรือคำวินิจฉัยให้นายจ้างปฏิบัติตามไม่เป็นการโต้แย้งสิทธินายจ้างที่จะมาฟ้องต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 884/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างครูโรงเรียนราษฎร์ ไม่จ่ายค่าชดเชย พนักงานตรวจแรงงานมีอำนาจออกคำเตือนได้
ครูโรงเรียนราษฎร์ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานว่านายจ้างเลิกจ้างไม่จ่ายค่าชดเชย มิใช่กรณีพิพาทในเรื่องกำหนดหรือแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่ใช่เรื่องที่ต้องบังคับ ตาม พระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 แต่เป็นเรื่อง ที่ต้อง ดำเนินการตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน และไม่มีข้อบังคับให้นำ พระราชบัญญัติโรงเรียนราษฎร์ มาใช้ พนักงานตรวจแรงงาน มีอำนาจ ออกคำเตือนให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยได้ ตามข้อ 77 แห่ง ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ไม่เป็น การโต้แย้ง สิทธิของนายจ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำเตือนพนักงานตรวจแรงงาน: ไม่ผูกพันนายจ้าง & ไม่มีอำนาจฟ้องคดีละเมิดต่อศาลแรงงาน
คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงาน. เป็นเพียงความเห็นของพนักงานตรวจแรงงานเท่านั้น หามีผลบังคับไม่ หากนายจ้างเห็นว่าคำเตือนไม่ถูกต้องนายจ้างจะไม่ปฏิบัติตามก็ได้ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่าการที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานเป็นความผิดและมีโทษ
นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องพนักงานตรวจแรงงานให้รับผิดฐานละเมิดต่อศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 8 (5) ได้ เพราะมิใช่คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
นายจ้างไม่มีอำนาจฟ้องพนักงานตรวจแรงงานให้รับผิดฐานละเมิดต่อศาลแรงงานตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานพ.ศ.2522 มาตรา 8 (5) ได้ เพราะมิใช่คดีอันเกิดแต่มูลละเมิดระหว่างนายจ้างและลูกจ้างสืบเนื่องจากข้อพิพาทแรงงานหรือเกี่ยวกับการทำงานตามสัญญาจ้างแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 351/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากลูกจ้างไม่ลงชื่อรับทราบคำเตือน การกระทำดังกล่าวไม่ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบอย่างร้ายแรง
โจทก์กระทำผิดระเบียบโดยมาทำงานสาย จำเลยได้ออกคำเตือนเป็นหนังสือให้โจทก์ลงชื่อรับทราบ แต่โจทก์ขัดขืนและโต้เถียงกับผู้จัดการของจำเลย ดังนี้จำเลยมีวิธีการแจ้งให้โจทก์ทราบคำเตือนโดยวิธีอื่นได้ เช่น แจ้งด้วยวาจาหรือปิดประกาศคำเตือนให้ทราบการขัดขืนไม่ยอมลงชื่อรับทราบคำเตือนจึงมิใช่การฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อบังคับเป็นการร้ายแรง แม้โจทก์ได้โต้เถียงกับผู้จัดการด้วยก็ไม่ได้ความว่าเป็นเรื่องอื่นนอกเหนือจากผู้จัดการจะให้โจทก์ลงชื่อรับทราบคำเตือนจึงจะปรับการกระทำของโจทก์ขึ้นเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งระเบียบข้อบังคับเป็นการร้ายแรงหาได้ไม่ จำเลยไม่มีสิทธิเลิกจ้างโจทก์โดยไม่จ่ายค่าชดเชย