คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
จดทะเบียนสิทธิ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการครอบครองปรปักษ์: สิทธิผู้ได้มาโดยเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียน
ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากที่ดินนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุถึงวันเริ่มการอาศัยวันแรก เพราะการอาศัยหรือไม่นั้นเป็นลักษณะของอาการที่ประพฤติต่อกันสืบเนื่องเรื่อย ๆ ไป เมื่อโจทก์กล่าวถึงสภาพแห่งคดีพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว ก็ใช้ได้
ผู้ครอบครองที่ดินด้วยอำนาจปรปักษ์เกินกว่า 10 ปี แต่มิได้จดทะเบียนสิทธิไว้จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้ได้สิทธิในที่ดินนี้มาโดยการเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิ โดยสุจริตไม่ได้ ดังบทบัญญัติไว้ใน ป.ม.แพ่งฯ มาตรา 1299 วรรค 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 907/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่และการครอบครองปรปักษ์ สิทธิโดยการจดทะเบียนสำคัญกว่า
ฟ้องขับไล่ผู้อาศัยออกจากที่ดินนั้น ไม่จำเป็นต้องระบุถึงวันเริ่มการอาศัยวันแรก เพราะการอาศัยหรือไม่นั้นเป็นลักษณะของอาการที่ประพฤติต่อกันสืบเนื่องเรื่อยๆ ไป เมื่อโจทก์กล่าวถึงสภาพแห่งคดีพอที่จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วก็ใช้ได้
ผู้ครอบครองที่ดินด้วยอำนาจปรปักษ์เกินกว่า 10 ปีแต่มิได้จดทะเบียนสิทธิไว้จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ผู้ได้สิทธิในที่ดินนี้มาโดยการเสียค่าตอบแทนและจดทะเบียนสิทธิ โดยสุจริตไม่ได้ดังบทบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1299 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กัมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ แม้ผู้รับโอนจะจดทะเบียนสิทธิและเสียค่าตอบแทน แต่หากรับโอนโดยไม่สุจริต ย่อมไม่เกิดกัมสิทธิ์
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเองที่บ้าน แต่ผู้ซื้อได้ครอบครองที่ดินนั้นมากว่า 10 ปี ย่อมได้กัมสิทธิ์ตาม ป.ม.แพ่งฯ ม. 1382.
ผู้รับโอนที่ดิน แม้จะได้จดทเบียนสิทธิตามกดหมายและเสียค่าตอบแทนก็ดี หากได้รับโอนมาโดยไม่สุจริตแล้ว ก็หาได้กัมสิทธิไนที่ดินนั้นไป.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2486

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ แม้มีการจดทะเบียนสิทธิแต่ไม่สุจริต
ทำสัญญาซื้อขายที่ดินกันเองที่บ้าน แต่ผู้ซื้อได้ครอบครองที่ดินนั้นมากว่า 10 ปี ย่อมได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้รับโอนที่ดิน แม้จะได้จดทะเบียนสิทธิตามกฎหมายและเสียค่าตอบแทนก็ดี หากได้รับโอนมาโดยไม่สุจริตแล้ว ก็หาได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2486 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในที่ดินระหว่างผู้ซื้อที่จดทะเบียนสิทธิกับผู้ครอบครองโดยไม่จดทะเบียน: ผู้ซื้อที่สุจริตมีสิทธิเหนือกว่า
โจทเปนผู้ซื้อที่ดินรายพิพาทโดยโอนทเบียนซื้อขายกันที่หอทเบียน ได้เสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต แม้จำเลยจะอ้างว่าาได้ครอบครองมากว่า 10 ปี ก็หาไช้ยันต่อโจทได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้สิทธิในที่ดินจากการครอบครองปรปักษ์ จำเป็นต้องจดทะเบียนสิทธิเพื่อใช้ยันบุคคลภายนอกที่ได้มาโดยสุจริต
ที่ดินมีโฉนดแม้จำเลยจะได้ครอบครองโดยปรปักสเกิน 10 ปีถ้าหากมิได้ไปจดทเบียนสิทธิตาม ป.พ.พ.ม.1299 (2) ก็จะยกเปนข้อต่อสู้บุคคลพายนอกผู้ได้รับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1043/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ไม่สมบูรณ์หากไม่ได้จดทะเบียนสิทธิ แม้ระยะเวลาเกิน 10 ปี
ที่ดินมีโฉนดแม้จำเลยจะได้ครอบครองโดยปรปักษ์เกิน 10 ปี.ถ้าหากมิได้ไปจดทะเบียนสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1299(2). ก็จะยกเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้รับโอนมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6543/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาที่ดินเพื่อจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หากประเมินถูกต้องตามสภาพที่ดิน ไม่ถือเป็นการละเมิด
ที่ดินโฉนดเลขที่ 122321 ไม่ติดทางสาธารณะประโยชน์ซอยทองหล่อ 12 เมื่อไม่เป็นที่ดินติดทางสาธารณประโยชน์ กรณีจึงไม่ใช่ที่ดินที่อยู่ในหน่วยที่ 3 ตามบัญชีราคาประเมินที่ดินที่มีราคาประเมินตารางวาละ 40,000 บาท แต่เป็นที่ดินที่อยู่ในหน่วยที่ 7 ซึ่งคือ ที่ดินนอกเหนือจากหน่วยที่ 1 ถึงที่ 6 มีราคาประเมินตารางวาละ 15,000 บาท การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งได้รับคำสั่งจากจำเลยที่ 1 ให้ดำเนินการตามขั้นตอนการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมต่อไป ได้ประเมินราคาที่ดินโฉนดเลขที่ 122321 ตารางวาละ 15,000 บาท เป็นราคาประเมินทั้งสิ้น 13,590,000 บาท และเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมจากผู้ซื้อและผู้ขายตามราคาประเมินในอัตราร้อยละ 2 เป็นค่าธรรมเนียม 271,800 บาท โดยไม่ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการกำหนดจำนวนทุนทรัพย์ในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดิน พ.ศ.2530 จึงไม่ใช่เป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์แต่อย่างใด การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11036/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: บุคคลภายนอกสุจริตได้สิทธิเหนือผู้ครอบครองก่อน หากจดทะเบียนสิทธิแล้ว
โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ซึ่งมีอาณาเขตติดกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของ จ. ต่อมาที่ดินทั้งสองแปลงถูกเวนคืนไปบางส่วนเพื่อสร้างทางหลวงเทศบาล ทำให้ที่ดินของ จ. ถูกแบ่งแยก บางส่วนที่ดินพิพาทยังเหลือติดอยู่กับที่ดินของโจทก์ และโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินของ จ. บริเวณดังกล่าวเรื่อยมาจนได้สิทธิครอบครอง ต่อมา จ. โอนขายที่ดินพิพาทให้ ก. ต่อมา ก. ขายที่ดินดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม ถ้ายังไม่ได้จดทะเบียน จะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริตและได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทต่อจาก ก. ซึ่งเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจาก จ. เป็นคนแรก และได้จดทะเบียนรับโอนที่ดินดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 จึงเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิในที่ดินพิพาทมาโดยเสียค่าตอบแทนและได้จดทะเบียนสิทธิแล้ว เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนสิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งนอกจากไม่มีประเด็นว่าจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินพิพาทและจดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตหรือไม่แล้ว จำเลยที่ 1 ยังได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ด้วยว่ากระทำการโดยสุจริต การที่โจทก์เป็นผู้ได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองซึ่งเป็นการได้มาโดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมและยังมิได้จดทะเบียน จึงไม่อาจยกสิทธิที่ได้มาโดยการครอบครองขึ้นต่อสู้กับจำเลยที่ 1 ได้ จำเลยที่ 1 จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5927/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมโดยอายุความและผลกระทบจากการตัดถนน-การจดทะเบียนสิทธิ
โจทก์ทั้งสี่ใช้ลำรางพิพาทในการชักน้ำเข้านาที่ดินพิพาท แล้วขุดเป็นบ่ออยู่ในที่ดินแปลงดังกล่าว จากนั้นโจทก์ทั้งสี่ใช้ระหัดวิดน้ำหรือใช้เครื่องสูบน้ำชักน้ำเข้าไปยังที่ดินแปลงอื่นของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ด้วยความสงบและเปิดเผย ด้วยเจตนาให้ได้มาซึ่งภาระจำยอมเกินกว่า 10 ปี แล้ว แม้จะได้ความว่ามีลำรางพิพาทถึงที่ดินพิพาทของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เท่านั้น ส่วนที่ดินแปลงอื่น ๆ ดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 มีการชักน้ำเข้าไปโดยการใช้ระหัดวิดน้ำหรือเครื่องสูบน้ำจากที่ดินพิพาทแต่ก็อยู่ในลักษณะที่ลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสามต้องรับกรรม หรือรับภาระเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินของโจทก์ที่ 2 และที่ 3 และที่ดินของโจทก์ที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ที่อยู่ถัดไปด้วยเช่นกัน เพราะสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ถ้าการที่ต้องภาระจำยอมนั้นมีลักษณะเป็นภาระแก่อสังหาริมทรัพย์อื่น จะเป็นแปลงหนึ่งหรือหลายแปลงก็ดี จะมีอสังหาริมทรัพย์อื่นคั่นอยู่ก็ดี ก็ตกเป็นภาระจำยอมได้ ที่ดินของจำเลยทั้งสามจึงตกเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของโจทก์ทั้งสี่ทั้งหกแปลงในการใช้ลำรางพิพาทโดยอายุความ
สิทธิตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 1299 ต้องเป็นสิทธิในประเภทเดียวกันแต่ภาระจำยอมเป็นสิทธิในประเภทรอนสิทธิ ส่วนกรรมสิทธิ์เป็นสิทธิในประเภทได้สิทธิ ซึ่งเป็นสิทธิคนละประเภทกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ได้สิทธิภาระจำยอมลำรางพิพาทในที่ดินของจำเลยทั้งสาม จำเลยทั้งสามจะต้องรับรู้ถึงสิทธิของโจทก์ทั้งสี่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1387 จึงไม่อาจนำมาตรา 1299 วรรคสองมาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้
of 4