พบผลลัพธ์ทั้งหมด 36 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2609/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานและการจ่ายค่าจ้าง แม้การแต่งตั้งไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และกรณีหนี้จากการประกอบกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยทำหนังสือแต่งตั้งโจทก์ให้เป็นผู้รักษาการ กรรมการผู้จัดการของจำเลยถือได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อจำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างและโจทก์ ได้ทำงานตามหน้าที่ให้แก่จำเลยแล้ว จำเลยจึงมีหน้าที่จ่าย ค่าจ้างให้แก่โจทก์
จำเลยมิได้ยกเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพียงแต่กล่าวอ้างว่าการที่จำเลยยินยอมแต่งตั้งโจทก์เป็น ผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการของจำเลยนั้น เพราะถูกโจทก์กับพวกหลอกลวงและจำเลยหลงเชื่อซึ่งไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับนิติกรรมอำพรางอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
โจทก์จ่ายเงินทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินทดรองจึงเป็นหนี้ ที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมเป็นโมฆะการที่โจทก์จ่ายเงิน ไปโดยรู้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระคืน
จำเลยมิได้ยกเรื่องนิติกรรมอำพรางเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเพียงแต่กล่าวอ้างว่าการที่จำเลยยินยอมแต่งตั้งโจทก์เป็น ผู้รักษาการกรรมการผู้จัดการของจำเลยนั้น เพราะถูกโจทก์กับพวกหลอกลวงและจำเลยหลงเชื่อซึ่งไม่ใช่กรณีที่เกี่ยวกับนิติกรรมอำพรางอุทธรณ์ข้อนี้ของจำเลยจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลแรงงานกลาง
โจทก์จ่ายเงินทดรองเป็นค่าใช้จ่ายในกิจการของจำเลยซึ่งเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เงินทดรองจึงเป็นหนี้ ที่เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ขัดขวางต่อ ความสงบเรียบร้อยของประชาชนย่อมเป็นโมฆะการที่โจทก์จ่ายเงิน ไปโดยรู้อยู่แล้ว จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2599/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงาน: ลักษณะการจ้างงานเป็นประจำ แม้ได้รับค่าจ้างรายวันและมีการผ่อนผันการลา
เมื่อองค์การคลังสินค้าจำเลยจ้างโจทก์เข้าทำงานก็ไม่ได้แสดงความประสงค์ว่าจะจ้างชั่วคราวหรือจ้างประจำ และไม่มีกำหนดเวลาจ้างแน่นอน ถ้ารัฐบาลไม่ยกเลิกข้าวโอชาโจทก์ก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่ตลอดไป ลักษณะของการจ้างจึงเป็นการจ้างกันเป็นประจำไม่ใช่ตกลงจ้างไว้ทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจรหรือตามฤดูกาล โจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลย การที่โจทก์ได้รับการผ่อนผันเกี่ยวกับการลา และได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน หาทำให้ลักษณะการจ้างเปลี่ยนแปลงไปไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3111/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานในโรงพยาบาลของมูลนิธิ: พิจารณาวัตถุประสงค์การจ้างเพื่อบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน และความรับผิดของประธานกรรมการ
โจทก์เป็นลูกจ้างทำงานในโรงพยาบาลที่มูลนิธิจำเลยที่ 1เป็นเจ้าของและเป็นผู้บริหารงานหาผลประโยชน์จากโรงพยาบาลมาบำรุงมูลนิธิจำเลยที่ 1 โรงพยาบาลดังกล่าวไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคลเมื่อมีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นโจทก์ฟ้องมูลนิธิจำเลยที่ 1ได้แต่เมื่อมีปัญหาต้องพิจารณาสภาพการจ้างว่าเป็นการจ้างที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ต้องพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ของโรงพยาบาลหาใช่พิจารณาวัตถุประสงค์ของมูลนิธิไม่
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นผู้แทนของนิติบุคคลมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1ต้องถือว่าเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
จำเลยที่ 2 เป็นประธานกรรมการมูลนิธิจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนิติบุคคลจึงเป็นผู้แทนของนิติบุคคลมีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1ต้องถือว่าเป็นนายจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 2 จำเลยที่ 2 ในฐานะประธานกรรมการมูลนิธิจึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2820/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างครูพิเศษแล้วบรรจุเป็นประจำ ถือเป็นการจ้างงานประจำตั้งแต่เริ่มจ้าง
เมื่อไม่ปรากฏว่างานของครูพิเศษซึ่งมีจำเลยจ้างมาทำการสอน มีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็นไปตามฤดูกาลอย่างไร จึงถือได้ว่าจำเลยจ้างโจทก์ไว้เป็นการประจำโจทก์จึงเป็นลูกจ้างประจำของจำเลยตั้งแต่จำเลยจ้างโจทก์เป็นครูพิเศษเป็นต้นมา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับใช้ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ กรณีจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร และอำนาจของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน เป็นบทกฎหมายที่กำหนดการคุ้มครองแรงงานแก่ลูกจ้างเพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปโดยเหมาะสม เป็นกฎหมายคนละส่วนกับพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ ซึ่งเป็นกฎหมายที่กำหนดถึงความสัมพันธ์รวมทั้งวิธีการแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างให้เป็นไปด้วยวิธีปรองดองและเป็นธรรม ดังนั้นการจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจ จึงมิใช่กิจการที่ได้รับยกเว้นมิให้ใช้พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บังคับเช่นเดียวกับประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องและค่าชดเชย กรณีการจ้างงานขาดตอนถือเป็นการจ้างใหม่
จำเลยจ้างโจทก์ 2 ระยะ ระยะแรกจนถึงเกษียณอายุคือวันที่ 22 มิถุนายน 2517 ต่อมาจำเลยต่ออายุการทำงานของโจทก์ไปอีก อันเป็นการจ้างระยะที่สองซึ่งมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2518 ดังนี้วันทำงานของโจทก์สำหรับระยะการจ้างระยะแรกกับระยะที่สองขาดตอนไม่ต่อเนื่องกัน จึงต้องถือว่าการจ้างระยะที่สองเป็นการจ้างใหม่แม้จะ มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แต่จำเลยมิได้เลิกจ้าง โจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ในการจ้างระยะที่สองนี้อีกจำนวนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1743/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจ้างงานต่อเนื่องและการจ่ายค่าชดเชย กรณีจ้างใหม่หลังเกษียณและเลิกจ้าง
จำเลยจ้างโจทก์ 2 ระยะ ระยะแรกจนถึงเกษียณอายุคือวันที่ 22 มิถุนายน 2517 ต่อมาจำเลยต่ออายุการทำงานของโจทก์ไปอีก อันเป็นการจ้างระยะที่สองซึ่งมีกำหนดระยะเวลาแน่นอนโดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2518 ดังนี้ วันทำงานของโจทก์สำหรับระยะการจ้างระยะแรกกับระยะที่สองขาดตอนไม่ต่อเนื่องกันจึงต้องถือว่าการจ้างระยะที่สองเป็นการจ้างใหม่ แม้จะ มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน แต่จำเลยมิได้เลิกจ้าง โจทก์ตามกำหนดระยะเวลานั้น จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ในการจ้างระยะที่สองนี้อีกจำนวนหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1349/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าจ้างขั้นต่ำกับการจ้างงานที่ไม่แสวงหากำไร: การคุ้มครองแรงงานแยกจากอัตราค่าจ้าง
การจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงกำไรในทางเศรษฐกิจอยู่ในบังคับแห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานที่มิให้ใช้บังคับแก่การจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวง กำไรในทางเศรษฐกิจนั้นหมายถึงเรื่องการคุ้มครองแรงงานทั่ว ๆ ไปตามที่จำแนกไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวดที่ 1 ถึงหมวดที่ 9เท่านั้นไม่หมายถึงเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่มิให้ใช้บังคับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานที่มิให้ใช้บังคับแก่การจ้างงานที่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวง กำไรในทางเศรษฐกิจนั้นหมายถึงเรื่องการคุ้มครองแรงงานทั่ว ๆ ไปตามที่จำแนกไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานหมวดที่ 1 ถึงหมวดที่ 9เท่านั้นไม่หมายถึงเรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2910/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์นายจ้าง-ลูกจ้าง: การจ้างงานผ่านหัวหน้างาน ไม่ถือเป็นลูกจ้างโดยตรง
บริษัทจำเลยประกอบกิจการขนถ่ายสินค้าบนเรือเดินทะเล การตกลงให้มีการขนถ่ายสินค้าเป็นการตกลงระหว่างจำเลยกับหัวหน้าใหญ่ ซึ่งจะไปบอกหัวหน้าสายซึ่งมีกรรมกรอยู่ในสายของตนมาทำงาน การควบคุมการทำงานหรือสั่งการใดๆ ย่อมอยู่ที่หัวหน้าใหญ่และหัวหน้าสาย จำเลยกับกรรมกรไม่มีความสัมพันธ์ใด ๆ ต่อกัน ตั้งแต่การจ้าง การจ่ายค่าจ้าง และการควบคุมการทำงาน โจทก์ซึ่งเป็นกรรมกรขนถ่ายสินค้าจึงมิใช่ลูกจ้างของจำเลยไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยจากจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 663/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสัมพันธ์จ้างงานอิสระไม่เข้าข่ายลักทรัพย์นายจ้าง
แม้จำเลยจะพักนอนบนเรือนของผู้เสียหายระหว่างที่รับจ้างขุดมันสำปะหลังให้แก่ผู้เสียหายก็ตาม แต่ค่าจ้างที่ผู้เสียหายตกลงจ่ายให้แก่จำเลยคิดตามน้ำหนักมันสำปะหลังที่จำเลยขุดได้ ซึ่งจะได้มากน้อยเท่าใดแล้วแต่ความสมัครใจและความสามารถของจำเลย ผู้เสียหายหาได้กำหนดกฎเกณฑ์สั่งการขุดให้จำเลยขุดให้ได้จำนวนมันสำปะหลังแน่นอนอย่างใดไม่ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสียหายกับจำเลยไม่ใช่อยู่ในฐานะนายจ้างและลูกจ้างกันเมื่อจำเลยลักเอาทรัพย์ของผู้เสียหายไป จึงมีความผิดฐานลักทรัพย์บุคคลธรรมดา หาใช่ความผิดฐานลักทรัพย์ นายจ้างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) ไม่