คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ซ้ำซ้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 62 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3289/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับหนี้จากการกู้เงินซ้ำซ้อนและการชำระหนี้โดยทางอ้อม แม้เป็นการกู้คนละส่วนกัน แต่มีวัตถุประสงค์เชื่อมโยง
ลูกหนี้ที่ 1 ทำสัญญากู้ยืมเงินจำนวน 7,000,000 บาท จากเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ได้กู้ยืมเงินจำนวนเท่ากันจากธนาคาร อ.โดยปรากฏในรายงานการประชุมบริษัทของเจ้าหนี้ว่าลูกหนี้ที่ 1 ได้เสนอต่อเจ้าหนี้ว่ากำลังเจรจาซื้อหุ้นโรงแรม ม. จำนวนหนึ่งเพื่อนำมาขายให้เจ้าหนี้ ที่ประชุมของบริษัทเจ้าหนี้มีมติตกลงรับซื้อ และให้ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมเงินจากเจ้าหนี้จำนวน 7,000,000 บาท ก่อนโดยมีโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นประกัน เมื่อขายหุ้นได้แล้วให้เอาเงินค่าหุ้นชำระคืนให้เจ้าหนี้พร้อมดอกเบี้ย แต่ที่ประชุมบริษัทของเจ้าหนี้เห็นว่า การที่ลูกหนี้ที่ 1 จะซื้อหุ้นโรงแรมดังกล่าวมาขายให้เจ้าหนี้และการจะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 ชำระหนี้คงมีปัญหาจึงมีมติให้เจ้าหนี้ติดต่อขอกู้เงินจำนวน 7,000,000 บาท จากธนาคาร อ. โดยให้ใช้ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นหลักประกันและให้แจ้งลูกหนี้ที่ 1 ทราบ ต่อมาวันที่ 21 มกราคม 2529 ลูกหนี้ที่ 1 ได้จดทะเบียนจำนองที่ดินเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้จำนวน7,000,000 บาท ต่อธนาคาร อ. แม้หนี้เงินกู้ทั้งสองรายจะเป็นหนี้คนละส่วนกัน แต่สาเหตุแห่งการกู้ยืมเงินมีส่วนเกี่ยวพันกันและลูกหนี้ที่ 1 ได้แจ้งให้เจ้าหนี้ทราบว่าไม่สามารถชำระหนี้เงินกู้แก่เจ้าหนี้ได้ เพราะได้นำเงินไปซื้อหุ้นหมดแล้ว และยังขายหุ้นไม่ได้ การที่เจ้าหนี้ได้ขอกู้เงินจากธนาคาร อ.เท่าจำนวนเงินที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้จากเจ้าหนี้ โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเป็นประกันเงินกู้ของเจ้าหนี้ต่อธนาคาร อ.ทั้งตามข้อตกลงในสัญญากู้ระบุว่า ถ้าลูกหนี้ที่ 1 ผิดสัญญากู้ยืมเงินก็ให้เจ้าหนี้จัดการจดทะเบียนโอนโฉนดที่ดินของลูกหนี้ที่ 1เป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้ทันทีหรือทำการอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่เห็นสมควรตามหนังสือมอบอำนาจของลูกหนี้ที่ 1 ที่ให้ไว้ ประกอบกับสัญญากู้มีกำหนดเวลาชำระหนี้ 1 ปี ซึ่งครบกำหนดชำระในวันที่16 กรกฎาคม 2529 แต่เจ้าหนี้ได้กู้เงินจากธนาคาร อ.เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2529 ก่อนวันที่หนี้เงินกู้ของลูกหนี้ที่ 1 ถึงกำหนดชำระ แสดงว่าเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ไม่สามารถชำระได้แทนที่เจ้าหนี้จะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินของลูกหนี้ที่ 1 เป็นกรรมสิทธิ์ของตนตามข้อตกลงในสัญญากู้หรือให้ลูกหนี้ที่ 1กู้ยืมเงินจากธนาคารเองโดยจำนองที่ดินเป้นประกันแล้วเอาเงินมาชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ เจ้าหนี้กลับเลือกเอาทางไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. เอง โดยให้ลูกหนี้ที่ 1 จำนองที่ดินเป็นประกันเช่นนี้จึงต้องฟังว่า เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้จำนวน 7,000,000 บาทที่ลูกหนี้ที่ 1 กู้ยืมไปจากเจ้าหนี้ตามสัญญากู้แล้วตั้งแต่วันที่21 มกราคม 2529 หนี้ต้นเงินกู้จำนวน 7,000,000 บาท จึงระงับไปส่วนดอกเบี้ยในต้นเงินจำนวน 7,000,000 บาท อัตราร้อยละ 15ต่อปีตามสัญญากู้นั้น ลูกหนี้ที่ 1 ไม่เคยชำระแก่เจ้าหนี้เลยลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยให้เจ้าหนี้ในต้นเงินจำนวน7,000,000 บาท นับแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2528 ซึ่งเป็นวันกู้จนถึงวันที่เจ้าหนีได้รับชำระหนี้ต้นเงินกู้คืนคือวันที่21 มกราคม 2529 ส่วนดอกเบี้ยภายหลังจากนั้นจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 100 เจ้าหนี้ไม่มีสิทธิได้รับเพราะหนี้ต้นเงินกู้ได้ระงับไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายจากการกระทำละเมิด: ห้ามรับชดใช้ซ้ำซ้อน
เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ และโจทก์ได้รับค่าเสียหายจากการที่ถูกกระทำละเมิดนั้นจนเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีสิทธิจะได้รับค่าเสียหายจากการกระทำละเมิดอันเดียวกันนั้นจากจำเลยที่ 1 หรือจากผู้อื่นอีก รวมไปถึงจำเลยที่ 2 ด้วย มิฉะนั้นแล้วโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายเกินกว่าความเสียหายที่โจทก์ได้รับจริง แม้จำเลยที่ 1 จะฎีกาแต่ผู้เดียวก็ย่อมมีผลถึงจำเลยที่ 2 ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 759/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชดใช้ค่าเสียหายซ้ำซ้อน: เมื่อผู้เสียหายได้รับค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดหลายรายแล้ว สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้กระทำละเมิดรายอื่นย่อมสิ้นสุด
ก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ทั้งสองเคยฟ้อง ก. ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ทำให้รั้วของโจทก์ทั้งสองเสียหายให้รับผิดในความเสียหายนั้นศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดเป็นคดีนี้ซึ่งเป็นมูลคดีเดียวกัน โดยอ้างว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์และโจทก์ทั้งสองได้อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีที่ฟ้อง ก.ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ก. รับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์ทั้งสอง ก. ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืน ก. ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้โจทก์ทั้งสองไปแล้วในขณะที่คดีนี้อยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา เมื่อโจทก์ทั้งสองได้รับชำระค่าเสียหายจนเต็มจำนวนแล้ว ก็ไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระค่าเสียหายจากผู้ใดอีก มิฉะนั้นโจทก์ทั้งสองจะได้รับค่าเสียหายเกินกว่าความเสียหายที่ได้รับจริง โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4134/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีล้มละลายซ้ำซ้อนเมื่อมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีก่อนแล้ว
ก่อนคดีนี้ จำเลยถูกฟ้องขอให้ล้มละลายในคดีหมายเลขแดงที่ล.130/2530 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2530 จำเลยอุทธรณ์ ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยถูกฟ้องขอให้ล้มละลายอีกคดีหนึ่งตามคดีหมายเลขแดงที่ ล.312/2531 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2531 ต่อมาคดีหมายเลขแดงที่ล.130/2530 ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้วจึงไม่มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีดังกล่าว ส่วนคดีหมายเลขแดงที่ ล.312/2531 จำเลยอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นสำหรับคดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายเมื่อวันที8 มีนาคม 2534 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่30 เมษายน 2534 ขณะที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายในคดีนี้จำเลยถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วในคดีหมายเลขแดงที่ ล.312/2531และคดีได้ถึงที่สุดแล้ว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังกล่าวจึงยังมีผลอยู่และใช้ยันแก่โจทก์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153 จึงต้องจำหน่ายคดีนี้เสียตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 148/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องซ้ำซ้อนกรณีภาษีอากร: เมื่อมีการอุทธรณ์คำวินิจฉัยแล้ว กรมสรรพากรไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีซ้ำ
หุ้นส่วนคนหนึ่งของห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลโจทก์ที่ 1ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2521 โจทก์ที่ 1 จึงต้องเลิกกันในวันดังกล่าวโดยผลของกฎหมาย แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1249 ให้พึงถือว่ายังคงตั้งอยู่ตราบเท่าเวลาที่จำเป็นเพื่อการชำระบัญชี เมื่อเพิ่งมีการจดทะเบียนเลิกห้างโจทก์ที่ 1 เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2529 และจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2530 จึงถือว่าในช่วงรอบระยะเวลาบัญชีปี พ.ศ. 2527 และ 2528 โจทก์ที่ 1 ยังคงมีสภาพเป็นห้างหุ้นส่วนอยู่ ผู้ต้องเสียภาษีอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกี่ยวกับเงินได้ของตนต่อศาล ขอให้ศาลเพิกถอนคำวินิจฉัยคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจจะถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกเงินภาษีรายเดียวกันจากผู้ต้องเสียภาษีอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1180/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องลูกจ้างในมูลละเมิดควบคู่กับการฟ้องผู้ใช้ไฟฟ้าในมูลหนี้สัญญาซื้อขาย ไม่ถือเป็นการใช้สิทธิเรียกร้องซ้ำซ้อน
ลูกจ้างกระทำโดยประมาทเลินเล่อและจงใจไม่ปฏิบัติตามหน้าที่และคำสั่งเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายไม่สามารถเก็บค่ากระแสไฟฟ้าจากผู้ใช้ไฟฟ้าได้ การที่นายจ้างฟ้องลูกจ้างดังกล่าวในมูลละเมิดว่าลูกจ้างประมาทเลินเล่อหรือจงใจเป็นเหตุให้นายจ้างเสียหายและเป็นการผิดสัญญาจ้างนั้น แม้นายจ้างจะได้ฟ้องผู้ใช้ไฟฟ้าให้ชำระหนี้ค่าไฟฟ้าซึ่งเป็นฟ้องในมูลหนี้ผิดสัญญาซื้อขายเป็นอีกคดีหนึ่งด้วย แต่นายจ้างยังไม่ได้รับชำระหนี้ดังกล่าว การฟ้องลูกจ้างเช่นว่านั้นมิใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องที่ซ้ำซ้อน จึงฟ้องลูกจ้างได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1054/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกำหนดกระทงความผิดซ้ำซ้อนในคดีสัตว์ป่าคุ้มครอง: แยกกระทงหรือรวมกระทง
การมีไว้ในครอบครองซึ่งขาเลียงผา ซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าสงวนตามฟ้อง ข้อ ก. เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2503 มาตรา 14 และมาตรา 38 ส่วนการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งซากสัตว์อื่นซึ่งเป็นซากสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามฟ้องข้อ ง.เป็นความผิดตาม มาตรา 16 และ มาตรา 40 แยกไว้คนละมาตราเป็นคนละฐานความผิดแสดงว่าเป็นเจตนารมณ์ ของกฎหมายที่ต้องการแยกเป็นคนละความผิดต่างกระทงกัน การกระทำความผิดดังกล่าวจึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ส่วนการค้าลิ่นซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามฟ้อง ข้อ ข.กับการมีไว้ในครอบครองและค้าซึ่งงูเหลือม ซึ่งเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามฟ้อง ข้อ ค.เป็นความผิดตาม มาตรา 15 และมาตรา 40 บทมาตราเดียวกันแสดงว่ากฎหมายต้องการให้เป็นความผิดในลักษณะเดียวกัน เป็นวัตถุประเภทเดียวกัน ทั้งจำเลยกระทำผิดดังกล่าวในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบท ตามกฎหมายอาญามาตรา 90

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6251/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตักเตือนลูกจ้างและการเลิกจ้างซ้ำซ้อน นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างโดยอ้างเหตุเดิมหลังตักเตือนแล้วได้
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน มิได้กำหนดว่าเมื่อนายจ้างออกหนังสือตักเตือนลูกจ้างแล้ว นายจ้างต้องแจ้งหนังสือตักเตือนให้ลูกจ้างทราบโดยต้องให้ลูกจ้างลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือน หรือต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบโดยวิธีการอย่างใดการที่จำเลยออกหนังสือตักเตือน และแจ้งให้โจทก์ทราบ แม้โจทก์จะไม่ได้ลงชื่อรับทราบในหนังสือตักเตือน ก็ถือได้ว่าโจทก์ได้ทราบหนังสือตักเตือน ซึ่งทำให้หนังสือตักเตือนมีผลใช้บังคับแล้วและเมื่อจำเลยได้สั่งลงโทษการกระทำความผิดของโจทก์ โดยการตักเตือนมีหนังสือแล้ว จำเลยจะเลิกจ้างโจทก์โดยอ้างเหตุแห่งการกระทำผิดของโจทก์ดังกล่าวอีกไม่ได้ เพราะเป็นการซ้ำซ้อนกับการกระทำผิดของโจทก์ในคราวเดียวกัน จำเลยจึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดก: ศาลสั่งตั้งแล้ว มีอำนาจจัดการทั้งหมด ผู้ร้องขอตั้งซ้ำมิได้ แม้มีพินัยกรรม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย ไว้ แล้วโดยมิได้จำกัดให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกเฉพาะ สิ่ง เฉพาะอย่าง ผู้คัดค้านก็ย่อมมีอำนาจที่จะจัดการเกี่ยวกับทรัพย์ มรดกของผู้ตายได้ทั้งหมด หากผู้ตายทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์เฉพาะ สิ่งไว้ ผู้ร้องก็อาจขอให้ผู้คัดค้านจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรม นั้นได้ กรณีจึงไม่มีเหตุจำเป็นและสมควรที่ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายเดียวกันซ้อนขึ้นมาอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5384/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดก: ผู้จัดการมรดกเดิมมีอำนาจจัดการตามพินัยกรรม ผู้ร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกซ้ำไม่ชอบ
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านซึ่งเป็นมารดาผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยไม่มีพินัยกรรมไว้แล้วโดยมิได้จำกัดให้มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกเฉพาะสิ่งเฉพาะอย่าง ผู้คัดค้านย่อมมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์มรดกของผู้ตายได้ทั้งหมด ดังนั้นหากผู้ตายทำพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์เฉพาะสิ่งไว้จริง ผู้ร้องก็อาจขอให้ผู้คัดค้านจัดการให้เป็นไปตามพินัยกรรมนั้นได้กรณีจึงไม่มีเหตุที่ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกรายเดียวกันซ้อนขึ้นมาอีก.
of 7