คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ธนาคารปฏิเสธ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2380/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีเช็ค: เริ่มนับแต่วันธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แม้ผู้รับโอนเช็คภายหลัง
จำเลยออกเช็คให้แก่ ย. ลงวันที่ 14 เมษายน 2515 ย. นำเช็คไปเข้าบัญชี ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินโดยบอกว่า "ยังรอเรียกเก็บเงินอยู่ โปรดนำมายื่นใหม่" วันที่17 เดือนเดียวกัน ย. นำเช็คไปเข้าบัญชีอีกครั้งหนึ่ง ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน แจ้งว่าให้ไปติดต่อผู้สั่งจ่ายต่อมา ย. สลักหลังเช็คให้โจทก์ โจทก์นำไปเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2515 ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินอีกโดยแจ้งว่าบัญชีปิดแล้ว ดังนี้ถือว่าความผิดได้เกิดขึ้นและรู้ตัวผู้กระทำผิดแล้ว ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน 2515 โจทก์ฟ้องจำเลยเมื่อเกินสามเดือนนับแต่นั้น คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1887-1890/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คหลังธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน: คดีเลิกกันตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 5 บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 3 ได้นำเงินตามจำนวนในเช็คไปชำระแก่ผู้ทรงเช็ค หรือแก่ธนาคารเพื่อจ่ายเงิน ตามเช็ค ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ธนาคารที่มีชื่อในเช็คบอกกล่าวให้ผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน ให้คดีเป็นอันเลิกกันตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา" ดังนี้ เมื่อคดีได้ความว่าธนาคารไม่ได้บอกกล่าวให้ผู้ออกเช็คทราบว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงยังไม่อาจเริ่มนับระยะเวลาตามมาตรา5 และไม่มีทางจะถือว่าพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ได้ และเมื่อปรากฏว่าผู้ออกเช็คได้โอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ทรงเช็คเป็นการชำระหนี้ตามเช็คกันเรียบร้อยแล้ว คดีย่อมเป็นอันเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1096/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้เช็คหลังธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน: การเริ่มนับระยะเวลาตามมาตรา 5
เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงินตามเช็คของจำเลย การการกระทำของจำเลยย่อมเป็นผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 3 แล้วจำเลยจะมีทางพ้นผิดได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามมาตรา 5ซึ่งบัญญัติให้ผู้กระทำผิดนำเงินไปชำระแก่ผู้ทรงเช็คภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ธนาคารบอกกล่าวแก่ผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน เมื่อทางพิจารณาฟังได้ว่า ธนาคารมิได้บอกกล่าวให้จำเลยผู้ออกเช็คได้รับทราบว่าธนาคารปฏิเสธไม่จ่ายเงิน กับกรณีเรื่องนี้ถือได้ว่าจำเลยได้ชำระเงินแก่ผู้ทรงเช็คแล้ว และการชำระเงินก็ยังไม่พ้นกำหนดเวลาดังระบุไว้ในมาตรา 5 เพราะธนาคารไม่ได้บอกกล่าวแก่จำเลยให้ทราบว่าธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงยังไม่อาจเริ่มนับระยะเวลาและเมื่อไม่อาจเริ่มนับระยะเวลา จึงไม่มีทางจะถือว่าพ้นกำหนดเวลาที่กำหนดไว้ได้ คดีจึงเป็นอันเลิกกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8506/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาลฟ้องคดีเช็ค: พิจารณาจากธนาคารที่ปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่ที่เกิดสัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินตามเช็ค จึงต้องพิจารณาว่ามูลคดีตามฟ้องเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นศาลใด โจทก์มีอำนาจยื่นฟ้องที่ศาลนั้นได้ เมื่อธนาคารตามเช็คซึ่งปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็คตั้งอยู่ในเขตอำนาจของศาลชั้นต้นการที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยที่ศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว ส่วนเช็คจะมีมูลหนี้หรือไม่ ไม่เกี่ยวกับเรื่องเขตอำนาจศาล เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานของคู่ความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 150/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีเช็ค: เริ่มนับจากวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ไม่ใช่วันที่ออกเช็ค
คดีความผิดอันยอมความได้ โจทก์ร่วมต้องร้องทุกข์ภายในกำหนด 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 96 ซึ่งความผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คฯ มาตรา 4 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน มิใช่เกิดขึ้นในวันที่ลงในเช็คพิพาท ดังนี้ เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ 24 กรกฎาคม 2538 จึงถือว่าความผิดของจำเลยทั้งสองเกิดขึ้นในวันดังกล่าว ฉะนั้น การเริ่มนับอายุความต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 24 กรกฎาคม 2538 ซึ่งเป็นวันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดเป็นต้นไป มิใช่นับแต่วันที่ 25 เมษายน 2538 อันเป็นวันที่ลงในเช็คพิพาท เมื่อโจทก์ร่วมแจ้งความร้องทุกข์ให้ดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสองในวันที่ 20 ตุลาคม 2538 ภายในกำหนดระยะเวลา 3 เดือน คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
of 3