คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
บังคับตามคำชี้ขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ การใช้กฎหมายก่อนและหลัง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฎิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2530 ใช้บังคับ พ.ร.บ. ดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฎิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ โจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ ป.พ.พ.มาตรา 168 (เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้องของจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา24 ซึ่งมาตรา 227 มิให้ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา แม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: บทเฉพาะกาล พ.ร.บ.อนุญาโตฯ 2530 ไม่กระทบสิทธิเดิม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ ซึ่งได้วินิจฉัยชี้ขาดให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2528 อันเป็นกรณีที่โจทก์ได้ดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการไว้แล้วก่อนที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าวจึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการดำเนินการทางอนุญาโตตุลาการของโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการโจทก์จึงไม่จำต้องฟ้องคดีภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันส่งสำเนาคำชี้ขาดถึงจำเลยตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และเมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเกิดขึ้นขณะที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 168(เดิม) ใช้บังคับ อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงต้องบังคับตามบทมาตราดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีนี้ได้ภายในกำหนด 10 ปี ศาลชั้นต้นพิเคราะห์คำฟ้องและคำให้การแล้วมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ พิพากษายกฟ้อง ซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามคำร้อง ของ จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 24 ซึ่งมาตรา 227 มิใช่ถือว่าเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาแม้โจทก์จะไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวไว้ก่อน ก็มีสิทธิอุทธรณ์และฎีกาต่อมาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 611/2535 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายฝ้ายดิบ – การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ – ค่าขึ้นศาล
ข้อตกลงที่ว่าหากมีกรณีพิพาทตามสัญญาซื้อขายฝ้ายดิบเกิดขึ้นจะต้องเสนอคดีต่ออนุญาโตตุลาการตามระเบียบและกฎข้อบังคับของเดอะ ริเวอร์พูล คอตต้อน แอสโซซิเอชั่น ลิมิเตดเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยมิได้ทำสัญญาซื้อขายฝ้ายดิบกับโจทก์ โจทก์จึงไม่อาจนำคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาฟ้องบังคับให้จำเลยต้องปฏิบัติตามได้
ฟ้องโจทก์มีคำขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการนอกศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 แม้โจทก์จะระบุฐานความผิดในฟ้องว่าผิดสัญญาทางแพ่ง และบรรยายฟ้องเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายมาด้วย แต่โจทก์ก็มิได้ขอให้บังคับจำเลยตามสัญญาซื้อขาย ดังนี้ โจทก์ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามตาราง 1 ข้อ (1) (ข) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ในอัตราหนึ่งบาทต่อทุกหนึ่งร้อยบาทตามจำนวนที่อนุญาโตตุลาการกำหนดไว้ในคำชี้ขาด แต่ไม่ให้เกินแปดหมื่นบาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเสนอข้อพิพาทราคาเวนคืนที่ดินต่อนอกศาล และการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรม จึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกันได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ.ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ.เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่า ให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ.เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ.ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วย จึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาท ผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1925/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการเรื่องเวนคืนที่ดิน: การเสนอคดีต่อศาลต้องเป็นคำฟ้อง ไม่ใช่คำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ได้มีประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 86 ให้เวนคืนที่ดินของผู้ร้องเพื่อประโยชน์ของทางราชการกรมชลประทาน และกำหนดค่าทดแทนให้ราคาไร่ละ 2,000 บาท ผู้ร้องปฏิเสธเพราะราคาไม่เป็นธรรมจึงมีการตั้งอนุญาโตตุลาการขึ้นชี้ขาดราคา อนุญาโตตุลาการของทางฝ่ายกรมชลประทานและฝ่ายผู้ร้องมีความเห็นไม่ตรงกัน ได้ตกลงตั้งประธานอนุญาโตตุลาการเป็นผู้ชี้ขาดโดยให้ฝ่ายผู้ร้องร้องขอต่อศาลให้ตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ศาลไต่สวนแล้วมีคำสั่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการ ต่อมา อ. ทำคำชี้ขาดว่าราคาที่ดินที่เป็นธรรมควรกำหนดราคาไร่ละ 68,000 บาท และยื่นคำชี้ขาดต่อศาลทางฝ่ายกรมชลประทานไม่ยอมปฏิบัติตาม จึงขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาดดังกล่าว ดังนี้กรณีตามคำร้องเป็นการเสนอข้อพิพาทในการกำหนดค่าทดแทนให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดเรื่องราคาที่ดินนอกศาล ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 221 ข้อที่อนุญาโตตุลาการลงมติให้ผู้ร้องร้องขอแต่งตั้ง อ. เป็นประธานอนุญาโตตุลาการและศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. ไปตามคำร้องแล้วนั้นเป็นเพียงข้อตกลงของคู่กรณีว่าให้ไปดำเนินการทางศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่งแต่งตั้ง อ. เท่านั้น หาใช่เป็นการตั้งอนุญาโตตุลาการในศาลไม่เพราะไม่มีคดีอันเป็นข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลตามมาตรา 220 เหตุนี้การที่ อ. ได้ทำคำชี้ขาดกำหนดราคาที่ดินยื่นต่อศาลก็หาเป็นการชี้ขาดที่ต้องให้ศาลพิพากษาตามที่บังคับไว้ในมาตรา 218 วรรคสองไม่
มาตรา 221 ที่ให้ยื่นคำร้องขอต่อศาล ก็เพื่อแสดงว่าผู้ยื่นมีสิทธิตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แต่คดีเรื่องนี้ผู้ร้องมีคำขอให้บังคับกรมชลประทานปฏิบัติตามคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเข้ามาด้วยจึงเป็นคดีที่มีจำเลย เรียกว่าคดีมีข้อพิพาทผู้ร้องจึงต้องเสนอคดีต่อศาลโดยทำเป็นคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: สัญญาซื้อขายระหว่างไทย-สหรัฐฯ และข้อตกลงอนุญาโตตุลาการ
แม้คำให้การจำเลยตอนแรกจะปฏิเสธว่าไม่ได้ทำสัญญากับโจทก์ตามฟ้อง แต่ในตอนต่อมาเมื่อได้อ่านโดยตลอดแล้ว สรุปได้ว่าจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาตามสำเนาท้ายฟ้องจริง เพียงแต่ต่อสู้ว่าสัญญาดังกล่าวจะต้องบังคับตามกฎหมายไทย ศาลจึงรับฟังความมีอยู่และความถูกต้องของสัญญาได้
โจทก์มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา จำเลยอยู่ในประเทศไทย โจทก์จำเลยทำสัญญาซื้อขายโดยตกลงกันว่า เมื่อมีข้อพิพาทอันเกี่ยวกับสัญญา ให้ทำการชำระความโดยอนุญาโตตุลาการในนิวยอร์ค ข้อตกลงดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณี ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยแต่อย่างใด จึงใช้บังคับกันได้ ดังนั้นเมื่อได้มีการนำข้อพิพาทเสนอให้อนุญาโตตุลาการวินิจฉัยถูกต้องตามขั้นตอน และไม่ปรากฏว่าอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยฝ่าฝืนไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐนิวยอร์ค คำวินิจฉัยชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวจึงฟ้องร้องให้บังคับกันได้ในศาลไทย
ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแห่งและพาณิชย์ มาตรา 168

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3491/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ดอกเบี้ยเกินคำชี้ขาดเป็นโมฆะ
การที่ผู้ร้องมีคำขอให้ผู้คัดค้านชำระดอกเบี้ยผิดนัดในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี เนื่องจากผู้คัดค้านไม่ชำระเงินให้แก่ผู้ร้องเป็นการขอบังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการศูนย์อนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศแห่งสิงคโปร์เป็นการร้องขอที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ไม่อาจมีคำพิพากษาบังคับเกินคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9477/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: ศาลบังคับได้เฉพาะตามคำขอและคำชี้ขาดเดิม, ไม่อาจเพิ่มดอกเบี้ยเกินกว่าที่อนุญาโตตุลาการตัดสิน
แม้หนี้ตามสัญญาซื้อขายที่มีคำชี้ขาดนี้จะเป็นหนี้เงิน ซึ่งกฎหมายให้คิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่ผิดนัด แต่คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็ต้องเป็นไปตามข้อเรียกร้อง และคำขอที่ให้ชี้ขาดในเรื่องนั้น ๆ ซึ่งตามข้อเรียกร้องของผู้ร้องมิได้มีคำขอดอกเบี้ยหลังวันชี้ขาดด้วย และอนุญาโตตุลาการก็ชี้ขาดดอกเบี้ยเฉพาะตามที่ขอ เมื่อผู้ร้องมาขอบังคับตามคำชี้ขาด ผู้ร้องจึงไม่อาจขอให้บังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดนั้นได้ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะมีคำขอดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปีนับแต่วันร้องขอเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จมาท้ายคำร้อง ก็เป็นการขอบังคับเกินไปกว่าคำชี้ขาดที่กำหนดสถานะความรับผิดของผู้คัดค้านจากการผิดสัญญาซื้อขายไว้โดยเฉพาะแล้ว และตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 นั้น ศาลไม่อาจมีคำพิพากษาบังคับเกินคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2045/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ และขอบเขตการเรียกร้องแย้งเพิ่มเติมหลังมีคำชี้ขาด
การที่ผู้คัดค้านได้ยื่นคำคัดค้านขอให้ยกคำร้องของผู้ร้องและเรียกร้องแย้งให้ผู้ร้องชำระเงินให้ผู้คัดค้านอีกจำนวน 430,010.25 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันยื่นคำคัดค้านเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จนั้น ข้อเรียกร้องแย้งดังกล่าวเป็นประเด็นที่ผู้คัดค้านได้เคยเรียกร้องแย้งในชั้นอนุญาโตตุลาการและคณะอนุญาโตตุลาการได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นดังกล่าวไว้แล้ว คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการจึงผูกพันคู่พิพาททั้งสองฝ่ายตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 41 หากผู้คัดค้านไม่เห็นด้วยกับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการอาจทำได้โดยการร้องขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "การคัดค้านคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการอาจทำได้โดยการขอให้ศาลที่มีเขตอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรานี้..." หรือคัดค้านการร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดเพื่อให้ศาลมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดตามมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งบัญญัติว่า "ศาลมีอำนาจทำคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการไม่ว่าคำชี้ขาดนั้นจะได้ทำขึ้นในประเทศใด ถ้าผู้ซึ่งจะถูกบังคับตามคำชี้ขาดพิสูจน์ได้ว่า..." การที่ผู้คัดค้านยื่นคำร้องแย้งขอให้บังคับผู้ร้องชำระเงินให้ผู้คัดค้านตามที่ได้เคยต่อสู้และเรียกร้องแย้งไว้ในชั้นอนุญาโตตุลาการอีกถือไม่ได้ว่าเป็นการร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดตามมาตรา 40 หรือคัดค้านการร้องขอบังคับตามคำชี้ขาดเพื่อให้ศาลมีคำสั่งปฏิเสธไม่รับบังคับตามคำชี้ขาดตามมาตรา 43 แห่ง พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 แต่อย่างใด ผู้คัดค้านจึงไม่อาจเรียกร้องแย้งขอให้ศาลบังคับให้ผู้ร้องชดใช้เงินดังกล่าวได้ ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รับเฉพาะคำคัดค้านคำร้องขอให้ศาลบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการเท่านั้น ส่วนที่เกี่ยวกับคำร้องแย้ง มีคำสั่งไม่รับในส่วนนี้จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13535-13536/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศในช่วงฟื้นฟูกิจการ: ศาลมีอำนาจปฏิเสธการบังคับตามกฎหมายล้มละลาย
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนประเภทบริษัทมหาชนจำกัด ผู้คัดค้านเป็นนิติบุคคลจดทะเบียนตามกฎหมายของประเทศบาฮามาส ผู้ร้องยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลาง ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของผู้ร้อง และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องและให้ผู้ร้องบริหารแผนและยกเลิกการฟื้นฟูกิจการของผู้ร้อง ระหว่างนั้นอันเป็นช่วงเวลาที่ผู้ร้องอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องและผู้คัดค้านทำสัญญาซื้อขายปูนซีเมนต์เม็ดโดยมีข้อตกลงให้นำข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการในประเทศสิงคโปร์ภายใต้กฎการอนุญาโตตุลาการของหอการค้านานาชาติและให้ใช้กฎหมายของประเทศสวิตเซอร์แลนด์บังคับแก่สัญญา ต่อมาผู้คัดค้านอ้างว่า ผู้ร้องผิดสัญญาจึงนำข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการในประเทศสิงคโปร์ชี้ขาดว่า ผู้ร้องเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้ผู้ร้องชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้คัดค้าน โดยระหว่างการพิจารณาของอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ผู้คัดค้านทราบว่าผู้ร้องอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง แต่ผู้คัดค้านมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตต่อศาลล้มละลายกลาง ดังนี้ แม้การเสนอข้อพิพาทให้คณะอนุญาโตตุลาการในประเทศสิงคโปร์ชี้ขาดนั้นจะเป็นการดำเนินการไปตามข้อตกลงอนุญาโตตุลาการในสัญญาซื้อขายปูนซีเมนต์เม็ดระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้าน ซึ่งต้องดำเนินการไปตามข้อกำหนดเพื่อการอ้างอิง (Term of Reference) ของอนุญาโตตุลาการและกฎหมายภายในของประเทศสิงคโปร์ และมีผลผูกพันผู้ร้องและผู้คัดค้านที่จะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดดังกล่าว แต่การที่ผู้คัดค้านจะนำเอาผลคำวินิจฉัยชี้ขาดมาบังคับแก่ทรัพย์สินของผู้ร้องซึ่งเป็นลูกหนี้ในประเทศไทย ในขณะที่ผู้ร้องอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการย่อมเป็นการกระทบต่อกระบวนการฟื้นฟูกิจการของผู้ร้องตามมาตรา 90/12 (4) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ซึ่งต้องขออนุญาตต่อศาลล้มละลายกลางก่อน มิฉะนั้นแล้วก็จะเกิดการได้เปรียบเสียเปรียบระหว่างเจ้าหนี้ในราชอาณาจักรกับเจ้าหนี้นอกราชอาณาจักรซึ่งมาตรา 90/12 (4) แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มิได้จำกัดหรือแยกให้แตกต่างกัน แม้คำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการของประเทศสิงคโปร์จะเป็นไปตามข้อตกลงและดำเนินการตามข้อกำหนดและกฎหมายของประเทศสิงคโปร์ และอาจไม่มีเหตุที่จะให้เพิกถอนได้ แต่การที่ผู้คัดค้านจะนำคำชี้ขาดมาใช้บังคับแก่ผู้ร้องในประเทศไทยก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ทุกฝ่าย เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้ดำเนินการดังกล่าว จึงไม่อาจนำหนี้ตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการของประเทศสิงคโปร์มาบังคับเอาแก่กองทรัพย์สินของผู้ร้องในคดีล้มละลายได้ เพราะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจปฏิเสธการขอบังคับตามคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการในต่างประเทศได้ตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 44 ประกอบมาตรา 43
of 5