พบผลลัพธ์ทั้งหมด 102 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ส.ท. บิดาเป็นต่างด้าว: ศาลฎีกาชี้ 'บิดา' ตามกฎหมายครอบคลุมทั้งที่ชอบด้วยกฎหมายและไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ในชั้นฎีกา จำเลยรับแล้วว่า จำเลยเป็นบุตรของนาย ง.ส่วนข้อที่ว่านาย ง.เป็นบุคคลสัญชาติจีนหรือสัญชาติไทย จำเลยไม่ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสอง และยอมรับในคำฟ้องฎีกาว่า จำเลยมีบิดาเป็นคนสัญชาติจีน จึงต้องรับฟังว่าจำเลยมีบิดาเป็นคนต่างด้าว คำว่า "บิดา" ตาม พ.ร.บ. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ. 2482 มาตรา 20 และ มาตรา 20 ทวิ ที่แก้ไขแล้ว หมายถึงบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัคร ส.ท. - บิดาที่ชอบ/ไม่ชอบด้วยกฎหมาย & สัญชาติ
คำว่า "บิดา" ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลพ.ศ. 2482 มาตรา 20 และ 20 ทวิ หมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คุณสมบัติผู้สมัครสภาเทศบาล: บิดาที่ชอบ/ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำว่า "บิดา" ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสภาเทศบาลพ.ศ. 2482 มาตรา 20 และ 20 ทวิ หมายถึงทั้งบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายและบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดพยายามฆ่าบิดา: การลดโทษตามกฎหมายและขอบเขตการลงโทษขั้นต่ำ
จำเลยกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(1) ประกอบกับมาตรา 80 ซึ่งมาตรา 289 บัญญัติโทษไว้สถานเดียวคือประหารชีวิตเมื่อลดมาตราส่วนโทษหนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 52(1)แล้ว จึงต้องวางโทษจำคุกจำเลยตลอดชีวิต จำเลยให้การรับสารภาพศาลลดโทษให้อีกกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 โดยเปลี่ยนโทษจำคุกตลอดชีวิตเป็นโทษจำคุก 50 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 53 คงจำคุกจำเลย 25 ปี เป็นการถูกต้องแล้วและเป็นการลงโทษต่ำสุดเท่าที่กฎหมายกำหนด ไม่อาจลดโทษลงได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1204/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ ต้องพิจารณาถึงสัญชาติบิดาในขณะที่บุตรเกิด แม้บิดาถูกถอนสัญชาติในภายหลัง
การที่บุคคลที่เกิดในราชอาณาจักรไทยจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 นั้น ประการแรกจะต้องปรากฏว่าบุคคลนั้นมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือมารดาเป็นคนต่างด้าวแต่ไม่ปรากฏบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีของโจทก์ ในขณะที่เกิดโจทก์เป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าว แต่โจทก์มีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้โจทก์จึงไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยด้วยกรณีที่ มารดา โจทก์เป็นคนต่างด้าว ป. บิดาโจทก์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2473 ที่จังหวัดนครพนม จึงเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรตาม พ.ร.บ.สัญชาติที่ใช้อยู่ในขณะนั้นและโจทก์ทั้งหกเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรก่อนวันที่ 13 ธันวาคม 2515 อันเป็นวันที่ประกาศของคณะปฏิบัติ ฉบับที่ 337 ใช้บังคับดังนั้นขณะที่โจทก์ทุกคนเกิดป. บิดาโจทก์ยังมีสัญชาติไทยอยู่ แม้ต่อมา ป. บิดาโจทก์จะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ก็ไม่มีบทบัญญัติให้ถอนสัญชาติไทยของโจทก์ด้วย ดังนี้ ถือไม่ได้ว่า โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าว โจทก์จึงเป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2228-2229/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยโดยการเกิดและการเพิกถอนสัญชาติกรณีบิดาไม่ได้จดทะเบียนสมรสและเป็นชาวต่างชาติ ฟ้องไม่ขาดอายุความ
โจทก์เกิดในราชอาณาจักรไทย เป็นบุตรของนาย ม. คนสัญชาติญวนกับนาง บ. คนสัญชาติไทย นาย ม. กับนาง บ. ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน โจทก์ย่อมได้สัญชาติไทยโดยการเกิดตามพระราชบัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 มาตรา 7(3) กรณีจะถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จะต้องปรากฏว่าบิดาของผู้ถูกถอนสัญชาติไทยเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อนาย ม.มิใช่บิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ จึงนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับดังกล่าวมาปรับกับกรณีของโจทก์ไม่ได้
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
การที่บุคคลใดจะมีสัญชาติไทยหรือไม่ย่อมเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่การจดแจ้งว่าบุคคลใดมีสัญชาติไทยนั้น เป็นวิธีการทางทะเบียนที่ทางฝ่ายปกครองจัดทำขึ้นเมื่อโจทก์มีสัญชาติไทยอยู่แล้ว แต่กลับถูกจดแจ้งทางทะเบียนว่ามีสัญชาติอื่น ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิว่าไม่ได้เป็นบุคคลผู้มีสัญชาติไทยตลอดมาฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญชาติไทยของบุตรเกิดในไทยจากบิดาต่างด้าวมีใบอนุญาต แม้แม่เป็นญวนอพยพ ไม่ถูกเพิกถอนสัญชาติ
บุคคลซึ่งเกิดในประเทศไทยโดยมีบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองโดยชอบ ย่อมได้รับสัญชาติไทยและไม่อยู่ในข่ายที่จะถูกเพิกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 แม้มารดาของบุคคลเหล่านั้นจะเป็นคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองก็ตาม.(ที่มา-ส่งเสริม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1513-1514/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถอนสัญชาติไทยตามประกาศคณะปฏิวัติ: สัญชาติไทยยึดตามสัญชาติบิดา ณ เวลาเกิด แม้บิดาถูกถอนสัญชาติภายหลัง
จำเลยเป็นบุตรของมารดาซึ่งเป็นคนต่างด้าวที่ปรากฏบิดาโดยชอบด้วยกฎหมาย จำเลยจึงไม่อาจถูกถอนสัญชาติไทยด้วยกรณีของมารดาได้ ส่วนบิดาของจำเลยและจำเลยเป็นบุคคลสัญชาติไทยโดยการเกิดในราชอาณาจักรและจำเลยเกิดในขณะที่บิดาจำเลยมีสัญชาตไทย ดังนี้แม้ต่อมาในภายหลังบิดาจำเลยจะถูกถอนสัญชาติไทย ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 337 จำเลยก็หาถูกถอนสัญชาติไทยตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวด้วยไม่
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเกิดเมื่อใด ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้.
ในคดีที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเกิดเมื่อใด ศาลฎีกามีอำนาจฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3346/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในเหตุละเมิดจากการเล่นของเด็กและความรับผิดของบิดาในการดูแลบุตร
โจทก์ที่ 2 อายุ 15 ปี จำเลยที่ 1 อายุ 14 ปี ต่างสมัครใจเล่นขว้างปา ก้อนดิน ใส่ กัน ก้อนดิน ถูกตา ซ้าย โจทก์ที่ 2 ได้รับบาดเจ็บดังนี้ เป็นกรณีเกิดจากการเล่นตามวิสัยเด็กโดยโจทก์ที่ 2 สมัครใจเข้าร่วมเล่นด้วย ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 มีส่วนเป็นต้นเหตุให้เกิดการละเมิด ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 นำกระบือไปเลี้ยงห่างหมู่บ้าน 4กิโลเมตร จำเลยที่ 2 ไม่ได้ไปด้วยการเล่นขว้างปา ก้อนดิน เป็นการเล่นธรรมดาทั่วไปที่เด็ก ๆ จะชักชวนและสมัครใจเล่นกันเองตามวิสัยไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 เคยรู้ว่าจำเลยที่ 1 เคยเล่นขว้างปา ก้อนดิน กันมาก่อนจึงเกินความคาดคิดที่จำเลยที่ 2 ผู้เป็นบิดาจะควบคุมได้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้ใช้ความระมัดระวังดูแล จำเลยที่ 1 ตามสมควรแก่หน้าที่แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 514/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประพฤติเนรคุณต่อบิดาโดยการด่าทอถือเป็นการหมิ่นประมาททำให้เพิกถอนการให้ได้
จำเลยด่าโจทก์ซึ่งเป็นบิดาว่า"บักเฒ่าหัวหงอกบักเฒ่าตาบอดบักเฒ่าหูหนวกเฒ่าหนังยานเฒ่าหนังเหี่ยวหนีไปไหนก็ไปกูไม่เลี้ยงมึงดอกไปอยู่กับหมาโน่น"ทำให้โจทก์ได้รับความอับอายถือเป็นเหตุประพฤติเนรคุณโจทก์ถอนคืนการให้ได้.