พบผลลัพธ์ทั้งหมด 31 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 209/2500
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความครอบครองที่ดิน - สิทธิครอบครอง - การปล่อยปละละเลย - มาตรา 1375
ได้ความว่าจำเลยได้ทำรั้วและปลูกห้องแถวลงในที่พิพาทตั้ง3 ปีก่อนถูกฟ้อง ที่พิพาทเป็นที่ดินมือเปล่ายังมิได้มีหนังสือสำคัญซึ่งโจทก์มีสิทธิจะกล่าวอ้างได้ก็แต่เพียงสิทธิครอบครองประการเดียวเท่านั้น โจทก์จึงมีหน้าที่จะต้องงดและระวังรักษาสิทธิดังกล่าวไว้หาใช่มีแล้วก็ปล่อยปละละเลยไม่ต้องนำพาเสียเลย การที่โจทก์อ้างว่าตัวโจทก์อยู่ไกลไม่มีทางรู้ถือได้ว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่นำพาได้แล้วเพราะ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1375 บัญญัติไว้ชัดเจนว่าการฟ้องคดีเพื่อเอาคืนการครอบครองต้องเสียภายในปีหนึ่งนับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครองหาใช่นับแต่วันที่รู้ว่าถูกแย่งการครอบครองไม่ เมื่อจำเลยได้เข้าครอบครองที่พิพาทมาตั้ง 3 ปีแล้วจะเป็นโดยเจตนาสุจริตคิดว่าเป็นที่ดินของจำเลยเองหรือโดยเจตนาไม่สุจริตก็ดีและจะโดยโจทก์รู้เห็นแต่แรกแล้วหรือไม่เคยทราบเรื่องเลยก็ตาม ไม่ใช่เป็นข้อสำคัญถือว่าโจทก์หมดสิทธิฟ้องได้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2498
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเมิดหน้าที่ปล่อยปละละเลยของเจ้าหน้าที่รัฐ ทำให้ผู้อื่นเสียหาย
ฟ้องกล่าวว่าจำเลยมีหน้าที่จะต้องอนุญาตให้โจทก์ได้ทำการฆ่าสุกรแต่กลับมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ที่จะไม่ให้ได้ทำการฆ่าสุกรโดยไม่มีอำนาจจะทำได้ เป็นการกระทำที่ไม่สุจริต ก่อให้เกิดเสียหายแก่โจทก์ ดังนี้ เป็นเรื่องที่ศาลจะต้องรับฟ้องไว้พิจารณาข้อเท็จจริงกันต่อไป
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำฟ้องและคู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 นั้นต้องเรียกค่าขึ้นศาล 20 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.
การที่ศาลชั้นต้นสั่งไม่รับคำฟ้องและคู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาคำสั่งขึ้นมาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 นั้นต้องเรียกค่าขึ้นศาล 20 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ข.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการปล่อยปละละเลยสัตว์ให้ผู้อื่นเสียหาย โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำโดยประมาท
ในคดีหาว่า จำเลยปล่อยหมูเข้าไปในไร่นาของผู้อื่น ทำให้ข้าวกล้าของเขาเสียหายนั้น เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ความว่าหมูเข้าไปในไร่ของเขาได้โดยจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ระวังรักษาให้ดีตามสมควร ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 200/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาจากการปล่อยสัตว์ให้ทำลายทรัพย์สินผู้อื่น ต้องพิสูจน์การปล่อยปละละเลย
ในคดีหาว่า จำเลยปล่อยหมูเข้าไปในไร่นาของผู้อื่นทำให้ข้าวกล้าของเขาเสียหายนั้น เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ความว่าหมูเข้าไปในไร่ของเขาได้โดยจำเลยปล่อยปละละเลยไม่ระวังรักษาให้ดีตามสมควร ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 174/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลี้ยงสัตว์และการปล่อยปละละเลย - ความรับผิดตามมาตรา 340 อาญา
คำว่า ปล่อย ตามมาตราข้างบนนี้หมายความว่ายอมให้สัตว์เที่ยวไปตามพอใจของมัน แต่ถ้ามีผู้เลี้ยงดูแลควบคุมอยู่ด้วยแล้วไม่เรียกว่า ปล่อยเจ้าของสัตว์เลี้ยงแลเฝ้าดูแลให้สัตว์กินหญ้าอยู่ สัตว์นั้นเข้าไปกัดกินข้าวในไร่นาของผู้อื่น เจ้าของสัตว์ยังไม่มีผิดตามกฎหมายข้างบน วิธีพิจารณาอาชญา แปลกฎหมาย กฎหมายอาชญามาตรา 340 ข้อ 1 นั้นหาได้ประสงค์ว่าเมื่อสัตว์พาหนะหรือปสุสัตว์ของผู้ใดเข้าไปในเรือกสวนไร่นาของผุ้อื่นแล้วเจ้าของสัตว์จะต้องมีผิดตามมาตรานี้เสมอไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 492/2474
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในที่หลวง: เจ้าพนักงานปล่อยปละละเลยทำให้จำเลยไม่มีผิดฐานขัดคำสั่ง
จำเลยปลูกเรือนโรงในที่ทางหลวงมาช้านาน เมื่อเจ้าพนักงานสั่งให้รื้อถอนไป จำเลยไม่รื้อก็ยังไม่มีผิดฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ที่ดินกฎเสนาบดีเกษตร์ วิธีพิจารณาแพ่ง ค่าเสียหายที่ต้องรื้อ ผู้ใดอยู่ในที่หลวงเมื่อต้องรื้อไปไม่ได้ค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2473
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ที่ดินมีโฉนด หากเจ้าของปล่อยปละละเลยเกิน 10 ปี ทำให้เสียกรรมสิทธิ
ที่ดิน ที่มีโฉนดปกครองปรปักษ์ต่อกันได้ ที่พิพาทอยู่ในโฉนดแต่ปล่อยให้ปกครองปรปักษ์ขาดกรรมสิทธิ วิธีพิจารณาแพ่ง หน้าที่ศาลเดิมสั่งแก้โฉนด ถึงแม้คู่ความไม่ขอให้ทำลายโฉนด (ดู พ.ร.บ. ออกโฉนดที่ดิน ร.ศ.127 )
ป.พ.พ.1385
ป.พ.พ.1385
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5197/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดเจ้าของสัตว์: ต้องพิสูจน์การควบคุมดูแลและการปล่อยปละละเลย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ทางหลวง พ.ศ.2535 มาตรา 46 วรรคหนึ่ง และ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 111 ซึ่งบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าวบัญญัติในทำนองเดียวกันว่า ผู้กระทำความผิดจะต้องเป็นผู้ที่ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อย หรือเลี้ยงสัตว์บนทางหรือทางจราจร โดยไม่มีบทสันนิษฐานให้ถือว่าเจ้าของสัตว์เป็นผู้กระทำความผิด หรือบัญญัติให้เจ้าของสัตว์จะต้องรับผิดตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว แม้จะมิได้เป็นผู้ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อยหรือเลี้ยงสัตว์ด้วยตนเองก็ตาม ดังนี้ นอกจากโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ได้ความว่าจำเลยเป็นเจ้าของโคตัวที่ก่อเหตุแล้ว โจทก์ยังต้องนำสืบให้เห็นว่า จำเลยเป็นผู้ควบคุมดูแลโคตัวดังกล่าวและปล่อยให้วิ่งขึ้นไปบนทางจราจรหรือจำเลยปล่อยให้โคเดินไปตามลำพังและวิ่งขึ้นไปบนทางจราจรโดยจำเลยมิได้ควบคุมดูแลหรือมอบหมายให้บุคคลใดช่วยควบคุมดูแล แต่ข้อเท็จจริงตามทางนำสืบโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยรู้เห็นเกี่ยวข้องกับการควบคุมดูแลโคในขณะเกิดเหตุอย่างไร และโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่า มีบุคคลอื่นควบคุมดูแลโคแทนจำเลยหรือจำเลยมิได้ควบคุมดูแลโคของตนเองแต่ปล่อยให้โคเดินไปตามลำพังไปรวมกับฝูงโคของบุคคลอื่น พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่พอให้รับฟังว่า จำเลยเป็นผู้ที่ขี่ จูง ไล่ต้อน ปล่อย หรือเลี้ยงสัตว์ บนทางหรือทางจราจรอันเป็นความผิดตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10327/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในฐานะกรรมการสถานบริการที่ปล่อยปละละเลยการนำอาวุธปืนเข้าสถานบริการ แม้ไม่ได้อ้างมาตรา 28/4 ในฟ้อง
จำเลยในฐานะผู้แทนและกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ม. ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ตั้งสถานบริการชื่อ ซ. เพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ทางการค้า ยินยอมหรือปล่อยปละละเลยให้มีการนำอาวุธปืนเข้าไปในสถานบริการในระหว่างเวลาที่เปิดทำการ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย จำเลยจึงเป็นบุคคลที่กฎหมายระบุไว้ให้ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดเช่นเดียวกับนิติบุคคลซึ่งได้กระทำความผิด แม้โจทก์จะไม่ได้อ้างมาตรา 28/4 ในคำขอท้ายฟ้อง แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องศาลชั้นต้นย่อมพิพากษาลงโทษจำเลยได้ ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้องอันต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3383/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการจดทะเบียนรถยนต์คันที่ได้มาจากการหลอกลวง และความรับผิดของหน่วยงานที่ปล่อยปละละเลย
โจทก์ฟ้องมีใจความว่า จำเลยที่ 3 เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดของจำเลยที่ 5 กระทรวงยุติธรรม ได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองจ่าศาลมีอำนาจหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบและคำสั่งของจำเลยที่ 5 ส่วนจำเลยที่ 4 กรมบังคับคดีเป็นกรมหนึ่งในสังกัดของจำเลยที่ 5 มีอำนาจหน้าที่ในการบังคับคดีให้เป็นไปตามคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันปลอมเอกสารเกี่ยวกับการยึดทรัพย์และการขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทของศาล โดยไม่มีการยึดและขายทอดตลาดกันจริง แล้วร่วมกันปลอมหนังสือและปลอมลายมือชื่อผู้พิพากษาแจ้งไปยังสำนักงานขนส่งให้จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ร่วมกันโอนขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ ต่อมาเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมรถ กองบัญชาการตำรวจนครบาลได้ยึดรถยนต์พิพาทไปจากโจทก์ เนื่องจากรถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีการลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากร การกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ดังกล่าวเป็นการหลอกลวงฉ้อโกงโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย แม้ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยเพิ่มเติมคำว่า "และผู้มีชื่ออื่น" ต่อท้ายจำเลยที่ 3 ทุกแห่งก็ตาม ก็ยังไม่อาจจะแปลได้ว่าผู้มีชื่ออื่นนั้นหมายถึง ภ. ที่มีตำแหน่งเป็นรองจ่าศาลประจำศาลในขณะเกิดเหตุอีกคนหนึ่งด้วย เพราะโจทก์ไม่ได้ฟ้องและจำเลยที่ 5 ไม่ได้ให้การถึง ภ. แต่อย่างใด จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 ต้องร่วมกับ ภ. รับผิดต่อโจทก์หรือไม่ การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงถึง ภ. ย่อมเป็นการนำสืบนอกประเด็น เมื่อฟังว่าจำเลยที่ 3 มิได้กระทำละเมิดซึ่งทำให้จำเลยที่ 5 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ และข้อเท็จจริงดังกล่าวยุติไปแล้วโดยโจทก์ไม่ได้อุทธรณ์และฎีกา ย่อมไม่มีทางที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาในประเด็นความรับผิดของจำเลยที่ 4 และที่ 5 ที่โจทก์ฎีกาข้างต้นให้เป็นคุณแก่โจทก์ได้
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรอันเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 เจ้าพนักงานตำรวจจึงย่อมมีอำนาจหน้าที่ต้องไปดำเนินการยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 ไม่ว่ารถยนต์ของกลางนั้นจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7 กรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. 1332
ตามเอกสารเกี่ยวกับการยึดและขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปยื่นขอจดทะเบียนมีราคาขายทอดตลาดเพียง 200,000 บาท โดยแนบสำเนาภาพถ่ายรถยนต์ไปด้วยแต่รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายให้โจทก์ได้ราคาถึง 1,750,000 บาท แสดงว่ามีสภาพแตกต่างจากที่ระบุไว้ดังกล่าวมาก หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 ตรวจสอบเอกสารและตรวจสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนกับสภาพรถที่ปรากฏในเอกสารได้โดยไม่ยาก และคงไม่รับจดทะเบียน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริตจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย
รถยนต์พิพาทเป็นรถที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรอันเป็นการกระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 เจ้าพนักงานตำรวจจึงย่อมมีอำนาจหน้าที่ต้องไปดำเนินการยึดรถยนต์พิพาทมาไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 ไม่ว่ารถยนต์ของกลางนั้นจะอยู่ในความครอบครองของผู้ใด การกระทำของเจ้าพนักงานตำรวจประจำศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมที่ไปยึดรถยนต์ของกลางจากโจทก์ จึงเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยชอบ ไม่ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 7 กรมตำรวจซึ่งเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของเจ้าพนักงานตำรวจดังกล่าวจึงไม่ต้องรับผิดในความเสียหายต่อโจทก์ แม้โจทก์จะรับซื้อรถยนต์พิพาทมาโดยสุจริตจากพ่อค้าซึ่งประกอบธุรกิจซื้อขายรถยนต์ก็ตาม แต่เมื่อรถยนต์พิพาทต้องถูกยึดไปดำเนินคดีตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2499 โจทก์ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองเพราะไม่ใช่เป็นกรณีที่เจ้าของที่แท้จริงติดตามเอาทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. 1332
ตามเอกสารเกี่ยวกับการยึดและขายทอดตลาดรถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปยื่นขอจดทะเบียนมีราคาขายทอดตลาดเพียง 200,000 บาท โดยแนบสำเนาภาพถ่ายรถยนต์ไปด้วยแต่รถยนต์พิพาทที่จำเลยที่ 1 นำไปให้ตรวจสภาพรถและขอจดทะเบียนเป็นรถยนต์ที่มีสภาพค่อนข้างใหม่และมีราคาสูง จำเลยที่ 1 และที่ 2 นำไปขายให้โจทก์ได้ราคาถึง 1,750,000 บาท แสดงว่ามีสภาพแตกต่างจากที่ระบุไว้ดังกล่าวมาก หากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 ตรวจสอบเอกสารและตรวจสภาพรถยนต์พิพาทให้ถี่ถ้วนรอบคอบก็จะทราบถึงความแตกต่างของสภาพรถที่นำมาตรวจเพื่อขอจดทะเบียนกับสภาพรถที่ปรากฏในเอกสารได้โดยไม่ยาก และคงไม่รับจดทะเบียน การที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 6 จดทะเบียนรถยนต์พิพาทให้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยความประมาทเลินเล่อ ทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงแก่โจทก์ เนื่องจากโจทก์ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในรถยนต์พิพาทที่ซื้อไว้โดยสุจริตจำเลยที่ 6 ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัดซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพนักงานเจ้าหน้าที่ดังกล่าวต้องร่วมรับผิดในผลแห่งการละเมิดของพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วย